หลังจากที่ได้เราชมสาวงามที่มีหนอนน้อยขึ้นเต็มหัวในบทก่อนนี้ (ใครบางคนอ่านถึงตรงนี้คงต้องอยากเตะปากข้าพเจ้าเป็นแน่) และเราก็มาถึงห้องเล็กๆซึ่งมีศีรษะหนึ่งซึ่งสุดแสนจะเด่นดัง ใครเข้าไปถึงก็ต้องจ้องมอง ด้วยความไม่รู้ตัวว่าเขากำลังจะกลายเป็นหินในไม่ช้า
คริ คริ ใครบางคนคงรู้ว่าเรากำลังเห็นใครอยู่ แต่ทราบคนคงไม่ทราบ ว่านี่คือคำสาปจากแม่นางเมดูซ่า เธอถูกเล่าว่าเป็นหญิงน่ากลัวมีเส้นผมเป็นงู ใครบางคนอาจเคยดูหนังไทยเรื่องงูเกงกองซึ่งเป็นผีที่มีงูเต็มหัวก็อาจจะสับสนว่าที่อิตาลีมีผีแบบนี้ด้วยเหรอ จริงๆแม้จะไม่มีแต่ก็มีอะไรที่คล้ายๆกันอยู่พอควร เป็นไปได้ว่าคนสร้างหนังอาจเอานางเมดูซ่านี่แหละมาเป็นต้นแบบ
เดิมทีแม่นางไม่ได้ดูน่ากลัวแบบนี้หรอก แต่เป็นสาวงามที่ทำหน้าที่บูชาเทพอธิน่าในวิหาร มีเส้นผมสลวยเป็นลอนงดงาม แบบว่าถ้าเอามาเป็นนางแบบโฆษณาแชมพูคงขายดีขายดังปังปุริเย่เลยทีเดียว
แต่แล้ววันหนึ่งซึ่งเป็นวันซวยของเมดูซ่า เทพโพสิดอน (Poseidon) ได้เข้ามาในวิหารพบกับแม่เทพีผมงามก็เลยเข้ามาปล้ำข่มขืนและก็ทำสำเร็จด้วย เทพอธิน่าโกรธมากที่เหตุการณ์แบบนี้มาเกิดในวิหารของชั้นได้ยังไงกัน ก็เลยสาปสาวน้อยผมงามกลายเป็นงูและไล่ออกจากวิหาร
โพสิดอน
สงสารแม่นางจังเลย เป็นความผิดของเธอหรือเปล่า สุดแสนจะไม่ยุติธรรมจริงจิ๊ง อย่างไรก็ตามมีคนให้เหตุผลว่าตอนแรกนั้นเทพีอธีน่าโกรธโพสิดอนต่างหาก แต่โพสิดอนมีฤทธิ์และเป็นอมตะก็เลยทำอะไรไม่ได้ เลยมาลงโทษเมดูซ่าแทน (ดูไม่มีตรรกะอะไรเลยเนอะ กลายมาเป็นที่ระบายอารมณ์ซะงั้น) อีกข่าวหนึ่งก็คือเธอแอบเกลียดเมดูซ่าอยู่แล้วเพราะสวยนัก พอได้ทีก็เลยกลั่นแกล้งซะ
เมดูซ่าก็เลยกลายเป็นแม่มดที่น่ากลัวและสร้างคำสาปที่น่าโหดเหี้ยมขึ้นมา นั่นคือ ชายใดที่มองดวงตาของเธอจะต้องกลายเป็นหินไปทุกคน
แต่แล้วก็มีบุรุษหนึ่งชื่อเพอร์ซิอุส (Perseus) อาสาเหล่าทวยเทพเข้ามาปราบนาง (และอาธีน่าก็เป็นหนึ่งในเทพเหล่านั้นด้วย)
เขาได้รับรองเท้าวิเศษจากเมอร์คิวรี่ โล่วิเศษจากอธีน่า ทำให้พ่อหนุ่มมีอาวุธครบมือเข้าไปต่อสู้และตัดหัวมาให้กับเทพอธีน่าได้ โดยเทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้กับแม่หัวงูก็คือไม่มองไปที่เมดูซ่าตรงๆ แต่ใช้โล่สะท้อนแสงของอธิน่าเป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพ ทำให้สามารถเห็นและตัดหัวเมดูซ่ามาได้โดยไม่กลายเป็นหินไปซะก่อน เสร็จแล้วก็นำหัวของแม่นางมาให้กับอธีน่า ซึ่งเทพีก็พึงพอใจมากขนาดเอาหัวเมดูซ่ามาประดับโล่ไว้เป็นของประดับเกียรติยศ
พอร์ซิอุส (Perseus) (ชิ้นนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์วาติกัน เดี๋ยวจะพาไปชม)
