นาย
จิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการรัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนและกองทุน กล่าวถึงความล่าช้าและมีเงื่อนไขยุ่งยาก ในการรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนประกันสังคม โดยผู้ประกันตนที่ถูกหักทุกเดือน ว่าเป็นเงินของตนเองทั้งสิ้น ที่ฝากเข้าสมทบกับกองทุน ทุกเดือนที่คนจำนวนมากไม่เคยใช้เงินกองทุนแม้แต่บาทเดียว โดยผู้จ่ายเงินประกันตน ระบุว่าเงินประกันสังคม ขอคืนไม่ใช่ขอทาน โดยผู้จ่ายเงินไม่มั่นใจและสงสัยว่าสำนักงานกองทุนประกันสังคมได้นำเงินของกองทุนไปใช้อย่างไร จึงดูเสมือนว่า กองทุนไม่มีเงินจะช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์โควิด เพราะมีขั้นตอนซับซ้อนและล่าช้ากว่าประชาชนทั่วไปทั้งๆที่ผู้ประกันตนมีข้อมูลอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกองทุนฯ มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินและพิจารณาสถานะ ของกองทุนต่างๆ ทำหนังสือสอบถามไปยังผู้บริหารสำนักงานกองทุนประกันสังคม ว่าเหตุใดจึงเกิดความล่าช้าทั้งๆ ที่ตัวเลขผู้ประกันตนมีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งหากให้ความช่วยเหลือเพียงคนละ 7,000 บาทก็จะใช้เงิน เพียง 8,000 กว่าล้านบาท รัฐบาลจ่าย 3 เดือนก็ใช้เงินประมาณ 24,000 ล้านบาท ไม่น่าจะล่าช้าและมีขั้นตอนซับซ้อนเหมือนกรณีเงิน 5 พันบาทได้เพียงนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องง่าย หรือเป็นเพราะนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และลงทุนอื่นๆจนหมดใช่หรือไม่ ซึ่งหลังจากกองทุนชี้แจงเป็นเอกสารแล้วจะนำเรื่อง เข้าสู่คณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาดำเนินการทันที
"เพื่อไทย" สะกดรอย เงินกู้สู้โควิด 4 แสนล้านฟื้นเศรษฐกิจ เข้ากระเป๋าการเมือง ?
https://www.prachachat.net/politics/news-457365
ทั้งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท
ทั้ง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ภายในวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยธุรกิจ SMEs ทั้ง พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 เพื่อตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จำนวน 4 แสนล้านบาท
รวมเม็ดเงินทั้งผ่าน พ.ร.ก. 3 ฉบับ เกือบ 2 ล้านล้านบาท ซึ่ง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ใช้มาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ตราเป็น พ.ร.ก. โดยเหตุผลเพื่อความจำเป็นเร่งด่วนจากพิษไวรัสโควิด-19
ทั้ง 3 ฉบับจึงยังไม่ได้รับอนุมัติโดยรัฐสภา จนกว่าจะเปิดสมัยประชุมรัฐสภาสมัยสามัญครั้งที่ 2 ปลายเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งตามขั้นตอน เมื่อเปิดสมัยประชุมแล้ว พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับจะถูกดันขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระแรก
แต่เวลานี้ 6 พรรค นำโดยพรรคเพื่อไทย-พรรคก้าวไกล ต้องการผลักวาระเปิดการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อนำปมร้อน พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับมาถกแถลงในรัฐสภาแบบ
“เร่งด่วน”
