JJNY : 4in1 คณะราษฎร์บอมบ์ย้ำต้องกระจายอำนาจ/พรสันต์ยกปมให้ส่งศาลชี้กระทำมิได้/ปี64ท่องเที่ยวไม่ฟื้น/People GO จี้สภา

‘คณะราษฎร์บอมบ์’ ชี้ การเมืองท้องถิ่นจุดเริ่มต้นการเมืองระดับชาติ ย้ำต้องกระจายอำนาจ แก้ รธน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2439027
 

 
‘คณะราษฎร์บอมบ์’ ชี้ การเมืองท้องถิ่นจุดเริ่มต้นการเมืองระดับชาติ ย้ำต้องกระจายอำนาจ แก้ รธน.
 
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่สกายวอล์ก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จุดนัดหมายจัดกิจกรรมโดยกลุ่ม คณะราษฎร์บอมบ์ ซึ่งเขิญชวนให้ประชาชนนำกระดาษโพสต์อิทมาเขียนแสดงความคิดเห็นว่า ‘อยากให้ท้องถิ่นดีขึ้นอย่างไร?’ ตั้งแต่เวลา 18.00 น.
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. มีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งยืนรวมตัวกันบริเวณสกายวอล์กในจุดใกล้ทางเข้าออกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมชุมนุมบางส่วนรอร่วมกิจกรรม โดยสถานการณ์ทั่วไปยังเป็นปกติ
 
ต่อมา เวลาประมาณ 17.45 น. ‘ฟ้า’ หนึ่งในกลุ่มแอลจีบีที ซี่งเคยจุดชุมนุมที่แยกอุดมสุข และร่วมอ่านแถลงการณ์ พร้อมกลุ่มราษฎรที่สนามหลวงครั้งล่าสุดปรากฏตัว
 
ฟ้า’ กล่าวว่า กิจกรรมวันนี้คือการแปะโพสต์อิทแสดงทรรศนะทางการเมืองว่าอยากเห็นการเมืองเป็นอย่างไร ทั้งการเมืองท้องถิ่นและการเมืองระดับประเทศ
 
“การเมืองท้องถิ่นคือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเมืองระดับประเทศ เราจะบอมบ์โดยการแปะโพสต์อิท อยากให้ทุกคนแสดงความเห็นว่าอยากให้ท้องถิ่นดีขึ้นอย่างไร เราไม่ได้มีการเลือกตั้งถ้องถิ่นนานมาก ซึ่งปลายปีนี้จะมีการเลือกตั้ง ดังนั้น 1.ต้องกระจายอำนาจ 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้กำหนดอนาคตตัวเอง รวมถึงปัญหาต่างๆ จะแก้ได้ถ้าแก้ไขรัฐธรมนูญ โดยกิจกรรมวันนี้จะเป็นการให้เขียนโพสต์อิท แสดงความเห็น เพราเราเชื่อว่าเสียงทุกคนมีความหมาย ที่ผ่านมาเราไม่มีสิทธิพูด จะพูดก็โดนจับ โดนดำเนินคดีตามกฎหมาย” ฟ้ากล่าว
 
แอม’ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า หากอยากเห็นการเมืองเป็นอย่างไร การแก้ไขปัญหาในสมัยนี้ ทั้งการเมืองท้องถิ่น และดับประเทศ เพื่อส่งเสียงเราไปถึงคนในสภา ให้เอาสิ่งนั้นไปแก้ไข และปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะเราอยากเห็นประเทศดีขึ้นในทันที นอกจากการเมืองท้องถิ่น เรายังเปิดรับเสียงและสิทธิของทุกคนเพื่อร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นฉบับที่ประชาชนเป็นคนร่างอย่างแท้จริง หลังจากวันนี้ จะมีการจัดงานอีกครั้ง 14 พฤศจิกายนนี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยตรง อยากชวนทุกคนมาออกแบบประเทศ และออกแบบรัฐธรรมนูญด้วยกัน โดยใช้แฮชแทกว่า #แก้ได้ถ้าแก้รัฐธรรมนูญ
 
บรรยากาศเมื่อเวลาราว 18.20 น. มีผู้ทยอยเข้าร่วมโดยเขียนข้อความต่างๆ บนกระดาษโพสต์อิทแล้วนำไปติดบริเวณสกายวอล์ก อาทิ แก้ได้ ถ้าแก้รัฐธรรมนูญ, ขอให้รถเมล์ร้อนนั่งฟรี, เรียกร้องให้นักเรียนในชุดนักเรียนขึ้นรถประจำทาง รถไฟฟ่า และรถไฟใต้ดิน ฟรี เป็นต้น รวมถึงข้อความขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
 

 
'พรสันต์' ยกเหตุผล ปม ส.ส.พลังประชารัฐ-ส.ว. จ่อให้ ปธ.สภาส่งศาลวินิจฉัยร่าง รธน. 3 ฉบับ ชี้กระทำมิได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_2439082
 
‘พรสันต์’ ยกเหตุผล ปม ส.ส.พลังประชารัฐ-ส.ว. จ่อให้ ปธ.สภาส่งศาลวินิจฉัยร่าง รธน. 3 ฉบับ ชี้กระทำมิได้
 
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐและ ส.ว.จำนวนหนึ่งเข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติต่อประธานรัฐสภาให้มีการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ โดยอาศัยข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 31 ว่าด้วยเรื่องปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตาม ม.210 (2) โดยส่วนตัวเห็นว่ากระทำมิได้ ซึ่งมีเหตุผล ว่า 
  
1. หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า ประเด็นที่ ส.ส.และ ส.ว.ข้างต้นกำลังตั้งข้อสงสัยคือ ประเด็นว่าด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อันเป็นเรื่องที่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะ นั่นคือ ม.256 หาใช่เรื่องปัญหาว่าด้วยหน้าที่และอำนาจขององค์กร ตาม ม.210 ซึ่งมีธรรมชาติของเรื่องที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้ เพียงแต่ต้องเกิดขึ้นภายหลังจากพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จโดยรัฐสภาเสียก่อนตาม ม.256 หาใช่ ม.210 (2)
  
ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวว่า 
2. ถึงแม้บางท่านจะมองว่าเป็นเรื่องของปัญหาว่าด้วยหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตาม ม.210 (2) แต่กรณีดังกล่าวก็ยังไม่อาจอาศัยบทบัญญัตินี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาทำการวินิจฉัยได้อยู่ดี เนื่องจากยังไม่มีลักษณะของการเกิดขึ้นจริงของปัญหา อันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดไว้ใน ม.44 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อป้องกันมิให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมาย 
  
และ 3. ด้วยเหตุผลทั้งข้อ 1 และ 2 การเสนอญัตติของ ส.ส. และ ส.ว. โดยอาศัยเพียงแค่เงื่อนไขของข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 31 ที่ให้มีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่า 40​ คน เพื่อการเสนอญัตตินั้น จึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายรัฐสภา ทั้งนี้ เนื่องจากไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอันเป็นเงื่อนไขหลักนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่