ส.ส.-ส.ว.คัดค้านและไม่ยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง คัดค้านและไม่ยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ
เรียน พี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน
อ้างถึง มติคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 และวันที่ 11 เมษายน 2556
กรณีรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้พิจารณา
ตามที่นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภาได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 กล่าวอ้างว่าการที่ประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภารวม 312 คน ได้เสนอและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 ถือเป็นการล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และต่อมานายบวร ยสินทร ได้ยื่นคำร้องในกรณีเดียวกันอีก ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 และวันที่ 11 เมษายน 2556 รับคำร้องทั้งสองฉบับไว้พิจารณา นั้น
ข้าพเจ้าในนามสมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คน ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ขอเรียนว่า การรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณานั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างชัดแจ้ง จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ดังเหตุผลที่จะเรียนให้ทราบดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้พิจารณา
1.1 ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่เฉพาะตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องให้อำนาจไว้เท่านั้นเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ และการที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลย่อมต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญต้องผูกพันและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับศาล และองค์กรอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนไว้พิจารณา ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในหมวด 15 มาตรา 291 โดยกำหนดถึงผู้ที่จะเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อห้ามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ วิธีการเสนอญัตติ กระบวนการหรือขั้นตอนในการพิจารณา และลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงขั้นตอนการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯและประกาศใช้ ทั้งนี้ ไม่มีถ้อยคำใดในมาตรา 291หรือมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบกระบวนการเสนอและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้เลย และไม่มีหลักการในรัฐธรรมนูญ หรือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้เช่นกัน อันแตกต่างกับการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และการตราพระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างหรือพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
1.2 อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภานั้น มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 วรรคสองของรัฐธรรมนูญเท่านั้นกล่าวคือ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจากรัฐเดี่ยวเป็นสาธารณรัฐ หรือรัฐรูปแบบอื่น ๆจะเสนอมิได้ นอกเหนือจากข้อจำกัดนี้แล้ว รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ว่าในมาตราใดแต่อย่างใด ศาลรัฐธรรมนูญจะสร้างข้อจำกัดเพิ่มเติมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือตีความรัฐธรรมนูญเพื่อขยายอำนาจของตนในเรื่องนี้มิได้เลย ดังนั้น รัฐสภาจึงชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้อย่างกว้างขวาง เช่น ปรับโครงสร้างองค์กรต่างๆ ให้มีหรือยกเลิกองค์กรบางองค์กร เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงื่อนไขใดๆในรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่การยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วจัดตั้งเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ย่อมทำได้ เหตุที่รัฐธรรมนูญกำหนดข้อจำกัดไว้เพียงเท่าที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะโดยหลักการแล้วแม้รัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุด แต่รัฐธรรมนูญก็ต้องพลวัตรเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของการเมือง สังคม เศรษฐกิจ เมื่อรัฐธรรมนูญบังคับใช้แล้วเกิดปัญหาก็ชอบที่รัฐสภาจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้ การวางข้อจำกัดมากเกินไปจนไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้โดยวิถีทางรัฐสภาก็อาจทำให้มีการใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญในการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การทำรัฐประหาร เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับก่อน พ.ศ.2540ไม่เคยวางข้อห้ามหรือข้อจำกัดในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้เลย ประกอบกับรัฐสภาเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งสมาชิกเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และเกือบทั้งหมดมาจากกากรเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การที่สมาชิกรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงถือเป็นการกระทำในนามของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการแก้ไขเพิ่มเติมให้ยากกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป อันเป็นเหตุผลสำคัญของหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยรัฐสภาซึ่งได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชนโดยตรงเท่านั้น
ดังนั้น ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากไม่อยู่ในข้อจำกัดของการห้ามแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 291 วรรคสอง และการดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 แล้ว ย่อมเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ องค์กรอื่นใดตามรัฐธรรมนูญรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งการแก้ไขจะเหมาะสมหรือไม่ ถูกใจทุกฝ่ายหรือไม่ ศาลไม่มีอำนาจตรวจสอบ เป็นความรับผิดชอบทางการเมืองของรัฐสภาต่อประชาชน
1.3 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ได้ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจหรือแบ่งแยกภารกิจในการใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ออกจากกัน โดยอำนาจนิติบัญญัตินั้น ใช้โดยองค์กรรัฐสภา อำนาจบริหารใช้โดยคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการใช้โดยองค์กรศาลทั้งหลาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีกระบวนการถ่วงดุลหรือกำหนดความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจระหว่างองค์กรไว้บางประการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารได้ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ เป็นต้น ทั้งนี้ เฉพาะเท่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น หากกรณีใดรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติถึงความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจระหว่างองค์กรไว้แล้ว องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะใช้อำนาจหน้าที่ของตนไปกระทบหรือแทรกแซงการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นมิได้
เมื่อรัฐสภาได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะเข้าไปตรวจสอบได้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาได้ไม่ว่ากรณีใด ในทำนองเดียวกับที่ศาลปกครอง ศาลแพ่ง หรือศาลแรงงาน ไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีอาญา
จดหมายเปิดผนึก คัดค้านและไม่ยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ โดย ส.ส. และ ส.ว. 312 คน
เรื่อง คัดค้านและไม่ยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ
เรียน พี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน
อ้างถึง มติคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 และวันที่ 11 เมษายน 2556
กรณีรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้พิจารณา
ตามที่นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภาได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 กล่าวอ้างว่าการที่ประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภารวม 312 คน ได้เสนอและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 ถือเป็นการล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และต่อมานายบวร ยสินทร ได้ยื่นคำร้องในกรณีเดียวกันอีก ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 และวันที่ 11 เมษายน 2556 รับคำร้องทั้งสองฉบับไว้พิจารณา นั้น
ข้าพเจ้าในนามสมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คน ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ขอเรียนว่า การรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณานั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างชัดแจ้ง จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ดังเหตุผลที่จะเรียนให้ทราบดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้พิจารณา
1.1 ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่เฉพาะตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องให้อำนาจไว้เท่านั้นเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ และการที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลย่อมต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญต้องผูกพันและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับศาล และองค์กรอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนไว้พิจารณา ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในหมวด 15 มาตรา 291 โดยกำหนดถึงผู้ที่จะเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อห้ามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ วิธีการเสนอญัตติ กระบวนการหรือขั้นตอนในการพิจารณา และลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงขั้นตอนการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯและประกาศใช้ ทั้งนี้ ไม่มีถ้อยคำใดในมาตรา 291หรือมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบกระบวนการเสนอและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้เลย และไม่มีหลักการในรัฐธรรมนูญ หรือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้เช่นกัน อันแตกต่างกับการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และการตราพระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างหรือพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
1.2 อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภานั้น มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 วรรคสองของรัฐธรรมนูญเท่านั้นกล่าวคือ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจากรัฐเดี่ยวเป็นสาธารณรัฐ หรือรัฐรูปแบบอื่น ๆจะเสนอมิได้ นอกเหนือจากข้อจำกัดนี้แล้ว รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ว่าในมาตราใดแต่อย่างใด ศาลรัฐธรรมนูญจะสร้างข้อจำกัดเพิ่มเติมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือตีความรัฐธรรมนูญเพื่อขยายอำนาจของตนในเรื่องนี้มิได้เลย ดังนั้น รัฐสภาจึงชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้อย่างกว้างขวาง เช่น ปรับโครงสร้างองค์กรต่างๆ ให้มีหรือยกเลิกองค์กรบางองค์กร เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงื่อนไขใดๆในรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่การยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วจัดตั้งเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ย่อมทำได้ เหตุที่รัฐธรรมนูญกำหนดข้อจำกัดไว้เพียงเท่าที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะโดยหลักการแล้วแม้รัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุด แต่รัฐธรรมนูญก็ต้องพลวัตรเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของการเมือง สังคม เศรษฐกิจ เมื่อรัฐธรรมนูญบังคับใช้แล้วเกิดปัญหาก็ชอบที่รัฐสภาจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้ การวางข้อจำกัดมากเกินไปจนไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้โดยวิถีทางรัฐสภาก็อาจทำให้มีการใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญในการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การทำรัฐประหาร เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับก่อน พ.ศ.2540ไม่เคยวางข้อห้ามหรือข้อจำกัดในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้เลย ประกอบกับรัฐสภาเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งสมาชิกเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และเกือบทั้งหมดมาจากกากรเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การที่สมาชิกรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงถือเป็นการกระทำในนามของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการแก้ไขเพิ่มเติมให้ยากกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป อันเป็นเหตุผลสำคัญของหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยรัฐสภาซึ่งได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชนโดยตรงเท่านั้น
ดังนั้น ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากไม่อยู่ในข้อจำกัดของการห้ามแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 291 วรรคสอง และการดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 แล้ว ย่อมเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ องค์กรอื่นใดตามรัฐธรรมนูญรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งการแก้ไขจะเหมาะสมหรือไม่ ถูกใจทุกฝ่ายหรือไม่ ศาลไม่มีอำนาจตรวจสอบ เป็นความรับผิดชอบทางการเมืองของรัฐสภาต่อประชาชน
1.3 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ได้ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจหรือแบ่งแยกภารกิจในการใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ออกจากกัน โดยอำนาจนิติบัญญัตินั้น ใช้โดยองค์กรรัฐสภา อำนาจบริหารใช้โดยคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการใช้โดยองค์กรศาลทั้งหลาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีกระบวนการถ่วงดุลหรือกำหนดความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจระหว่างองค์กรไว้บางประการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารได้ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ เป็นต้น ทั้งนี้ เฉพาะเท่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น หากกรณีใดรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติถึงความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจระหว่างองค์กรไว้แล้ว องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะใช้อำนาจหน้าที่ของตนไปกระทบหรือแทรกแซงการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นมิได้
เมื่อรัฐสภาได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะเข้าไปตรวจสอบได้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาได้ไม่ว่ากรณีใด ในทำนองเดียวกับที่ศาลปกครอง ศาลแพ่ง หรือศาลแรงงาน ไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีอาญา