✈
✈
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
คนส่วนมาก/นักเรียนส่วนใหญ่มักจะตอบว่า
การที่ชนะสงครามกับญี่ปุ่นก็ด้วยระเบิดปรมาณู
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ชัยชนะสงครามเริ่มต้นจาก
เครื่องบินทิ้งระเบิด
B-29 Superfortress
ที่ไปทิ้งระเบิดโจมตีแนวหลังของญี่ปุ่น
รวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29s
ยังได้ส่งมอบระเบิดปรมาณูให้กับเมือง
Hiroshima และ Nagasaki
หลายเดือนก่อนที่ฐานทัพอากาศ
Bockscar
จะใช้งานเครื่องจักรสังหารในสงครามครั้งสุดท้าย
เครื่องบินทิ้งระเบิด B-29s หลายร้อยลำ
ก็ได้บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวนหลายพันเที่ยวบิน
เพื่อก่อกวนและมุ่งทำลายเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่น
รวมทั้งทำลายความสามารถในการต่อสู้ของทหารญี่ปุ่น
B-29 Superfortress ของ
Boeing
กลายเป็นเครื่องบินรบที่หลายประเทศอิจฉาริษยา
เพราะเป็นเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น
เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
เช่น ปืนที่ควบคุมจากระยะไกล
ระบบความดันอากาศที่ควบคุมได้ภายในห้องนักบิน
เครื่องบินรุ่นนี้มี 3 ล้อขนาดใหญ่มาก
โดยล้อหน้าจะอยู่ที่ส่วนหัวเครื่องบิน
และ 2 ล้อหลังจะอยู่ใต้เครื่องยนต์แถวปีกเครื่องบิน
บินด้วยเครื่องยนต์ที่ทรงพลังเป็นพิเศษ
สามารถบรรทุกระเบิดได้มากถึง 20,000 ปอนด์(9,071.8 กิโลกรัม)
บินได้ไกลถึง 3,000 ไมล์ (4,828 กิโลเมตร)
บินได้ที่ความเร็ว 350 ไมล์/ชั่วโมง (563.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
ที่ระดับความสูงกว่า 30,000 ฟุต (9.14 กิโลเมตร)
ทำให้อยู่เหนือชั้นกว่าเครื่องบินรบของญี่ปุ่น
และปืนต่อสู้อากาศยานของญี่ปุ่นที่ยิงไม่ถึง
เครื่องบิน B-29s ล้ำหน้านำยุคกว่า
Junkers Ju 290 ของ กองทัพอากาศนาซีเยอรมัน Luftwaffe
และแม้แต่เครื่องบินรุ่น
B-17 และ
B-24 ของ Boeing
ญี่ปุ่นไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก
และเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ทันสมัยที่สุด
แม้แต่ในคลังอาวุธของสหภาพโซเวียตก็มึแค่
เครื่องบินทิ้งระเบิด
Petlyakov Pe-8
สามารถบรรทุกระเบิด 2,000 ปอนด์ บินได้ไกลเพียง 1,200 ไมล์
และลำตัวยังหุ้มด้วยผ้าใบ
เมื่อเทียบกับ B-29s คนละเรื่องเดียวกันเลย
ที่ลำตัวหุ้มด้วยอลูมิเนียมทั้งหมด
✈
✈
✈
✈
หลายครั้งที่
Stalin เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย
ขอให้
Roosevelt ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ช่วยจ้ดส่งเครื่องบิน B-29 ให้กับสหภาพโซเวียต
ภายใต้โครงการความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกา
ที่เป็นข้อตกลงระหว่างหมู่ประเทศพันธมิตร
เพื่อแบ่งปันอาหาร น้ำมันและวัสดุต่าง ๆ
ภายใต้โครงการยืม-ให้เช่ายุทธภัณฑ์ช่วงสงคราม
