เชื่อว่าหลายบ้านคงเป็นเหมือนกันที่ใช้มีดเล่มเดียวในการเตรียมวัตถุดิบประกอบอาหารได้ทุกเมนู ไม่ว่าจะเป็นหั่น สับ ตัด ซอยรวมถึงปลอกผลไม้ด้วย… ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะแอดก็ทำแบบนั่นเหมือนกัน แต่ประสบปัญหาตอนที่หั่นขนมปังไม่ได้ดั่งใจอยากสไลด์ให้ได้ตรงสวยงามเหมือนที่เขาแพ็คขายกันทั่วๆ ไป แต่ๆๆๆ… ทุกครั้งที่หั่นไม่ได้สวยไม่ได้ตรงตามภาพที่วาดภาพไว้เลยสักนิด มารู้ถึงตัวปัญหาก็คือมีดที่ใช้นั่นเอง ใช้มีดผิดชีวิตเปลี่ยน จริงหรือ??
HomeGuru จึงอยากมาบอกเล่าเรื่อง ประเภทของมีด รวมถึงบอกเล่าว่า มีดแบบต่างๆ ใช้กับอะไรได้เหมาะสมบ้าง
การเลือก “มีด” นอกจากขนานแล้ว ยังมีวัสดุที่ใช้ผลิตใบมีด ดีไซน์ที่รวมถึงใบมีดและด้ามจับ ซึ่งแต่ละวัสดุก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เราจะไม่พูดถึงดีไซน์ความสวยงามที่เป็นความต้องการพิเศษกว่าปกติเฉพาะบุคคล แต่เราจะพูดถึงรูปลักษณ์ของมีดใช้ในครัวโดยทั่วไปที่ทำจากวัสดุต่างๆ อาทิเช่น
มีดสเตนเลส หรือเรียกว่าโลหะทรานซิชั่น มีข้อดีหลายประการคุณพ่อบ้าน คุณแม่บ้านจึงนิยมเลือกมาใช้รวมถึงอาชีพเชฟด้วย เช่น มีความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าเหล็ก High Carbon มีน้ำหนักพอเหมาะ ไม่ขึ้นสนิม สามารถนำไปลับคมได้ง่ายแต่ก็ทำให้เสียความคมได้เร็วตามไปด้วย นอกจากนี้ผิวสเตนเลสที่มีความมันวาวทำให้สิ่งสกปรกติดยากจึงปลอดภัยจากการบนเปื้อนในอาหารได้
มีดเหล็ก High Carbon คนส่วนใหญ่ชื่นชอบใช้มีดที่ทำจากเหล็กอาจเพราะความเคยชินใช้ถนัดกระชับมือ หาซื้อง่าย มีความแข็งแกร่งคงทน หนาหนักใช้ได้นาน แม้เกิดสนิมง่าย แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่บางแบรนด์มีการทำให้ต้านสนิมมากขึ้น แต่ก็ยังต้องหมั่นลับคม ลบสนิทบ่อยๆ
มีดเซรามิก ทำจาก Zirconium Dioxide (เซอร์โคเนียม ไดออกไซด์) ซึ่งมีความแข็งแรงและคมมาก ด้วยคุณสมบัติที่แกร่งรองจากเพชรจึงสามารถใช้ได้นานจนลืมโดยไม่ต้องลับคม น้ำหนักเบาหยิบใช้สบายมือ แต่มีความเปราะบาง แตกหักได้จึงไม่เหมาะกับงานสับของที่มีความแข็งมากๆ เช่น กระดูก ก้อนน้ำแข็ง อาหารแช่แข็งที่ยังไม่ละลายน้ำแข็ง และอาหารประเภทอื่นๆ ที่มีความแข็งเป็นพิเศษ
ประเภทของมีด
มีดเชฟ
เพื่อนๆ รู้ไหมอาชีพใดมีอุปกรณ์คู่กายเป็นมีด???? เฉลยๆๆ อาชีพเชฟนั่นเอง เรียกได้ว่าตัดขาดกันไม่ได้เลยทีเดียว หรือเปรียบได้ว่าเป็นแขนอีกข้างหนึ่งของเชฟเลยก็ว่าได้ เพราะต้องหยิบใช้อยู่ตลอดเวลา ใช้ได้กับวัตถุดิบหลากหลายประเภท ดังนั้นมีดเชฟจึงมีคุณสมบัติที่แตกต่าง น้ำหนักที่เหมาะสม ขนาดมาตรฐานประมาณ 6 – 12 นิ้ว ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีแค่เล่มเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องห้องครัวเพิ่มเติมได้ที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์
