ในพิพิธภัณฑ์วาติกันนั้น มีโบราณวัตถุที่เกี่ยวกันกับราชวงศ์อียิปต์หลายพระองค์ นอกเหนือจากฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว ยังมีราชินีผู้ยิ่งยงยุคโบราณซึ่งยังคงฝากร่องรอยไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ในบทนี้จะขอแนะนำราชินีสองพระองค์ พร้อมกับวัตถุสำคัญซึ่งเป็นที่รำลึกถึง และเป็นเหตุต่อการเล่าเรื่องราวของท่านให้เราได้ฟังกัน
ประติมากรรมองค์หนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีคนใดให้ความสำคัญเท่าใดนัก แต่กลับสะดุดตาคนเขียน นี่คือรูปสลักของเทพีจากหินสีดำ สูงยาวชะลูดและเปล่าเปลือย และที่น่าทึ่งก็คือทรงผมที่ยาวหนาหนักปรกลงมาถึงต้นแขนที่ทำให้ดูเหมือนว่าทรงผมเธอนั้นคืออาภรณ์แสดงความทรงเกียรติสูงศักดิ์ราวกับกีรติมงกุฎ และบนแผ่นผมนั้นก็มีมงกุฎวางอยู่เบื้องบนอีกที
รูปสลักพระราชินีติย์ (Tiye) พิพิธภัณฑ์วาติกัน ที่มา :
https://www.museivaticani.va
มือซ้ายของเธอยกมาแนบใต้อกถือสิ่งหนึ่งที่ดูแล้วคล้ายเคียว ทำให้นึกถึงพระรูปของพระแม่โพสพที่ถือรวงข้าวไว้ แต่นี่มิเป็นเช่นนั้น เธอคือราชินีผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกยาก ภาษาอังกฤษเขียนชื่อของพระนางว่า Tiye หรือ Tuya ส่วนภาษาไทยที่เคยมีคนเขียนถึง ใช้พระนามว่า เทีย ติย์ ติยิ ซึ่ง 3 ข้อนี้ออกเสียงต่างกันไปเลย เป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับภาษาโบราณจากฟากแผ่นดินโน้นที่ยากจะเขียนได้เหมือนต้นแบบ อย่างไรก็ตามในวันนี้เราขอเรียกพระนางว่าราชินีติย์แล้วกัน
ความสำคัญของพระนางมีหลายประการแต่ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ พระนางเป็นอัยยิกา (ยาย) ของฟาโรห์ตุตันคาเมน (TutanKhamun) นั่นหมายความว่า บุตรชายของพระนางก็คือฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็นแอเคนาเทน (Akhenaten) รู้จักกันไหมฮะ พระองค์เป็นฟาโรห์ร่างวิปลาสแต่มีภรรยาเป็นสาวสวยมากนามว่า เนเฟอร์ติติ (Nefertiti) ท่านผู้อ่านอาจจะพอรู้จักบ้างแล้ว
และอีกตำแหน่งหนึ่งก็คือทรงเป็นมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) ซึ่งเป็นมหาราชองค์สำคัญของอียิปต์ เพราะทำให้อียิปต์มีความเจริญร่ำรวยในรัชสมัยที่รุ่งโรจน์นั้น
เปรียบเทียบรูปสลักที่วาติกัน (ซ้าย) และพระองค์จริงที่พิพิธภัณฑ์ในไคโร (ขวา)
ประติมากรรมของพระองค์บัดนี้ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายที่กระจัดกระจายกันไป แต่ที่วาติกันนั้นได้งาน Master Piece สลักจากแกรนิตดำขนาดสูงเท่าคนจริง เมื่อยืนประจันหน้ากันพระนางก็จะนิ่งเฉยราวกับผู้ไม่สะท้านต่อใคร เธอคือร่างเปลือยสูงยาวปรกด้วยแผ่นผมหนาหนัก แลดูเหมือนนางแบบแฟชั่นทรงผม พระหัตถ์ถือสิ่งหนึ่งซึ่งมิใช่เคียวเกี่ยวข้าว แต่เป็นคทาหัวขอ ซึ่งแสดงสภาพของวรรณะกษัตริย์
