บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน....ไม่ได้....

ก.   บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ไหมquestion
สุ.   ไม่ได้
ก.   เมื่อกี้ฟังแล้วคล้ายๆ กับว่า ...บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้
สุ.   ปรมัตถธรรมเท่านั้นเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน   ขณะใดที่รสเกิดกระทบกับชิวหาปสาท  เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้รสทางชิวหาทวารเริ่ม  ตั้งแต่
แพลบๆ
ปัญจทวาราวัชชนจิต   
ชิวหาวิญญาณ   
สัมปฏิจฉันนจิต   
สันตีรณจิต   
โวฏฐัพพนจิต  
ชวนจิต 
ตทาลัมพนจิต 
แล้วรสดับ 
แพลบๆ
จึงไม่มีองุ่น นั่นคือปรมัตถธรรม 
แต่เมื่อรวมกันแล้วเป็นผลองุ่น ขณะนั้นเป็นบัญญัติ

ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นขณะที่ระลึกลักษณะสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม   
และพิจารณาสังเกตรู้สภาพธรรมนั้นๆ ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน  

ขี้แงขณะใดที่สติปัฏฐานไม่เกิด ก็จะไม่มีการแยกลักษณะของปรมัตถธรรมออกจากบัญญัติจึงยังมีความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนอยู่ตลอดเวลา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สุ.     เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เพราะว่าในพระสูตร หรือในที่ต่างๆ เวลาที่มีคำใด ท่านจะแสดงคำนั้นโดยประการต่างๆ 
โดยนัยของสมถะ โดยนัยของวิปัสสนา หมายความว่าเมื่อพูดถึงคำนั้นแล้วก็ได้กล่าวถึงคำนั้นโดยความหมายอื่นๆ ด้วย 
ซึ่งเราจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ขณะนั้นหมายความถึงอะไร 

 เหมือนกับจิตตวิสุทธิ จะใช้คำว่า อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ไม่ได้กล่าวถึงขณิกสมาธิ 
แต่ความจริงวิปัสสนาทั้งหมดเป็นขณิกสมาธิ ถ้าเข้าใจผิด ก็จะคิดว่า บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้

เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจถูกว่า สภาพธรรมะที่มีจริงๆ มีลักษณะจริงๆ จึงจะเป็นสติปัฏฐานได้

วิจิตร     ที่ยังไม่เข้าใจ คือ คำว่ากาย เวทนา จิต ธรรมนั้น กายเป็นบัญญัติหรือเปล่า

สุ.     คุณวิจิตรมีกายหรือเปล่า

วิจิตร     มีครับ

สุ.     ค่ะ ลักษณะของกายเป็นอย่างไรคะ ถ้ามี หมายความต้องมีลักษณะที่สามารถจะรู้ได้ว่า สิ่งนั้นมีจริงๆ กายมีลักษณะอย่างไร จึงบอกว่ามี

วิจิตร     ก็มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง

สุ.     นั่นแหละค่ะ ลักษณะนั้นเป็นบัญญัติหรือเปล่า หรือว่าลักษณะนั้นมีจริงๆ เกิดแล้วดับด้วย

วิจิตร     ถึงแม้ว่าเราจะเข้าใจว่า เป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง แต่เวลาดูกายในกาย ให้ดูเกสา โลมา

สุ.     ใครให้ดู

วิจิตร     ให้พิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ

สุ.    ใครให้พิจารณา

วิจิตร     ก็ในพระไตรปิฎก


สุ.     สิ่งใดที่มี สติสัมปชัญญะเกิด ก็รู้ในลักษณะนั้น แต่ไม่ได้บังคับ บังคับไม่ได้ เป็นอนัตตา
 แต่สิ่งที่มี จะรู้ความจริงก็คือ รู้ความจริงของสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มี

วิจิตร     รู้ความจริงของสิ่งที่มี อย่างเกสา ก็รู้ว่า นี่คือเกสา

สุ.     ไหนคะเกสา



วิจิตร     ก็นี่ไง

สุ.     แข็งใช่ไหมคะ เกสาแข็งหรือเปล่า ต้องใช้เกสาด้วย "ผม"ก็ไม่ใช้ ถ้าพูด"ผม" ก็ไม่ได้หรือคะ ต้องเกสา

วิจิตร     ก็ได้ แต่เดี๋ยวจะไม่เข้ากัน

สุ.     เพราะฉะนั้น จะเข้าใจธรรมะด้วยภาษาอะไร  ก็ควรใช้ภาษานั้น เมื่อมีคำว่า เกสา แล้วเข้าใจว่า เกสาคือผมก็จริง  

แต่ขณะไหนที่ผมกำลังเป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะ ต้องรู้ ไม่ใช่ไปนึกถึงคำ แล้วก็บอกว่า เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่ค่ะ 

ต้องมีลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ จึงจะรู้ว่า    ลักษณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เปลี่ยนลักษณะนั้นไม่ได้ ลักษณะนั้นปรากฏ 

เมื่อมีสภาพที่กำลังรู้พร้อมสติสัมปชัญญะที่กำลังรู้ด้วย

ฟังธรรมออนไลน์
ฟังธรรมจากแผ่นซีดี ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
https://www.dhammahome.com/discuss
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่