BUNKER 42- DARK SIDE OF MOSCOW หลุมหลบภัยใต้ดิน ใจกลางเมืองมอสโคว์


นานาเดินทาง


สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ชาวพันทิป วันนี้ เราเอาที่เที่ยวที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก หรือไม่ค่อยเป็นที่นิยมของคนทั่วไปที่ไปเที่ยวมอสโคว์มานำเสนอค่ะ เหตุมาจากว่า เราไปเที่ยวมอสโคว์ครั้งที่สองแล้ว จึงพยายามหาที่เที่ยว unseen จึงมาเจอที่แห่งนี้ ที่นี่มีชื่อว่า "Bunker 42"

(เรามาเล่าเรื่องครั้งนี้ based on ที่เราฟังมาจากคูณไกด์ที่พิพิธภัณฑ์ อาจจะมีการแปลผิดแปลถูก ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะตะ)

คำว่า Bunker แปลตรงๆ ก้อคือ “หลุมหลบภัย” พอพูดถึง “หลุมหลบภัย” เราก็รู้สึกว่า เหยยยย มันโคตรไกลตัวเราเลยอ่ะ ประเทศไหนที่มีของแบบนี้ แม่มต้องมีสงครามกะคนอื่นชัวร์  ซึ่งก้อจริงอย่างว่า รัสเซียที่เมื่อก่อนยังเป็นสหภาพโซเวียต ในสมัยที่ยังมีสงครามเย็นกับอเมริกา Bunker กลางเมืองมอสโคว์แห่งนี้ เป็นหนึ่งในหลุมหลบภัย และศูนย์บัญชาการรบที่มีการใช้จริงในสมัยนั้น สร้างโดยความต้องการของ Joseph Stalin ผู้นำของสหภาพโซเวียตและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพ ในช่วงปี 1920 – 1953 วันนี้ ขาเที่ยว adventure อย่างเรา ไปรัสเซียครั้งที่สองแล้ว จะไปเที่ยวที่ตลาดๆ อย่าง Red Square ได้ไง!!! วันนี้ เราจะพาเพื่อนๆ ไปดูศูนย์บัญหาการรบใต้ดินของโซเวียตกัน!!!


Bunker แห่งนี้ สร้างขึ้นในปี 1950 แล้วเสร็จในปี 1956 ตั้งอยู่ห่างจาก Kremlin เพียงแค่ 3 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งทำให้ง่ายต่อการอพยพของ Stalin  และเจ้าหน้าที่ชั้นสูงในกรณีอเมริกาเกิดยิงระเบิดนิวเคลียร์ใส่โซเวียตขึ้นมา ดูภายนอกจะเหมือนตึกเก่าธรรมดา ซึ่งซ่อนตัวอยู่ใจกลางย่านพักอาศัยเลย ในช่วงที่เริ่มก่อสร้างถือเป็น top secret ของประเทศ แม้ว่าคนงานก่อสร้าง ก็ถูกบอกว่า กำลังสร้างรถไฟใต้ดินอยู่ แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะจบลงไปนานแล้ว คนภายนอกยังคงไม่รู้ว่าที่นี่เป็นอะไรจนกระทั่งปี 2006 จึงได้มีการเปิดเผยว่า ที่นี่เคยเป็นหลุมหลบภัยและเป็นศูนย์บัญชาการรบสมัยสงครามเย็น!!!  

ที่มาของชื่อ Bunker 42 นี้ จริงๆ แล้วเกิดจากการที่สหภาพโซเวียต ต้องการสร้างหลุมหลบภัยระเบิดนิวเคลียร์ที่สร้างภายใต้โปรเจกที่ชื่อ Manhutton project ในปี 1942 นำโดยสหรัฐอเมริกาด้วย support จากอังกฤษและแคนาดา จึงได้ชื่อว่า “Bunker 42”


