สำหรับผู้ขี้เกียจอ่าน เชิญฟังคลิป >>>
https://www.dhammahome.com/cd/topic/17/25
ตอนที่ ๒๐๕
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๓
_________________________________
ผู้ฟัง : แต่จริงๆ แล้วไม่มีขณะใดเลยใช่ไหมครับ ที่จิตจะไม่เกิด
อ. สุจินต์ : นิโรธสมาบัติ เป็นขณะที่จิต เจตสิกไม่เกิด สำหรับพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ได้ปัญจมฌาน ต้องประกอบทั้ง ๒ อย่าง ขณะนั้นจิตตชรูปไม่มี แต่กัมมชรูปมี เพราะกัมมชรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน แต่ทีนี้เหตุผลที่เราจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อปัญญาเราจะได้เจริญขึ้น เวลาที่ลักษณะของโลภเจตสิกเกิด สติระลึกได้ไหม
ผู้ฟัง : ได้ เพราะว่าปรมัตถธรรมทั้งหมดเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน โลภเจตสิกเป็น ๑ ในปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น เราสามารถจะรู้ได้ ถ้าสติปัฏฐานเกิด
อ. สุจินต์ : ทุกอย่างต้องค่อยๆ พิจารณาในเหตุผล ไม่อย่างนั้นพอเราดูอย่างนี้แล้วเรากลัว นี่บอกให้เว้น ไม่ใช่ทุกขสัจจ์ ไม่รวมอยู่ในทุกขสัจจ์ เพราะฉะนั้น ไม่มีการพิจารณา เป็นเครื่องกั้นปัญญาไม่ให้เจริญ เพราะว่าขณะนั้นก็เป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ต้องเข้าใจด้วยที่ทรงแสดงอริยสัจจ์ โดยเหตุ และโดยผล โดยกิจ โลภมูลจิตเกิดหรือโลภเจตสิกเกิด อย่ากลัว หรือไม่กล้าที่จะระลึก แต่ต้องรู้ความจริงว่า อะไรเป็นสมุทัย นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะรู้ว่าโลภะเป็นสมุทัย เป็นเหตุ ความติดข้องที่เราอยู่ในสังสารวัฏฏ์นานแสนนาน ก็เพราะตัวนี้ ความติดข้องในทุกอย่างที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
โลภะก็เป็นสิ่งที่ควรละ ควรจะต้องรู้ว่าเป็นสมุทัย เพราะว่าเวลาที่สภาพธรรมปรากฏ แน่นอนที่สุด คือ เป็นเรา ละไม่ได้เลย ทันทีทันใดไม่ได้ สักกายทิฏฐิ ไม่ว่าจะเป็นธาตุไฟที่กำลังปรากฏที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายนี้ ก็เป็นเรา แม้แต่เพียงสภาพร้อน ก็เหมือนธรรมดาปกติ เวลาร้อนที่ตัวเราก็ว่าเราแล้ว ฉันใด แต่สภาพหรือธาตุไม่ได้ปรากฏกับปัญญาที่ถึงระดับขั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณว่า เป็นเพียงธาตุ สภาพนั้นเป็นธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะนั้นเท่านั้น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถึงแม้จะรู้อย่างนี้ปรากฏอย่างนี้ ด้วยเหตุใดวิปัสสนาญาณจึงมีหลายขั้นตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในขันธ์ ทั้งนามขันธ์ ทั้งรูปขันธ์ ทั้งเวทนา สัญญา สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดเป็นเรา เหนียวแน่นมาก