ประติมากรรมนี้จึงเป็นงานที่ดูน้อย (เพราะเปลือย) แต่มาก (เยอะตรงส่วนบน) ดูแล้วราวกับเธอคือหญิงที่มีเวทมนต์ พร้อมจะสาปหรือให้
ความโชคดีของพวกเราและชาวโลกอีกประการหนึ่งคือ เรายังสามารถพบเจอตัวตนจริงของเธอในสภาพมีเนื้อมีหนังจริงๆ ถ้าเราได้เห็นมัมมี่ของท่านในพิพิธภัณฑ์อียิปต์จะพบว่าแกรนิตดำชิ้นนี้สะท้อนภาพของเธอได้น่าตะลึงทีเดียว ใบหน้าสงบแต่เชิดหน้ามองเราแบบผู้ที่เหนือกว่า เส้นผมยาวหนายังคงปรากฏอยู่อย่างคงทน ต้องขอบคุณวาติกันที่ได้อัญเชิญท่านราชินีให้ได้ชมพระบารมี
พระราชินีนาถแฮตเซปซุต ในพิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิทัน
เล่าเรื่องราชินีติย์แล้ว ก็ขอเชิญชมบารมีของราชินีองค์ต่อไป เธอคือพระนางแฮตเซปซุต (Hatshepsut) ใครบางคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้มาแล้วและคงพอทราบว่าเธอคือราชินีนาถผู้เคยปกครองอียิปต์และทรงอำนาจไม่แพ้ผู้ชาย บางคนอาจเทียบเคียงกับคลีโอพัตราซึ่งเกิดหลังกว่านั้นอีกเนิ่นนานนัก
ก่อนที่พระนางจะขึ้นมาเป็นราชินีเธอเคยเป็นพระธิดาของฟาโรห์ทุตโมสมาก่อน แล้วได้แต่งงานกับน้องชายต่างมารดาชื่อทุตโมสที่สอง (มีพ่อคนเดียวกัน) และทั้งคู่ก็มีพระธิดาองค์หนึ่ง แต่ทุตโมสก็มีภรรยาน้อยชื่อไอซิส คนนี้เองที่ให้กำเนิดบุตรชายคือทุตโมสที่สามซึ่งต่อมาได้ครองราชย์ต่อจากบิดา
พอถึงตอนนี้แฮตเซปซุตก็ตกกระป๋องเลยสิ เพราะฐานะของเธอไม่ใช่ราชินีอีกแล้ว และก็ไม่ใช่พระพันปีหลวงอีก เนื่องจากผู้ที่ครองราชย์นั้นไม่ใช่ลูกจริงแต่เป็นลูกเลี้ยง แต่จริงๆแล้วแม่นางกุมมีอำนาจยิ่งกว่าแม่เลี้ยงซะอีก นั่นคือการเป็นผู้สำเร็จราชการของกษัตริย์เสียเอง และเมื่อทุตโมสโตเจริญพระชันษาขึ้นก็ไม่ได้มีบทบาทแบบที่กษัตริย์ควรจะเป็นแต่อย่างใด เพราะพระนางทำตัวราวกับเป็นกษัตริย์ซะเอง
ราชินีแฮตเซปซุตปกครองอียิปต์มานาน 21 ปีก็ลาลับไปสู่ดินแดนสวนสวรรค์ ฟาโรห์ทุตโมสที่สามก็ได้ปกครองตามอิสระเสียที และเมื่อมีอำนาจแล้วก็พยายามจะแก้แค้นแม่เลี้ยงที่คอยแย่งซีนมาตลอด โดยการลบชื่อพระนางแฮตเซปซุตออกจากสารพัดจารึกเพื่อให้สาบสูญไปจากประวัติศาสตร์เสียสิ้น แต่ลบยังไงก็ลบไม่หมด จึงเหลือมาให้เราได้ศึกษาตั้งเยอะ
ตอนนี้เรามีหลักฐานเกี่ยวกับพระนางแฮตเซปซุตอยู่พอควร นอกจากภาพสลักบนแผ่นศิลานี้แล้วยังมีรูปเคารพของพระองค์ซึ่งแสดงสถานะฟาโรห์ครบเครื่อง มีการใช้เคราปลอมและเครื่องแต่งกายแบบผู้ชายอีก (สงสัยว่าตอนนั่งบัลลังก์จะต้องทำเสียงห้าวๆอีกด้วยหรือเปล่า) อันนี้แหละที่ต่างจากคลีโอพัตรา และในสมัยที่พระนางมีอำนาจพระองค์ก็ได้ทำให้อียิปต์รุ่งเรือง มีการค้าขายกับดินแดนต่างๆจนร่ำรวย
แผ่นศิลาจำหลัก พิพิธภัณฑ์วาติกัน