ทางเข้า Bunker มีประตูอันใหญ่ 1 อัน เป็นทางเข้าหลัก จริงๆ แล้วมีอีก 2 ช่องทางที่สามารถเข้า bunker นี้ได้ แต่ปัจจุบันเหลือแค่ประตูหลักประตูเดียว เมื่อเข้าประตูใหญ่ไป เราจะต้องเดินผ่านประตูคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างหนาอีกบานหนึ่ง จึงจะเจอบันไดเพื่อลงไปยังตัว bunker ข้างล่าง


ตัว bunker แห่งนี้ตั้งอยู่ใต้ดินลึกลงไป 65 เมตร เท่ากับตึก 18 ชั้น  คือลึกมากกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินใน Moscow ซะอีก (คนที่เคยไป Moscow จะรู้ว่า รถไฟใต้ดินเค้า ลึกจิง จะลึกไปไหน บางสถานนี้นี่ ยืนบนบันไดเลือนไปเกือบ 3 นาที กว่าจะถึง platform) ตอนที่อยู่ข้างใน bunker จะได้ยินรถไฟวิ่งอยู่บนหัวเลย ผนัง Bunker ก่อสร้างด้วยซีเมนต์และเหล็กหนามาก โดยออกแบบให้รองรับความแรงระเบิดนิวเคลียร์ 2 เท่าของที่ฮิโรชิมา สมัยก่อนเค้ามีชื่อเรียกที่นี่ว่า “ที่ที่ปลอดภัยที่สุดของ Moscow” ดังนั้น การจะลงไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คุณก้อเหมือนจะต้องลงบันได 18 ชั้น อ๊าคคคค  ยังไม่พอ ขากลับก้อต้องขึ้นบันไดกลับ 18 ชั้นเช่นกัน เล่นเอาเดินขึ้นลงบันไดจนขานิ่มเลยทีเดียว  (Tip: ขาขึ้น บอกเค้าว่ามีคนแก่และคนป่วย แอบนั่ง lift ขึ้นมาจร้าาา)


ตัว Bunker นี้ลักษณะเป็น underground complex ประกอบด้วย 4 section มีระบบหมุนเวียนอากาศ และเครื่องฟอกอากาศ สามารถกรองอากาศที่มีสารปนเปื้อนจากระเบิดนิวเคลียร์ มีการสำรองน้ำ อาหาร และน้ำมันเชื้อเพลิง เพียงพอให้คน 30000 คนอยู่ได้สบายๆ เป็นเวลา 90 วัน แต่ละ Section จะทำหน้าที่ต่างๆ กันคือ  Section 1 เป็นศูนย์บัญชาการหลัก Section 2 และ 3 เป็น Communication section และ Section 4 เป็นห้องเสบียงและอื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่แต่ละ Ranking จะมีสิทธิ์เข้าแต่ละ section ไม่เหมือนกัน


Section 1 จะมีห้องทำงานของ Joseph Stalin ซึ่งเฉพาะเจ้าหน้า Ranking สูงๆ เท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์เข้าไปได้ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าห้องนี้ ไม่ได้ถูกใช้จริงโดยสตาลิน เพราะนางดันเสียชีวิตซะก่อนการก่อสร้าง Bunker นี้จะแล้วเสร็จคร่าาา เหอๆ   ด้านใน ก้อมีโต๊ะทำงานธรรมดาๆ  1 ตัว โซฟา 1 ตัว และโต๊ะเล่นหมากรุก 1 ชุด เค้าว่า กันว่า Stalin ชอบเล่นหมากรุกมาก และมักจะเล่นคนเดียว … คือเล่นกะตัวเอง!! นี่เป็นจิวแปะทงหรือไง? มือซ้ายเล่นกะมือขวา ท่าจะเหงาน่าดู


