เหล็กกระดาษขาวของยาสึกิ 安来白紙鋼
หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่าไวท์สตีลครับผม เหล็กเพลนคาร์บอนหรือมีส่วนผสมน้อยชั้นดีจากยาสึกิหรือฮิตาชิเมทัล เหล็กในสายกระดาษขาวทุกวันนี้ก็มีสี่เบอร์นะครับ คือขาว1 , ขาว2 , ขาว3 และขาวเลื่อย หรือชิโรกามิโนโกะ ถ้าไล่ตามส่วนผสมหลักคือปริมาณคาร์บอนก็เริ่มที่ขาว1 มีสูงสุดคือประมาณ1.25 - 1.35 % หรือร้อยยี่สิบห้าป็อยท์ถึงร้อยสามสิบห้าป็อยท์ สูงสุดๆสะใจชายผู้กล้า
มีดที่ลงให้ดูวันนี้เป็นยี่ห้อคิยะ หรือนิฮองบาชิคิยะ ในรุ่น イヅツキ หรือ อิซึกิ Izutsuki หรืออิสุทสุกิ เอาให้พอ อ่านไปอ่านมาเดี๋ยวไปเหมือนอิกคิวซังจนได้ มีดในรุ่นนี้ที่ต่างจากรุ่นปรกติคือคอด้ามเป็นคอเขาควาย และใบมีดทำด้วยเหล็กลามิเนทที่เหล็กกล้าเป็นเหล็กกระดาษขาวของยาสึกิ ( แต่สำหรับมีดนาคิริในรุ่นนี้จะใช้กระดาษน้ำเงินนะครับ ยกระดับขึ้นมาอีกหน่อย )
มีดคิยะรุ่นปรกติที่เราเห็นๆกันอยู่เรื่อยจะเป็นรุ่นโยชิฮิสะนะครับ 義久 ผมเองก็ใช้รุ่นนี้อยู่ซึ่งเป็นรุ่นตลาดของคิยะ โดยในมีดปรกติจะใช้เหล็กกล้าคาร์บอน 炭素鋼 แต่มีดนาคิริจะใช้เหล็กกระดาษขาว คือรู้สึกว่าคิยะเค้าให้ความสำคัญกับมีดหั่นผัก ปรกติผมใช้มีดคิยะรุ่นโยชิฮิสะพิมพ์นาคิริอยู่แล้ว ก็คือใช้เหล็กกระดาษขาวยาสึกิมาตลอด
โชคดีได้ชุดนี้มาสามเล่มครับ มาจากคนละที่ละทาง เป็นเดบะที่ค่อนข้างหน้าตรงกว่าเดบะยี่ห้ออื่นๆเล่มนึง และมีดอูสุบะหรือมีดหั่นผักใบมีดบางอีกสองเล่ม ซีรี่ย์เดียวกันคืออิซึกิ คอเขา เหล็กกระดาษขาว ทีนี้ละเพลินเลย ทั้งๆที่ก็มีเหล็กกระดาษขาวอยู่หลายเล่มเหมือนกัน แต่ได้ชุดนี้มาจะได้เก็บข้อมูลที่ใกล้เคียงกันและเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด ทั้งการตี การชุบแข็ง เนื้อเหล็กส่วนคมแข็งและเนื้อเหล็กส่วนเหล็กเหนียว
เท่าที่ลองลับดูเล่มนี้เหล็กแข็งพอๆกับมีดอูสุบะของซาไกโทจิซึ่งเป็นเล่มโปรดของภรรยาแสนรักของผม ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าไอ้มีดอะไรๆที่ผมหามาให้ลอง ส่วนมากแล้วจะสู้เล่มที่ว่านี่ไม่ได้ ซึ่งรุ่นนั้นเป็นมาซาชิเกะซากุก็ใช้เหล็กยาสึกิเหมือนกัน