แผ่นศิลาที่อยู่ในครอบครองของวาติกันชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อระลึกถึงการบูรณะเมืองธีปส์ จะเห็นพระนางแฮตเซปซุตทรงมงกุฎของอียิปต์ตอนล่างถือแจกันรูปกลมถวายเทพเจ้า ส่วนทุตโมสที่สามนั้นอยู่ข้างหลัง ทรงมงกุฎแบบอียิปต์ตอนบน (หมายเหตุไว้นิดนึงว่าแต่ก่อนนั้นอียิปต์มีสองอาณาจักรคืออียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ซึ่งฟาโรห์ของทั้งสองสวมมงกุฎรูปทรงต่างกัน สองอาณาจักรนั้นรวมกันได้ตั้งแต่ก่อนสมัยของพระนางแฮตเซปซุตแล้ว)
การแบ่งมงกุฎกันแสดงให้เห็นว่าพระนางมีสถานะเป็นฟาโรห์เช่นเดียวกับทุตโมส แต่การที่พระนางยืนอยู่ด้านหน้า แสดงให้เห็นชัดเจนว่าลูกเลี้ยงของเธอนั้นโดนแย่งซีนจริงๆ งานนี้ใครเด่นกว่าใครก็ไม่ต้องบอก
การค้นหาพระศพของพระนางแฮตเซปซุตเป็นความท้าทายที่นักอียิปต์วิทยาพยายามจะเอาชนะให้ได้ เพราะหาอยู่ตั้งนานไม่รู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหน และแล้วเวลาแห่งความสำเร็จมาถึง พระราชินีก็ถูกค้นพบที่หน้าผากลางทะเลทราย มีรูปโฉมงดงามดังที่ได้เห็น
มัมมี่ราชินีนาถแฮตเซปซุต
นี่แหละแม่นางแฮตเซปซุตหญิงแกร่งและแม่เลี้ยงใจร้าย และฟาโรห์หญิงที่ปกครองอียิปต์นานที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดรองจากคลีโอพัตรา
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.museivaticani.va https://en.wikipedia.org/wiki/Tiye
https://ancientegyptalive.com/ https://en.wikipedia.org/wiki/Hatshepsut
สองราชินีผู้ยิ่งยงแห่งอียิปต์
ในบทนี้จะขอแนะนำราชินีสองพระองค์ พร้อมกับวัตถุสำคัญซึ่งเป็นที่รำลึกถึง และเป็นเหตุต่อการเล่าเรื่องราวของท่านให้เราได้ฟังกัน
ประติมากรรมองค์หนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีคนใดให้ความสำคัญเท่าใดนัก แต่กลับสะดุดตาคนเขียน นี่คือรูปสลักของเทพีจากหินสีดำ สูงยาวชะลูดและเปล่าเปลือย และที่น่าทึ่งก็คือทรงผมที่ยาวหนาหนักปรกลงมาถึงต้นแขนที่ทำให้ดูเหมือนว่าทรงผมเธอนั้นคืออาภรณ์แสดงความทรงเกียรติสูงศักดิ์ราวกับกีรติมงกุฎ และบนแผ่นผมนั้นก็มีมงกุฎวางอยู่เบื้องบนอีกที
รูปสลักพระราชินีติย์ (Tiye) พิพิธภัณฑ์วาติกัน ที่มา : https://www.museivaticani.va
มือซ้ายของเธอยกมาแนบใต้อกถือสิ่งหนึ่งที่ดูแล้วคล้ายเคียว ทำให้นึกถึงพระรูปของพระแม่โพสพที่ถือรวงข้าวไว้ แต่นี่มิเป็นเช่นนั้น เธอคือราชินีผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกยาก ภาษาอังกฤษเขียนชื่อของพระนางว่า Tiye หรือ Tuya ส่วนภาษาไทยที่เคยมีคนเขียนถึง ใช้พระนามว่า เทีย ติย์ ติยิ ซึ่ง 3 ข้อนี้ออกเสียงต่างกันไปเลย เป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับภาษาโบราณจากฟากแผ่นดินโน้นที่ยากจะเขียนได้เหมือนต้นแบบ อย่างไรก็ตามในวันนี้เราขอเรียกพระนางว่าราชินีติย์แล้วกัน