แต่ในทางการเมืองและความเป็นจริงยากเย็นแสนเข็ญ เมื่อต้องฝ่าด่านหิน ใช้เสียงในการเข้าชื่อขอเปิดประชุมด่วนถึง 246 เสียง แต่ฝ่ายค้านมีแค่ 213 เสียง ต้องหวังขอมือฝ่ายรัฐบาลมาร่วมญัตติเท่านั้น…อยู่ระหว่างการเกลี้ยกล่อมพรรคประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย ขอมืออีกอย่างน้อย 40 เสียง
อีกด้านหนึ่ง พรรคเพื่อไทย ทีมยุทธศาสตร์พรรค ซึ่งมี
“คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” เป็นประธาน มีการให้สะกดรอยเก็บข้อมูลแบบ
“เงียบ ๆ” เตรียมใช้เครื่องมือคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ซึ่งมีสัดส่วนเก้าอี้ใน กมธ.กว่าครึ่งเป็น ส.ส.ของฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีคนจากพรรคพลังประชารัฐแค่ 3 คน คือ
“ปารีณา ไกรคุปต์” ส.ส.ราชบุรี และ
“สมพงษ์ โสภณ” ส.ส.ระยอง และ
“มณเฑียร สงฆ์ประชา” ส.ส.ชัยนาท ที่เหลือกระจายอยู่ในประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย-ประชาธิปไตยใหม่
วงในเพื่อไทยบอกว่า ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การอภิปรายในสภา ไม่ว่าแผนของฝ่ายค้านที่ต้องการให้เปิดการประชุม
“วิสามัญ” แบบเร่งด่วนจะสำเร็จหรือไม่ โดยเบื้องต้นประเมินว่า การอภิปราย พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ มูลค่าเฉียด 2 ล้านล้าน ต้องถกกันถึง 2 วันเต็ม
“ไชยา พรหมา” ส.ส.หนองบัวลำภู เพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ กล่าวว่า กมธ.อยากเห็นความชัดเจน โดยเฉพาะส่วนที่เป็น พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้าน ที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ว่าการเยียวยา 6 แสนล้าน มีการใช้งบประมาณเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ อีกกองหนึ่งคือ งบฯ 4 แสนล้าน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเข้มแข็งชุมชน ยังไม่เห็นแผนงานโครงการ มีความกังวลว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่เกิดการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่
“ขณะนี้กำลังหาข้อมูลอยู่ว่า การใช้เม็ดเงินส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีการเอางบฯไปแจกการเมือง โดยมีการสั่งการไปยังพื้นที่ ส.ส.ฝั่งรัฐบาล ให้เตรียมโครงการเอาไว้ เป็นการใช้เงินเพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมือง แม้ตอนนี้ยังเป็นเพียงข่าว”
“แต่เงิน 4 แสนล้านบาท วันนี้เหมือนกับตีเช็คเปล่า กำหนดกรอบวงเงินแล้ว แต่ยังไม่ลงรายละเอียด จึงมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า สั่ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลให้ไปทำโครงการมารองรับ ผมกำลังมองว่าไปเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายการเมือง ไม่ถึงมือประชาชน ถ้าจะสอดรับการขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป จะไปครอบกับการเปิดสภาสมัยสามัญหรือไม่ หากสภาเปิดไม่ได้ หมายความว่าการตรวจสอบในกลไกของสภาทำไม่ได้ จะทำให้เกิดการรั่วไหล เกิดการทุจริต”
“ไชยา” บอกว่า แม้ขณะนี้สภาจะไม่เปิด แต่ กมธ.งบประมาณที่เขาเป็นประธาน ยังประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กันทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามการใช้งบประมาณของรัฐ
“รัฐบาลต้องยืนอยู่บนพื้นฐานโปร่งใสและตรวจสอบได้ เราไม่สามารถปล่อยผ่านโดยไม่มีการตรวจสอบ”
โฆษกก้าวไกลอัดรัฐบาลใจดำไม่เห็นหัวประชาชน
https://www.innnews.co.th/politics/news_661408/
โฆษกก้าวไกล อัดรัฐบาลใจดำ ปล่อยประชาชนเดือดร้อนฆ่าตัวตาย พร้อมตั้งคำถามคุ้มเเล้วหรือกับการเอาชีวิต มาเเลก กับการบริหารที่ล้มเหลวไม่เห็นหัวประชาชน
นาย
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้เป็นครบกำหนดที่ส.ส.ก้าวไกลได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่กระทรวงการคลังเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาเงิน 5000 บาท กับประชาชนถ้วนหน้าภายในเดือนเมษายน แต่จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นท่าทีที่แสดงความจริงใจของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีประชาชนเดินทางไปร้องทุกข์รายวัน
โดยนาย
ณัฐชา กล่าวว่า เรื่องง่ายๆที่สามารถแสดงความจริงใจต่อประชาชนที่สามารถทำได้ทันทีคือ ควรจัดพื้นที่และเจ้าหน้าที่เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เดินทางไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งความจริงใจง่ายๆที่สามารถทำได้และยังไม่เคยทำคือการจัดพื้นที่ให้ประชาชนได้นั่งเพื่อร้องทุกข์ คงใช้งบประมาณไม่เยอะและไม่เกินความสามารถของกระทรวงการคลัง
ซึ่งงบที่กระทรวงการคลังมีอยู่ และกู้พ.ร.ก.มา แบ่งมาสักนิดเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่าปล่อยละเลยกับความรู้สึกของประชาชน และทนต่อให้ความเป็นความตาย เงินเเค่เพียง 5,000 บาท ยังให้ไม่ทั่วถึง กลับเลือกปฏิบัติปล่อยละเลย ให้พวกเขาต้องทนรอ สิ่งสำคัญในภาวะวิกฤติเช่นนี้ แทนที่จะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อช่วยกันสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้นหลังโควิด-19 จบลง
สิ่งที่ต้องทำอย่างเเรกคือ ฟื้นเศรษฐกิจเเละพัฒนาคุณภาพชีวิตเยียวยาประชาชนจากผลกระทบ
ทั้งนี้ นาย
ณัฐชา กล่าวว่า อยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า ทำไมใจดำเช่นนี้ ใครจะออกมารับผิดชอบ หรือ ออกมาขอโทษ ประชาชนที่ต้องพลีชีวิตตัวเอง เพราะเขาหมดหนทางไม่มีทางออกในชีวิตที่ดี มันคุ้มเเล้วหรือกับการที่ประชาชนต้องเอาชีวิต มาเเลก กับการบริหารของรัฐบาลที่ล้มเหลวเเละไม่เห็นหัวประชาชน
JJNY : จิรายุจี้ประกันสังคมแจงเยียวยาล่าช้า/พท.สะกดรอยเงินกู้/ก้าวไกลอัดรัฐบาลใจดำ/รถเมล์127เลิกกิจการ/ติดเชื้อเพิ่ม7
https://www.innnews.co.th/politics/news_661442/
ทั้งนี้ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกองทุนฯ มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินและพิจารณาสถานะ ของกองทุนต่างๆ ทำหนังสือสอบถามไปยังผู้บริหารสำนักงานกองทุนประกันสังคม ว่าเหตุใดจึงเกิดความล่าช้าทั้งๆ ที่ตัวเลขผู้ประกันตนมีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งหากให้ความช่วยเหลือเพียงคนละ 7,000 บาทก็จะใช้เงิน เพียง 8,000 กว่าล้านบาท รัฐบาลจ่าย 3 เดือนก็ใช้เงินประมาณ 24,000 ล้านบาท ไม่น่าจะล่าช้าและมีขั้นตอนซับซ้อนเหมือนกรณีเงิน 5 พันบาทได้เพียงนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องง่าย หรือเป็นเพราะนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และลงทุนอื่นๆจนหมดใช่หรือไม่ ซึ่งหลังจากกองทุนชี้แจงเป็นเอกสารแล้วจะนำเรื่อง เข้าสู่คณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาดำเนินการทันที
"เพื่อไทย" สะกดรอย เงินกู้สู้โควิด 4 แสนล้านฟื้นเศรษฐกิจ เข้ากระเป๋าการเมือง ?
https://www.prachachat.net/politics/news-457365
ทั้งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท
ทั้ง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ภายในวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยธุรกิจ SMEs ทั้ง พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 เพื่อตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จำนวน 4 แสนล้านบาท
รวมเม็ดเงินทั้งผ่าน พ.ร.ก. 3 ฉบับ เกือบ 2 ล้านล้านบาท ซึ่ง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ใช้มาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ตราเป็น พ.ร.ก. โดยเหตุผลเพื่อความจำเป็นเร่งด่วนจากพิษไวรัสโควิด-19
ทั้ง 3 ฉบับจึงยังไม่ได้รับอนุมัติโดยรัฐสภา จนกว่าจะเปิดสมัยประชุมรัฐสภาสมัยสามัญครั้งที่ 2 ปลายเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งตามขั้นตอน เมื่อเปิดสมัยประชุมแล้ว พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับจะถูกดันขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระแรก
แต่เวลานี้ 6 พรรค นำโดยพรรคเพื่อไทย-พรรคก้าวไกล ต้องการผลักวาระเปิดการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อนำปมร้อน พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับมาถกแถลงในรัฐสภาแบบ “เร่งด่วน”
แต่ในทางการเมืองและความเป็นจริงยากเย็นแสนเข็ญ เมื่อต้องฝ่าด่านหิน ใช้เสียงในการเข้าชื่อขอเปิดประชุมด่วนถึง 246 เสียง แต่ฝ่ายค้านมีแค่ 213 เสียง ต้องหวังขอมือฝ่ายรัฐบาลมาร่วมญัตติเท่านั้น…อยู่ระหว่างการเกลี้ยกล่อมพรรคประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย ขอมืออีกอย่างน้อย 40 เสียง
อีกด้านหนึ่ง พรรคเพื่อไทย ทีมยุทธศาสตร์พรรค ซึ่งมี “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” เป็นประธาน มีการให้สะกดรอยเก็บข้อมูลแบบ “เงียบ ๆ” เตรียมใช้เครื่องมือคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ซึ่งมีสัดส่วนเก้าอี้ใน กมธ.กว่าครึ่งเป็น ส.ส.ของฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีคนจากพรรคพลังประชารัฐแค่ 3 คน คือ “ปารีณา ไกรคุปต์” ส.ส.ราชบุรี และ “สมพงษ์ โสภณ” ส.ส.ระยอง และ “มณเฑียร สงฆ์ประชา” ส.ส.ชัยนาท ที่เหลือกระจายอยู่ในประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย-ประชาธิปไตยใหม่
วงในเพื่อไทยบอกว่า ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การอภิปรายในสภา ไม่ว่าแผนของฝ่ายค้านที่ต้องการให้เปิดการประชุม “วิสามัญ” แบบเร่งด่วนจะสำเร็จหรือไม่ โดยเบื้องต้นประเมินว่า การอภิปราย พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ มูลค่าเฉียด 2 ล้านล้าน ต้องถกกันถึง 2 วันเต็ม
“ไชยา พรหมา” ส.ส.หนองบัวลำภู เพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ กล่าวว่า กมธ.อยากเห็นความชัดเจน โดยเฉพาะส่วนที่เป็น พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้าน ที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ว่าการเยียวยา 6 แสนล้าน มีการใช้งบประมาณเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ อีกกองหนึ่งคือ งบฯ 4 แสนล้าน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเข้มแข็งชุมชน ยังไม่เห็นแผนงานโครงการ มีความกังวลว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่เกิดการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่
“ขณะนี้กำลังหาข้อมูลอยู่ว่า การใช้เม็ดเงินส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีการเอางบฯไปแจกการเมือง โดยมีการสั่งการไปยังพื้นที่ ส.ส.ฝั่งรัฐบาล ให้เตรียมโครงการเอาไว้ เป็นการใช้เงินเพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมือง แม้ตอนนี้ยังเป็นเพียงข่าว”
“แต่เงิน 4 แสนล้านบาท วันนี้เหมือนกับตีเช็คเปล่า กำหนดกรอบวงเงินแล้ว แต่ยังไม่ลงรายละเอียด จึงมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า สั่ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลให้ไปทำโครงการมารองรับ ผมกำลังมองว่าไปเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายการเมือง ไม่ถึงมือประชาชน ถ้าจะสอดรับการขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป จะไปครอบกับการเปิดสภาสมัยสามัญหรือไม่ หากสภาเปิดไม่ได้ หมายความว่าการตรวจสอบในกลไกของสภาทำไม่ได้ จะทำให้เกิดการรั่วไหล เกิดการทุจริต”
“ไชยา” บอกว่า แม้ขณะนี้สภาจะไม่เปิด แต่ กมธ.งบประมาณที่เขาเป็นประธาน ยังประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กันทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามการใช้งบประมาณของรัฐ
“รัฐบาลต้องยืนอยู่บนพื้นฐานโปร่งใสและตรวจสอบได้ เราไม่สามารถปล่อยผ่านโดยไม่มีการตรวจสอบ”
โฆษกก้าวไกลอัดรัฐบาลใจดำไม่เห็นหัวประชาชน
https://www.innnews.co.th/politics/news_661408/
โฆษกก้าวไกล อัดรัฐบาลใจดำ ปล่อยประชาชนเดือดร้อนฆ่าตัวตาย พร้อมตั้งคำถามคุ้มเเล้วหรือกับการเอาชีวิต มาเเลก กับการบริหารที่ล้มเหลวไม่เห็นหัวประชาชน
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้เป็นครบกำหนดที่ส.ส.ก้าวไกลได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่กระทรวงการคลังเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาเงิน 5000 บาท กับประชาชนถ้วนหน้าภายในเดือนเมษายน แต่จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นท่าทีที่แสดงความจริงใจของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีประชาชนเดินทางไปร้องทุกข์รายวัน
โดยนายณัฐชา กล่าวว่า เรื่องง่ายๆที่สามารถแสดงความจริงใจต่อประชาชนที่สามารถทำได้ทันทีคือ ควรจัดพื้นที่และเจ้าหน้าที่เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เดินทางไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งความจริงใจง่ายๆที่สามารถทำได้และยังไม่เคยทำคือการจัดพื้นที่ให้ประชาชนได้นั่งเพื่อร้องทุกข์ คงใช้งบประมาณไม่เยอะและไม่เกินความสามารถของกระทรวงการคลัง
ซึ่งงบที่กระทรวงการคลังมีอยู่ และกู้พ.ร.ก.มา แบ่งมาสักนิดเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่าปล่อยละเลยกับความรู้สึกของประชาชน และทนต่อให้ความเป็นความตาย เงินเเค่เพียง 5,000 บาท ยังให้ไม่ทั่วถึง กลับเลือกปฏิบัติปล่อยละเลย ให้พวกเขาต้องทนรอ สิ่งสำคัญในภาวะวิกฤติเช่นนี้ แทนที่จะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อช่วยกันสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้นหลังโควิด-19 จบลง
สิ่งที่ต้องทำอย่างเเรกคือ ฟื้นเศรษฐกิจเเละพัฒนาคุณภาพชีวิตเยียวยาประชาชนจากผลกระทบ
ทั้งนี้ นายณัฐชา กล่าวว่า อยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า ทำไมใจดำเช่นนี้ ใครจะออกมารับผิดชอบ หรือ ออกมาขอโทษ ประชาชนที่ต้องพลีชีวิตตัวเอง เพราะเขาหมดหนทางไม่มีทางออกในชีวิตที่ดี มันคุ้มเเล้วหรือกับการที่ประชาชนต้องเอาชีวิต มาเเลก กับการบริหารของรัฐบาลที่ล้มเหลวเเละไม่เห็นหัวประชาชน