เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์และน่าจะเป็นอากาศยานที่เข้าประจำการนานที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมาในโลกนี้ เท่าที่ทราบก็คือ B-52 ของสหรัฐและTU-95 ของโซเวียต/รัสเซียนี่ล่ะ จริงอยู่ที่บางลำตั้งแต่เริ่มสร้างมามีปลดไปบางส่วน แต่ส่วนใหญ่เป็นการปลดเพื่อสำรองอะไหล่นั้นเอง แสดงให้เห็นได้ว่ามหาอำนาจทั้งสองฝ่าย" ตั้งใจ " ให้เครื่องบินทิ้งระเบิดของตัวเองมีความทนทานต่อชิ้นส่วนและโครงสร้างขั้นสูงสุด จนเวลาล่วงเลยเข้ามาถึงครึ่งศตวรรษแล้ว มีสถิตินึงที่น่าสนใจที่B-52และTu-95 ทำไว้คือ
-ปี1957 B-52เคยทำสถิติบินไกล24324ไมล์ ใช้เวลา45ช.ม. โดยไม่หยุดพัก
-ปี2010 TU-95 บินไกลโดยไม่หยุด 30000ไมล์ ใช้เวลา42ช.ม. ผ่านสามมหาสมุทรเติมน้ำมันถึง4ครั้ง
อย่าง2ลำในภาพที่เคยประกบ ตู-95 ก็ได้สิ้นชีพไปตามๆกันเรียบร้อย ส่วนใหญ่พวกที่เคยประกบปู่ ตู-95 ส่วนใหญ่เกิดก่อนและตายก่อนแกทั้งนั้น
ทำไมต้องไล่ประกบแกด้วย ทั้งๆที่น่าจะเป็นเครื่องเปล่าบินหลงไปหลงมาเท่านั้น ที่นาโต้ต้องรีบส่งเครื่องบินประกบปู่แกและจูงออกไปไกลๆเนื่องจาก ปู่แกนอกจากงานหลักคือทิ้งระเบิดแล้ว งานรองยังใช้ลาดตระเวณ/หาข่าวด้วยเรดาห์กำลังสูง ระบบดักฟังคลื่นสื่อสารต่างๆ เต็มลำ
ตอนปู่(ตู-95)เกิด
หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่2ลุล่วงเข้ามาช่วงสงครามเย็นกำลังค่อยๆก่อตัวและหลังสงครามเกาหลีไม่นาน รัสเซีย(ขอเรียกรวมแทนโซเวียตแล้วกัน)ศึกษายุทธศาสตร์นาโต้ประกอบกับการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระยะไกลแบบต่างๆเช่น B-36 B-47 B-50 เป็นต้น รัสเซียจึงเปิดโครงการพัฒนา 4โปรเจ็คแผนแบบจาก เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลต้นแบบ ตู-4หรือบี-29 โครงการพัฒนามี 471 473 474 485 ซึ่งยังไม่เข้าตากองทัพเท่าที่ควร
จนมีแผนพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด ตู-200 ในปี1954ใช้เครื่องยนต์สูบดาวแบบAL-73TK จำนวน6เครื่อง น้ำหนักบรรทุก95ตัน
รูปทรง ตู-200 มาจากการพัฒนาโครงการ บี-36 ของสหรัฐนั้นเอง
แม้ว่าสำนักออกแบบตูโปเลฟ พยายามส่งแบบแข่งขันเพื่อไล่สหรัฐให้ทันเมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลถูกทดแทนด้วยเครื่องยนต์เจ็ทกันหมด ปี1950 สำนักออกแบบเมียชานิเชฟ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระยะไกลแบบ เอ็ม-4 ไบซัน ออกแบบโดย อเล็กซานเดอร์ อเล็กโดรวิช มิคูลิน ภายใต้ข้อกำหนดความเร็ว900ก.ม./ช.ม. ระยะบินไกล13000ก.ม. บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ขนาด5ตัน
ให้กองทัพรัสเซียพิจารณาและสั่งสร้างเข้าประจำการในปี1951 แต่เอ็ม-4ไบซัน แต่ทำได้เพียง8000กว่ากิโลเมตรเท่านั้นซึ่งยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่รุ่นหลังๆอย่าง 3เอ็ม/เอ็มเอส ระยะบินเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่มาก ในขณะที่ ตูโปเลฟ เสนอ ตู-16 แบดเจอร์ ที่ระยะบินไม่ไกลมาก เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียยังไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดไอพ่นที่คืบหน้าซักที ในขณะที่สหรัฐเริ่มขยับโครงการ บี-52แล้ว ส่วนในอังกฤษเองก็มี แอร์โรว์-วันแคน แฮน์ดลีย์เพจ-วิคเตอร์ เป็นต้น แต่โซเวียตยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย
11ก.ค.1951 คณะรัฐมนตรีแห่งรัฐสภารัสเซียลงนามคำสั่งเอกสารเลขที่2396-1137 ให้ออกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ มีข้อกำหนดดังนี้
-ตอบสนองภารกิจกองทัพอากาศ
-ตอบสนองภารกิจกองทัพเรือ
-ระยะบินทำการรบ15000ก.ม. และ 18000ก.ม. สำหรับภารกิจลาดตระเวณ
-ความเร็วสูงสุด950ก.ม./ช.ม. ความเร็วเดินทาง820ก.ม./ช.ม.
