สุลต่าน Muhammad ที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน
+
สวัสดีครับ ในเวลาของผม ได้ใช้โอกาสศึกษาประเทศอีกประเทศหนึ่งที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเหมือนกับเมียนมาร์และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ได้ศึกษาองค์ประกอบของประเทศนี้พอสมควร และยังเป็นประเทศเดียวในแหลมอินโดจีนที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประเทศนี้คือ มาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ทั้งในแหลมมลายู และ เกาะบอร์เนียว (ทางอินโดนีเซียเรียกว่า กาลิมันตัน)
+
มาเลเซียมีการปกครองที่มีสุลต่านทั้ง 9 พระองค์ ซึ่งปกครองในฐานะประมุขรัฐต่างๆ อำนาจบริหารอยู่กับมุขมนตรี หรืออธิบายอย่างง่ายคือนายกรัฐมนตรีของรัฐๆนั้น (คล้ายคลึงกับอดีตรัฐโกชิน-ตราวันโกร์ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ที่มีการปกครองแบบราชประมุข หรือกษัตริย์ของรัฐ ก่อนเปลี่ยนมาเป็นผู้ว่าการรัฐจากรัฐบาลกลาง) การขึ้นครองราชย์ไม่ใช้การเลือกตั้งอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่เป็นการสลับตามชื่ออักษรของรัฐนั้นๆ อย่างเช่น รัฐกลันตัน ที่กำลังจะรับหน้าที่ต่อจากรัฐเกดะห์ และแน่นอนนั้นคือเรื่องที่ผมจะพูดในวันนี้
+
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน หรือพระนามเดิมคือ Tengku Muhammad Faris Petra เป็นพระราชโอรสของสุลต่าน Ismail Petra ซึ่งพระประชวรด้วยเส้นพระโลหิตในสมองแตก จนเป็นอัมพาตและประกอบพระราชกรณียกิจไม่ได้ ดังนั้น จึงได้มีการแต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ และกลายเป็นสุลต่านของรัฐกลันตันในเวลาต่อมา
+
อดีตสุลต่าน Ismail Petra แห่งรัฐกลันตัน พระบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน
+
พระชนม์ชีพแห่งการอภิเษกสมรส
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 เมื่อยังเป็นเจ้าฟ้าชาย ได้อภิเษกสมรสกับ กังสดาล พิพิธภักดี บุตรีของ วัยโรจน์ พิพิธภักดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาทั้ง 2 ได้หย่าร้างกัน และไม่มีพระโอรส-ธิดา ด้วยกันเลย
+
นอกจากนี้แล้ว พระอนุชาอีกพระองค์ คือ Muhammad Fakhry Petra ยังเป็นข่าวฉาวอีก เมื่อมีข่าวว่า พระองค์ ได้ทำร้ายพระชายาที่เป็นลูกครึ่งอินโดนีเซีย-อเมริกัน ชื่อว่า Manohara Odelia Pinot จนต้องหย่าร้างกันในที่สุด (สารภาพเลยว่า ตอนแรกผมนึกว่าองค์เดียวกับสุลต่านองค์ปัจจุบัน แต่ไม่ใช่)
+
Manohara Odelia Pinot และ Tengku Muhammad Fakhry เมื่อยังรักกันดีอยู่
+
ความขัดแย้งระหว่างการสืบราชบัลลังก์
วันที่ 14 พฤษภาคม 2009 สุลต่าน Ismail Petra ทรงพระประชวรและประทับอยู่ที่โรงพยาบาลในสิงคโปร์ และประกาศให้เจ้าชาย Muhammad Faris Petra เป็นผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งในวันที่ 13 กันยายน 2010 สภาสืบสันตติวงศ์แห่งกลันตัน มีมติให้เจ้าชาย Muhammad Faris Petra ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา จนทำให้พระบิดาและพระปิตุจฉาต้องประณามว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งรัฐกลันตัน เนื่องจากพระบิดายังไม่สิ้นพระชนม์ และ ยังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ ทั้งยังแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกประการหนึ่ง จึงได้ทำการฟ้องต่อพระโอรสของพระองค์ ต่อจากนั้น สุลต่านพระองค์ใหม่ ได้มีพระโองการรับสั่งปลดเจ้าชาย Muhammad Fakhry ออกจากผังการสืบสันตติวงศ์ (อาจจะเป็นเพราะเหตุผลเรื่องข่าวฉาวของเจ้าชาย Fakhry เอง) ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 พระองค์ ปี 2012 ศาลสูงมาเลย์ ประกาศไม่รับคำร้องจากอดีตสุลต่าน และทำให้การสืบสันตติวงศ์เป็นไปอย่างชอบธรรม
+
อดีตสุลต่านหลังจากรักษาพระอาการประชวร
+
การขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 จะได้รับการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียในวันที่ 13 ธันวาคม 2016 แทนสุลต่าน Abdul Halim แห่งรัฐเกดะห์ ที่ครองราชย์มาตลอด 5 ปี จนหมดวาระ
+
แหล่งอ้างอิง
http://www.deepsouthwatch.org/dsj/9620
http://news.sanook.com/783100/
http://www.mcot.net/site/content?id=4ff671b70b01dabf3c00d917
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1273134776
http://nikrakib.blogspot.com/2010/09/blog-post.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Yang_di-Pertuan_Agong
https://en.wikipedia.org/wiki/Muhammad_V_of_Kelantan
https://en.wikipedia.org/wiki/Ismail_Petra_of_Kelantan
++เรื่องของว่าที่กษัตริย์มาเลเซียองค์ใหม่กับปัญหาในวัง++