สหรัฐอเมริกาได้ส่งมอบวัสดุมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประกอบไปด้วย รถจี๊ปและรถบรรทุกกว่า 400,000 คัน
รถหุ้มเกราะ 12,000 คันเครื่องบิน 11,400 ลำ
ตู้รถไฟเกือบ 2,000 คัน น้ำมันเบนซินและน้ำมัน 2.6 ล้านตัน
และอาหารชนิดต่าง ๆ ถึง 1.75 ล้านตัน
แต่มีรายการเดียวที่สหรัฐอเมริกาปฏิเสธ
คือ เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดยักษ์ B-29
สหภาพโซเวียตไม่ใช่เพื่อนร่วมรบ/สหายศึกแต่อย่างใด
แต่มีเหตุผลเพียงอย่างเดียวคือ
สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรต่างเต็มใจ
ที่ตอบสนองความต้องการของสหภาพโซเวียต
เพราะทุกฝ่ายมีศัตรูร่วมกันคือ นาซีเยอรมัน
ทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างส่งความช่วยเหลือ
ทางการทหารจำนวนมากไปยังสหภาพโซเวียต
เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพโซเวียต
ที่กำลังรบกับพวกนาซีเยอรมันทางแนวรบด้านตะวันออก
เพื่อดึงให้พวกนาซีเยอรมันอยู่ออกห่างจากช่องแคบอังกฤษ
เพราะเยอรมันต้องป้องกันการบุกของสหภาพโซเวียต
เท่ากับเป็นการขัดขวางการรุกรานอังกฤษอย่างเท่าที่เป็นไปได้
เพื่อบรรลุวัตถุที่ประสงค์นี้ สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
จึงจัดส่งรถถัง
M3 Lees และ
M4 Shermans
รวมทั้งเครื่องบินรบ
American Airacobra และ
British Hurricanes
แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ที่สามารถบินข้ามทวีป
และบินข้ามมหาสมุทรเป็นเรื่องที่ทางสหรัฐอเมริกาไม่ยอมโดยเด็ดขาด
เพราะไม่เชื่อใจและไว้วางใจ Stalin ได้มากพอ
ในเรื่องที่จะจัดส่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้สภาพโซเวียต
ในฤดูร้อนปี 1944
โชคดีก็เข้าข้าง Stalin
เครื่องบิน B-29s ต้องลงจอดฉุกเฉินในรัสเซีย
ระหว่างที่เครื่องบิน B-29s ไปทิ้งระเบิดที่ญี่ปุ่น
นักบินของเครื่องบิน B-29s มี
นายพลอากาศ H.H. Arnold Special
Ding How และ Ramp Tramp
ต้องลงจอดฉุกเฉินที่เมือง Vladivostok
และทางสหภาพโซเวียตได้นำทั้ง 3 คนไปที่ Moscow ทันที
แม้ว่าทางการสหรัฐอเมริกา
จะเรียกร้องหลายต่อหลายครั้ง
ให้โซเวียตส่งเครื่องบิน B-29s คืนให้ด้วย
แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวโซเวียตเพิกเฉยไม่ใยดี
โซเวียตยอมส่งทุกคนพร้อมเครื่องบิน B-29s
กลับคืนสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังจากสงครามรัสเซีย กับ ญี่ปุ่น ยุติลงแล้ว
เริ่ม 8 สิงหาคม 1945 สิ้นสุด 2 กันยายน 1945
เพราะญี่ปุ่นยอมจำนนแบบไม่มีเงื่อนไขกับสหรัฐอเมริกา
สหภาพโซเวียตจึงยอมทำตามสนธิสัญญา Yalta ที่เคยตกลงกันไว้
เพราะส่วนหนึ่งหวาดอย่างแรง(หวาดเสียว/หวาดกลัว)
จากการที่สหรัฐอเมริกามีระเบิดนิวเคียร์ถล่มญี่ปุ่นได้
ทำเอาสหภาพโซเวียตจ๋อย/หงอยไป 4 ปี
กว่าจะกลับมาซ่าใหม่ได้อีกครั้ง
หลังจากสามารถสร้างระเบิดนิวเคียร์ใช้งานได้จริงก็ในปี 1949
