คำว่า ยังดีประตวนอากง บอกก่อนว่า ไม่ใช่คำเรียกที่ถูกต้อง ที่ถูกตามสำเนียงมลายูควรเรียกว่า ยังดีเปอะร์ตูวันอากง แต่ทั้งนี้เพื่อเขียนให้อ่านออกง่าย
ยังดีประตวนอากง มีความหมายตรงตัวว่า องค์อธิปัตย์สูงสุด เป็นคำเรียกพระมหากษัตริย์มาเลเซียที่สืบทอดจากการเลือก หรือเรียงในช่วงยุคหลังๆ มา
ยังดีประตวนอากง โดยปกติในปัจจุบัน จะเรียงตามรัฐที่เคยได้เลือก เช่นหากรัฐเกดะห์หมดวาระ รัฐกลันตันจะขึ้นครองราชย์ต่อเหมือนในช่วงรอบแรก
โดยการขึ้นครองราชย์ต่อนั้น มักจะมาจากผู้ที่เป็น ติมบะลันยังดีประตวนอากง หรือ องค์รองอธิปัตย์สูงสุด ซึ่งมักจะมารัฐต่อไปตามลำดับการเลือก
ในบางช่วง หากตวนกูในรัฐที่ได้รับเลือกให้เป็นติมบะลันฯ มีเหตุไม่อำนวยสะดวก ก็สามารถเลื่อนให้รัฐถัดมานั้นมารับตำแหน่งติมบะลัน ยดปอ. ได้
ยังดีประตวนอากง เป็นแนวคิดริเริ่มจากตุนกู อับดุล ระห์มัน ที่ต้องการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองในฐานะผู้นำทางศาสนา หรือ Head of Islam
ตุนกู เห็นว่า รัฐนครี ซัมบิลัน ใช้วิธีคัดเลือกพระมหากษัตริย์โดยการลงมติของเหล่าอุนดัง หรือ ผู้ปกครองท้องถิ่น ตามประเพณีดั้งเดิมแบบมินังกาเบา
ตุนกู จึงใช้ระบบคัดเลือก โดยอาศัยให้เหล่าเจ้าผู้ครองรัฐ พากันลงมติเลือกพระมหากษัตริย์ของประเทศ โดยอาศัยลำดับช่วงเวลาการขึ้นครองราชย์
สุลต่านแห่งยะโฮร์ ทรงได้รับเลือกก่อน แต่ปฏิเสธไปเพราะพระชนมายุมากแล้ว ส่วนสุลต่านอาบูบักร์แห่งปะหัง เจ้าผู้ครององค์อื่นส่วนมาก ไม่เห็นด้วย
ลำดับที่ 3 ที่ครองราชย์ต่อมานั้น จึงเป็น ตวนกู อับดุล ระห์มัน แห่งนครีซัมบิลัน โดยติมบะลัน ยังดีประตวนอากง คือ สุลต่านฮิซามุดดินแห่งสะลาโงร์
โดยลำดับการเลือกในช่วงแรก จะนิยมใช้การช่วงระยะการครองราชย์ หากสุลต่านองค์ใดสวรรคตก่อนรับตำแหน่ง ก็จะให้สุลต่านองค์ต่อมาเข้าแทนที่
เช่น สุลต่าน บาดิลชาห์ แห่ง เกดะห์ ควรครองราชย์ถัดจากสุลต่านสะลาโงร์ แต่ก็สวรรคตไปก่อน ทำให้ราชารัฐปะลิส เข้ามาทรงอยู่ในลำดับที่ 3 แทน
ขณะที่สุลต่านอิบราฮีมแห่งรัฐกลันตัน ที่ควรจะครองราชย์ถัดจากราชารัฐปะลิส ก็สวรรคตไป ทำให้สุลต่านรัฐตรังกานู เข้ามาทรงอยู่ในลำดับที่ 4 แทน
ส่วนสุลต่านแห่งปะหัง แม้ว่าจะอยู่ลำดับที่ 2 ก่อนหน้าตวนกูอับดุล ระห์มัน ยังดีประตวนอากงองค์แรก แต่ก็ไม่เคยได้ทรงรับเลือกเลยตลอดพระชนม์ชีพ
ขณะที่สุลต่านอิบราฮีมแห่งยะโฮร์ ก็เสด็จสวรรคตไปก่อน ทำให้สุลต่านอิสมาอิล พระราชโอรส ต้องไปอยู่ในลำดับใหม่ ถัดจากองค์ที่ครองราชย์ก่อน
ในลำดับการสืบทอดตำแหน่งยังดีประตวนอากงนั้น รัฐใดที่ได้พ้นวาระหรือมีเหตุสิ้นสุดตำแหน่ง ยดปอ. ขึ้นมา รัฐนั้นจะยังไม่ได้รับเลือกใหม่โดยทันที
เช่น รัฐนครี ซัมบิลัน ที่แม้ตวนกูจาฟาร์จะขึ้นครองราชย์ก่อนสุลต่านปะหัง, ยะโฮร์ และ เปราก์ แต่ก็ยังไม่ได้มีการเลือกพระองค์ขึ้นมาก่อนจนครบหมด
