ปะลิส เป็นรัฐที่เล็กที่สุดของมาเลเซีย ในแง่ทั้งประชากรและพื้นที่ของรัฐ โดยเฉพาะพื้นที่นั้น ใหญ่กว่ากรุงกัวลาลัมเปอร์เพียงแค่ 578 ตร.กม. เท่านั้น
สำหรับประมุขของรัฐปะลิสเองนั้น หากเทียบกับรัฐอื่นๆ ก็ถือว่าค่อนข้างยังเล็กเหมือนกัน เพราะรัฐปะลิสนั้น มีเพียงแค่ราชา ไม่ใช่สุลต่านเหมือนรัฐอื่น
อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์รัฐปะลิสนั้นน่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะมีเชื้อสายของนบีมุฮัมหมัด ทำให้ราชาของรัฐต่างมีพระนามว่าชาอีดหรือซัยยิดตามกันหมด
ทั้งนี้เนื่องจากบรรพบุรุษของราชวงศ์ปะลิสนั้นคือ บาอัลลอวีซอฎะ (Ba 'Alawi sada) ซึ่งเป็นกลุ่มชาวอาหรับที่สืบเชื้อสายมาจากนบีมุฮัมหมัดโดยตรง
ทำให้ปะลิส เป็น 1 ใน 4 รัฐ ที่มีเชื้อสายของนบีมุฮัมหมัด โดยอีก 3 รัฐก็คือ ตรังกานู, ปะหัง และ ยะโฮร์ ที่มีเชื้อสายร่วมกันจากสุลต่านแห่งรัฐมะละกา
สำหรับรัฐปะลิส แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกดะห์ โดยพื้นที่เดิมของรัฐเกดะห์แต่โบราณมานั้น กินพื้นที่ถึงเกาะปีนังและจังหวัดสตูลของไทยในปัจจุบัน
รัฐปะลิสแต่เดิมนั้น ในฐานะส่วนหนึ่งของเกดะห์ ผู้ที่อยู่ในฐานะรายามุดาของเกดะห์ จึงมีพระยศสมญานามว่า รายามุดาแห่งเกดะห์และปะลิส ไปด้วย
ต่อมาสยามยึดครองเกดะห์ สุลต่านเกดะห์ไม่ยอมรับอำนาจ จึงถูกถอดจากราชบัลลังก์ ทำให้ต้องพยายามต่อต้านอำนาจมานานถึง 12 ปี จึงต้องยอม
สยามแบ่งดินแดนของเกดะห์ออกเป็นสตูล ปะลิส และกุบังปาสู ส่วนปีนังนั้นถูกยกให้กับอังกฤษแล้ว ทำให้เกดะห์เหลือพื้นที่ของรัฐอย่างในปัจจุบันนี้
ตอนแรกนั้น สยามแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองเมืองในฐานะผู้รั้งเมือง แต่ต่อมา จึงยกให้ซัยยิด ฮุสเซน จามาลุลลิล พระนัดดาสุลต่านเกดะห์ ขึ้นเป็นราชา
ซัยยิด ฮุสเซน จามาลุลลิล เป็นพระนัดดาของสุลต่านซิยารุดดินที่ 2 แห่งเกดะห์ แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับราชวงศ์เกดะห์ เพราะอยู่คนละสาย
สุลต่านซิยารุดดินที่ 2 เป็นพระราชโอรสของสุลต่าน มุฮัมหมัด จิวา ที่ 2 ครองราชย์ต่อจากสุลต่านอับดุลละห์ มุกัร์รัม พระเชษฐา แต่ปี 1797 - 1803
สุลต่านอาหมัด ตาจุดดิน ที่ 2 พระราชโอรสของสุลต่านอับดุลละห์ ขึ้นครองราชย์ต่อ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ปะลิสก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆอีก
ซัยยิด ฮุสเซน ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาในฐานะพระยาปะลิส อยู่ในฐานะส่วนหนึ่งของสยามจนถูกยกให้อังกฤษในปี 1909 ในยุคของซัยยิดอัลวี องค์ที่ 4
หลังยุคซัยยิดอัลวี รุ่นที่ 5 ผ่านจนถึงซัยยิดฮัมซาห์ที่สวรรคตโดยไร้รัชทายาท จึงพากันยกซัยยิด ฮารุน ปุตรา รุ่นที่ 7 ขึ้นเป็นราชาองค์ใหม่ของปะลิส
ซัยยิด ฮารุน ปุตรา เกือบจะไม่ได้ครองราชย์ เนื่องจากทั้งพระอัยกาและพระบิดา ต่างสิ้นพระชนม์ก่อนได้ขึ้นครองราชย์ทั้งหมด ทำให้มีโอกาสหลุดไป
หลังการสวรรคตของซัยยิดอัลวี ซัยยิดฮัมซาห์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ 2 ช่วง เนื่องจากการเข้ามายึดครองของญี่ปุ่นและสยาม ทำให้การขึ้นครองราชย์สั้น
