กองทุนการออมแห่งชาติ คืออะไร มีประโยชน์กับคนไทยอย่างไร ทราบหรือไม่

ร่วมกันทวง "กองทุนการออมแห่งชาติ" เพื่อประชาชนจะได้ออมเงินพร้อมเงินสมทบจากรัฐ

เมื่อรัฐบาลเอาแต่นิรโทษกรรมไม่สนใจปากท้องของประชาชน ประชาชนก็ต้องดิ้นรน ประชาธิปัตย์ทวงกองทุนการออมแห่งชาติมาร่วมปีแล้ว คราวนี้ถึงคิวของประชาชนต้องออกมาทวงเอง เรื่องอยู่ทั้งที่วุฒิสภาและศาลปกครอง คราวนี้คงจบไม่สวย ภาคประชาชนร่วมกันยื่นฟ้องนายกฯ รมว.กระทรวงการคลัง และผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรณีไม่ดำเนินการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งต้องเปิดวันที่ 8 พ.ค. 55 โดยขอให้ศาลสั่งผู้ถูกฟ้องทั้งสามให้ดำเนินการโดยด่วน และคืนสิทธิในการเข้าเป็นสมาชิกให้แก่ผู้ใช้แรงงานนอกระบบ  http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000093322

กองทุนการออมแห่งชาติเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนออมเงินโดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง (สูงสุด 100% ของเงินที่ออม) เพื่อให้เก็บไว้ใช้ในยามชรา ผมเองได้มีโอกาสเป็นกรรมาธิการร่าง พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังจะล้มกองทุนนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ทวงกองทุนมาหลายครั้งตั้งแต่นำเรื่องเข้าคณะกรรมาธิการ ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภา และอภิปรายในสภา คำชี้แจงของข้าราชการและคุณกิตติรัตน์ไปในทำนองเดียวกันคือ
1) ซ้ำซ้อนกับกองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นเพียงข้ออ้างเพราะเงื่อนไขการสมทบจากรัฐบาลต่างกัน ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกมากกว่าว่าจะออมที่ไหน ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนสมาชิกของผู้มีอาชีพอิสระในกองทุนประกันสังคมก็มีเพียง 1.2 ล้านคนยังห่างไกลจากแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนมาก

2) มีความคิดที่จะแก้ไขบางอย่างเช่น จะมีทางเลือกให้รับเป็นเงินบำนาญหรือเงินบำเหน็จก้อนเดียวก็ได้ ซึ่งก็ฟังไม่ขึ้นอีกเพราะสามารถเปิดรับสมาชิกก่อนได้และถ้าอยากจะแก้ไขก็เสนอแก้กฎหมายทีหลัง ยังดีกว่าประชาชน 12 ล้านคนเสียสิทธิการออม 10 ปีโดยมีเงินสมทบจากรัฐบาล เพราะตามบทเฉพาะกาลกำหนดให้ภายใน 1 ปีแรกจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปสามารถออมต่อได้อีก 10 ปี (หากอายุ 55 ปีก็ออมต่อได้จนถึงอายุ 65 ปี ไม่จำเป็นต้องสิ้นสุดตอนอายุ 60 ปี) ซึ่งประชาชนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีอยู่ 12 ล้านคน

3) มีข้อสงสัยว่าจะเป็นสมาชิกหลายกองทุนในเวลาเดียวกันได้หรือไม่ เรื่องนี้ยิ่งไปกันใหญ่เพราะถ้าอ่านกฎหมายสักนิดก็จะได้คำตอบว่า "ไม่ได้" เอาเป็นว่าคุณกิตติรัตน์ไม่เห็นด้วยกับกองทุนนี้ไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างงูๆ ปลาๆ หรือเพราะเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ก็แล้วแต่ แต่นั่นไม่ได้ให้สิทธิที่จะไม่ทำตามกฎหมายทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่มีอำนาจรักษาการตามกฎหมายเสียเอง ถ้าไม่เห็นด้วยทางออกง่ายๆ ก็คือเสนอแก้กฎหมายต่อสภาเสีย ไม่ใช่ใช้วิธีตัดงบประมาณ ไม่ยอมลงนามในกฎกระทรวง 7 ฉบับ หรือไม่ยอมแต่งตั้งเลขาธิการกองทุน ฯลฯ ยิ่งเป็นรัฐมนตรียิ่งควรต้องเคารพกฎหมาย เรื่องนี้อยู่ทั้งที่วุฒิสภาและศาลปกครองแล้ว คราวนี้คงจบไม่สวยสำหรับคุณกิตติรัตน์  แรงงานนอกระบบร้องศาลปกครอง สั่งเดินหน้า “กองทุนการออมแห่งชาติ”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2556 19:48 น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่