ใบมีดของรุ่นนี้ใช้กระดาษขาวถ้าไม่ได้บอกเบอร์มาตรงๆเราจะทึกทักเอาหรืออนุมานเอาว่ามันจะเป็นชิโรกามิอิชิ หรือชิโรกามิหนึ่ง ซึ่งเป็นเหล็กกล้าที่ดีที่สุดของชุดนี้ หรือจะเรียกตามตรงว่าเป็นเหล็กกล้าเพลนคาร์บอนที่ได้รับความเชื่อถือที่สุดในตลาดมีดครัวญี่ปุ่น ที่เหนือกว่านี้ก็เป็นบลูสตีลซึ่งมันเป็นอัลลอยด์ไปแล้ว ไม่ใช่เหล็กเพลนคาร์บอน หรือเหล็กคาร์บอนบริสุทธิ์ตามแนวคิดของช่างญี่ปุ่น เหล็กญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมหรือนิฮองกาเนะ ส่วนมากเป็นเหล็กเพลนคาร์บอน ถ้าจะจัดประเภทให้จริงๆก็คือเหล็กกล้าซิลิกอน ซึ่งส่วนผสมตัวนี้ได้มาจากทรายเหล็กหรือแร่ทรายเหล็กที่ถลุงในเตาทาทาระหรือเตาหลอมเหล็กแบบญี่ปุ่น ส่วนธาตุประกอบตัวอื่นๆอย่างแมงกานีสหรือซัลเฟอร์ ตามหลักการเป็นสารมณฑิลธรรมดาคือเป็นสารปนเปื้อนที่อยู่ในเหล็กกล้าคาร์บอนอยู่แล้ว นับเป็นส่วนผสมหรือไม่เป็นก็ได้ ถึงมีธาตุประกอบพวกนี้ปนอยู่ก็ยังไม่ได้เรียกเหล็กกล้าพวกนี้ว่าเป็นอัลลอยด์
ผมเองชอบเหล็กไฮคาร์บอนหรือเหล็กเพลนคาร์บอน เหล็กกล้าที่อยู่ในใจมาตลอดก็เป็นเหล็กเบอร์ธรรมดาๆมีคาร์บอน100 ป็อยท์ อย่างเหล็ก W1 หรือเทียบเบอร์จากประเทศอื่นๆได้อย่าง 1545 หรือ SK3 ของญี่ปุ่นซึ่งผมเชื่อถือมาก แต่ SK4 SK5 ผมไม่ค่อยเชื่อถือ ถ้าจะให้เลือกเหล็กซักเบอร์มาไว้ทำมีดผมเองยังเลือกชิโรกามิ2 หรือกระดาษขาว2 เพราะมันมีคาร์บอนแค่ 1.05- 1.15 % ซึ่งเป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนเหมาะสมกับกับการทำงานของผม ถ้าชิโรกามิ1 ผมมองว่ามันออกจะสูงไปหน่อยด้วยซ้ำ
ส่วนผสมของเหล็กกระดาษขาว 1
C - - - - 1.25-1.35
Si - - - - 0.10-0.20
Mn - - - - 0.20-0.30
others - - - - P:<=0.025, S:<=0.004
นี่แหละครับใส่แค่นี้แหละ เป็นเหล็กกล้าบริสุทธิ์ที่เค้าว่าบริสุทธิ์มากๆ สารเจือปนน้อยกว่าเหล็กระดับทั่วๆไป ค่าความแข็งเกิน 60 ร็อกเวลส์ ซึ่งการชุบให้แข็งสุดๆไม่ค่อยมีปัญหา ปัญหาคือต้องชุบยังไงให้มันเหนียวต่างหาก คมมีดที่ได้คมกริบและต่อต้านการสึกหรอได้ดี คือต้านทานแม้กระทั่งการลับด้วยหินลับมีด ลองลับดูก็รู้สึกได้ว่ามันต่างจากมีดไฮคาร์บอนธรรมดาทั่วๆไป แม้แต่มีดของคิยะเอง รุ่นนี้ก็แข็งกว่าและเหนียวกว่า
