[CR] รีวิว Cheese อร่อยๆใน Switzerland มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

สวัสดีค่ะ 

กลับมาแล้วรอบนี้ขอรีวิวของขึ้นชื่อที่สวิสเซอร์แลนด์อีกอย่างนึงที่หลายคนอาจจะลืมไป นั่นคือ Cheese นั่นเองค่า
ตอนนี้เราอาศัยอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เข้าปีที่ 5 แล้ว อาหารเช้าเราทุกเช้าคือ croissant กับเเยมผลไม้ หรือไม่ก็ cheese and croissant ค่ะ จากนั้นก็ตามด้วยกาแฟ 1 แก้วเพื่อปลุกวิญญาณจากเตียงให้เข้าร่างได้สมบูรณ์แบบ ฮ๋าๆๆๆ พาพันดี๊ด๊า

เอาหล่ะค่ะ เนื่องจากทานชีสมาเยอะมากเพราะเป็นคนที่ชอบทานชีสตั้งแต่อยู่ไทยแล้ว เลยจะมาขอรีวิวและแนะนำชีสที่ตัวเองชอบ
เพื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่มาเที่ยวสวิสแล้วอยากลองทานชีสอร่อยๆ จะได้ไม่ต้องสุ่มลองชีสโดยที่ไม่มี guideline อะไรเลย
เรานี่ชอบชีสมากค่ะ พอมาอยู่สวิสนี่สวรรค์ของคนรักชีสอย่างเราเลย miniheart

ชีสที่นี่คุณภาพดี มีให้เลือกมากมายหลากหลายทั้งจาก supermarket ทั่วๆไปอย่าง Coop, Migros, Denner, ALDI, LIDL หรือจะตาม Fromagerie (อันนี้เป็นภาษาฝรั่งเศส คือเป็นร้านที่ขายชีสโดยเฉพาะเลยมีตามหมู่บ้านหรือ old town ต่างๆ)

ชีสที่เราชอบจากที่ลองมามากกว่า 30 ชนิด ทั้งจากสวิสโซนฝรั่งเศสและสวิสโซนเยอรมัน มีแนะนำตามด้านล่างนี้ค่ะ
(ขอรีวิวเฉพาะอันที่อร่อยสำหรับเราแล้วกันนะคะ เพราะรีวิวทั้งหมดที่ลองมาไม่ไหว แล้วอาจจะไม่ดีต่อยี่ห้อเค้าด้วย แฮร่)

อ้อๆๆ ขอเสริมเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ จขกท รู้เกี่ยวกับชีสไว้ในบทความนี้ด้วยนะคะ

1) Kaltbach Rahmkäse คือ cheese ที่ love มาาาาาาาาาาาาาก เนื่องจากมีรสชาติที่เข้มข้น มีรสเค็มและเนื้อสัมผัสที่นุ่มเนียน ละมุนนุ่มลิ้นมากๆค่ะ จขกท ชอบมากที่สู้ดเลย ตัวรี้น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบสัมผัสความเปรี้ยวของชีส
แต่ตอนแรกที่เปิดถุงมาตัดชีสทาน กลิ่นจะแรงงง แต่ไม่ต้องกลัวไปค่ะ ตอนแรก จขกท เองก็คิดว่าต้องรสชาติแย่ แต่ปรากฏอร่อยมากๆค่ะ ตอนนี้เปิดถุงมากลิ่นไม่แรงละ กลิ่นอร่อยลอยมาแทน ฮ่าๆๆๆๆ

2) Maréchal อันนี้ก็อร่อยค่ะ เนื้อสัมผัสจะเเข็งกว่าตัวเเรกที่เป็น Rahmkäse และกลิ่นไม่แรงเท่าค่ะ แต่รสชาติถือว่าดีมากเลยทีเดียว ออกเค็มนิดๆ
น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบสัมผัสความเปรี้ยวของชีส สามารถนำเอาไปผัดกับข้าวผัด เติมแฮม มะกอกเขียวหน่อย ก็อร่อยดีมากค่ะไม่ต้องเติมซีอิ๊วเลยเพราะอาศัยรสจากชีสเอา ชีสอันนี้จะไม่ค่อยละลายมากนะคะเนื่องจากเป็นชีสที่น้ำน้อย