ปัญญาต้องอบรมจริงๆ อย่างละเอียดที่จะรู้ทั่ว จนกระทั่งรู้ว่า ขณะนั้นมีเยื่อใย ความต้องการ ความติดข้อง ความเป็นเราอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ ก็ไม่ถึงนิพพาน เพราะว่ายังมีความติดข้องในสังขารทั้งหลาย ในสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น ต้องรู้จริงๆ ว่า ต่อเมื่อใดรู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพธรรมที่เคยเป็นเรา มีความต้องการเกิดขึ้นด้วยความเป็นตัวตน สำหรับพระโสดาบันท่านไม่ได้ละโลภะอื่นเลย นอกจากโลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดที่ยึดถึงสภาพธรรมว่า เป็นเรา หรือเป็นตัวตน ขณะนั้น คนนั้นก็รู้ว่าไม่ใช่กิจอื่น ทำอย่างอื่น นอกจากเมื่อไรจะค่อยๆ รู้ที่จะคลายความติดข้องที่มีความเห็นผิด เป็นสักกายทิฏฐิในสิ่งนั้นจนกว่าจะหมด จึงเป็นสิ่งที่ควรละโลภะ จนกว่าจะละได้ ละที่นี่หมายความถึงขั้นต้น โลภะที่เกิดร่วมดับความเห็นผิด
ผู้ฟัง : อ. สุจินต์ : กรุณาอธิบายเรื่องรูปธรรมกับนามธรรมอีกสักนิด
อ. สุจินต์ : ไม่ทราบต้องตั้งต้นที่คำว่าธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง : สงสัยต้อง
อ. สุจินต์ : ต้องก็ดี เริ่มใหม่เลย
ธรรมมีหลายความหมาย แต่ความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของพระไตรปิฎกส่วนที่ ๓ เพราะว่าพระไตรปิฎกมี ๓ พระวินัยปิฎก ๑ พระสุตตันตปิฎก ๑ พระอภิธรรมปิฎก ๑
ธรรมที่เราจะกล่าวถึง เราหมายความถึงธรรมในความหมายของอภิธรรม อภิ แปลว่ายิ่งใหญ่ ธรรมส่วนที่ยิ่งใหญ่ ทำไมไม่อยู่ในส่วนอื่น คือพระวินัยไม่เรียกว่าอภิธรรม พระสูตรก็ไม่เรียกว่าอภิธรรม แต่ธรรมส่วนนี้เรียกว่าอภิธรรม เพราะเหตุว่าธรรมส่วนนี้พูดถึงสภาพธรรมที่มีจริง แม้ว่าเราจะไม่เรียกชื่ออะไรเลยทั้งสิ้น แต่สภาพนั้นก็มี เช่นในขณะนี้ ดิฉันก็ไม่รู้จักชื่อทุกคน แต่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แม้ว่าไม่เรียกชื่อก็มี สิ่งที่มีจริงทั้งหมด เราจะเรียกชื่อหรือไม่เรียกชื่อ หรือว่าจะใช้ภาษาอะไรก็ตามแต่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ เช่น ลักษณะที่ร้อน ใครกระทบสัมผัส คนนั้นรู้สึกเย็นได้ไหม ไม่ได้ คนหนึ่งจะไปรู้สึกแข็งไหม ถ้าขณะที่กระทบร้อน ต้องเหมือนกันหมด คือลักษณะที่ร้อนปรากฏ ไม่เรียกชื่อได้ไหม ก็ได้ สภาพร้อนนั้นมีจริงๆ นี่คือธรรม
เรากำลังเรียนธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม มาจากคำ ๓ คำ ปรม ซึ่งภาษาไทยไม่ใช้ตัว ป ปลา แต่ใช้ บ ใบไม้ ของเราก็เป็น บรม แปลว่า ใหญ่ อรรถ ทั่วไปหมายความถึง ความหมาย แล้วก็ธรรม เมื่อเป็นธรรมที่มีจริง ก็จะต้องมีลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ ไม่ปะปนกัน เมื่อมีลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ เราก็สามารถอธิบาย เอ่ยถึง แสดงลักษณะของธรรมนั้นให้เข้าใจได้ ซึ่งลักษณะของธรรมนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น ธรรมส่วนนี้ที่เรากล่าวถึง เป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างของธรรมนั้น เป็นปรมัตถธรรม หรืออีกคำจะใช้คำว่า อภิธรรม ก็ได้ เราไม่ได้เรียนสิ่งที่นอกโลก ไม่ได้อยู่ที่นี่ เหลือวิสัยที่จะเข้าใจ แต่เรากำลังเรียนเรื่องสิ่งที่มีตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเป็นธรรม บางคนไปแสวงหาธรรม เหนือจรดใต้ พอรู้จักธรรม เพียงลืมตาก็เป็นธรรมหมด
เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วเมื่อมีธรรมเกิดขึ้น จึงมีความหลงยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่รู้ความจริงว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ
นี่คือธรรมที่เกิด เป็นสภาพธรรมที่ต้องดับ เมื่อเกิดแล้วคงทนอยู่ไม่ได้ ถ้าเรารู้จริงๆ จะทราบว่า เมื่อมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ไฟดับเร็วไหม เราจุดเทียนไข เราเห็นแสงไฟ ดับเร็วไหม แสงไฟ แต่ถ้าไม่รู้ อยู่ทั้งคืนจนกว่าเทียนไขนั้นจะหมด แต่ถ้ารู้ทุกอณูที่ทำให้เกิดแสงไฟ เป็นปัจจัยให้แสงไฟนั้นเกิดแล้วก็ดับ ไม่อย่างนั้นก็ต้องไม่มีการดับของเทียนไขเลย ชีวิตก็เหมือนกัน เราคิดว่า เกิดมาแล้วก็เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ตอนตาย แต่ความจริงไม่ใช่เลย เกิดดับทุกขณะ เพราะฉะนั้น ความตายมี ๓ อย่าง ขณิกมรณะ ตายทุกขณะจิต กับสมมติมรณะ ตายเวลาที่คนหนึ่งเกิดแล้วสมมติเรียกกันว่าตาย แล้วก็ต้องไปวัด ไปเผา ส่วนสมุจเฉทมรณะ หมายความถึง ดับสนิทจริงๆ ไม่เกิดอีกเลย เป็นการปรินิพพานของพระอรหันต์ ไม่ใช่เพียงสมมติมรณะซึ่งเพียงตายจากชาติหนึ่ง แล้วก็เกิดใหม่อีกชาติหนึ่ง
เมื่อผู้ฟังถาม อ. สุจินต์ว่า "ไม่มีขณะใดเลยใช่ไหมที่จิตจะไม่เกิด?"
ตอนที่ ๒๐๕
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๓
_________________________________
ผู้ฟัง : แต่จริงๆ แล้วไม่มีขณะใดเลยใช่ไหมครับ ที่จิตจะไม่เกิด
อ. สุจินต์ : นิโรธสมาบัติ เป็นขณะที่จิต เจตสิกไม่เกิด สำหรับพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ได้ปัญจมฌาน ต้องประกอบทั้ง ๒ อย่าง ขณะนั้นจิตตชรูปไม่มี แต่กัมมชรูปมี เพราะกัมมชรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน แต่ทีนี้เหตุผลที่เราจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อปัญญาเราจะได้เจริญขึ้น เวลาที่ลักษณะของโลภเจตสิกเกิด สติระลึกได้ไหม
ผู้ฟัง : ได้ เพราะว่าปรมัตถธรรมทั้งหมดเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน โลภเจตสิกเป็น ๑ ในปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น เราสามารถจะรู้ได้ ถ้าสติปัฏฐานเกิด
อ. สุจินต์ : ทุกอย่างต้องค่อยๆ พิจารณาในเหตุผล ไม่อย่างนั้นพอเราดูอย่างนี้แล้วเรากลัว นี่บอกให้เว้น ไม่ใช่ทุกขสัจจ์ ไม่รวมอยู่ในทุกขสัจจ์ เพราะฉะนั้น ไม่มีการพิจารณา เป็นเครื่องกั้นปัญญาไม่ให้เจริญ เพราะว่าขณะนั้นก็เป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ต้องเข้าใจด้วยที่ทรงแสดงอริยสัจจ์ โดยเหตุ และโดยผล โดยกิจ โลภมูลจิตเกิดหรือโลภเจตสิกเกิด อย่ากลัว หรือไม่กล้าที่จะระลึก แต่ต้องรู้ความจริงว่า อะไรเป็นสมุทัย นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะรู้ว่าโลภะเป็นสมุทัย เป็นเหตุ ความติดข้องที่เราอยู่ในสังสารวัฏฏ์นานแสนนาน ก็เพราะตัวนี้ ความติดข้องในทุกอย่างที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
