ถกเข้ม! ‘พิธา’ ชี้ซอฟต์โลน 5 แสนล้าน ผู้ประกอบการเดือดร้อนเข้าไม่ถึง ‘ธนาธร’ อัด รบ.ตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่
https://www.matichon.co.th/politics/news_2178369
‘ก้าวไกล’ ถกเข้มลมหายใจเอสเอ็มอี ‘พิธา’ ชี้ ซอฟต์โลน 5 แสนล้าน ผู้ประกอบการเดือดร้อนเข้าไม่ถึง ด้าน ‘ธนาธร’ อัดรัฐบาลตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่ สังคมไทยหลังโควิดเหลื่อมล้ำสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พรรคก้าวไกล จัดไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ
พิธา x ธนาธร : ลมหายใจ SMEs ไทยในวิกฤตโควิด-19 โดยมี นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และนาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นแกนนำคณะก้าวหน้า ร่วมพูดคุยกันหลังจากในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยทั้งคู่ได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ เพื่อพบปะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และคนทำงานในหลายภาคส่วนธุรกิจ และได้พบว่า มาตรการการช่วยเหลือของรัฐบาลยังไม่ตรงจุดและเข้าไม่ถึงครอบคลุมผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากนั้น
นาย
พิธากล่าวว่า สถานการณ์ช่วยเหลือประชาชนของรัฐบาลต้องเรียกว่า ฝนตกไม่ทั่วฟ้า การคัดกรองผ่านระบบ AI กำมะลอ เป็นบทเรียนที่สังคมไทยต้องจ่ายในราคาแพง โดยเฉพาะพิษเศรษฐกิจที่ตามมาเป็นเหมือนพายุที่พัดพรมออกไป ทำให้เผยปัญหาความผุพังต่างๆ เกิดมาไม่เคยพบคนลำบากยากไร้ขนาดนี้ มีความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี มีคนที่ต้องออกจากงาน รวมถึงผู้ประกอบการชนชั้นกลางที่ตนไปคุยมาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง และสายป่านยาวอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ขณะเดียวกันก็เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือตาม พ.ร.ก.ซอฟต์โลน วงเงิน 5 แสนล้านของรัฐบาล ซึ่งน่าแปลกตรงที่กับประชาชนนั้นมีการคัดกรองทำให้คนเข้าไม่ถึง แต่กับเอสเอ็มอีที่ควรคัดกรองและให้กับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างเห็นชัดเจน เช่น ท่องเที่ยว ธุรกิจกลางคืน กลับไม่ทำ แต่ให้ทั้งหมด แล้วสุดท้ายผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ได้เฉพาะคนที่มีเครดิตกับธนาคารอยู่แล้ว
นาย
พิธากล่าวอีกว่า เรื่อง สิทธิอาหาร เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ปรากฏในช่วงวิกฤตครั้งนี้ ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยซึ่งเป็นครัวของโลก แต่มีคนฆ่าตัวตายเพราะไม่มีข้าวกิน ขณะที่ผลไม้ ส้ม มะม่วง หรือผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ เช่น นม เกษตรกรต้องเอาไปเททิ้ง เพราะไม่มีผู้รับซื้อ ซึ่งคำถามคือ ทำไมรัฐบาลไม่ไปรับซื้อสินค้าเกษตรที่ส่งออกไม่ได้นี้ทั้งหมดเลย นำมาทำเป็นธนาคารอาหาร แล้วมากระจายอาหารให้กับคนที่เขาไม่มีจะกิน ใช้งบประมาณครั้งเดียวแต่ได้ประโยชน์ 2 เด้ง เงินก้อนเดียวกันนี้ ช่วยผู้เดือดร้อนได้ 2 ฝ่าย ตนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมรัฐบาลถึงไม่คิดทำเรื่องนี้
ด้านนาย