3) Rustico Nostrano ตัวนี้เนื้อนิ่มนุ่มตัดง่าย มีรูอากาศเล็กๆทั่วๆก้อน รสเค็มนิดเดียว แต่จะแกมรสเปรี้ยวอ่อนๆแต่ไม่ใช่รสเปรี้ยวที่แย่แต่อย่างใดนะคะ
ตอนนี้เราทานบ่อยๆคู่กับ croissant ตอนเช้าอยู่ช่วงใหญ่ๆช่วงนึงเลย
ไอ้รูของชีสนี่ภาษาอังกฤษคือ holes ซึ่งมันถูกสร้างมาจาก bacteria ตอนที่มันกำลังเปลี่ยนจากนมเป็นชีส
ไอ้เจ้าแบคทีเรียที่ชื่อ "Propionibacterium" มันใช้กรดเเลคติค (lactic acid) ที่ถูกสร้างขึ้นจากแบคทีเรียตัวอื่นๆ แล้วเกิดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) ไอ้เจ้าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นี่แหละค่ะที่ทำให้เกิด holes ทั่วๆก้อนชีส และไอ้รูที่เกิดทั่วๆก้อนชีสนี่แหละค่ะที่เค้าเรียกว่า ตาของชีส  "eyes" ส่วนชีสตัวไหนที่ไม่มีรู เค้าเรียกว่า "blind" cheese (อารมณ์แบบไม่มีรูเท่ากับไม่มีตา เป็นไอ้ชีสตาบอด ฮ่าๆๆ)

4) Davos Rahmkäse ชีสตัวนี้ดูจากชื่อแล้วสันนิษฐานว่ามาจาก Davos (Canton Graubünden ในภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศสคือ canton Grisons) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของสวิสเซอร์แลนด์ ชีสตัวนี้เค้าจะมีเนื้อแข็งกว่าตัว Rustico Nostrano (#3 ที่รีวิวไปก่อนหน้า) กลิ่นแรงทำเอาใจเสียตอนแรก แต่รสชาติอร่อยค่ะ เค็มกว่าตัวที่ #3 Rustico Nostrano แต่เค็มน้อยกว่า #1 Kaltbach Rahmkäse
ภาพข้างล่างคืออาหารเช้าเราเองค่ะตอนเช้าวันเสาร์ ทาน croissant, Davos cheese, rolled ham, fig (ผลไม้ช่วง ปลาย summer - autumn)

5) Zugerbergkäse ตัวนี้เป็นชีสที่กลิ่นไม่แรงถ้าเทียบกับตัวที่ 1(kaltbach),4 (davos) เนื้อนุ่มยืดหยุ่น มีรูทั่วๆก้อน ไม่เค็มหรือเค็มแต่นิดเดียวมากๆ แต่มีรสเปรี้ยวอ่อนๆๆที่น่าจะเป็นไฮไลท์ของตัวนี้ ตัวนี้ทานคู่กับ croissant ตอนเช้าก็ดีค่ะ รสไม่แรงกลม croissant มาก

6) Luzerner Rahmkäse ถึงตอนนี้คิดว่าผู้อ่านน่าจะจับทางได้ละว่าเจ้าของกระทู้ชอบ rahmkäse คือชีสที่ผสมครีม
ไอ้เจ้าชีสจำพวกนี้เนื้อมันเนียนและนุ่มมากๆๆดีงามจริงๆนะคะ เจ้าตัว Luzerner Rahmkäse นี้รสชาติอ่อนกว่า #1 (Kaltbach) และ #4 (Davos) แต่มีความเข้มข้นมากกว่าตัว #5 (Zugerbergkäse) รสเค็มกำลังพอดี เปรี้ยวอ่อนๆกำลังงาม

7) Kürbiskern Rebell เป็นชีสที่มีการผสมเมล็ดฟักทอง (Kürbis ในภาษาเยอรมัน) ลงไปด้วยทำให้เนื้อชีสมีความน่าสนใจได้กรุบอ่อนไปกับเจ้าเมล็ดฟักทองเข้าไปด้วย เป็นชีสเนื้ออ่อนนุ่มค่ะ แต่ไม่ได้ครีมนวลเหมือนพวก Rahmkäse รสชาติเค็มกำลังดี และไม่ค่อยได้รสเปรี้ยว น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบสัมผัสความเปรี้ยวของชีส

8) Le Rustique Fromage camembert ตัวนี้เป็นชีส (ชีสภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า fromage) ของประเทศฝรั่งเศสเค้าแต่เจอได้ใน Coop (Supermarket ของสวิส) กลิ่นแรงมากๆๆๆ อย่าได้ใจเสียไปค่ะ เพราะน้องเค้าอร่อยมาก สามารถทานเปลือกชีสได้เพราะอ่อนนุ่มมากๆ ก้อนชีสมีลักษณะกลมและตรงกลางก้อนจะมีความเยิ้มเหลวไหลหรือที่เค้าเรียกในภาษาฝรั่งเศสว่ามีความ Moelleux (มวยเยิ้ส) รสชาติไม่ค่อยเค็ม เค็มอ่อนๆ ไม่มีรสเปรี้ยวนะคะ จขกท ไม่ได้รสเปรี้ยวเท่าไหร่ในชีสตัวนี้ แต่เหมาะกับทานคู่กับขนมปัง baguette ที่อุ่นๆกรอบนอกนุ่มในชิ้นเล็กๆพอดีคำแล้วตามด้วยชีสนี้เข้าไป โอ้ยยยยย ฟินค่ะ
อีกตัวที่คล้ายๆกันแต่กลิ่นแรงน้อยกว่าตัวนี้ 100 เท่าคือ Tomme a la crème ค่ะ ห่อสีเหลืองมีรูปเด็กผู้ชายใส่หมวกอยู่หน้าห่อลองไปหาตาม Coop, Migros ได้ค่า
ปล. รูปด้านล่างของชีสตัวนี้เอามาจาก google นะคะ เจ้าของกระทู้ทานเพลิน ลืมถ่ายเก็บไว้ เอาไว้ถ้าซื้อมาอีก จะถ่ายรูปไว้แล้วเอามาใส่แทนอันนี้ค่า แล้วจะถ่ายรูปตอนตัดแล้วให้ดูด้วยนะคะ จะได้เห็นความ Moelleux (มวยเยิ้ส) ของเจ้าชีสตัวนี้ ยิ้ม


แถมเกร็ดความรู้อีกนิสเกี่ยวกับชีส คือจริงๆมันไม่มีวิธีการแบ่งแยกประเภทชีสที่ชัดเจนเนื่องจากการผลิตชีสมันมีหลายปัจจัย เช่น อายุการเก็บชีสด้วย เรื่องของ texture และ region การผลิตชีสด้วย

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญเด่นๆที่ทำให้เกิดชีสเนื้อสัมผัสและรสชาติต่างกันไป เช่นเรื่องของ...

1) นมที่เอามาใช้ทำชีส (the origin of the milk)

2) ความชื้นในตัวชีส (moisture content) ซึ่งก็ไม่มีเส้นขีดตายตัวเพื่อเเบ่งประเภทชีสจากข้อนี้อีก แต่แบ่งคร่าวๆใหญ่ๆได้แบบ Soft Cheese/ Hard Cheese แต่ก็ไม่ตายตัวเพราะมันขึ้นกับระยะเวลาการบ่มชีสอีก (the length of aging)

3) ราเฉพาะ (specific moulds) และแบคทีเรียเฉพาะ (specific bacteria) ที่ใส่ลงไปในชีส 

4) ความต่างของอายุชีส (length of aging)

ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่อ่านจบมาจนถึงตรงนี้นะคะ หวังหว่าจะช่วยไกด์ให้ผู้อ่านอยากลองชีสได้มากขึ้น นานาจบข่าว
ชื่อสินค้า:   Cheese (French: Fromage, German: Käse)
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่