โลภะก็เป็นสิ่งที่ควรละ ควรจะต้องรู้ว่าเป็นสมุทัย เพราะว่าเวลาที่สภาพธรรมปรากฏ แน่นอนที่สุด คือ เป็นเรา ละไม่ได้เลย ทันทีทันใดไม่ได้ สักกายทิฏฐิ ไม่ว่าจะเป็นธาตุไฟที่กำลังปรากฏที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายนี้ ก็เป็นเรา แม้แต่เพียงสภาพร้อน ก็เหมือนธรรมดาปกติ เวลาร้อนที่ตัวเราก็ว่าเราแล้ว ฉันใด แต่สภาพหรือธาตุไม่ได้ปรากฏกับปัญญาที่ถึงระดับขั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณว่า เป็นเพียงธาตุ สภาพนั้นเป็นธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะนั้นเท่านั้น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถึงแม้จะรู้อย่างนี้ปรากฏอย่างนี้ ด้วยเหตุใดวิปัสสนาญาณจึงมีหลายขั้นตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในขันธ์ ทั้งนามขันธ์ ทั้งรูปขันธ์ ทั้งเวทนา สัญญา สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดเป็นเรา เหนียวแน่นมาก
ปัญญาต้องอบรมจริงๆ อย่างละเอียดที่จะรู้ทั่ว จนกระทั่งรู้ว่า ขณะนั้นมีเยื่อใย ความต้องการ ความติดข้อง ความเป็นเราอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ ก็ไม่ถึงนิพพาน เพราะว่ายังมีความติดข้องในสังขารทั้งหลาย ในสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น ต้องรู้จริงๆ ว่า ต่อเมื่อใดรู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพธรรมที่เคยเป็นเรา มีความต้องการเกิดขึ้นด้วยความเป็นตัวตน สำหรับพระโสดาบันท่านไม่ได้ละโลภะอื่นเลย นอกจากโลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดที่ยึดถึงสภาพธรรมว่า เป็นเรา หรือเป็นตัวตน ขณะนั้น คนนั้นก็รู้ว่าไม่ใช่กิจอื่น ทำอย่างอื่น นอกจากเมื่อไรจะค่อยๆ รู้ที่จะคลายความติดข้องที่มีความเห็นผิด เป็นสักกายทิฏฐิในสิ่งนั้นจนกว่าจะหมด จึงเป็นสิ่งที่ควรละโลภะ จนกว่าจะละได้ ละที่นี่หมายความถึงขั้นต้น โลภะที่เกิดร่วมดับความเห็นผิด
ผู้ฟัง : อ. สุจินต์ : กรุณาอธิบายเรื่องรูปธรรมกับนามธรรมอีกสักนิด
อ. สุจินต์ : ไม่ทราบต้องตั้งต้นที่คำว่าธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง : สงสัยต้อง
อ. สุจินต์ : ต้องก็ดี เริ่มใหม่เลย
ธรรมมีหลายความหมาย แต่ความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของพระไตรปิฎกส่วนที่ ๓ เพราะว่าพระไตรปิฎกมี ๓ พระวินัยปิฎก ๑ พระสุตตันตปิฎก ๑ พระอภิธรรมปิฎก ๑