ธนาธรกล่าวว่า จากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ขัดกับความเชื่อคนที่คิดว่าถ้าเกิดปัญหา ผู้ประกอบการจะเอาลูกน้องออกเป็นอย่างแรก ซึ่งจากการไปพูดคุยมาพบว่า ไม่จริง พวกเขาพยายามรักษาลูกน้องให้มากสุด เพราะถ้าเกิดเอาพนักงานออก แล้วต้องหาคนใหม่ การสร้างความไว้ใจ ทักษะฝีมือ ทำไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ตนได้ไปดู 2 ธุรกิจ หนึ่งคือตัดเย็บเสื้อผ้า อีกหนึ่งคือธุรกิจหมอนวด ในส่วนบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้านั้นมีพนักงาน 40 คน ส่งขายให้กับร้านค้าในห้าง พอห้างปิด ร้านก็ปิดตามขายไม่ได้ ไม่มียอดสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งน่าห่วงว่า พนักงานส่วนใหญ่อายุ 40- 50 ปี เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าตลอดชีวิต มีทักษะดี ช่วงนี้ก็กลับต่างจังหวัด ด้วยอายุขนาดนี้ ต่อให้ธุรกิจกลับมา เขาจะมีไฟ มีความทะเยอทะยานอยากกลับมาหางานในกรุงเทพอีกครั้งหรือไม่ ดังนั้น ถ้าเราจัดการไม่ดี ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะล้ม แต่ยังมีลูกจ้างที่จะต้องตกงาน ถึงเดือนมิถุนายน ถ้าไม่มีการอัดฉีดสภาพคล่องให้เอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึง เครื่องจักรก็จะถูกธนาคารยึดขายทอดตลาด พนักงานกลับต่างจังหวัด จากแรงงานในระบบกลายเป็นแรงงานรับจ้างรายวันในต่างจังหวัด จากเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ กลายเป็นไม่ได้กระทบเป็นลูกโซ่
“อีกธุรกิจหนึ่งคือร้านนวด ที่มีหมอนวดเป็นคนตาบอด ช่วงที่ผ่านมาไม่มีงานทำ ช่วงแรกยอมปิดร้าน แต่พอผ่านไปเดือนกว่าเริ่มรู้สึกไม่ไหวแล้ว หมอนวดก็คิดเรื่องการไปนวดดิลิเวอรี เพราะกลัวอดตายมากกว่ากลัวไวรัส ขณะที่ผู้ประกอบการเองบอกว่า น่าจะแบกอยู่ได้ถึงเดือนกรกฎาคม เพราะธุรกิจอยู่ได้ด้วยนักท่องเที่ยว เมื่อรัฐบาลไม่ให้ความชัดเจน เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือก็ยอมทิ้งดีกว่า แบกต่อไม่ไหว นี่คือความเจ็บปวดของผู้ประกอบการ กับรัฐบาลที่ไม่มีความชัดเจน พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 5 แสนล้าน ที่เอาไปใช้โดยไม่เกิดประโยชน์กับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเข้าไม่ถึง ซึ่งเรากำลังพูดถึงเอสเอ็มอี 20-30 เปอร์เซ็นต์ที่จะล้มละลายที่ไม่ใช่จากไวรัสโควิด -19 หากแต่เป็นการปิดเมือง และจะมีคนตกงานอีกเป็นล้าน การสู้กับภัยโควิดครั้งนี้ ใครชนะไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือประชาชนแพ้ คนที่ไปร้องไห้หน้ากระทรวงการคลังนี่บทแรกเท่านั้น นี่แค่เดือนแรก และเดือนหน้าโรงเรียนจะเปิดเทอม มีเรื่องหนี้นอกระบบที่กู้สองเดือนไม่มีรายได้เข้ามา ความเดือดร้อนประชาชน ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือประชาชนรากหญ้า มีแต่จะเดือดร้อนมากขึ้น ถ้าดำเนินนโยบายแบบนี้ และที่บอกว่าประเทศไทยเป็นที่หนึ่งของโลกในการบริหารจัดการโควิด ถามว่าจะเป็นที่หนึ่งทำไมถ้าทุกวันมีคนร้องไห้ มีคนเจ็บปวด และมีคนอดตายอย่างนี้” นาย
ธนาธรกล่าว
นาย
