ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และ นิพพานปรมัตถ์
ในปรมัตถธรรมทั้ง ๔ นั้น
มีปรมัตถ์อยู่ ๓ อย่าง คือ จิต เจตสิก และรูป เป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม
สำหรับ
นิพพานนั้นเป็นวิสังขารธรรม และเป็นอสังขตธรรม
จิต เจตสิก รูป ที่เป็นสังขารธรรมนั้น แยกเป็นขันธ์ ซึ่งความหมายของขันธ์นี้
ขันธ์นั้นหมายถึงกอง เช่น กองรูป ก็ได้แก่รูปทุกรูป อยู่ในกองรูป ไม่ใช่อยู่ในกองอื่น
เพราะฉะนั้นรูปทุกชนิดจึงเป็นรูปขันธ์ ขันธ์นั้นหมายถึงสภาพธรรมที่จำแนกเป็นอดีต
อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ เพื่อสดวกในการจำแนก
ในบรรดาปรมัตถธรรมทั้ง ๔ นั้น ปรมัตถธรรมที่เป็นขันธ์ ก็ได้แต่จิต เจตสิก และรูป
ส่วนปรมัตถธรรมที่ไม่เป็นขันธ์ก็ได้แก่นิพพาน
ซึ่งเรียกว่าขันธวิมุตติ หมายความว่าพ้นจากขันธ์
ฉนั้น
ปรมัตถธรรมจึงไม่ใช่ขันธ์5
ทีนี้ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นขันธ์นั้น จำแนกออกได้เป็นขันธ์ ๕ คือ
รูปทั้งหมดเป็นรูปขันธ์
เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกอื่นๆ ที่เหลืออีก ๕๐ ชนิดเป็นสังขารขันธ์
และจิตทั้งหมดเป็นวิญญาณขันธ์
อุปาทานขันธ์ ก็คือขันธ์เป็นที่ตั้ง หรือเป็นอารมณ์ของความยึดมั่น ความยึดถือ นั่นเอง
ฉะนั้นรูปขันธ์ก็ดี เวทนาขันธ์ก็ดี สัญญาขันธ์ก็ดี สังขารขันธ์ก็ดี วิญญาณขันธ์ก็ดี
ที่เป็นที่ตั้งของความยึดมั่น ยึดถือ จึงเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น มีชื่อเรียกว่า รูปูปาทานขันธ์ เป็นต้น
ทีนี้ขันธ์ที่จะเป็นที่ตั้งของความยึดมั่น ยึดถือ หรือว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้น
จะต้องเป็นขันธ์ที่เป็นโลกียะ เพราะเหตุว่าอุปาทานจะเกิดขึ้นก็ด้วยอาศัยรูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณที่เป็นโลกียะ
ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นโลกุตตระนั้น ไม่ใช่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
จิตมีขันธ์5
ขันธ์5คือเจตสิค
ที่แยกขันธ์5ออกมาได้เพราะเป็นการสดวกต่อการแจกแจงธรรมในการเรียนการสอน
ปรมัตถธรรมไม่ใช่ขันธ์5