สรุปแล้วเรื่องของเมดูซ่าก็ช่วงเหมือนนางวันทอง ก็คือทำให้ผู้หญิงกลายเป็นตัวร้ายเพราะผู้ชายชั่วแท้ๆ คนแต่งเรื่องนี้คงเป็นผู้ชายแน่เลย
เรื่องเมดูซ่านี้ยังไม่จบ มีนักจิตวิเคราะห์นำเธอมาใช้ตีความเป็นสัญลักษณ์ของปมด้อยทางเพศซะอีก โดยบอกว่าเมดูซ่าเป็นสัญลักษณ์ของความกลัวการถูกตอนของเพศชาย งูของเมดูซ่าเปรียบเสมือนลึงค์ที่ผู้ชายมองแล้วจะเกิดความกลัว ซึ่งความกลัวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้เห็นอวัยวะเพศหญิง
คนที่คิดแบบนี้จะเป็นใครซะอีกละนอกจาก ซิกมันด์ ฟรอย์ นักจิตวิเคราะห์ที่ชอบหมกหมุ่นเกี่ยวกับทฤษฎีเรื่องเพศเป็นประจำ ไม่รู้ว่าคิดไปได้ยังไง แต่ช่างเถอะ นั่นเป็นเรื่องของฟรอย์ไป
ว่าแต่ว่าตอนนี้เราจะขออธิบายเรื่องงานศิลปะชิ้นนี้กันดีกว่า
ศีรษะเมดูซ่านี้เป็นของประติมากรอิตาเลียนคนดัง ซึ่งก็คือเบอร์นีนี่ (Bernini) อีกแล้ว ถ้าท่านยังไม่ทราบว่าเขาคือใครก็แสดงว่ายังไม่ได้ไปอ่านตอนก่อนหน้าซึ่งมีงานของเขาอยู่เยอะในหอศิลป์บอร์เกเซ่ ลองดูงูบนหัวของเมดูซ่าจะเห็นว่าบิดเกลียวเกี่ยวพันกันราวกำลังเลื้อยมาพร้อมฉกกัด ช่างน่าสงสัยว่าเขาสลักหินให้เป็นตัวงูพันกันยุ่งๆเลื้อยลดไปได้ยังไง คงต้องมีฝีมือเลยที่สามารถเซาะให้มีรอยลึก มีมิติ มีโพรงอะไรได้หมด ใครมาเห็นก็ต้องยืนมองนิ่งและนาน ราวกับกำลังถูกสะกดให้เป็นหินตามคำสาปนั้น
แต่เราก็รู้แล้วว่าแม่นางถูกตัดคอตายไปนานแล้วละ ณ ตอนนี้ มองได้ไม่ต้องกลัว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มองแล้วก็ทำให้คิดต่อก็คือ ใบหน้าของนางไม่ได้ดูโหดเหี้ยม แต่ดูเศร้าและเจ็บปวดรวดร้าวมากกว่า คุณเห็นด้วยไหมครับ
บางที เบอร์นีนี่อาจตั้งใจจะสื่อความบางอย่าง หรืออาจจะคิดเหมือนกับเรา
สงสารนาง ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลย
Medusa : โศกนาฏกรรมที่ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย
คริ คริ ใครบางคนคงรู้ว่าเรากำลังเห็นใครอยู่ แต่ทราบคนคงไม่ทราบ ว่านี่คือคำสาปจากแม่นางเมดูซ่า เธอถูกเล่าว่าเป็นหญิงน่ากลัวมีเส้นผมเป็นงู ใครบางคนอาจเคยดูหนังไทยเรื่องงูเกงกองซึ่งเป็นผีที่มีงูเต็มหัวก็อาจจะสับสนว่าที่อิตาลีมีผีแบบนี้ด้วยเหรอ จริงๆแม้จะไม่มีแต่ก็มีอะไรที่คล้ายๆกันอยู่พอควร เป็นไปได้ว่าคนสร้างหนังอาจเอานางเมดูซ่านี่แหละมาเป็นต้นแบบ
เดิมทีแม่นางไม่ได้ดูน่ากลัวแบบนี้หรอก แต่เป็นสาวงามที่ทำหน้าที่บูชาเทพอธิน่าในวิหาร มีเส้นผมสลวยเป็นลอนงดงาม แบบว่าถ้าเอามาเป็นนางแบบโฆษณาแชมพูคงขายดีขายดังปังปุริเย่เลยทีเดียว
แต่แล้ววันหนึ่งซึ่งเป็นวันซวยของเมดูซ่า เทพโพสิดอน (Poseidon) ได้เข้ามาในวิหารพบกับแม่เทพีผมงามก็เลยเข้ามาปล้ำข่มขืนและก็ทำสำเร็จด้วย เทพอธิน่าโกรธมากที่เหตุการณ์แบบนี้มาเกิดในวิหารของชั้นได้ยังไงกัน ก็เลยสาปสาวน้อยผมงามกลายเป็นงูและไล่ออกจากวิหาร