ธนาธรกล่าวอีกว่า เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลจะใช้ไปในการฟื้นฟูหลังจากนี้ ไม่ใช่เงินที่ได้มาฟรี เงินกู้ไม่ใช่รายได้ แต่เป็นหนี้สิน คนที่จะต้องจ่ายคืนคือผู้จ่ายภาษี โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยทำงาน คนที่จะเข้าสู่ระบบแรงงาน หนี้ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย ถ้าใช้ไปทำสิ่งดีงาม สร้างสรรค์ และเพิ่มมูลค่ามากกว่าดอกเบี้ยได้ สามารถใช้ทำในสิ่งที่ยกระดับการพัฒนาประเทศได้ แต่ถ้าเอามาเพื่ออุ้มการบินไทย อุ้มบริษัทปลอดภาษีในสนามบิน อุ้มคนรวย อุ้มเจ้าสัวคนไม่กี่กลุ่ม หนี้ก้อนนี้ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเราต้องจ่ายคืน ดังนั้น ใครชนะเราไม่รู้ รู้แต่ว่าถ้าบริหารประเทศแบบนี้ประชาชนผู้เสียภาษีแพ้แน่ๆ เพราะชัดเจนว่า นี่คือรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มทุน เป็นตัวแทนผลประโยชน์คนกลุ่มน้อย ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใหญ่ สังคมไทยหลังวิกฤตโควิด จะเป็นรูปกรวยเรียวที่ยอดแคบมากๆ คนรวยยิ่งอยู่สูงบนยอด ขณะที่ชนชั้นกลางหายไป กลายเป็นฐาน เป็นคนยากจนที่เป็นฐานกว้างมากๆ นี่จะเป็นรูปร่างหน้าตาประเทศไทยที่รัฐบาลเป็นตัวแทนของกลุ่มอภิสิทธิ์ชนสร้างขึ้น ซึ่งแลกมาด้วยน้ำตาคนเป็นล้านๆ
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/videos/549866202630783/
พิชัย จี้ บิ๊กตู่ เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห่วง ใช้ 4 แสนล้าน เอาใจ ส.ส.
https://www.thairath.co.th/news/politic/1840434
"พิชัย” จี้ “บิ๊กตู่” ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่าอ้างโควิด-19 เพื่อควบอำนาจ ห่วง ใช้เงิน 4 แสนล้าน เอาใจ ส.ส.เพื่อรักษาตำแหน่ง แนะ ต้องมีวิสัยทัศน์ลงทุนตามกระแสโลกในอนาคต
วันที่ 10 พ.ค. นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน กล่าวว่า ตามที่มีสื่อหลักของญี่ปุ่น นิเคอิ เอเชียน รีวิว วิจารณ์รัฐบาลในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะรัฐบาลไทยโดยระบุไปที่ พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า มีการใช้ข้ออ้างการระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบรวมอำนาจของตนเอง และใช้กีดกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนและฝ่ายค้าน ดังนั้นในสถานการณ์ที่การระบาดของไวรัสดีขึ้นตามลำดับ จึงควรที่รัฐบาลจะต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้แล้ว และควรจะต้องเริ่มผ่อนคลายให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ต้องขอชื่นชมความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ของประเทศไทย ที่ทำให้ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่อย่างไร ความจริงคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลับเป็นอุปสรรคสำหรับประชาชนในการทำมาหากิน และปัญหาในการเดินทางกลับบ้านของประชาชนจำนวนมาก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังใช้ข่มขู่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาไม่ให้แสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะเรื่องความไม่พอใจในการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลมาตลอด 5 ปีกว่านี้
