กลันตัน เป็นรัฐชายฝั่งตะวันออกทางตอนเหนือของมาเลเซีย จำให้ง่ายๆ ก็คือ ติดชายแดนอยู่กับไทยทางจังหวัดนราธิวาส ชายฝั่งติดกับทะเลจีนใต้
กลันตัน เป็นรัฐที่มีความผูกพันกับคนทางชายแดนใต้มากที่สุด เพราะพูดภาษาเดียวกัน มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน เทียบได้กับคนอีสานและคนลาว
ชาวกลันตัน จะนิยมไปมาหาสู่กับชาวชายแดนใต้ ขณะที่คนในชายแดนใต้ ก็สามารถไปมาหาสู่กับชาวกลันตันได้ ราวกับว่าอยู่ในประเทศเดียวกัน
ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในระดับพี่น้องใกล้ชิดเคียงกันนั้น แน่นอนว่า ราชวงศ์ปัจจุบันของกลันตันนั้น มีความเกี่ยวข้องกับทางปัตตานีอย่างแน่นอน
แต่ในวันนี้ ไม่ได้เล่าเรื่องราวของปัตตานี แต่เป็นเรื่องราวรั้วในวังโดยล้วนๆ ของราชวงศ์กลันตัน ซึ่งมีปัญหาและเกิดเรื่องราวขึ้นหลายอย่างหลายปี
ย้อนกลับไปในช่วงการรวบรวมอาณาจักรกลันตัน หลงยูนุส ถือเป็นปฐมกษัตริย์องค์แรกของกลันตัน โดยได้ความช่วยเหลือจากอาณาจักรตรังกานู
อย่างไรก็ตาม หลังหลงยูนุสสิ้นพระชนม์ กลันตันถูกปกครองโดยตรังกานูเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ในเวลาต่อมา พระราชโอรสก็กู้คืนบัลลังก์กลับมาได้
หลงมุฮัมหมัดขึ้นครองราชย์ในนามสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 1 ปกครองกลันตัน 35 ปี ก็สวรรคต เกิดความขัดแย้งแย่งชิงราชสมบัติจนสยามเข้ามาแก้ไข
สยามได้ให้ หลงมุฮัมหมัด บิน หลงตัน เต็งกูตะมังกง (เทียบเท่า เสนาบดีกรมเวียง) พระราชนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 2 สืบต่อ
หลังจากที่สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 2 สวรรคตในปี 1886 พระราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นสุลต่านอาหมัด แต่ขึ้นครองราชย์แค่ 4 ปีก็สิ้นพระชนม์
หลังจากที่สุลต่านอาหมัดสิ้นพระชนม์ หลงกุนดูร์ ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 3 แต่ขึ้นครองราชย์ได้ปีเดียว ก็สิ้นพระชนม์ตามไปอีกองค์
หลงมันซูร์ ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านมันซูร์ ครองราชย์ได้ 8 ปี ก็สวรรคต ราชสมบัติจึงตกอยู่กับหลงซะนิ หรือสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 4 ในช่วงปี 1899
สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 4 เป็นสุลต่านองค์สุดท้ายภายใต้การปกครองของสยาม มีพระยศแบบสยามว่า พระยาพิพิธภักดี และพัฒนากลันตันให้เจริญขึ้น
สุลต่านมุฮัมหมัด ผ่านช่วงเวลาทั้งภายใต้การปกครองของสยามและอังกฤษมา 20 ปี จึงเสด็จสวรรคต ราชสมบัติจึงเป็นของเต็งกูอิสมาอิล พระโอรส
สุลต่านอิสมาอิล ปกครองกลันตันได้ 24 ปี จึงประชวรและสวรรคตลงด้วยพระโรควัณโรค พระอนุชา เต็งกูอิบราฮีม ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาในปี 1944
สุลต่านอิบราฮีม ขึ้นครองราชย์ได้ 16 ปี จึงสวรรคตลงด้วยเส้นพระโลหิตแตกในพระมัตถลุงค์ (เส้นเลือดในสมองแตก) เต็งกูยะห์ยา เปตรา ครองราชย์
เต็งกูยะห์ยา เปตรา เป็นพระราชโอรสองค์รอง แต่เดิมผู้สืบทอดราชสมบัติคือเต็งกู อินดรา เปตรา แต่ภายหลังได้ถูกถอดถอนจากการสืบทอดบัลลังก์ไป