อ่านความรู้เรื่องห้องครัวเพิ่มเติมได้ที่ อุปกรณ์ทำความสะอาดครัวที่ควรมีไว้ เพื่อสุขอนามัยที่ดี
มีดปอก
มีดเล่มเล็กที่มีความคมเป็นเลิศ ขนาดเล็กกว่ามีดเชฟครึ่งหนึ่งขนาดประมาณ 2.5 – 4 นิ้วใช้ปอกผลไม้ หรือหั่น ตัดผักและเนื้อบางประเภทได้ โดยเหมาะกับการใช้งานที่เน้นความละเอียด รวมเร็ว มีจุดสังเกตุของมีประเภทนี้จะมีด้ามจับที่ยาวกว่าใบมีดจึงควรใช้อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ
มีดอเนกประสงค์
เป็นมีดที่มีในทุกครัวเรือน และนี่ก็คือมีดที่กล่าวไว้เริมเร่องนั่นเอง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้งานได้อเนกประสงค์(แต่ไมได้บอกว่าใช้แล้วจะดีหรือไม่ดี) ไม่ว่าจะเป็นงานหั่น ตัด แล่ สับ ซอย มีลักษณะคล้ายมีดปอก แต่ใหญ่กว่ามีดปอก เล็กกว่ามีดเชฟ ขนาดประมาณ 4 – 7 นิ้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องห้องครัวเพิ่มเติมได้ที่ 5 จุดคิดก่อนเลือกซื้อเครื่องปั่น ให้ตรงใจและใช้นาน
อ่านความรู้เรื่องห้องครัวเพิ่มเติมได้ที่ เราจะผอมด้วย หม้อทอดไร้น้ำมัน
มีดสับ
ควรเป็นมีดที่ใหญ่มีความหนา น้ำหนักมาก เพื่อส่งแรงไปตัดสับชิ้นเนื้อที่หนาได้แม่นยำ สับกระดูก เอ็น ข้อต่อหรือวัตถุดิบแข็งๆ ได้ง่ายดาย สำหรับใช้ในครัวเรือนขนาดประมาณ 6 – 7 นิ้วก็เพียงพอแล้ว
มีดแล่เนื้อ
บางบ้านอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่ลองอ่านคุณสมบัตินี้ก่อนแลวค่อยตัดสินใจใหม่ มีดแล่เนื้อถูกออกแบบมาเพื่อหั่นเนื้อทั้งสุกและไม่สุกให้ได้ความบางได้มากกว่ามีดประเภทอื่นๆ ซึ่งเนื้อบางประเภทบางเมนูต้องหั่นชิ้นบางๆ เพื่อเข้าถึงอรรถรสความอร่อย และยังได้ความสวยงามเป็นของแถมตอนจัดจานเสิร์ฟอีกด้วย ขนาดมาตรฐานประมาณ 8 – 10 นิ้ว
มีดหั่นขนมปัง
มีดประเภทนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของใบมีดที่คมและหยัก เพื่อใช้ตัดขอบขนมปังที่แข็งและหนา รวมถึงเนื้อขนมปังที่มีความนุ่มหยุ่นโดยไม่ทำให้เนื้อขนมปังแตกออกจากกัน ขนาดมาตรฐานประมาณ 6 – 10 นิ้ว และด้วยความพิเศษของใบมีดที่หยักจึงไม่นิยมลับคมมีดประเภทนี้ ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 2 – 3 ปี หรือเมื่อสังเกตุเห็นว่ามีดไม่มีความคมแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องห้องครัวเพิ่มเติมได้ที่ เคล็ดไม่ลับ วิธีทำความสะอาดกระทะ ประเภทต่างๆ
อ่านความรู้เรื่องห้องครัวเพิ่มเติมได้ที่ ภาชนะที่ “ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ” มีอะไรบ้าง
การดูแลรักษาความสะอาดมีดโดยทั่วๆ ไป ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนนำไปเก็บทุกครั้ง ส่วนมีดเหล็กไฮด์คาร์บอน และมีดสเตนเลสควรล้างและลับคมบ่อยๆ เพื่อคงความคมของมีด และเคลือบทาน้ำมันบางกันเพื่อกันสนิม ทั้งนี้มีดเซรามิกควรเก็บใส่ปลอก หรือเข้าฝักไว้ทุกครั้ง ป้องกันการถูกกระแทกบิ่น แตกหักได้