นอกจากนี้ สื่อหลักญี่ปุ่นยังวิจารณ์รัฐบาลไทยในการใช้เงินจำนวนมากกว่า 58,000 เหรียญ (1.9 ล้านล้านบาท) ว่า จะเป็นการแจกเพื่อหาเสียงให้กับตัวเอง อย่างไรก็ดี เงินที่ใช้เยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนถือเป็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ แม้กระนั้น การเยียวยาของรัฐบาลยังมีปัญหาความไม่ทั่วถึง คนลำบากจำนวนมากไม่ได้รับการเยียวยา แต่เงินกู้อีก 400,000 ล้านบาท ที่นาย
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประกาศว่า จะไปใช้ฟื้นเกษตรกรและฐานราก เกรงว่า จะเป็นเบี้ยหัวแตก และจะไปซ้ำซ้อนกับโครงการเดิมที่แต่ละกระทรวงมีแผนงานอยู่แล้ว สุดท้ายห่วงว่าจะกลายเป็นการนำเงินกู้ก้อนมหาศาลดังกล่าว ไปใช้เพื่อเอาใจ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะ ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อรักษาตำแหน่งของตนและพวกพ้อง ที่กำลังมีปัญหาความไม่พอใจของ ส.ส. จำนวนมากใน พปชร. ที่ต้องการเปลี่ยน นาย
อุตตม สาวนายน และ นาย
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ออกจากหัวหน้าพรรค และ เลขาธิการพรรค เพื่อให้เปลี่ยนออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งจะรวมไปถึงการจะปลด นาย
สมคิด ออกจากตำแหน่งด้วยจากผลงานการบริหารเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ดังนั้น จึงอยากให้ มีการใช้เงินเพื่อพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการใช้เพื่อรักษาตำแหน่ง เพราะจะเสียเงินโดยไม่เกิดประโยชน์ และประชาชนทั้งประเทศจะต้องมาใช้หนี้ก้อนมหาศาลนี้แทน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ต้องมาแบกภาระอย่างหนักในอนาคต
อย่างไรก็ดี หากมองย้อนหลัง 5 ปี รัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล โดยอ้างว่าเพื่อช่วยเกษตรกรและฐานราก แต่ความเป็นอยู่ของเกษตรกรและฐานราก กลับไม่ได้ดีขึ้นเลย แถมยังแย่ลงอย่างมาก รายได้หดหายและคนจนกลับยิ่งเพิ่มมากขึ้น และที่พลเอก
ประยุทธ์ บอกเศรษฐกิจไทยจะแย่ไปอีก 9 เดือน ทั้งที่ความจริง คือ เศรษฐกิจไทยแย่มาตลอด 5 ปีกว่าแล้ว อีกทั้ง ไม่เคยปรากฏเลยว่า จะมีคนอดอยาก และ ฆ่าตัวตายกันอย่างมากเหมือนในปัจจุบัน และ อีก 9 เดือนก็ยังไม่เห็นว่า จะฟื้นได้อย่างไร ดังนั้นการใช้เงินอีก 4 แสนล้าน เพื่อเรื่องนี้ก็อาจจะไม่ได้ผลเหมือนที่รัฐบาลเคยทำมาแล้วตลอดหลายปี ซึ่งอาจจะกลายเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเหมือนโครงการเงินกู้ไทยเข้มแข็ง 4 แสนล้านบาท สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัติย์ หรือ การเข้าช่วยการบินไทยทั้งที่โอกาสรอดทางธุรกิจมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
"สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ การต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ให้เห็นว่าอนาคตของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังวิกฤติไวรัส แล้วพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับอนาคตโดยมุ่งเน้นการปรับระบบราชการ การสร้างธุรกิจในแนวทางใหม่ และ การเพิ่มการจ้างงาน โดยที่การว่างงานของคนจำนวนมากประมาณ 7-10 ล้านคน จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต และรัฐบาลยังไม่มีแนวทางที่จะรับมือแต่อย่างไร" นายพิชัย กล่าว ....
JJNY : พิธาชี้ซอฟต์โลน ผู้ประกอบการเดือดร้อนเข้าไม่ถึง/พิชัยห่วงใช้4แสนล.เอาใจส.ส./จี้เปิดแผนฟื้นศก./ติดเชื้อเพิ่ม5ราย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2178369
‘ก้าวไกล’ ถกเข้มลมหายใจเอสเอ็มอี ‘พิธา’ ชี้ ซอฟต์โลน 5 แสนล้าน ผู้ประกอบการเดือดร้อนเข้าไม่ถึง ด้าน ‘ธนาธร’ อัดรัฐบาลตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่ สังคมไทยหลังโควิดเหลื่อมล้ำสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พรรคก้าวไกล จัดไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ พิธา x ธนาธร : ลมหายใจ SMEs ไทยในวิกฤตโควิด-19 โดยมี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นแกนนำคณะก้าวหน้า ร่วมพูดคุยกันหลังจากในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยทั้งคู่ได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ เพื่อพบปะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และคนทำงานในหลายภาคส่วนธุรกิจ และได้พบว่า มาตรการการช่วยเหลือของรัฐบาลยังไม่ตรงจุดและเข้าไม่ถึงครอบคลุมผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากนั้น
นายพิธากล่าวว่า สถานการณ์ช่วยเหลือประชาชนของรัฐบาลต้องเรียกว่า ฝนตกไม่ทั่วฟ้า การคัดกรองผ่านระบบ AI กำมะลอ เป็นบทเรียนที่สังคมไทยต้องจ่ายในราคาแพง โดยเฉพาะพิษเศรษฐกิจที่ตามมาเป็นเหมือนพายุที่พัดพรมออกไป ทำให้เผยปัญหาความผุพังต่างๆ เกิดมาไม่เคยพบคนลำบากยากไร้ขนาดนี้ มีความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี มีคนที่ต้องออกจากงาน รวมถึงผู้ประกอบการชนชั้นกลางที่ตนไปคุยมาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง และสายป่านยาวอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ขณะเดียวกันก็เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือตาม พ.ร.ก.ซอฟต์โลน วงเงิน 5 แสนล้านของรัฐบาล ซึ่งน่าแปลกตรงที่กับประชาชนนั้นมีการคัดกรองทำให้คนเข้าไม่ถึง แต่กับเอสเอ็มอีที่ควรคัดกรองและให้กับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างเห็นชัดเจน เช่น ท่องเที่ยว ธุรกิจกลางคืน กลับไม่ทำ แต่ให้ทั้งหมด แล้วสุดท้ายผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ได้เฉพาะคนที่มีเครดิตกับธนาคารอยู่แล้ว
นายพิธากล่าวอีกว่า เรื่อง สิทธิอาหาร เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ปรากฏในช่วงวิกฤตครั้งนี้ ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยซึ่งเป็นครัวของโลก แต่มีคนฆ่าตัวตายเพราะไม่มีข้าวกิน ขณะที่ผลไม้ ส้ม มะม่วง หรือผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ เช่น นม เกษตรกรต้องเอาไปเททิ้ง เพราะไม่มีผู้รับซื้อ ซึ่งคำถามคือ ทำไมรัฐบาลไม่ไปรับซื้อสินค้าเกษตรที่ส่งออกไม่ได้นี้ทั้งหมดเลย นำมาทำเป็นธนาคารอาหาร แล้วมากระจายอาหารให้กับคนที่เขาไม่มีจะกิน ใช้งบประมาณครั้งเดียวแต่ได้ประโยชน์ 2 เด้ง เงินก้อนเดียวกันนี้ ช่วยผู้เดือดร้อนได้ 2 ฝ่าย ตนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมรัฐบาลถึงไม่คิดทำเรื่องนี้
ด้านนายธนาธรกล่าวว่า จากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ขัดกับความเชื่อคนที่คิดว่าถ้าเกิดปัญหา ผู้ประกอบการจะเอาลูกน้องออกเป็นอย่างแรก ซึ่งจากการไปพูดคุยมาพบว่า ไม่จริง พวกเขาพยายามรักษาลูกน้องให้มากสุด เพราะถ้าเกิดเอาพนักงานออก แล้วต้องหาคนใหม่ การสร้างความไว้ใจ ทักษะฝีมือ ทำไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ตนได้ไปดู 2 ธุรกิจ หนึ่งคือตัดเย็บเสื้อผ้า อีกหนึ่งคือธุรกิจหมอนวด ในส่วนบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้านั้นมีพนักงาน 40 คน ส่งขายให้กับร้านค้าในห้าง พอห้างปิด ร้านก็ปิดตามขายไม่ได้ ไม่มียอดสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งน่าห่วงว่า พนักงานส่วนใหญ่อายุ 40- 50 ปี เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าตลอดชีวิต มีทักษะดี ช่วงนี้ก็กลับต่างจังหวัด ด้วยอายุขนาดนี้ ต่อให้ธุรกิจกลับมา เขาจะมีไฟ มีความทะเยอทะยานอยากกลับมาหางานในกรุงเทพอีกครั้งหรือไม่ ดังนั้น ถ้าเราจัดการไม่ดี ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะล้ม แต่ยังมีลูกจ้างที่จะต้องตกงาน ถึงเดือนมิถุนายน ถ้าไม่มีการอัดฉีดสภาพคล่องให้เอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึง เครื่องจักรก็จะถูกธนาคารยึดขายทอดตลาด พนักงานกลับต่างจังหวัด จากแรงงานในระบบกลายเป็นแรงงานรับจ้างรายวันในต่างจังหวัด จากเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ กลายเป็นไม่ได้กระทบเป็นลูกโซ่
“อีกธุรกิจหนึ่งคือร้านนวด ที่มีหมอนวดเป็นคนตาบอด ช่วงที่ผ่านมาไม่มีงานทำ ช่วงแรกยอมปิดร้าน แต่พอผ่านไปเดือนกว่าเริ่มรู้สึกไม่ไหวแล้ว หมอนวดก็คิดเรื่องการไปนวดดิลิเวอรี เพราะกลัวอดตายมากกว่ากลัวไวรัส ขณะที่ผู้ประกอบการเองบอกว่า น่าจะแบกอยู่ได้ถึงเดือนกรกฎาคม เพราะธุรกิจอยู่ได้ด้วยนักท่องเที่ยว เมื่อรัฐบาลไม่ให้ความชัดเจน เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือก็ยอมทิ้งดีกว่า แบกต่อไม่ไหว นี่คือความเจ็บปวดของผู้ประกอบการ กับรัฐบาลที่ไม่มีความชัดเจน พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 5 แสนล้าน ที่เอาไปใช้โดยไม่เกิดประโยชน์กับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเข้าไม่ถึง ซึ่งเรากำลังพูดถึงเอสเอ็มอี 20-30 เปอร์เซ็นต์ที่จะล้มละลายที่ไม่ใช่จากไวรัสโควิด -19 หากแต่เป็นการปิดเมือง และจะมีคนตกงานอีกเป็นล้าน การสู้กับภัยโควิดครั้งนี้ ใครชนะไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือประชาชนแพ้ คนที่ไปร้องไห้หน้ากระทรวงการคลังนี่บทแรกเท่านั้น นี่แค่เดือนแรก และเดือนหน้าโรงเรียนจะเปิดเทอม มีเรื่องหนี้นอกระบบที่กู้สองเดือนไม่มีรายได้เข้ามา ความเดือดร้อนประชาชน ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือประชาชนรากหญ้า มีแต่จะเดือดร้อนมากขึ้น ถ้าดำเนินนโยบายแบบนี้ และที่บอกว่าประเทศไทยเป็นที่หนึ่งของโลกในการบริหารจัดการโควิด ถามว่าจะเป็นที่หนึ่งทำไมถ้าทุกวันมีคนร้องไห้ มีคนเจ็บปวด และมีคนอดตายอย่างนี้” นายธนาธรกล่าว
นายธนาธรกล่าวอีกว่า เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลจะใช้ไปในการฟื้นฟูหลังจากนี้ ไม่ใช่เงินที่ได้มาฟรี เงินกู้ไม่ใช่รายได้ แต่เป็นหนี้สิน คนที่จะต้องจ่ายคืนคือผู้จ่ายภาษี โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยทำงาน คนที่จะเข้าสู่ระบบแรงงาน หนี้ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย ถ้าใช้ไปทำสิ่งดีงาม สร้างสรรค์ และเพิ่มมูลค่ามากกว่าดอกเบี้ยได้ สามารถใช้ทำในสิ่งที่ยกระดับการพัฒนาประเทศได้ แต่ถ้าเอามาเพื่ออุ้มการบินไทย อุ้มบริษัทปลอดภาษีในสนามบิน อุ้มคนรวย อุ้มเจ้าสัวคนไม่กี่กลุ่ม หนี้ก้อนนี้ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเราต้องจ่ายคืน ดังนั้น ใครชนะเราไม่รู้ รู้แต่ว่าถ้าบริหารประเทศแบบนี้ประชาชนผู้เสียภาษีแพ้แน่ๆ เพราะชัดเจนว่า นี่คือรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มทุน เป็นตัวแทนผลประโยชน์คนกลุ่มน้อย ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใหญ่ สังคมไทยหลังวิกฤตโควิด จะเป็นรูปกรวยเรียวที่ยอดแคบมากๆ คนรวยยิ่งอยู่สูงบนยอด ขณะที่ชนชั้นกลางหายไป กลายเป็นฐาน เป็นคนยากจนที่เป็นฐานกว้างมากๆ นี่จะเป็นรูปร่างหน้าตาประเทศไทยที่รัฐบาลเป็นตัวแทนของกลุ่มอภิสิทธิ์ชนสร้างขึ้น ซึ่งแลกมาด้วยน้ำตาคนเป็นล้านๆ
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/videos/549866202630783/
พิชัย จี้ บิ๊กตู่ เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห่วง ใช้ 4 แสนล้าน เอาใจ ส.ส.
https://www.thairath.co.th/news/politic/1840434
"พิชัย” จี้ “บิ๊กตู่” ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่าอ้างโควิด-19 เพื่อควบอำนาจ ห่วง ใช้เงิน 4 แสนล้าน เอาใจ ส.ส.เพื่อรักษาตำแหน่ง แนะ ต้องมีวิสัยทัศน์ลงทุนตามกระแสโลกในอนาคต
วันที่ 10 พ.ค. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน กล่าวว่า ตามที่มีสื่อหลักของญี่ปุ่น นิเคอิ เอเชียน รีวิว วิจารณ์รัฐบาลในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะรัฐบาลไทยโดยระบุไปที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า มีการใช้ข้ออ้างการระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบรวมอำนาจของตนเอง และใช้กีดกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนและฝ่ายค้าน ดังนั้นในสถานการณ์ที่การระบาดของไวรัสดีขึ้นตามลำดับ จึงควรที่รัฐบาลจะต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้แล้ว และควรจะต้องเริ่มผ่อนคลายให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ต้องขอชื่นชมความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ของประเทศไทย ที่ทำให้ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่อย่างไร ความจริงคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลับเป็นอุปสรรคสำหรับประชาชนในการทำมาหากิน และปัญหาในการเดินทางกลับบ้านของประชาชนจำนวนมาก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังใช้ข่มขู่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาไม่ให้แสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะเรื่องความไม่พอใจในการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลมาตลอด 5 ปีกว่านี้
นอกจากนี้ สื่อหลักญี่ปุ่นยังวิจารณ์รัฐบาลไทยในการใช้เงินจำนวนมากกว่า 58,000 เหรียญ (1.9 ล้านล้านบาท) ว่า จะเป็นการแจกเพื่อหาเสียงให้กับตัวเอง อย่างไรก็ดี เงินที่ใช้เยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนถือเป็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ แม้กระนั้น การเยียวยาของรัฐบาลยังมีปัญหาความไม่ทั่วถึง คนลำบากจำนวนมากไม่ได้รับการเยียวยา แต่เงินกู้อีก 400,000 ล้านบาท ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประกาศว่า จะไปใช้ฟื้นเกษตรกรและฐานราก เกรงว่า จะเป็นเบี้ยหัวแตก และจะไปซ้ำซ้อนกับโครงการเดิมที่แต่ละกระทรวงมีแผนงานอยู่แล้ว สุดท้ายห่วงว่าจะกลายเป็นการนำเงินกู้ก้อนมหาศาลดังกล่าว ไปใช้เพื่อเอาใจ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะ ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อรักษาตำแหน่งของตนและพวกพ้อง ที่กำลังมีปัญหาความไม่พอใจของ ส.ส. จำนวนมากใน พปชร. ที่ต้องการเปลี่ยน นายอุตตม สาวนายน และ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ออกจากหัวหน้าพรรค และ เลขาธิการพรรค เพื่อให้เปลี่ยนออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งจะรวมไปถึงการจะปลด นายสมคิด ออกจากตำแหน่งด้วยจากผลงานการบริหารเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ดังนั้น จึงอยากให้ มีการใช้เงินเพื่อพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการใช้เพื่อรักษาตำแหน่ง เพราะจะเสียเงินโดยไม่เกิดประโยชน์ และประชาชนทั้งประเทศจะต้องมาใช้หนี้ก้อนมหาศาลนี้แทน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ต้องมาแบกภาระอย่างหนักในอนาคต
อย่างไรก็ดี หากมองย้อนหลัง 5 ปี รัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล โดยอ้างว่าเพื่อช่วยเกษตรกรและฐานราก แต่ความเป็นอยู่ของเกษตรกรและฐานราก กลับไม่ได้ดีขึ้นเลย แถมยังแย่ลงอย่างมาก รายได้หดหายและคนจนกลับยิ่งเพิ่มมากขึ้น และที่พลเอกประยุทธ์ บอกเศรษฐกิจไทยจะแย่ไปอีก 9 เดือน ทั้งที่ความจริง คือ เศรษฐกิจไทยแย่มาตลอด 5 ปีกว่าแล้ว อีกทั้ง ไม่เคยปรากฏเลยว่า จะมีคนอดอยาก และ ฆ่าตัวตายกันอย่างมากเหมือนในปัจจุบัน และ อีก 9 เดือนก็ยังไม่เห็นว่า จะฟื้นได้อย่างไร ดังนั้นการใช้เงินอีก 4 แสนล้าน เพื่อเรื่องนี้ก็อาจจะไม่ได้ผลเหมือนที่รัฐบาลเคยทำมาแล้วตลอดหลายปี ซึ่งอาจจะกลายเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเหมือนโครงการเงินกู้ไทยเข้มแข็ง 4 แสนล้านบาท สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัติย์ หรือ การเข้าช่วยการบินไทยทั้งที่โอกาสรอดทางธุรกิจมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
"สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ การต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ให้เห็นว่าอนาคตของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังวิกฤติไวรัส แล้วพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับอนาคตโดยมุ่งเน้นการปรับระบบราชการ การสร้างธุรกิจในแนวทางใหม่ และ การเพิ่มการจ้างงาน โดยที่การว่างงานของคนจำนวนมากประมาณ 7-10 ล้านคน จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต และรัฐบาลยังไม่มีแนวทางที่จะรับมือแต่อย่างไร" นายพิชัย กล่าว ....