ส่วนวันเดือนปีที่ส่งคนและเครื่องบินกลับสหรัฐอเมริกา
ยังสืบค้นข้อมูลไม่พบในช่วงนี้
หลังจากชำแหละเครื่องบิน B-29s แล้ว
วิศวกรของโซเวียตได้เริ่มโครงการ
วิศวกรรมย้อนกลับ Reverse Engineering
ที่สลับซับซ้อน/น่าทึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์
เพราะต้องใช้โรงงาน/สถาบันวิจัยมากกว่า 900 แห่ง
ต้องทำพิมพ์เขียวแบบชิ้นงานกว่า 105,000 แผ่น
กว่าจะสรุปได้เป็นแบบมาตรฐาน 20 ชุด
สหภาพโซเวียตได้จำลอง/ทำสำเนาเครื่องบินขึ้นมา 3 ลำ
เครื่องบินลำแรกจะถูกแกะออกมาเป็นชิ้น ๆ
เครื่องบินลำที่ 2 ใช้สำหรับเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ/อ้างอิง
เครื่องบินลำที่ 3 ใช้สำหรับการบินทดสอบ
Stalin สั่งให้คัดลอกเครื่องบิน B-29
ให้ถูกต้องมากที่สุดจนถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุด
แต่เรื่องนี้พูดง่ายกว่าทำ ยากกว่าที่คิดมาก
เพราะสหภาพโซเวียตไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้หลายชิ้น
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบิน B-29 ใช้อลูมิเนียมขนาด 1/16 นิ้ว
แต่สหภาพโซเวียตใช้ระบบเมตริก
ดังนั้นความหนาของแผ่นอลูมิเนียมจึงแตกต่างกัน
และไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตามแบบที่คัดลอก/ทำสำเนามา
ทางสหภาพโซเวียตจึงต้องใช้อลูมิเนียมที่มีความหนาต่างกัน
โลหะผสมและวัสดุอื่น ๆ จำนวนมากที่แปลกใหม่มาก
ซึ่งทางสหภาพโซเวียตไม่มี/ไม่สามารถผลิตเองได้
ต้องสั่งซื้อจากเมืองนอกจึงจะทำการสร้างเครื่องบินได้
(แต่ทางสหรัฐอเมริกาปฏิเสธและห้ามขายให้สหภาพโซเวียต)
ยกเว้นแต่ไปจัดหาจากตลาดมืดในยุโรป
ดังนั้น ชิ้นส่วนต่าง ๆ จึงต้องได้รับการออกแบบใหม่
และเพื่อชดเชยความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
หลังจากนั้นทางสหภาพโซเวียตได้ทำการตรวจสอบ
จนแน่ใจว่าได้ทำการติดตั้งและผลิตเครื่องบินขึ้นมาใหม่
โดยลอกเลียนแบบการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องบิน B-29
ได้เกือบทั้งหมดและสามารถทำงานได้ตามที่คาดไว้
แต่ทางสหภาพโซเวียตยังต้องดัดแปลง
ปืนกลลำกล้อง .50 ที่ใช้ในเครื่องบิน B-29 นั้น
ทางสหภาพโซเวียตไม่สามารถจัดซื้อมาได้
จึงถูกแทนที่ด้วยปืนที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
สำหรับยางล้อเครื่องบินจัดมีขนาดใหญ่มาก
ทางรัสเซียผลิตเองไม่ได้ในเวลานั้น
ต้องหามาจากตลาดมืดค้าอาวุธทางตะวันตก
โดมพลาสติคครอบส่วนบนของนักบิน
ทางรัสเซียต้องทำด้วยอะคริลิคแทน
ซึ่งนักบินบอกว่าทำให้ภาพบิดเบี้ยว
The B-29 Flight Deck. Photo: 900hp/Flickr
A surviving Tupolev Tu-4 at the Monino Central Air Force Museum, Moscow. Photo: Andrey Korchagin/Flickr
Bombardier's Information File (BIF) อธิบายกลไกการทำงานภายใน
ที่สลับซับซ้อนของกลไกคอมพิวเตอร์อนาลอกของ Norden bombsight
ช่วยให้นักบินกองทัพอากาศสหรัฐ United States Army Air Force