เมดูซ่าก็เลยกลายเป็นแม่มดที่น่ากลัวและสร้างคำสาปที่น่าโหดเหี้ยมขึ้นมา นั่นคือ ชายใดที่มองดวงตาของเธอจะต้องกลายเป็นหินไปทุกคน
แต่แล้วก็มีบุรุษหนึ่งชื่อเพอร์ซิอุส (Perseus) อาสาเหล่าทวยเทพเข้ามาปราบนาง (และอาธีน่าก็เป็นหนึ่งในเทพเหล่านั้นด้วย)
เขาได้รับรองเท้าวิเศษจากเมอร์คิวรี่ โล่วิเศษจากอธีน่า ทำให้พ่อหนุ่มมีอาวุธครบมือเข้าไปต่อสู้และตัดหัวมาให้กับเทพอธีน่าได้ โดยเทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้กับแม่หัวงูก็คือไม่มองไปที่เมดูซ่าตรงๆ แต่ใช้โล่สะท้อนแสงของอธิน่าเป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพ ทำให้สามารถเห็นและตัดหัวเมดูซ่ามาได้โดยไม่กลายเป็นหินไปซะก่อน เสร็จแล้วก็นำหัวของแม่นางมาให้กับอธีน่า ซึ่งเทพีก็พึงพอใจมากขนาดเอาหัวเมดูซ่ามาประดับโล่ไว้เป็นของประดับเกียรติยศ
เรื่องเมดูซ่านี้ยังไม่จบ มีนักจิตวิเคราะห์นำเธอมาใช้ตีความเป็นสัญลักษณ์ของปมด้อยทางเพศซะอีก โดยบอกว่าเมดูซ่าเป็นสัญลักษณ์ของความกลัวการถูกตอนของเพศชาย งูของเมดูซ่าเปรียบเสมือนลึงค์ที่ผู้ชายมองแล้วจะเกิดความกลัว ซึ่งความกลัวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้เห็นอวัยวะเพศหญิง
คนที่คิดแบบนี้จะเป็นใครซะอีกละนอกจาก ซิกมันด์ ฟรอย์ นักจิตวิเคราะห์ที่ชอบหมกหมุ่นเกี่ยวกับทฤษฎีเรื่องเพศเป็นประจำ ไม่รู้ว่าคิดไปได้ยังไง แต่ช่างเถอะ นั่นเป็นเรื่องของฟรอย์ไป
ว่าแต่ว่าตอนนี้เราจะขออธิบายเรื่องงานศิลปะชิ้นนี้กันดีกว่า
ศีรษะเมดูซ่านี้เป็นของประติมากรอิตาเลียนคนดัง ซึ่งก็คือเบอร์นีนี่ (Bernini) อีกแล้ว ถ้าท่านยังไม่ทราบว่าเขาคือใครก็แสดงว่ายังไม่ได้ไปอ่านตอนก่อนหน้าซึ่งมีงานของเขาอยู่เยอะในหอศิลป์บอร์เกเซ่ ลองดูงูบนหัวของเมดูซ่าจะเห็นว่าบิดเกลียวเกี่ยวพันกันราวกำลังเลื้อยมาพร้อมฉกกัด ช่างน่าสงสัยว่าเขาสลักหินให้เป็นตัวงูพันกันยุ่งๆเลื้อยลดไปได้ยังไง คงต้องมีฝีมือเลยที่สามารถเซาะให้มีรอยลึก มีมิติ มีโพรงอะไรได้หมด ใครมาเห็นก็ต้องยืนมองนิ่งและนาน ราวกับกำลังถูกสะกดให้เป็นหินตามคำสาปนั้น
แต่เราก็รู้แล้วว่าแม่นางถูกตัดคอตายไปนานแล้วละ ณ ตอนนี้ มองได้ไม่ต้องกลัว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มองแล้วก็ทำให้คิดต่อก็คือ ใบหน้าของนางไม่ได้ดูโหดเหี้ยม แต่ดูเศร้าและเจ็บปวดรวดร้าวมากกว่า คุณเห็นด้วยไหมครับ
บางที เบอร์นีนี่อาจตั้งใจจะสื่อความบางอย่าง หรืออาจจะคิดเหมือนกับเรา
สงสารนาง ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลย