คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖
รูปสังคหวิภาค
รูปสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๖
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค เป็น ปริจเฉทที่แสดงธรรม ๒ ประการ คือ
รูปปรมัตถ และ นิพพาน
๒. ปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรเป็น ธัมมธาตุ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม เป็น ธัมมฐีติ เครื่องตั้งอยู่ของธรรม เป็น ธัมมนิยาม กำหนดหมายของธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง ตามธรรมดาธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น ไม่มีใครสร้างขึ้น มีโดยเหตุโดยปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุนี้ ปรมัตถธรรมจึงหมายถึง ธรรมชาติที่มีอยู่จริง ๆ ไม่วิปริตผันแปร เป็นความจริงที่มีอยู่จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
(๑) จิตปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
(๒) เจตสิกปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ให้เกิดการรู้ อารมณ์และรู้สึกเป็นไปตามตนเองที่ประกอบ
(๓) รูปปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่แตกดับย่อยยับด้วยความเย็นความร้อน
(๔) นิพพานปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสและขันธ์
ทั้ง ๔ นี้เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงๆ มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ พิสูจน์ได้ รู้ได้ ด้วยปัญญา เป็นอารมณ์ของปัญญา จากการเรียนการศึกษา จากการพิจารณาหาเหตุ ผล และจากการปฏิบัติ คือภาวนามัยปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรนั้นมีสภาวะ หรือมี ลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่ สามัญญลักษณะ ๑ และวิเสสลักษณะ ๑
หน้า ๓
ก. สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะสามัญเป็นลักษณะธรรมดาที่ธรรมทั้งหลาย ที่สิ่งทั้งหลายมีเหมือน ๆ กันเป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่ธรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไป อย่างนั้น สามัญญลักษณะมี ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ๑ ทุกขลักษณะ ๑ และ อนัตตลักษณะ ๑
อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป
อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่
เพราะเหตุว่า สามัญญลักษณะ มีสภาพ ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อ ว่า ไตรลักษณ์
จิต เจตสิก และรูป มีไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง แต่นิพพานมีสามัญญลักษณะเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะเท่านั้น
ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์นี้แต่อย่าง หนึ่งอย่างใดไม่เพราะบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่เป็นบัญญัติธรรมคือ สมมติสัจจะ ที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้น ตามโวหารของโลกเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีเองเป็นเองแต่อย่างใด
หน้า ๔
ข. วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษที่มีประจำ เป็นจำเพาะของสิ่งนั้นๆ เป็น สภาพพิเศษประจำตัวของธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิด ซึ่งมีไม่เหมือนกันเลย วิเสส ลักษณะมี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน
ลักษณะ หมายถึง คุณภาพ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีอยู่เป็น ประจำตัวของธรรมนั้น ๆ
รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึง กระทำตามลักษณะของตน รสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส
กิจจรส เช่น ความร้อนของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก
สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่การงานทำให้สว่าง
ปัจจุปัฏฐาน หมายถึงอาการที่ปรากฏจากรสะนั้น คือผลอันเกิดจากรสะ
ปทัฏฐาน หมายถึง ปัจจัยโดยตรงที่เป็นตัวการให้เกิดลักษณาการนั้น ๆ เรียกว่า เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเหตุว่าวิเสสลักษณะนี้ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อว่า ลักขณาทิจตุกะ แปลความว่าธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ เป็นต้น
หน้า ๕
จิต เจตสิก และ รูป มีลักขณาทิจตุกะ คือ วิเสสลักษณะครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ แต่นิพพานมีวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ และ ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิดเพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง
ส่วนบัญญัติธรรมนั้น ไม่มีวิเสสลักษณะเลย เพราะบัญญัติไม่มีสภาวธรรมที่มี เองเป็นเอง เป็นการบัญญัติขึ้นตามความนิยมของชาวโลกเท่านั้นเอง
ที่มา
https://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98-%E0%B8%A1%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%AA-%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B0/%E0%B8%9B%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97-%E0%B9%96/