หลังจากนั้นอังกฤษจึงได้สนับสนุนให้ซัยยิด ฮารุน ปุตรา ขึ้นครองราชย์ต่อโดยพระชนมายุเพียงแค่ 25 พรรษา เท่านั้น นับว่าน้อยที่สุดตั้งแต่สถาปนา
หลังจากที่มาเลเซียเป็นเอกราช ได้มียังดีประตวนอากง 2 องค์ก่อนหน้า ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนครบวาระการดำรง ทำให้เกิดความหวาดหวั่นขึ้นมาบ้าง
แต่ซัยยิด ฮารุน ปุตรา สามารถดำรงตำแหน่งยังดีประตวนอากงได้จนครบวาระ กว่าจะสวรรคตก็ถึงปี 2000 รวมเวลา 55 ปีที่ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ 1945
ซัยยิด ซีราจุดดิน ขึ้นครองราชย์ในปี 2000 ก่อนที่จะเป็นยังดีประตวนอากงในปี 2001 หลังจากการเสด็จสวรรคตของสุลต่านซัลลาฮุดดินแห่งสะลาโงร์
ซัยยิด ซีราจุดดิน มีเชื้อสายปัตตานีจากทางพระมารดา ทรงอภิเษกสมรสกับตวนกู เต็งกู เฟาซิอะห์ ซึ่งมีเชื้อสายจากราชวงศ์ตรังกานูและกลันตัน
พระราชโอรส ซัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา มีเชื้อสายปัตตานี กลันตัน ตรังกานู และหากนับบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายเกดะห์ด้วย จะมีเชื้อสายถึง 5 ราชวงศ์
โดยปัจจุบัน ซัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา ทำหน้าที่แบ่งเบาพระราชภาระของพระราชบิดา โดยทำหน้าที่แทนพระองค์ในหลายๆ พระราชภารกิจ รวมถึงในไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว อาจจะทำให้รัฐปะลิส สามารถอยู่รอดมาได้ โดยปราศจากการถูกยุบรัฐ แตกต่างกับกุบังปาสู ที่ถูกยุบไปหลังจากที่เป็นของอังกฤษ
เจาะลึกราชวงศ์ปะลิส
สำหรับประมุขของรัฐปะลิสเองนั้น หากเทียบกับรัฐอื่นๆ ก็ถือว่าค่อนข้างยังเล็กเหมือนกัน เพราะรัฐปะลิสนั้น มีเพียงแค่ราชา ไม่ใช่สุลต่านเหมือนรัฐอื่น
อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์รัฐปะลิสนั้นน่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะมีเชื้อสายของนบีมุฮัมหมัด ทำให้ราชาของรัฐต่างมีพระนามว่าชาอีดหรือซัยยิดตามกันหมด
ทั้งนี้เนื่องจากบรรพบุรุษของราชวงศ์ปะลิสนั้นคือ บาอัลลอวีซอฎะ (Ba 'Alawi sada) ซึ่งเป็นกลุ่มชาวอาหรับที่สืบเชื้อสายมาจากนบีมุฮัมหมัดโดยตรง
ทำให้ปะลิส เป็น 1 ใน 4 รัฐ ที่มีเชื้อสายของนบีมุฮัมหมัด โดยอีก 3 รัฐก็คือ ตรังกานู, ปะหัง และ ยะโฮร์ ที่มีเชื้อสายร่วมกันจากสุลต่านแห่งรัฐมะละกา
สำหรับรัฐปะลิส แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกดะห์ โดยพื้นที่เดิมของรัฐเกดะห์แต่โบราณมานั้น กินพื้นที่ถึงเกาะปีนังและจังหวัดสตูลของไทยในปัจจุบัน
รัฐปะลิสแต่เดิมนั้น ในฐานะส่วนหนึ่งของเกดะห์ ผู้ที่อยู่ในฐานะรายามุดาของเกดะห์ จึงมีพระยศสมญานามว่า รายามุดาแห่งเกดะห์และปะลิส ไปด้วย
ต่อมาสยามยึดครองเกดะห์ สุลต่านเกดะห์ไม่ยอมรับอำนาจ จึงถูกถอดจากราชบัลลังก์ ทำให้ต้องพยายามต่อต้านอำนาจมานานถึง 12 ปี จึงต้องยอม
สยามแบ่งดินแดนของเกดะห์ออกเป็นสตูล ปะลิส และกุบังปาสู ส่วนปีนังนั้นถูกยกให้กับอังกฤษแล้ว ทำให้เกดะห์เหลือพื้นที่ของรัฐอย่างในปัจจุบันนี้