เต็งกูยะห์ยา เปตรา ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา และภายหลังยังได้เป็นยังดีประตวนอากงองค์ที่ 6 แต่ทว่าได้สวรรคตไปด้วยด้วยภาวะพระหทัยล้มเหลว
เต็งกูอิสมาอิล เปตรา ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่ทว่าก็กลับประชวรด้วยภาวะเส้นพระโลหิตในพระมัตถลุงค์แตก ทำให้มีการลงมติให้มีการสละราชสมบัติ
สุลต่านอิสมาอิล เปตรา ไม่ยินยอมกับการสละราชสมบัติ จึงมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นช่วงหนึ่งก่อนที่สุดท้ายจะแพ้ความและราชสมบัติตกกับเต็งกูมุฮัมหมัด
สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 5 ขึ้นครองราชย์ในปี 2010 ก่อนที่จะได้รับเลือกให้เป็นยังดีประตวนอากงองค์ที่ 15 แต่การขึ้นครองราชย์ก็สะดุดลงไปในไม่กี่ปีต่อมา
สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 5 สละราชสมบัติ พร้อมทั้งกลับไปครองราชย์ที่รัฐกลันตันต่อ ก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคตลงหลังจากทรงพระประชวรมานาน
ราชวงศ์กลันตัน ประสบพบเจอกับเรื่องราวต่างๆ ในเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา เแม้จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรกับอดีตเจ้านายเก่าอย่างสยามและอังกฤษนั้น
แต่ปัญหาภายใน ถือว่ามีมายาวนาน ทั้งปัญหาการสืบสันตติวงศ์ และปัญหาความขัดแย้งภายในราชวงศ์ ตลอดจนปัญหาเรื่องราวส่วนพระองค์อื่นๆ อีก
ที่เล่ามาทั้งหมด เพียงแค่ต้องการเล่าประวัติศาสตร์ส่วนที่มีความสำคัญกับราชวงศ์จริงๆ เรื่องราวส่วนพระองค์ ไม่ได้พูดถึงด้วย จึงไม่มีการกล่าวถึงใดๆ
วิบากกรรมกลันตัน
กลันตัน เป็นรัฐที่มีความผูกพันกับคนทางชายแดนใต้มากที่สุด เพราะพูดภาษาเดียวกัน มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน เทียบได้กับคนอีสานและคนลาว
ชาวกลันตัน จะนิยมไปมาหาสู่กับชาวชายแดนใต้ ขณะที่คนในชายแดนใต้ ก็สามารถไปมาหาสู่กับชาวกลันตันได้ ราวกับว่าอยู่ในประเทศเดียวกัน
ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในระดับพี่น้องใกล้ชิดเคียงกันนั้น แน่นอนว่า ราชวงศ์ปัจจุบันของกลันตันนั้น มีความเกี่ยวข้องกับทางปัตตานีอย่างแน่นอน
แต่ในวันนี้ ไม่ได้เล่าเรื่องราวของปัตตานี แต่เป็นเรื่องราวรั้วในวังโดยล้วนๆ ของราชวงศ์กลันตัน ซึ่งมีปัญหาและเกิดเรื่องราวขึ้นหลายอย่างหลายปี
ย้อนกลับไปในช่วงการรวบรวมอาณาจักรกลันตัน หลงยูนุส ถือเป็นปฐมกษัตริย์องค์แรกของกลันตัน โดยได้ความช่วยเหลือจากอาณาจักรตรังกานู
อย่างไรก็ตาม หลังหลงยูนุสสิ้นพระชนม์ กลันตันถูกปกครองโดยตรังกานูเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ในเวลาต่อมา พระราชโอรสก็กู้คืนบัลลังก์กลับมาได้
หลงมุฮัมหมัดขึ้นครองราชย์ในนามสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 1 ปกครองกลันตัน 35 ปี ก็สวรรคต เกิดความขัดแย้งแย่งชิงราชสมบัติจนสยามเข้ามาแก้ไข
สยามได้ให้ หลงมุฮัมหมัด บิน หลงตัน เต็งกูตะมังกง (เทียบเท่า เสนาบดีกรมเวียง) พระราชนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 2 สืบต่อ
หลังจากที่สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 2 สวรรคตในปี 1886 พระราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นสุลต่านอาหมัด แต่ขึ้นครองราชย์แค่ 4 ปีก็สิ้นพระชนม์
หลังจากที่สุลต่านอาหมัดสิ้นพระชนม์ หลงกุนดูร์ ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 3 แต่ขึ้นครองราชย์ได้ปีเดียว ก็สิ้นพระชนม์ตามไปอีกองค์
หลงมันซูร์ ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านมันซูร์ ครองราชย์ได้ 8 ปี ก็สวรรคต ราชสมบัติจึงตกอยู่กับหลงซะนิ หรือสุลต่านมุฮัมหมัดที่ 4 ในช่วงปี 1899
สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 4 เป็นสุลต่านองค์สุดท้ายภายใต้การปกครองของสยาม มีพระยศแบบสยามว่า พระยาพิพิธภักดี และพัฒนากลันตันให้เจริญขึ้น
สุลต่านมุฮัมหมัด ผ่านช่วงเวลาทั้งภายใต้การปกครองของสยามและอังกฤษมา 20 ปี จึงเสด็จสวรรคต ราชสมบัติจึงเป็นของเต็งกูอิสมาอิล พระโอรส
สุลต่านอิสมาอิล ปกครองกลันตันได้ 24 ปี จึงประชวรและสวรรคตลงด้วยพระโรควัณโรค พระอนุชา เต็งกูอิบราฮีม ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาในปี 1944
สุลต่านอิบราฮีม ขึ้นครองราชย์ได้ 16 ปี จึงสวรรคตลงด้วยเส้นพระโลหิตแตกในพระมัตถลุงค์ (เส้นเลือดในสมองแตก) เต็งกูยะห์ยา เปตรา ครองราชย์
เต็งกูยะห์ยา เปตรา เป็นพระราชโอรสองค์รอง แต่เดิมผู้สืบทอดราชสมบัติคือเต็งกู อินดรา เปตรา แต่ภายหลังได้ถูกถอดถอนจากการสืบทอดบัลลังก์ไป
เต็งกูยะห์ยา เปตรา ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา และภายหลังยังได้เป็นยังดีประตวนอากงองค์ที่ 6 แต่ทว่าได้สวรรคตไปด้วยด้วยภาวะพระหทัยล้มเหลว
เต็งกูอิสมาอิล เปตรา ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่ทว่าก็กลับประชวรด้วยภาวะเส้นพระโลหิตในพระมัตถลุงค์แตก ทำให้มีการลงมติให้มีการสละราชสมบัติ
สุลต่านอิสมาอิล เปตรา ไม่ยินยอมกับการสละราชสมบัติ จึงมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นช่วงหนึ่งก่อนที่สุดท้ายจะแพ้ความและราชสมบัติตกกับเต็งกูมุฮัมหมัด
สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 5 ขึ้นครองราชย์ในปี 2010 ก่อนที่จะได้รับเลือกให้เป็นยังดีประตวนอากงองค์ที่ 15 แต่การขึ้นครองราชย์ก็สะดุดลงไปในไม่กี่ปีต่อมา
สุลต่านมุฮัมหมัดที่ 5 สละราชสมบัติ พร้อมทั้งกลับไปครองราชย์ที่รัฐกลันตันต่อ ก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคตลงหลังจากทรงพระประชวรมานาน
ราชวงศ์กลันตัน ประสบพบเจอกับเรื่องราวต่างๆ ในเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา เแม้จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรกับอดีตเจ้านายเก่าอย่างสยามและอังกฤษนั้น
แต่ปัญหาภายใน ถือว่ามีมายาวนาน ทั้งปัญหาการสืบสันตติวงศ์ และปัญหาความขัดแย้งภายในราชวงศ์ ตลอดจนปัญหาเรื่องราวส่วนพระองค์อื่นๆ อีก
ที่เล่ามาทั้งหมด เพียงแค่ต้องการเล่าประวัติศาสตร์ส่วนที่มีความสำคัญกับราชวงศ์จริงๆ เรื่องราวส่วนพระองค์ ไม่ได้พูดถึงด้วย จึงไม่มีการกล่าวถึงใดๆ