ช่วงสงคราม World War II, Korean War, และ Vietnam War
รัสเซียจารกรรมเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 ของสหรัฐอเมริกา
✈
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
คนส่วนมาก/นักเรียนส่วนใหญ่มักจะตอบว่า
การที่ชนะสงครามกับญี่ปุ่นก็ด้วยระเบิดปรมาณู
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ชัยชนะสงครามเริ่มต้นจาก
เครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 Superfortress
ที่ไปทิ้งระเบิดโจมตีแนวหลังของญี่ปุ่น
รวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29s
ยังได้ส่งมอบระเบิดปรมาณูให้กับเมือง
Hiroshima และ Nagasaki
หลายเดือนก่อนที่ฐานทัพอากาศ Bockscar
จะใช้งานเครื่องจักรสังหารในสงครามครั้งสุดท้าย
เครื่องบินทิ้งระเบิด B-29s หลายร้อยลำ
ก็ได้บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวนหลายพันเที่ยวบิน
เพื่อก่อกวนและมุ่งทำลายเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่น
รวมทั้งทำลายความสามารถในการต่อสู้ของทหารญี่ปุ่น
B-29 Superfortress ของ Boeing
กลายเป็นเครื่องบินรบที่หลายประเทศอิจฉาริษยา
เพราะเป็นเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น
เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
เช่น ปืนที่ควบคุมจากระยะไกล
ระบบความดันอากาศที่ควบคุมได้ภายในห้องนักบิน
เครื่องบินรุ่นนี้มี 3 ล้อขนาดใหญ่มาก
โดยล้อหน้าจะอยู่ที่ส่วนหัวเครื่องบิน
และ 2 ล้อหลังจะอยู่ใต้เครื่องยนต์แถวปีกเครื่องบิน
บินด้วยเครื่องยนต์ที่ทรงพลังเป็นพิเศษ
สามารถบรรทุกระเบิดได้มากถึง 20,000 ปอนด์(9,071.8 กิโลกรัม)
บินได้ไกลถึง 3,000 ไมล์ (4,828 กิโลเมตร)
บินได้ที่ความเร็ว 350 ไมล์/ชั่วโมง (563.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
ที่ระดับความสูงกว่า 30,000 ฟุต (9.14 กิโลเมตร)
ทำให้อยู่เหนือชั้นกว่าเครื่องบินรบของญี่ปุ่น
และปืนต่อสู้อากาศยานของญี่ปุ่นที่ยิงไม่ถึง
เครื่องบิน B-29s ล้ำหน้านำยุคกว่า
Junkers Ju 290 ของ กองทัพอากาศนาซีเยอรมัน Luftwaffe
และแม้แต่เครื่องบินรุ่น B-17 และ B-24 ของ Boeing
ญี่ปุ่นไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก
และเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ทันสมัยที่สุด
แม้แต่ในคลังอาวุธของสหภาพโซเวียตก็มึแค่
เครื่องบินทิ้งระเบิด Petlyakov Pe-8
สามารถบรรทุกระเบิด 2,000 ปอนด์ บินได้ไกลเพียง 1,200 ไมล์
และลำตัวยังหุ้มด้วยผ้าใบ
เมื่อเทียบกับ B-29s คนละเรื่องเดียวกันเลย
ที่ลำตัวหุ้มด้วยอลูมิเนียมทั้งหมด
✈
✈
✈
หลายครั้งที่ Stalin เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย
ขอให้ Roosevelt ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ช่วยจ้ดส่งเครื่องบิน B-29 ให้กับสหภาพโซเวียต