ตอนแรกนั้น สยามแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองเมืองในฐานะผู้รั้งเมือง แต่ต่อมา จึงยกให้ซัยยิด ฮุสเซน จามาลุลลิล พระนัดดาสุลต่านเกดะห์ ขึ้นเป็นราชา
ซัยยิด ฮุสเซน จามาลุลลิล เป็นพระนัดดาของสุลต่านซิยารุดดินที่ 2 แห่งเกดะห์ แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับราชวงศ์เกดะห์ เพราะอยู่คนละสาย
สุลต่านซิยารุดดินที่ 2 เป็นพระราชโอรสของสุลต่าน มุฮัมหมัด จิวา ที่ 2 ครองราชย์ต่อจากสุลต่านอับดุลละห์ มุกัร์รัม พระเชษฐา แต่ปี 1797 - 1803
สุลต่านอาหมัด ตาจุดดิน ที่ 2 พระราชโอรสของสุลต่านอับดุลละห์ ขึ้นครองราชย์ต่อ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ปะลิสก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆอีก
ซัยยิด ฮุสเซน ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาในฐานะพระยาปะลิส อยู่ในฐานะส่วนหนึ่งของสยามจนถูกยกให้อังกฤษในปี 1909 ในยุคของซัยยิดอัลวี องค์ที่ 4
หลังยุคซัยยิดอัลวี รุ่นที่ 5 ผ่านจนถึงซัยยิดฮัมซาห์ที่สวรรคตโดยไร้รัชทายาท จึงพากันยกซัยยิด ฮารุน ปุตรา รุ่นที่ 7 ขึ้นเป็นราชาองค์ใหม่ของปะลิส
ซัยยิด ฮารุน ปุตรา เกือบจะไม่ได้ครองราชย์ เนื่องจากทั้งพระอัยกาและพระบิดา ต่างสิ้นพระชนม์ก่อนได้ขึ้นครองราชย์ทั้งหมด ทำให้มีโอกาสหลุดไป
หลังการสวรรคตของซัยยิดอัลวี ซัยยิดฮัมซาห์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ 2 ช่วง เนื่องจากการเข้ามายึดครองของญี่ปุ่นและสยาม ทำให้การขึ้นครองราชย์สั้น
หลังจากนั้นอังกฤษจึงได้สนับสนุนให้ซัยยิด ฮารุน ปุตรา ขึ้นครองราชย์ต่อโดยพระชนมายุเพียงแค่ 25 พรรษา เท่านั้น นับว่าน้อยที่สุดตั้งแต่สถาปนา
หลังจากที่มาเลเซียเป็นเอกราช ได้มียังดีประตวนอากง 2 องค์ก่อนหน้า ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนครบวาระการดำรง ทำให้เกิดความหวาดหวั่นขึ้นมาบ้าง
แต่ซัยยิด ฮารุน ปุตรา สามารถดำรงตำแหน่งยังดีประตวนอากงได้จนครบวาระ กว่าจะสวรรคตก็ถึงปี 2000 รวมเวลา 55 ปีที่ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ 1945
ซัยยิด ซีราจุดดิน ขึ้นครองราชย์ในปี 2000 ก่อนที่จะเป็นยังดีประตวนอากงในปี 2001 หลังจากการเสด็จสวรรคตของสุลต่านซัลลาฮุดดินแห่งสะลาโงร์
ซัยยิด ซีราจุดดิน มีเชื้อสายปัตตานีจากทางพระมารดา ทรงอภิเษกสมรสกับตวนกู เต็งกู เฟาซิอะห์ ซึ่งมีเชื้อสายจากราชวงศ์ตรังกานูและกลันตัน
พระราชโอรส ซัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา มีเชื้อสายปัตตานี กลันตัน ตรังกานู และหากนับบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายเกดะห์ด้วย จะมีเชื้อสายถึง 5 ราชวงศ์
โดยปัจจุบัน ซัยยิด ไฟซุดดิน ปุตรา ทำหน้าที่แบ่งเบาพระราชภาระของพระราชบิดา โดยทำหน้าที่แทนพระองค์ในหลายๆ พระราชภารกิจ รวมถึงในไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว อาจจะทำให้รัฐปะลิส สามารถอยู่รอดมาได้ โดยปราศจากการถูกยุบรัฐ แตกต่างกับกุบังปาสู ที่ถูกยุบไปหลังจากที่เป็นของอังกฤษ