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน
+
สวัสดีครับ ในเวลาของผม ได้ใช้โอกาสศึกษาประเทศอีกประเทศหนึ่งที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเหมือนกับเมียนมาร์และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ได้ศึกษาองค์ประกอบของประเทศนี้พอสมควร และยังเป็นประเทศเดียวในแหลมอินโดจีนที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประเทศนี้คือ มาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ทั้งในแหลมมลายู และ เกาะบอร์เนียว (ทางอินโดนีเซียเรียกว่า กาลิมันตัน)
+
มาเลเซียมีการปกครองที่มีสุลต่านทั้ง 9 พระองค์ ซึ่งปกครองในฐานะประมุขรัฐต่างๆ อำนาจบริหารอยู่กับมุขมนตรี หรืออธิบายอย่างง่ายคือนายกรัฐมนตรีของรัฐๆนั้น (คล้ายคลึงกับอดีตรัฐโกชิน-ตราวันโกร์ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ที่มีการปกครองแบบราชประมุข หรือกษัตริย์ของรัฐ ก่อนเปลี่ยนมาเป็นผู้ว่าการรัฐจากรัฐบาลกลาง) การขึ้นครองราชย์ไม่ใช้การเลือกตั้งอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่เป็นการสลับตามชื่ออักษรของรัฐนั้นๆ อย่างเช่น รัฐกลันตัน ที่กำลังจะรับหน้าที่ต่อจากรัฐเกดะห์ และแน่นอนนั้นคือเรื่องที่ผมจะพูดในวันนี้
+
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน หรือพระนามเดิมคือ Tengku Muhammad Faris Petra เป็นพระราชโอรสของสุลต่าน Ismail Petra ซึ่งพระประชวรด้วยเส้นพระโลหิตในสมองแตก จนเป็นอัมพาตและประกอบพระราชกรณียกิจไม่ได้ ดังนั้น จึงได้มีการแต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ และกลายเป็นสุลต่านของรัฐกลันตันในเวลาต่อมา
+
อดีตสุลต่าน Ismail Petra แห่งรัฐกลันตัน พระบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน
+
พระชนม์ชีพแห่งการอภิเษกสมรส
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 เมื่อยังเป็นเจ้าฟ้าชาย ได้อภิเษกสมรสกับ กังสดาล พิพิธภักดี บุตรีของ วัยโรจน์ พิพิธภักดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาทั้ง 2 ได้หย่าร้างกัน และไม่มีพระโอรส-ธิดา ด้วยกันเลย
+
นอกจากนี้แล้ว พระอนุชาอีกพระองค์ คือ Muhammad Fakhry Petra ยังเป็นข่าวฉาวอีก เมื่อมีข่าวว่า พระองค์ ได้ทำร้ายพระชายาที่เป็นลูกครึ่งอินโดนีเซีย-อเมริกัน ชื่อว่า Manohara Odelia Pinot จนต้องหย่าร้างกันในที่สุด (สารภาพเลยว่า ตอนแรกผมนึกว่าองค์เดียวกับสุลต่านองค์ปัจจุบัน แต่ไม่ใช่)
+
Manohara Odelia Pinot และ Tengku Muhammad Fakhry เมื่อยังรักกันดีอยู่
+
ความขัดแย้งระหว่างการสืบราชบัลลังก์
วันที่ 14 พฤษภาคม 2009 สุลต่าน Ismail Petra ทรงพระประชวรและประทับอยู่ที่โรงพยาบาลในสิงคโปร์ และประกาศให้เจ้าชาย Muhammad Faris Petra เป็นผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งในวันที่ 13 กันยายน 2010 สภาสืบสันตติวงศ์แห่งกลันตัน มีมติให้เจ้าชาย Muhammad Faris Petra ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา จนทำให้พระบิดาและพระปิตุจฉาต้องประณามว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งรัฐกลันตัน เนื่องจากพระบิดายังไม่สิ้นพระชนม์ และ ยังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ ทั้งยังแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกประการหนึ่ง จึงได้ทำการฟ้องต่อพระโอรสของพระองค์ ต่อจากนั้น สุลต่านพระองค์ใหม่ ได้มีพระโองการรับสั่งปลดเจ้าชาย Muhammad Fakhry ออกจากผังการสืบสันตติวงศ์ (อาจจะเป็นเพราะเหตุผลเรื่องข่าวฉาวของเจ้าชาย Fakhry เอง) ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 พระองค์ ปี 2012 ศาลสูงมาเลย์ ประกาศไม่รับคำร้องจากอดีตสุลต่าน และทำให้การสืบสันตติวงศ์เป็นไปอย่างชอบธรรม
+
อดีตสุลต่านหลังจากรักษาพระอาการประชวร
+
การขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย
สุลต่าน Muhammad ที่ 5 จะได้รับการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียในวันที่ 13 ธันวาคม 2016 แทนสุลต่าน Abdul Halim แห่งรัฐเกดะห์ ที่ครองราชย์มาตลอด 5 ปี จนหมดวาระ
+
แหล่งอ้างอิง
http://www.deepsouthwatch.org/dsj/9620
http://news.sanook.com/783100/
http://www.mcot.net/site/content?id=4ff671b70b01dabf3c00d917
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1273134776
http://nikrakib.blogspot.com/2010/09/blog-post.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Yang_di-Pertuan_Agong
https://en.wikipedia.org/wiki/Muhammad_V_of_Kelantan
https://en.wikipedia.org/wiki/Ismail_Petra_of_Kelantan