ภายใต้โครงการความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกา
ที่เป็นข้อตกลงระหว่างหมู่ประเทศพันธมิตร
เพื่อแบ่งปันอาหาร น้ำมันและวัสดุต่าง ๆ
ภายใต้โครงการยืม-ให้เช่ายุทธภัณฑ์ช่วงสงคราม
สหรัฐอเมริกาได้ส่งมอบวัสดุมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประกอบไปด้วย รถจี๊ปและรถบรรทุกกว่า 400,000 คัน
รถหุ้มเกราะ 12,000 คันเครื่องบิน 11,400 ลำ
ตู้รถไฟเกือบ 2,000 คัน น้ำมันเบนซินและน้ำมัน 2.6 ล้านตัน
และอาหารชนิดต่าง ๆ ถึง 1.75 ล้านตัน
แต่มีรายการเดียวที่สหรัฐอเมริกาปฏิเสธ
คือ เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดยักษ์ B-29
สหภาพโซเวียตไม่ใช่เพื่อนร่วมรบ/สหายศึกแต่อย่างใด
แต่มีเหตุผลเพียงอย่างเดียวคือ
สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรต่างเต็มใจ
ที่ตอบสนองความต้องการของสหภาพโซเวียต
เพราะทุกฝ่ายมีศัตรูร่วมกันคือ นาซีเยอรมัน
ทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างส่งความช่วยเหลือ
ทางการทหารจำนวนมากไปยังสหภาพโซเวียต
เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพโซเวียต
ที่กำลังรบกับพวกนาซีเยอรมันทางแนวรบด้านตะวันออก
เพื่อดึงให้พวกนาซีเยอรมันอยู่ออกห่างจากช่องแคบอังกฤษ
เพราะเยอรมันต้องป้องกันการบุกของสหภาพโซเวียต
เท่ากับเป็นการขัดขวางการรุกรานอังกฤษอย่างเท่าที่เป็นไปได้
เพื่อบรรลุวัตถุที่ประสงค์นี้ สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
จึงจัดส่งรถถัง M3 Lees และ M4 Shermans
รวมทั้งเครื่องบินรบ American Airacobra และ British Hurricanes
แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ที่สามารถบินข้ามทวีป
และบินข้ามมหาสมุทรเป็นเรื่องที่ทางสหรัฐอเมริกาไม่ยอมโดยเด็ดขาด
เพราะไม่เชื่อใจและไว้วางใจ Stalin ได้มากพอ
ในเรื่องที่จะจัดส่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้สภาพโซเวียต
✈
✈
Stalin กับ Roosevelt
✈
เรื่องเดิม
ให้ยืม-เช่า การให้ความช่วยเหลือรัสเซีย
ช่วงเลวร้ายที่สุดจากสหรัฐอเมริกา
✈
✈
✈
✈
✈
ในฤดูร้อนปี 1944
โชคดีก็เข้าข้าง Stalin
เครื่องบิน B-29s ต้องลงจอดฉุกเฉินในรัสเซีย
ระหว่างที่เครื่องบิน B-29s ไปทิ้งระเบิดที่ญี่ปุ่น
นักบินของเครื่องบิน B-29s มี
นายพลอากาศ H.H. Arnold Special
Ding How และ Ramp Tramp
ต้องลงจอดฉุกเฉินที่เมือง Vladivostok
และทางสหภาพโซเวียตได้นำทั้ง 3 คนไปที่ Moscow ทันที
แม้ว่าทางการสหรัฐอเมริกา
จะเรียกร้องหลายต่อหลายครั้ง
ให้โซเวียตส่งเครื่องบิน B-29s คืนให้ด้วย
แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวโซเวียตเพิกเฉยไม่ใยดี
โซเวียตยอมส่งทุกคนพร้อมเครื่องบิน B-29s
กลับคืนสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลังจากสงครามรัสเซีย กับ ญี่ปุ่น ยุติลงแล้ว
เริ่ม 8 สิงหาคม 1945 สิ้นสุด 2 กันยายน 1945
เพราะญี่ปุ่นยอมจำนนแบบไม่มีเงื่อนไขกับสหรัฐอเมริกา