ลองดูใบมีดใบนี้นะครับในส่วนของเหล็กเหนียวจะเห็นมันมีลายลูกน้ำวนไปมาหรือเป็นคลื่น มันไม่ใช่รอยเหล็กผสมหรือฮาดะนะครับ ไม่แน่ใจว่าญี่ปุ่นเรียกส่วนนี้ว่าอะไร แต่เป็นรอยของเกรนเหล็ก หรือการกระจายตัวของเกรนเหล็ก เห็นได้ทั่วๆไปในใบมีดที่ขัดผิวละเอียด ลองดูในใบมีดของเอ็ด โฟเลอร์จะเห็นแทบทุกใบ
คมมีดละเอียด ลับตั้งคมได้ง่ายเพราะมันแข็ง ตอนสนองต่อหินลับมีดได้ดีตั้งแต่หินที่หยาบหรือค่าความละเอียดน้อยๆ มีเกสรมีดระยิบระยับให้สัมผัสได้ถึงส่วนคมที่ละเอียด ผมชอบคมมีดแบบนี้มากกว่าคมแบบสแตนเลสหรืออัลลอยด์ที่คมแบบเรียบๆเป็นระเบียบ การต้านสนิมไม่ค่อยดีนัก ถ้าเทียบกับบลูสตีล คือไวท์สตีลสามารถเปลี่ยนสีได้ในการลับ คือถ้าลับข้างนึงแล้วไปลับอีกข้างนึงนานเกินไปส่วนคมมีดอีกฝั่งนึงก็จะเป็นสีเหลืองหรือสีแดง ถ้าใบมีดที่เป็นบลูสตีลมันจะยังไม่เป็น แต่ตามความเห็นส่วนตัวแล้วผมชอบชิโรกามิหรือเหล็กกระดาษขาวมากกว่าบลูสตีล เพราะมันลับง่ายกว่า คมมีดระยิบระยับกว่า เข้ากับผมได้ดีกว่าและดูมีความเป็นญี่ปุ่นมากกว่า คือเป็นเหล็กกล้าที่ถูกต้องตามขนบนิยมของช่างชาวญี่ปุ่นมากกว่า
มีดคิยะ 木屋 เหล็กกระดาษขาว 白紙
หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่าไวท์สตีลครับผม เหล็กเพลนคาร์บอนหรือมีส่วนผสมน้อยชั้นดีจากยาสึกิหรือฮิตาชิเมทัล เหล็กในสายกระดาษขาวทุกวันนี้ก็มีสี่เบอร์นะครับ คือขาว1 , ขาว2 , ขาว3 และขาวเลื่อย หรือชิโรกามิโนโกะ ถ้าไล่ตามส่วนผสมหลักคือปริมาณคาร์บอนก็เริ่มที่ขาว1 มีสูงสุดคือประมาณ1.25 - 1.35 % หรือร้อยยี่สิบห้าป็อยท์ถึงร้อยสามสิบห้าป็อยท์ สูงสุดๆสะใจชายผู้กล้า
มีดที่ลงให้ดูวันนี้เป็นยี่ห้อคิยะ หรือนิฮองบาชิคิยะ ในรุ่น イヅツキ หรือ อิซึกิ Izutsuki หรืออิสุทสุกิ เอาให้พอ อ่านไปอ่านมาเดี๋ยวไปเหมือนอิกคิวซังจนได้ มีดในรุ่นนี้ที่ต่างจากรุ่นปรกติคือคอด้ามเป็นคอเขาควาย และใบมีดทำด้วยเหล็กลามิเนทที่เหล็กกล้าเป็นเหล็กกระดาษขาวของยาสึกิ ( แต่สำหรับมีดนาคิริในรุ่นนี้จะใช้กระดาษน้ำเงินนะครับ ยกระดับขึ้นมาอีกหน่อย )