ธรรมที่เราจะกล่าวถึง เราหมายความถึงธรรมในความหมายของอภิธรรม อภิ แปลว่ายิ่งใหญ่ ธรรมส่วนที่ยิ่งใหญ่ ทำไมไม่อยู่ในส่วนอื่น คือพระวินัยไม่เรียกว่าอภิธรรม พระสูตรก็ไม่เรียกว่าอภิธรรม แต่ธรรมส่วนนี้เรียกว่าอภิธรรม เพราะเหตุว่าธรรมส่วนนี้พูดถึงสภาพธรรมที่มีจริง แม้ว่าเราจะไม่เรียกชื่ออะไรเลยทั้งสิ้น แต่สภาพนั้นก็มี เช่นในขณะนี้ ดิฉันก็ไม่รู้จักชื่อทุกคน แต่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แม้ว่าไม่เรียกชื่อก็มี สิ่งที่มีจริงทั้งหมด เราจะเรียกชื่อหรือไม่เรียกชื่อ หรือว่าจะใช้ภาษาอะไรก็ตามแต่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ เช่น ลักษณะที่ร้อน ใครกระทบสัมผัส คนนั้นรู้สึกเย็นได้ไหม ไม่ได้ คนหนึ่งจะไปรู้สึกแข็งไหม ถ้าขณะที่กระทบร้อน ต้องเหมือนกันหมด คือลักษณะที่ร้อนปรากฏ ไม่เรียกชื่อได้ไหม ก็ได้ สภาพร้อนนั้นมีจริงๆ นี่คือธรรม
เรากำลังเรียนธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม มาจากคำ ๓ คำ ปรม ซึ่งภาษาไทยไม่ใช้ตัว ป ปลา แต่ใช้ บ ใบไม้ ของเราก็เป็น บรม แปลว่า ใหญ่ อรรถ ทั่วไปหมายความถึง ความหมาย แล้วก็ธรรม เมื่อเป็นธรรมที่มีจริง ก็จะต้องมีลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ ไม่ปะปนกัน เมื่อมีลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ เราก็สามารถอธิบาย เอ่ยถึง แสดงลักษณะของธรรมนั้นให้เข้าใจได้ ซึ่งลักษณะของธรรมนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น ธรรมส่วนนี้ที่เรากล่าวถึง เป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างของธรรมนั้น เป็นปรมัตถธรรม หรืออีกคำจะใช้คำว่า อภิธรรม ก็ได้ เราไม่ได้เรียนสิ่งที่นอกโลก ไม่ได้อยู่ที่นี่ เหลือวิสัยที่จะเข้าใจ แต่เรากำลังเรียนเรื่องสิ่งที่มีตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเป็นธรรม บางคนไปแสวงหาธรรม เหนือจรดใต้ พอรู้จักธรรม เพียงลืมตาก็เป็นธรรมหมด
เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วเมื่อมีธรรมเกิดขึ้น จึงมีความหลงยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่รู้ความจริงว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ
นี่คือธรรมที่เกิด เป็นสภาพธรรมที่ต้องดับ เมื่อเกิดแล้วคงทนอยู่ไม่ได้ ถ้าเรารู้จริงๆ จะทราบว่า เมื่อมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ไฟดับเร็วไหม เราจุดเทียนไข เราเห็นแสงไฟ ดับเร็วไหม แสงไฟ แต่ถ้าไม่รู้ อยู่ทั้งคืนจนกว่าเทียนไขนั้นจะหมด แต่ถ้ารู้ทุกอณูที่ทำให้เกิดแสงไฟ เป็นปัจจัยให้แสงไฟนั้นเกิดแล้วก็ดับ ไม่อย่างนั้นก็ต้องไม่มีการดับของเทียนไขเลย ชีวิตก็เหมือนกัน เราคิดว่า เกิดมาแล้วก็เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ตอนตาย แต่ความจริงไม่ใช่เลย เกิดดับทุกขณะ เพราะฉะนั้น ความตายมี ๓ อย่าง ขณิกมรณะ ตายทุกขณะจิต กับสมมติมรณะ ตายเวลาที่คนหนึ่งเกิดแล้วสมมติเรียกกันว่าตาย แล้วก็ต้องไปวัด ไปเผา ส่วนสมุจเฉทมรณะ หมายความถึง ดับสนิทจริงๆ ไม่เกิดอีกเลย เป็นการปรินิพพานของพระอรหันต์ ไม่ใช่เพียงสมมติมรณะซึ่งเพียงตายจากชาติหนึ่ง แล้วก็เกิดใหม่อีกชาติหนึ่ง