เมื่อนิพพาน เป็นธรรม อย่างหนึ่ง โปรดอ่านในนี้ว่าในตำราพระอภิธรรม พระนิพพาน คืออะไร (ถ้าสนใจนะครับ)
รูปสังคหวิภาค
รูปสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๖
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค เป็น ปริจเฉทที่แสดงธรรม ๒ ประการ คือ
รูปปรมัตถ และ นิพพาน
๒. ปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรเป็น ธัมมธาตุ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม เป็น ธัมมฐีติ เครื่องตั้งอยู่ของธรรม เป็น ธัมมนิยาม กำหนดหมายของธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง ตามธรรมดาธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น ไม่มีใครสร้างขึ้น มีโดยเหตุโดยปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุนี้ ปรมัตถธรรมจึงหมายถึง ธรรมชาติที่มีอยู่จริง ๆ ไม่วิปริตผันแปร เป็นความจริงที่มีอยู่จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
(๑) จิตปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
(๒) เจตสิกปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ให้เกิดการรู้ อารมณ์และรู้สึกเป็นไปตามตนเองที่ประกอบ
(๓) รูปปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่แตกดับย่อยยับด้วยความเย็นความร้อน
(๔) นิพพานปรมัตถ คือ ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสและขันธ์
ทั้ง ๔ นี้เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงๆ มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ พิสูจน์ได้ รู้ได้ ด้วยปัญญา เป็นอารมณ์ของปัญญา จากการเรียนการศึกษา จากการพิจารณาหาเหตุ ผล และจากการปฏิบัติ คือภาวนามัยปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรนั้นมีสภาวะ หรือมี ลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่ สามัญญลักษณะ ๑ และวิเสสลักษณะ ๑
หน้า ๓
ก. สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะสามัญเป็นลักษณะธรรมดาที่ธรรมทั้งหลาย ที่สิ่งทั้งหลายมีเหมือน ๆ กันเป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่ธรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไป อย่างนั้น สามัญญลักษณะมี ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ๑ ทุกขลักษณะ ๑ และ อนัตตลักษณะ ๑
อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป
อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่
เพราะเหตุว่า สามัญญลักษณะ มีสภาพ ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อ ว่า ไตรลักษณ์
จิต เจตสิก และรูป มีไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง แต่นิพพานมีสามัญญลักษณะเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะเท่านั้น
ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์นี้แต่อย่าง หนึ่งอย่างใดไม่เพราะบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่เป็นบัญญัติธรรมคือ สมมติสัจจะ ที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้น ตามโวหารของโลกเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีเองเป็นเองแต่อย่างใด
หน้า ๔
ข. วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษที่มีประจำ เป็นจำเพาะของสิ่งนั้นๆ เป็น สภาพพิเศษประจำตัวของธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิด ซึ่งมีไม่เหมือนกันเลย วิเสส ลักษณะมี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน
ลักษณะ หมายถึง คุณภาพ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีอยู่เป็น ประจำตัวของธรรมนั้น ๆ
รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึง กระทำตามลักษณะของตน รสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส
กิจจรส เช่น ความร้อนของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก
สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่การงานทำให้สว่าง
ปัจจุปัฏฐาน หมายถึงอาการที่ปรากฏจากรสะนั้น คือผลอันเกิดจากรสะ
ปทัฏฐาน หมายถึง ปัจจัยโดยตรงที่เป็นตัวการให้เกิดลักษณาการนั้น ๆ เรียกว่า เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเหตุว่าวิเสสลักษณะนี้ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อว่า ลักขณาทิจตุกะ แปลความว่าธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ เป็นต้น
หน้า ๕
จิต เจตสิก และ รูป มีลักขณาทิจตุกะ คือ วิเสสลักษณะครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ แต่นิพพานมีวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ และ ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิดเพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง
ส่วนบัญญัติธรรมนั้น ไม่มีวิเสสลักษณะเลย เพราะบัญญัติไม่มีสภาวธรรมที่มี เองเป็นเอง เป็นการบัญญัติขึ้นตามความนิยมของชาวโลกเท่านั้นเอง
ที่มา
https://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98-%E0%B8%A1%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%AA-%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B0/%E0%B8%9B%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97-%E0%B9%96/