มีดคิยะรุ่นปรกติที่เราเห็นๆกันอยู่เรื่อยจะเป็นรุ่นโยชิฮิสะนะครับ 義久 ผมเองก็ใช้รุ่นนี้อยู่ซึ่งเป็นรุ่นตลาดของคิยะ โดยในมีดปรกติจะใช้เหล็กกล้าคาร์บอน 炭素鋼 แต่มีดนาคิริจะใช้เหล็กกระดาษขาว คือรู้สึกว่าคิยะเค้าให้ความสำคัญกับมีดหั่นผัก ปรกติผมใช้มีดคิยะรุ่นโยชิฮิสะพิมพ์นาคิริอยู่แล้ว ก็คือใช้เหล็กกระดาษขาวยาสึกิมาตลอด
โชคดีได้ชุดนี้มาสามเล่มครับ มาจากคนละที่ละทาง เป็นเดบะที่ค่อนข้างหน้าตรงกว่าเดบะยี่ห้ออื่นๆเล่มนึง และมีดอูสุบะหรือมีดหั่นผักใบมีดบางอีกสองเล่ม ซีรี่ย์เดียวกันคืออิซึกิ คอเขา เหล็กกระดาษขาว ทีนี้ละเพลินเลย ทั้งๆที่ก็มีเหล็กกระดาษขาวอยู่หลายเล่มเหมือนกัน แต่ได้ชุดนี้มาจะได้เก็บข้อมูลที่ใกล้เคียงกันและเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด ทั้งการตี การชุบแข็ง เนื้อเหล็กส่วนคมแข็งและเนื้อเหล็กส่วนเหล็กเหนียว
เท่าที่ลองลับดูเล่มนี้เหล็กแข็งพอๆกับมีดอูสุบะของซาไกโทจิซึ่งเป็นเล่มโปรดของภรรยาแสนรักของผม ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าไอ้มีดอะไรๆที่ผมหามาให้ลอง ส่วนมากแล้วจะสู้เล่มที่ว่านี่ไม่ได้ ซึ่งรุ่นนั้นเป็นมาซาชิเกะซากุก็ใช้เหล็กยาสึกิเหมือนกัน
ใบมีดของรุ่นนี้ใช้กระดาษขาวถ้าไม่ได้บอกเบอร์มาตรงๆเราจะทึกทักเอาหรืออนุมานเอาว่ามันจะเป็นชิโรกามิอิชิ หรือชิโรกามิหนึ่ง ซึ่งเป็นเหล็กกล้าที่ดีที่สุดของชุดนี้ หรือจะเรียกตามตรงว่าเป็นเหล็กกล้าเพลนคาร์บอนที่ได้รับความเชื่อถือที่สุดในตลาดมีดครัวญี่ปุ่น ที่เหนือกว่านี้ก็เป็นบลูสตีลซึ่งมันเป็นอัลลอยด์ไปแล้ว ไม่ใช่เหล็กเพลนคาร์บอน หรือเหล็กคาร์บอนบริสุทธิ์ตามแนวคิดของช่างญี่ปุ่น เหล็กญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมหรือนิฮองกาเนะ ส่วนมากเป็นเหล็กเพลนคาร์บอน ถ้าจะจัดประเภทให้จริงๆก็คือเหล็กกล้าซิลิกอน ซึ่งส่วนผสมตัวนี้ได้มาจากทรายเหล็กหรือแร่ทรายเหล็กที่ถลุงในเตาทาทาระหรือเตาหลอมเหล็กแบบญี่ปุ่น ส่วนธาตุประกอบตัวอื่นๆอย่างแมงกานีสหรือซัลเฟอร์ ตามหลักการเป็นสารมณฑิลธรรมดาคือเป็นสารปนเปื้อนที่อยู่ในเหล็กกล้าคาร์บอนอยู่แล้ว นับเป็นส่วนผสมหรือไม่เป็นก็ได้ ถึงมีธาตุประกอบพวกนี้ปนอยู่ก็ยังไม่ได้เรียกเหล็กกล้าพวกนี้ว่าเป็นอัลลอยด์