สหภาพโซเวียตจึงยอมทำตามสนธิสัญญา Yalta ที่เคยตกลงกันไว้
เพราะส่วนหนึ่งหวาดอย่างแรง(หวาดเสียว/หวาดกลัว)
จากการที่สหรัฐอเมริกามีระเบิดนิวเคียร์ถล่มญี่ปุ่นได้
ทำเอาสหภาพโซเวียตจ๋อย/หงอยไป 4 ปี
กว่าจะกลับมาซ่าใหม่ได้อีกครั้ง
หลังจากสามารถสร้างระเบิดนิวเคียร์ใช้งานได้จริงก็ในปี 1949
ส่วนวันเดือนปีที่ส่งคนและเครื่องบินกลับสหรัฐอเมริกา
ยังสืบค้นข้อมูลไม่พบในช่วงนี้
หลังจากชำแหละเครื่องบิน B-29s แล้ว
วิศวกรของโซเวียตได้เริ่มโครงการ
วิศวกรรมย้อนกลับ Reverse Engineering
ที่สลับซับซ้อน/น่าทึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์
เพราะต้องใช้โรงงาน/สถาบันวิจัยมากกว่า 900 แห่ง
ต้องทำพิมพ์เขียวแบบชิ้นงานกว่า 105,000 แผ่น
กว่าจะสรุปได้เป็นแบบมาตรฐาน 20 ชุด
สหภาพโซเวียตได้จำลอง/ทำสำเนาเครื่องบินขึ้นมา 3 ลำ
เครื่องบินลำแรกจะถูกแกะออกมาเป็นชิ้น ๆ
เครื่องบินลำที่ 2 ใช้สำหรับเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ/อ้างอิง
เครื่องบินลำที่ 3 ใช้สำหรับการบินทดสอบ
Stalin สั่งให้คัดลอกเครื่องบิน B-29
ให้ถูกต้องมากที่สุดจนถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุด
แต่เรื่องนี้พูดง่ายกว่าทำ ยากกว่าที่คิดมาก
เพราะสหภาพโซเวียตไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้หลายชิ้น
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบิน B-29 ใช้อลูมิเนียมขนาด 1/16 นิ้ว
แต่สหภาพโซเวียตใช้ระบบเมตริก
ดังนั้นความหนาของแผ่นอลูมิเนียมจึงแตกต่างกัน
และไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตามแบบที่คัดลอก/ทำสำเนามา
ทางสหภาพโซเวียตจึงต้องใช้อลูมิเนียมที่มีความหนาต่างกัน
โลหะผสมและวัสดุอื่น ๆ จำนวนมากที่แปลกใหม่มาก
ซึ่งทางสหภาพโซเวียตไม่มี/ไม่สามารถผลิตเองได้
ต้องสั่งซื้อจากเมืองนอกจึงจะทำการสร้างเครื่องบินได้
(แต่ทางสหรัฐอเมริกาปฏิเสธและห้ามขายให้สหภาพโซเวียต)
ยกเว้นแต่ไปจัดหาจากตลาดมืดในยุโรป
ดังนั้น ชิ้นส่วนต่าง ๆ จึงต้องได้รับการออกแบบใหม่
และเพื่อชดเชยความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
หลังจากนั้นทางสหภาพโซเวียตได้ทำการตรวจสอบ
จนแน่ใจว่าได้ทำการติดตั้งและผลิตเครื่องบินขึ้นมาใหม่
โดยลอกเลียนแบบการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องบิน B-29
ได้เกือบทั้งหมดและสามารถทำงานได้ตามที่คาดไว้
แต่ทางสหภาพโซเวียตยังต้องดัดแปลง
ปืนกลลำกล้อง .50 ที่ใช้ในเครื่องบิน B-29 นั้น
ทางสหภาพโซเวียตไม่สามารถจัดซื้อมาได้
จึงถูกแทนที่ด้วยปืนที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
สำหรับยางล้อเครื่องบินจัดมีขนาดใหญ่มาก
ทางรัสเซียผลิตเองไม่ได้ในเวลานั้น
ต้องหามาจากตลาดมืดค้าอาวุธทางตะวันตก
โดมพลาสติคครอบส่วนบนของนักบิน
ทางรัสเซียต้องทำด้วยอะคริลิคแทน
ซึ่งนักบินบอกว่าทำให้ภาพบิดเบี้ยว