แม้ว่า bunker แห่งนี้จะไม่ได้ถูกใช้เป็นที่หลุบหลบระเบิดนิวเครียร์จริงๆ …โชคดีไป  แต่มันก้อถูกใช้เป็นศูนย์บัญชาการรบทางอากาศ ศูนย์การสื่อสารทางอากาศระยะไกล และมี conference room ที่ใช้เป็นห้องประชุมตัดสินสินใจใน Cuban Missile Crisis ว่า ตกลงโซเวียต จะส่ง nuclear missile ไปยิงอเมริกาหรือไม่? นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายๆ การตัดสินใจสำคัญที่สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ ได้เกิดขึ้นในห้องประชุมแห่งนี้ ปัจจุบันในห้องประชุมมีจัดแสดงโมเดลเครื่องบินหลายลำ ไกด์บอกว่า บางลำสามารถมันสามารถ carry ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีพลังทำลายล้างเมือง 1 เมืองได้สบายๆ โอ้ววววว  น่ากลัวจริง


ส่วนนึงของทัวร์ จะมีการทดลอง Launch ระเบิดนิวเคลียร์ด้วย บิ้วอารมณ์กันเต็มที่ โดยจะให้อาสาสมัคร 2 คนนั่งที่เครื่อง มีการกดปุ่มพร้อมกันแบบในหนังเปี๊ยบ และมีการจำลองเหตุการณ์ว่า ถ้าเกิดข้างบนมีการยิงระเบิดนิวเคลียร์เกิดขึ้น ใน Bunker จะเป็นยังไง เหยยยย… ยิ้มเหมือนในหนังจริงอ่ะ มีเสียงหวอดังๆ ไฟตามทางเปลี่ยนเป็นไฟกระพริบ มืดสลับสว่าง อันนี้เท่ห์  ทุกคนต้องไปลองเอง


ปัจจุบัน bunker นี้ เปิดเป็น Cold war museum (มีร้านอาหารด้วย) และเป็น entertainment complex ซึ่งสามารถจัดงานแต่งงานที่นี่ได้ด้วยนะ โห ธีมงานแต่งคงต้องเป็น “โหดสลัด รัสเซีย” แน่นอน!


ช่วงนี้เป็นช่วงบอลโลก เรามั่นใจว่ามีคนไทยไปดูบอลที่รัสเซียเยอะมาก ใครอยู่มอสโคว์หรือมีแพลนจะไปเร็วๆ นี้ เราก็ขอแนะนำนะคะ เป็นประสบการณ์ใหม่เก๋ๆ แถมได้ความรู้ด้วยค่ะ

Opening hours and excursions

Bunker 42 จะมีทัวร์ให้ 2 ภาษาคือ ภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งเป็นรอบๆ โดยคุณจะต้องทำการจองไปก่อน เราดูรายละเอียดของแต่ละรอบจากเวบนี้ http://bunker42.com/ และให้โรงแรมโทรไปจองให้เรา

Tip: เจ้าหน้าที่จะไม่เปิดประตูให้คุณเข้าก่อนเวลา ดังนั้นต้องกะเวลาไปถึงให้พอดีเวลานัด ไม่งั้นอาจจะเงิบโดนไล่ออกมา (เหมือนเรา) แถมข้างหน้าก้อไม่มีที่ให้นั่งรอด้วย

Location

Map: https://goo.gl/maps/RYX3yitS9eP2 มองหาตึกสูง 3 ชั้นสีเหลืองประตูเขียว มีดาวสีแดงดวงใหญ่ติดตรงกลาง
การเดินทาง: Metro สถานี Taganskaya แล้วเดินต่อประมาณ 500 เมตร แต่เราไป Taxi ลงหน้าประตูเลย 5555
Ticket: 2200 RUB per person

--------------------------------------------------------------

ขอบคุณที่อ่านรีวิวจนจบนะคะ
แนะนำติชมมาได้นะคะ
นานาขอบคุณ

รีวิวฉบับเต็ม: http://ontheroadstory.com/bunker42/
บทความอื่นๆ ที่เราเขียนจากประสบการณ์การท่องเที่ยวของเราเอง: http://ontheroadstory.com/
ติดตาม เกาะกระเป๋าเดินทางเราที่ Facebook Page: https://www.facebook.com/OntheRoadStory/

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่