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง
http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง
https://bit.ly/3dQm4XE
เรื่องของมีด ประเภทไหน ใช้อย่างไร
เชื่อว่าหลายบ้านคงเป็นเหมือนกันที่ใช้มีดเล่มเดียวในการเตรียมวัตถุดิบประกอบอาหารได้ทุกเมนู ไม่ว่าจะเป็นหั่น สับ ตัด ซอยรวมถึงปลอกผลไม้ด้วย… ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะแอดก็ทำแบบนั่นเหมือนกัน แต่ประสบปัญหาตอนที่หั่นขนมปังไม่ได้ดั่งใจอยากสไลด์ให้ได้ตรงสวยงามเหมือนที่เขาแพ็คขายกันทั่วๆ ไป แต่ๆๆๆ… ทุกครั้งที่หั่นไม่ได้สวยไม่ได้ตรงตามภาพที่วาดภาพไว้เลยสักนิด มารู้ถึงตัวปัญหาก็คือมีดที่ใช้นั่นเอง ใช้มีดผิดชีวิตเปลี่ยน จริงหรือ?? HomeGuru จึงอยากมาบอกเล่าเรื่อง ประเภทของมีด รวมถึงบอกเล่าว่า มีดแบบต่างๆ ใช้กับอะไรได้เหมาะสมบ้าง
การเลือก “มีด” นอกจากขนานแล้ว ยังมีวัสดุที่ใช้ผลิตใบมีด ดีไซน์ที่รวมถึงใบมีดและด้ามจับ ซึ่งแต่ละวัสดุก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เราจะไม่พูดถึงดีไซน์ความสวยงามที่เป็นความต้องการพิเศษกว่าปกติเฉพาะบุคคล แต่เราจะพูดถึงรูปลักษณ์ของมีดใช้ในครัวโดยทั่วไปที่ทำจากวัสดุต่างๆ อาทิเช่น
มีดสเตนเลส หรือเรียกว่าโลหะทรานซิชั่น มีข้อดีหลายประการคุณพ่อบ้าน คุณแม่บ้านจึงนิยมเลือกมาใช้รวมถึงอาชีพเชฟด้วย เช่น มีความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าเหล็ก High Carbon มีน้ำหนักพอเหมาะ ไม่ขึ้นสนิม สามารถนำไปลับคมได้ง่ายแต่ก็ทำให้เสียความคมได้เร็วตามไปด้วย นอกจากนี้ผิวสเตนเลสที่มีความมันวาวทำให้สิ่งสกปรกติดยากจึงปลอดภัยจากการบนเปื้อนในอาหารได้
มีดเหล็ก High Carbon คนส่วนใหญ่ชื่นชอบใช้มีดที่ทำจากเหล็กอาจเพราะความเคยชินใช้ถนัดกระชับมือ หาซื้อง่าย มีความแข็งแกร่งคงทน หนาหนักใช้ได้นาน แม้เกิดสนิมง่าย แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่บางแบรนด์มีการทำให้ต้านสนิมมากขึ้น แต่ก็ยังต้องหมั่นลับคม ลบสนิทบ่อยๆ
มีดเซรามิก ทำจาก Zirconium Dioxide (เซอร์โคเนียม ไดออกไซด์) ซึ่งมีความแข็งแรงและคมมาก ด้วยคุณสมบัติที่แกร่งรองจากเพชรจึงสามารถใช้ได้นานจนลืมโดยไม่ต้องลับคม น้ำหนักเบาหยิบใช้สบายมือ แต่มีความเปราะบาง แตกหักได้จึงไม่เหมาะกับงานสับของที่มีความแข็งมากๆ เช่น กระดูก ก้อนน้ำแข็ง อาหารแช่แข็งที่ยังไม่ละลายน้ำแข็ง และอาหารประเภทอื่นๆ ที่มีความแข็งเป็นพิเศษ
ประเภทของมีด
มีดเชฟ