ความสำคัญของพระนางมีหลายประการแต่ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ พระนางเป็นอัยยิกา (ยาย) ของฟาโรห์ตุตันคาเมน (TutanKhamun) นั่นหมายความว่า บุตรชายของพระนางก็คือฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็นแอเคนาเทน (Akhenaten) รู้จักกันไหมฮะ พระองค์เป็นฟาโรห์ร่างวิปลาสแต่มีภรรยาเป็นสาวสวยมากนามว่า เนเฟอร์ติติ (Nefertiti) ท่านผู้อ่านอาจจะพอรู้จักบ้างแล้ว
และอีกตำแหน่งหนึ่งก็คือทรงเป็นมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) ซึ่งเป็นมหาราชองค์สำคัญของอียิปต์ เพราะทำให้อียิปต์มีความเจริญร่ำรวยในรัชสมัยที่รุ่งโรจน์นั้น
เปรียบเทียบรูปสลักที่วาติกัน (ซ้าย) และพระองค์จริงที่พิพิธภัณฑ์ในไคโร (ขวา)
ประติมากรรมของพระองค์บัดนี้ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายที่กระจัดกระจายกันไป แต่ที่วาติกันนั้นได้งาน Master Piece สลักจากแกรนิตดำขนาดสูงเท่าคนจริง เมื่อยืนประจันหน้ากันพระนางก็จะนิ่งเฉยราวกับผู้ไม่สะท้านต่อใคร เธอคือร่างเปลือยสูงยาวปรกด้วยแผ่นผมหนาหนัก แลดูเหมือนนางแบบแฟชั่นทรงผม พระหัตถ์ถือสิ่งหนึ่งซึ่งมิใช่เคียวเกี่ยวข้าว แต่เป็นคทาหัวขอ ซึ่งแสดงสภาพของวรรณะกษัตริย์
ประติมากรรมนี้จึงเป็นงานที่ดูน้อย (เพราะเปลือย) แต่มาก (เยอะตรงส่วนบน) ดูแล้วราวกับเธอคือหญิงที่มีเวทมนต์ พร้อมจะสาปหรือให้
ความโชคดีของพวกเราและชาวโลกอีกประการหนึ่งคือ เรายังสามารถพบเจอตัวตนจริงของเธอในสภาพมีเนื้อมีหนังจริงๆ ถ้าเราได้เห็นมัมมี่ของท่านในพิพิธภัณฑ์อียิปต์จะพบว่าแกรนิตดำชิ้นนี้สะท้อนภาพของเธอได้น่าตะลึงทีเดียว ใบหน้าสงบแต่เชิดหน้ามองเราแบบผู้ที่เหนือกว่า เส้นผมยาวหนายังคงปรากฏอยู่อย่างคงทน ต้องขอบคุณวาติกันที่ได้อัญเชิญท่านราชินีให้ได้ชมพระบารมี
พระราชินีนาถแฮตเซปซุต ในพิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิทัน
เล่าเรื่องราชินีติย์แล้ว ก็ขอเชิญชมบารมีของราชินีองค์ต่อไป เธอคือพระนางแฮตเซปซุต (Hatshepsut) ใครบางคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้มาแล้วและคงพอทราบว่าเธอคือราชินีนาถผู้เคยปกครองอียิปต์และทรงอำนาจไม่แพ้ผู้ชาย บางคนอาจเทียบเคียงกับคลีโอพัตราซึ่งเกิดหลังกว่านั้นอีกเนิ่นนานนัก
ก่อนที่พระนางจะขึ้นมาเป็นราชินีเธอเคยเป็นพระธิดาของฟาโรห์ทุตโมสมาก่อน แล้วได้แต่งงานกับน้องชายต่างมารดาชื่อทุตโมสที่สอง (มีพ่อคนเดียวกัน) และทั้งคู่ก็มีพระธิดาองค์หนึ่ง แต่ทุตโมสก็มีภรรยาน้อยชื่อไอซิส คนนี้เองที่ให้กำเนิดบุตรชายคือทุตโมสที่สามซึ่งต่อมาได้ครองราชย์ต่อจากบิดา