-เพดานบิน14000เมตร
-ขึ้นลงบนรันเวย์ที่ความยาว1800เมตร
ทำให้สำนักออกแบบปวดหัวเป็นที่เรียบร้อย
TU-95 แบร์ " ปู่ซ่าบ้าพลัง " แห่งกองทัพแดง
เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์และน่าจะเป็นอากาศยานที่เข้าประจำการนานที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมาในโลกนี้ เท่าที่ทราบก็คือ B-52 ของสหรัฐและTU-95 ของโซเวียต/รัสเซียนี่ล่ะ จริงอยู่ที่บางลำตั้งแต่เริ่มสร้างมามีปลดไปบางส่วน แต่ส่วนใหญ่เป็นการปลดเพื่อสำรองอะไหล่นั้นเอง แสดงให้เห็นได้ว่ามหาอำนาจทั้งสองฝ่าย" ตั้งใจ " ให้เครื่องบินทิ้งระเบิดของตัวเองมีความทนทานต่อชิ้นส่วนและโครงสร้างขั้นสูงสุด จนเวลาล่วงเลยเข้ามาถึงครึ่งศตวรรษแล้ว มีสถิตินึงที่น่าสนใจที่B-52และTu-95 ทำไว้คือ
-ปี1957 B-52เคยทำสถิติบินไกล24324ไมล์ ใช้เวลา45ช.ม. โดยไม่หยุดพัก
-ปี2010 TU-95 บินไกลโดยไม่หยุด 30000ไมล์ ใช้เวลา42ช.ม. ผ่านสามมหาสมุทรเติมน้ำมันถึง4ครั้ง
อย่าง2ลำในภาพที่เคยประกบ ตู-95 ก็ได้สิ้นชีพไปตามๆกันเรียบร้อย ส่วนใหญ่พวกที่เคยประกบปู่ ตู-95 ส่วนใหญ่เกิดก่อนและตายก่อนแกทั้งนั้น
ทำไมต้องไล่ประกบแกด้วย ทั้งๆที่น่าจะเป็นเครื่องเปล่าบินหลงไปหลงมาเท่านั้น ที่นาโต้ต้องรีบส่งเครื่องบินประกบปู่แกและจูงออกไปไกลๆเนื่องจาก ปู่แกนอกจากงานหลักคือทิ้งระเบิดแล้ว งานรองยังใช้ลาดตระเวณ/หาข่าวด้วยเรดาห์กำลังสูง ระบบดักฟังคลื่นสื่อสารต่างๆ เต็มลำ
ตอนปู่(ตู-95)เกิด
หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่2ลุล่วงเข้ามาช่วงสงครามเย็นกำลังค่อยๆก่อตัวและหลังสงครามเกาหลีไม่นาน รัสเซีย(ขอเรียกรวมแทนโซเวียตแล้วกัน)ศึกษายุทธศาสตร์นาโต้ประกอบกับการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระยะไกลแบบต่างๆเช่น B-36 B-47 B-50 เป็นต้น รัสเซียจึงเปิดโครงการพัฒนา 4โปรเจ็คแผนแบบจาก เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลต้นแบบ ตู-4หรือบี-29 โครงการพัฒนามี 471 473 474 485 ซึ่งยังไม่เข้าตากองทัพเท่าที่ควร
จนมีแผนพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด ตู-200 ในปี1954ใช้เครื่องยนต์สูบดาวแบบAL-73TK จำนวน6เครื่อง น้ำหนักบรรทุก95ตัน
รูปทรง ตู-200 มาจากการพัฒนาโครงการ บี-36 ของสหรัฐนั้นเอง
แม้ว่าสำนักออกแบบตูโปเลฟ พยายามส่งแบบแข่งขันเพื่อไล่สหรัฐให้ทันเมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลถูกทดแทนด้วยเครื่องยนต์เจ็ทกันหมด ปี1950 สำนักออกแบบเมียชานิเชฟ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระยะไกลแบบ เอ็ม-4 ไบซัน ออกแบบโดย อเล็กซานเดอร์ อเล็กโดรวิช มิคูลิน ภายใต้ข้อกำหนดความเร็ว900ก.ม./ช.ม. ระยะบินไกล13000ก.ม. บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ขนาด5ตัน
ให้กองทัพรัสเซียพิจารณาและสั่งสร้างเข้าประจำการในปี1951 แต่เอ็ม-4ไบซัน แต่ทำได้เพียง8000กว่ากิโลเมตรเท่านั้นซึ่งยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่รุ่นหลังๆอย่าง 3เอ็ม/เอ็มเอส ระยะบินเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่มาก ในขณะที่ ตูโปเลฟ เสนอ ตู-16 แบดเจอร์ ที่ระยะบินไม่ไกลมาก เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียยังไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดไอพ่นที่คืบหน้าซักที ในขณะที่สหรัฐเริ่มขยับโครงการ บี-52แล้ว ส่วนในอังกฤษเองก็มี แอร์โรว์-วันแคน แฮน์ดลีย์เพจ-วิคเตอร์ เป็นต้น แต่โซเวียตยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย
11ก.ค.1951 คณะรัฐมนตรีแห่งรัฐสภารัสเซียลงนามคำสั่งเอกสารเลขที่2396-1137 ให้ออกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ มีข้อกำหนดดังนี้
-ตอบสนองภารกิจกองทัพอากาศ
-ตอบสนองภารกิจกองทัพเรือ
-ระยะบินทำการรบ15000ก.ม. และ 18000ก.ม. สำหรับภารกิจลาดตระเวณ
-ความเร็วสูงสุด950ก.ม./ช.ม. ความเร็วเดินทาง820ก.ม./ช.ม.
-เพดานบิน14000เมตร
-ขึ้นลงบนรันเวย์ที่ความยาว1800เมตร
ทำให้สำนักออกแบบปวดหัวเป็นที่เรียบร้อย