.
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/098.htm
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๙ ที่ชื่อว่า
กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
อันเป็นปริจเฉทสุดท้ายแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา
(
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/001.htm )
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
(หน้า 98)
เบื้องหน้าแต่นั้น โคตรภูจิตจึงหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ครอบงำเสียซึ่งโคตรปุถุชน บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคล อันนำมาซึ่งความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
มีความหมายว่า
เมื่อจิตของพระโยคีตั้งอยู่แล้วในอนุโลมญาณ
ต่อจากนั้นก็ก้าวขึ้นสู่โคตรภูญาณ ทำหน้าที่โอนจากโคตรปุถุชน ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส
ไปสู่โคตรอริยชนที่ห่างไกลจากกิเลส
กล่าวโดยวิถีจิต
เมื่อ
อนุโลมชวนะ ซึ่งมีไตรลักษณ์ คือความเกิดดับแห่งรูปนามเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว
ก็เป็นปัจจัยให้เกิด
โคตรภูจิต ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์
นำมาซึ่งปัญญาที่รู้ยิ่งในสันติลักษณะ คือ พระนิพพาน
ตามลำดับแห่งวิถีจิตที่ชื่อว่า มัคควิถี ดังภาพนี้
...
อนุโลมญาณ
โคตรภูญาณ
มัคคญาณ
ผลญาณ
น ท มโน
อุป อนุ
โค มัคค ผล ผล ผล ภ
อักษรย่อ
น=ภวังคจลนะ,
ท=ภวังคุปัจเฉทะ,
มโน=มโนทวาราวัชชนะ,
บริ=บริกรรม,
อุป=อุปจาระ,
อนุ=อนุโลม,
โค=โคตรภู,
ภ=ภวังค
โคตรภูจิต แม้ว่าจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็ยังปราบกิเลสให้เป็นสมุจเฉทไม่ได้ เพราะจิตยังเป็นโลกียจิตอยู่ หาใช่โลกุตตรจิตไม่ เหตุนี้จึงเรียกโคตรภูจิตว่าเป็น เอกวุฏฐาน คือ ออกได้แต่ส่วนเดียว
ออกจากอารมณ์ที่เป็นสังขาร
ออกจากอารมณ์ที่เป็นโลกียธรรม
ไปมีอารมณ์เป็นโลกุตรธรรม คือ พระนิพพาน
แต่อีกส่วนหนึ่งคือจิตยังหาได้ออกจากโลกียจิต เป็นโลกุตตรจิตไม่ ยังคงเป็นโลกียจิตอยู่ตามเดิม
.
==== โคตรภูญาณ(ญาณข้ามโคตร) - จิตยังเป็นโลกีย แต่มีอารมณ์นิพพาน(เห็นความสงบสันติสุข)แล้ว ไม่มีการหวนกลับ จะไปสู่มัคคจิต
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/098.htm
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๙ ที่ชื่อว่า
กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
อันเป็นปริจเฉทสุดท้ายแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา
( http://abhidhamonline.org/aphi/p9/001.htm )
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
(หน้า 98)
เบื้องหน้าแต่นั้น โคตรภูจิตจึงหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ครอบงำเสียซึ่งโคตรปุถุชน บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคล อันนำมาซึ่งความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
มีความหมายว่า
เมื่อจิตของพระโยคีตั้งอยู่แล้วในอนุโลมญาณ
ต่อจากนั้นก็ก้าวขึ้นสู่โคตรภูญาณ ทำหน้าที่โอนจากโคตรปุถุชน ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส
ไปสู่โคตรอริยชนที่ห่างไกลจากกิเลส
กล่าวโดยวิถีจิต
เมื่ออนุโลมชวนะ ซึ่งมีไตรลักษณ์ คือความเกิดดับแห่งรูปนามเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว
ก็เป็นปัจจัยให้เกิดโคตรภูจิต ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์
นำมาซึ่งปัญญาที่รู้ยิ่งในสันติลักษณะ คือ พระนิพพาน
ตามลำดับแห่งวิถีจิตที่ชื่อว่า มัคควิถี ดังภาพนี้
...
อนุโลมญาณ
โคตรภูญาณ
มัคคญาณ
ผลญาณ
น ท มโน
อุป อนุ
โค มัคค ผล ผล ผล ภ
อักษรย่อ
น=ภวังคจลนะ,
ท=ภวังคุปัจเฉทะ,
มโน=มโนทวาราวัชชนะ,
บริ=บริกรรม,
อุป=อุปจาระ,
อนุ=อนุโลม,
โค=โคตรภู,
ภ=ภวังค
โคตรภูจิต แม้ว่าจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็ยังปราบกิเลสให้เป็นสมุจเฉทไม่ได้ เพราะจิตยังเป็นโลกียจิตอยู่ หาใช่โลกุตตรจิตไม่ เหตุนี้จึงเรียกโคตรภูจิตว่าเป็น เอกวุฏฐาน คือ ออกได้แต่ส่วนเดียว
ออกจากอารมณ์ที่เป็นสังขาร
ออกจากอารมณ์ที่เป็นโลกียธรรม
ไปมีอารมณ์เป็นโลกุตรธรรม คือ พระนิพพาน
.