พอถึงตอนนี้แฮตเซปซุตก็ตกกระป๋องเลยสิ เพราะฐานะของเธอไม่ใช่ราชินีอีกแล้ว และก็ไม่ใช่พระพันปีหลวงอีก เนื่องจากผู้ที่ครองราชย์นั้นไม่ใช่ลูกจริงแต่เป็นลูกเลี้ยง แต่จริงๆแล้วแม่นางกุมมีอำนาจยิ่งกว่าแม่เลี้ยงซะอีก นั่นคือการเป็นผู้สำเร็จราชการของกษัตริย์เสียเอง และเมื่อทุตโมสโตเจริญพระชันษาขึ้นก็ไม่ได้มีบทบาทแบบที่กษัตริย์ควรจะเป็นแต่อย่างใด เพราะพระนางทำตัวราวกับเป็นกษัตริย์ซะเอง
ราชินีแฮตเซปซุตปกครองอียิปต์มานาน 21 ปีก็ลาลับไปสู่ดินแดนสวนสวรรค์ ฟาโรห์ทุตโมสที่สามก็ได้ปกครองตามอิสระเสียที และเมื่อมีอำนาจแล้วก็พยายามจะแก้แค้นแม่เลี้ยงที่คอยแย่งซีนมาตลอด โดยการลบชื่อพระนางแฮตเซปซุตออกจากสารพัดจารึกเพื่อให้สาบสูญไปจากประวัติศาสตร์เสียสิ้น แต่ลบยังไงก็ลบไม่หมด จึงเหลือมาให้เราได้ศึกษาตั้งเยอะ
ตอนนี้เรามีหลักฐานเกี่ยวกับพระนางแฮตเซปซุตอยู่พอควร นอกจากภาพสลักบนแผ่นศิลานี้แล้วยังมีรูปเคารพของพระองค์ซึ่งแสดงสถานะฟาโรห์ครบเครื่อง มีการใช้เคราปลอมและเครื่องแต่งกายแบบผู้ชายอีก (สงสัยว่าตอนนั่งบัลลังก์จะต้องทำเสียงห้าวๆอีกด้วยหรือเปล่า) อันนี้แหละที่ต่างจากคลีโอพัตรา และในสมัยที่พระนางมีอำนาจพระองค์ก็ได้ทำให้อียิปต์รุ่งเรือง มีการค้าขายกับดินแดนต่างๆจนร่ำรวย
แผ่นศิลาจำหลัก พิพิธภัณฑ์วาติกัน
แผ่นศิลาที่อยู่ในครอบครองของวาติกันชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อระลึกถึงการบูรณะเมืองธีปส์ จะเห็นพระนางแฮตเซปซุตทรงมงกุฎของอียิปต์ตอนล่างถือแจกันรูปกลมถวายเทพเจ้า ส่วนทุตโมสที่สามนั้นอยู่ข้างหลัง ทรงมงกุฎแบบอียิปต์ตอนบน (หมายเหตุไว้นิดนึงว่าแต่ก่อนนั้นอียิปต์มีสองอาณาจักรคืออียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ซึ่งฟาโรห์ของทั้งสองสวมมงกุฎรูปทรงต่างกัน สองอาณาจักรนั้นรวมกันได้ตั้งแต่ก่อนสมัยของพระนางแฮตเซปซุตแล้ว)
การแบ่งมงกุฎกันแสดงให้เห็นว่าพระนางมีสถานะเป็นฟาโรห์เช่นเดียวกับทุตโมส แต่การที่พระนางยืนอยู่ด้านหน้า แสดงให้เห็นชัดเจนว่าลูกเลี้ยงของเธอนั้นโดนแย่งซีนจริงๆ งานนี้ใครเด่นกว่าใครก็ไม่ต้องบอก
การค้นหาพระศพของพระนางแฮตเซปซุตเป็นความท้าทายที่นักอียิปต์วิทยาพยายามจะเอาชนะให้ได้ เพราะหาอยู่ตั้งนานไม่รู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหน และแล้วเวลาแห่งความสำเร็จมาถึง พระราชินีก็ถูกค้นพบที่หน้าผากลางทะเลทราย มีรูปโฉมงดงามดังที่ได้เห็น
มัมมี่ราชินีนาถแฮตเซปซุต
นี่แหละแม่นางแฮตเซปซุตหญิงแกร่งและแม่เลี้ยงใจร้าย และฟาโรห์หญิงที่ปกครองอียิปต์นานที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดรองจากคลีโอพัตรา
ข้อมูลอ้างอิง https://www.museivaticani.va https://en.wikipedia.org/wiki/Tiye https://ancientegyptalive.com/ https://en.wikipedia.org/wiki/Hatshepsut