ผมเองชอบเหล็กไฮคาร์บอนหรือเหล็กเพลนคาร์บอน เหล็กกล้าที่อยู่ในใจมาตลอดก็เป็นเหล็กเบอร์ธรรมดาๆมีคาร์บอน100 ป็อยท์ อย่างเหล็ก W1 หรือเทียบเบอร์จากประเทศอื่นๆได้อย่าง 1545 หรือ SK3 ของญี่ปุ่นซึ่งผมเชื่อถือมาก แต่ SK4 SK5 ผมไม่ค่อยเชื่อถือ ถ้าจะให้เลือกเหล็กซักเบอร์มาไว้ทำมีดผมเองยังเลือกชิโรกามิ2 หรือกระดาษขาว2 เพราะมันมีคาร์บอนแค่ 1.05- 1.15 % ซึ่งเป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนเหมาะสมกับกับการทำงานของผม ถ้าชิโรกามิ1 ผมมองว่ามันออกจะสูงไปหน่อยด้วยซ้ำ
ส่วนผสมของเหล็กกระดาษขาว 1
C - - - - 1.25-1.35
Si - - - - 0.10-0.20
Mn - - - - 0.20-0.30
others - - - - P:<=0.025, S:<=0.004
นี่แหละครับใส่แค่นี้แหละ เป็นเหล็กกล้าบริสุทธิ์ที่เค้าว่าบริสุทธิ์มากๆ สารเจือปนน้อยกว่าเหล็กระดับทั่วๆไป ค่าความแข็งเกิน 60 ร็อกเวลส์ ซึ่งการชุบให้แข็งสุดๆไม่ค่อยมีปัญหา ปัญหาคือต้องชุบยังไงให้มันเหนียวต่างหาก คมมีดที่ได้คมกริบและต่อต้านการสึกหรอได้ดี คือต้านทานแม้กระทั่งการลับด้วยหินลับมีด ลองลับดูก็รู้สึกได้ว่ามันต่างจากมีดไฮคาร์บอนธรรมดาทั่วๆไป แม้แต่มีดของคิยะเอง รุ่นนี้ก็แข็งกว่าและเหนียวกว่า
ลองดูใบมีดใบนี้นะครับในส่วนของเหล็กเหนียวจะเห็นมันมีลายลูกน้ำวนไปมาหรือเป็นคลื่น มันไม่ใช่รอยเหล็กผสมหรือฮาดะนะครับ ไม่แน่ใจว่าญี่ปุ่นเรียกส่วนนี้ว่าอะไร แต่เป็นรอยของเกรนเหล็ก หรือการกระจายตัวของเกรนเหล็ก เห็นได้ทั่วๆไปในใบมีดที่ขัดผิวละเอียด ลองดูในใบมีดของเอ็ด โฟเลอร์จะเห็นแทบทุกใบ
คมมีดละเอียด ลับตั้งคมได้ง่ายเพราะมันแข็ง ตอนสนองต่อหินลับมีดได้ดีตั้งแต่หินที่หยาบหรือค่าความละเอียดน้อยๆ มีเกสรมีดระยิบระยับให้สัมผัสได้ถึงส่วนคมที่ละเอียด ผมชอบคมมีดแบบนี้มากกว่าคมแบบสแตนเลสหรืออัลลอยด์ที่คมแบบเรียบๆเป็นระเบียบ การต้านสนิมไม่ค่อยดีนัก ถ้าเทียบกับบลูสตีล คือไวท์สตีลสามารถเปลี่ยนสีได้ในการลับ คือถ้าลับข้างนึงแล้วไปลับอีกข้างนึงนานเกินไปส่วนคมมีดอีกฝั่งนึงก็จะเป็นสีเหลืองหรือสีแดง ถ้าใบมีดที่เป็นบลูสตีลมันจะยังไม่เป็น แต่ตามความเห็นส่วนตัวแล้วผมชอบชิโรกามิหรือเหล็กกระดาษขาวมากกว่าบลูสตีล เพราะมันลับง่ายกว่า คมมีดระยิบระยับกว่า เข้ากับผมได้ดีกว่าและดูมีความเป็นญี่ปุ่นมากกว่า คือเป็นเหล็กกล้าที่ถูกต้องตามขนบนิยมของช่างชาวญี่ปุ่นมากกว่า