เพื่อนๆ รู้ไหมอาชีพใดมีอุปกรณ์คู่กายเป็นมีด???? เฉลยๆๆ อาชีพเชฟนั่นเอง เรียกได้ว่าตัดขาดกันไม่ได้เลยทีเดียว หรือเปรียบได้ว่าเป็นแขนอีกข้างหนึ่งของเชฟเลยก็ว่าได้ เพราะต้องหยิบใช้อยู่ตลอดเวลา ใช้ได้กับวัตถุดิบหลากหลายประเภท ดังนั้นมีดเชฟจึงมีคุณสมบัติที่แตกต่าง น้ำหนักที่เหมาะสม ขนาดมาตรฐานประมาณ 6 – 12 นิ้ว ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีแค่เล่มเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มีดปอก
มีดเล่มเล็กที่มีความคมเป็นเลิศ ขนาดเล็กกว่ามีดเชฟครึ่งหนึ่งขนาดประมาณ 2.5 – 4 นิ้วใช้ปอกผลไม้ หรือหั่น ตัดผักและเนื้อบางประเภทได้ โดยเหมาะกับการใช้งานที่เน้นความละเอียด รวมเร็ว มีจุดสังเกตุของมีประเภทนี้จะมีด้ามจับที่ยาวกว่าใบมีดจึงควรใช้อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ
มีดอเนกประสงค์
เป็นมีดที่มีในทุกครัวเรือน และนี่ก็คือมีดที่กล่าวไว้เริมเร่องนั่นเอง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้งานได้อเนกประสงค์(แต่ไมได้บอกว่าใช้แล้วจะดีหรือไม่ดี) ไม่ว่าจะเป็นงานหั่น ตัด แล่ สับ ซอย มีลักษณะคล้ายมีดปอก แต่ใหญ่กว่ามีดปอก เล็กกว่ามีดเชฟ ขนาดประมาณ 4 – 7 นิ้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มีดสับ
ควรเป็นมีดที่ใหญ่มีความหนา น้ำหนักมาก เพื่อส่งแรงไปตัดสับชิ้นเนื้อที่หนาได้แม่นยำ สับกระดูก เอ็น ข้อต่อหรือวัตถุดิบแข็งๆ ได้ง่ายดาย สำหรับใช้ในครัวเรือนขนาดประมาณ 6 – 7 นิ้วก็เพียงพอแล้ว
มีดแล่เนื้อ
บางบ้านอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่ลองอ่านคุณสมบัตินี้ก่อนแลวค่อยตัดสินใจใหม่ มีดแล่เนื้อถูกออกแบบมาเพื่อหั่นเนื้อทั้งสุกและไม่สุกให้ได้ความบางได้มากกว่ามีดประเภทอื่นๆ ซึ่งเนื้อบางประเภทบางเมนูต้องหั่นชิ้นบางๆ เพื่อเข้าถึงอรรถรสความอร่อย และยังได้ความสวยงามเป็นของแถมตอนจัดจานเสิร์ฟอีกด้วย ขนาดมาตรฐานประมาณ 8 – 10 นิ้ว
มีดหั่นขนมปัง
มีดประเภทนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของใบมีดที่คมและหยัก เพื่อใช้ตัดขอบขนมปังที่แข็งและหนา รวมถึงเนื้อขนมปังที่มีความนุ่มหยุ่นโดยไม่ทำให้เนื้อขนมปังแตกออกจากกัน ขนาดมาตรฐานประมาณ 6 – 10 นิ้ว และด้วยความพิเศษของใบมีดที่หยักจึงไม่นิยมลับคมมีดประเภทนี้ ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 2 – 3 ปี หรือเมื่อสังเกตุเห็นว่ามีดไม่มีความคมแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การดูแลรักษาความสะอาดมีดโดยทั่วๆ ไป ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนนำไปเก็บทุกครั้ง ส่วนมีดเหล็กไฮด์คาร์บอน และมีดสเตนเลสควรล้างและลับคมบ่อยๆ เพื่อคงความคมของมีด และเคลือบทาน้ำมันบางกันเพื่อกันสนิม ทั้งนี้มีดเซรามิกควรเก็บใส่ปลอก หรือเข้าฝักไว้ทุกครั้ง ป้องกันการถูกกระแทกบิ่น แตกหักได้
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3dQm4XE