จากที่ได้ยิน ได้ฟังมา บวกกับการคิดเอาเองได้ความว่า
การเจริญสติปัฎฐานมีเป้าหมายที่วิปัสสนา ...
วิปัสสนามีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ...
กายานุปัสสนาเกี่ยวกับกาย น่าจะมีรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ...
การรู้ว่านั่ง หรือนอน ฯ จะต้องรู้สึกทั่วทั้งตัวหรือส่วนใหญ่ของร่างกาย
รู้การกระทบสัมผัสเก้าอี้,พื้น,ที่นอนฯ รู้ลมกระทบหรืออุณหภูมิของอากาศที่ผิวหนัง เป็นต้น
คือ รู้เย็นร้อนอ่อนแข็ง(ซึ่งเป็นปรมัตถ์ ?) จากหลายๆจุดทั่วร่าง
ปรมัตถธรรมจำนวนมากนี้ถุกนำมาประมวลผลเป็นอาการนั่ง นอน ฯ
แล้วรู้ทางใจอีกทีหนึ่ง (รู้ว่านั่ง หรือนอน ฯ ซึ่งผมไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถ์หรือเปล่า)
ต่อไปนี้เป็นการเดาล้วนๆ
สมมุติ นั่ง นอน ยืน เดิน ไม่ใช่ปรมัตถ์ ก็ไม่มีอะไรเสียหาย
ผมเดาว่า การรู้นั่ง นอน ยืน เดิน ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง แต่เป็นเพียงเหยื่อล่อ
ให้สติได้โอกาสเกิดขึ้นระลึกปรมัตถธรรมที่อยู่เบื้องหลัง นั่ง นอน ยืน เดิน
จากนั้นปัญญาก็มีโอกาสเจริญจากการได้ศึกษาปรมัตถธรรมเหล่านั้น
(กลายเป็นว่าเราไม่ได้จงใจที่จะไปเพ่งปรมัตถธรรม แต่มีการเห็นโดยธรรมชาติ
เหมือนเป็นการทำงานอยู่ในฉากหลัง)
เมื่อถึงจุดที่อินทรีย์แก่กล้ามากพอแล้ว วิป้สสนาญานแรกก็อาจจะเกิดขึ้น
เห็นรูปธรรมนามธรรม(ซึ่งเป็นปรมัตถ์) แยกขาดจากกัน (เป็นภาวนามยปัญญา ไม่ได้เกิดจากคิดเอา)
.... อย่างนี้ ทำนองนี้ ....
มีความเห็นยังไงกันบ้างครับเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผมเข้าใจผิดตรงไหนบ้าง หรือเข้าใจผิดตั้งแต่ต้นจนจบเลย...
นั่ง นอน ยืน เดิน ในอิริยาบถบรรพ (กายานุปัสสนา) เป็น บัญญัติหรึอปรมัตถ์ครับ
การเจริญสติปัฎฐานมีเป้าหมายที่วิปัสสนา ...
วิปัสสนามีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ...
กายานุปัสสนาเกี่ยวกับกาย น่าจะมีรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ...
การรู้ว่านั่ง หรือนอน ฯ จะต้องรู้สึกทั่วทั้งตัวหรือส่วนใหญ่ของร่างกาย
รู้การกระทบสัมผัสเก้าอี้,พื้น,ที่นอนฯ รู้ลมกระทบหรืออุณหภูมิของอากาศที่ผิวหนัง เป็นต้น
คือ รู้เย็นร้อนอ่อนแข็ง(ซึ่งเป็นปรมัตถ์ ?) จากหลายๆจุดทั่วร่าง
ปรมัตถธรรมจำนวนมากนี้ถุกนำมาประมวลผลเป็นอาการนั่ง นอน ฯ
แล้วรู้ทางใจอีกทีหนึ่ง (รู้ว่านั่ง หรือนอน ฯ ซึ่งผมไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถ์หรือเปล่า)
ต่อไปนี้เป็นการเดาล้วนๆ
สมมุติ นั่ง นอน ยืน เดิน ไม่ใช่ปรมัตถ์ ก็ไม่มีอะไรเสียหาย
ผมเดาว่า การรู้นั่ง นอน ยืน เดิน ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง แต่เป็นเพียงเหยื่อล่อ
ให้สติได้โอกาสเกิดขึ้นระลึกปรมัตถธรรมที่อยู่เบื้องหลัง นั่ง นอน ยืน เดิน
จากนั้นปัญญาก็มีโอกาสเจริญจากการได้ศึกษาปรมัตถธรรมเหล่านั้น
(กลายเป็นว่าเราไม่ได้จงใจที่จะไปเพ่งปรมัตถธรรม แต่มีการเห็นโดยธรรมชาติ
เหมือนเป็นการทำงานอยู่ในฉากหลัง)
เมื่อถึงจุดที่อินทรีย์แก่กล้ามากพอแล้ว วิป้สสนาญานแรกก็อาจจะเกิดขึ้น
เห็นรูปธรรมนามธรรม(ซึ่งเป็นปรมัตถ์) แยกขาดจากกัน (เป็นภาวนามยปัญญา ไม่ได้เกิดจากคิดเอา)
.... อย่างนี้ ทำนองนี้ ....
มีความเห็นยังไงกันบ้างครับเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผมเข้าใจผิดตรงไหนบ้าง หรือเข้าใจผิดตั้งแต่ต้นจนจบเลย...