เมื่อตวนกูจาฟาร์ดำรงตำแหน่งขึ้นมา จึงได้เปลี่ยนจากการเลือก มาเป็นการเรียง ตามลำดับที่เคยเลือก โดยไม่อิงถึงลำดับการขึ้นครองราชย่อีกต่อไป
ดังนั้น เมื่อรัฐนครี ซัมบิลัน ได้สิ้นสุดวาระดำรงตำแหน่ง รัฐสะลาโงร์ จึงรับตำแหน่งต่อมา และเรียงตามลำดับที่เคยเลือกเรื่อยๆ จนรัฐปะหังในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ติมบะลันยังดีประตวนอากง.ไม่จำเป็นต้องรับตำแหน่งสืบต่อ เช่นในกรณีของสุลต่านเปราก์ที่ดำรงตำแหน่งแทนสุลต่านรัฐปะหังที่ทรงพระประชวร
ยังดีประตวนอากง ในฐานะประมุขของชาติ มีพระราชอำนาจที่คล้ายกับนานาประเทศก็คือ ทรงรับรองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภา และ ศาล
ทั้งยังทรงเป็นจองทัพของกองทัพมาเลเซีย และทรงเป็นผู้นำของศาสนาอิสลาม ในรัฐทั้ง 4 ที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐ และดินแดนรัฐในสหพันธรัฐมาเลเซีย
การดำรงตำแหน่งยังดีประตวนอากง โดยปกติ จะดำรงตำแหน่งตามวาระ 5 ปี โดยพอดีตามวัน เว้นแต่ในกรณีที่สวรรคตในตำแหน่งหรือสละราชสมบัติ
ระหว่างการดำรงตำแหน่งยังดีประตวนอากง จะต้องทรงพำนักอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ตามอย่างนานาประเทศโดยปกติ
เมื่อสิ้นสุดวาระ ก็จะทรงกลับมาเป็นเจ้าผู้ครองรัฐ ดำรงตำแหน่งตามเดิมโดยปกติ หากมีพระชนมายุยืนยาวพอ ก็จะได้ทรงดำรงอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2
เรื่องน่ารู้ของ ยังดีประตวนอากง แบบพอสังเขป
ยังดีประตวนอากง มีความหมายตรงตัวว่า องค์อธิปัตย์สูงสุด เป็นคำเรียกพระมหากษัตริย์มาเลเซียที่สืบทอดจากการเลือก หรือเรียงในช่วงยุคหลังๆ มา
ยังดีประตวนอากง โดยปกติในปัจจุบัน จะเรียงตามรัฐที่เคยได้เลือก เช่นหากรัฐเกดะห์หมดวาระ รัฐกลันตันจะขึ้นครองราชย์ต่อเหมือนในช่วงรอบแรก
โดยการขึ้นครองราชย์ต่อนั้น มักจะมาจากผู้ที่เป็น ติมบะลันยังดีประตวนอากง หรือ องค์รองอธิปัตย์สูงสุด ซึ่งมักจะมารัฐต่อไปตามลำดับการเลือก
ในบางช่วง หากตวนกูในรัฐที่ได้รับเลือกให้เป็นติมบะลันฯ มีเหตุไม่อำนวยสะดวก ก็สามารถเลื่อนให้รัฐถัดมานั้นมารับตำแหน่งติมบะลัน ยดปอ. ได้
ยังดีประตวนอากง เป็นแนวคิดริเริ่มจากตุนกู อับดุล ระห์มัน ที่ต้องการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองในฐานะผู้นำทางศาสนา หรือ Head of Islam
ตุนกู เห็นว่า รัฐนครี ซัมบิลัน ใช้วิธีคัดเลือกพระมหากษัตริย์โดยการลงมติของเหล่าอุนดัง หรือ ผู้ปกครองท้องถิ่น ตามประเพณีดั้งเดิมแบบมินังกาเบา
ตุนกู จึงใช้ระบบคัดเลือก โดยอาศัยให้เหล่าเจ้าผู้ครองรัฐ พากันลงมติเลือกพระมหากษัตริย์ของประเทศ โดยอาศัยลำดับช่วงเวลาการขึ้นครองราชย์
สุลต่านแห่งยะโฮร์ ทรงได้รับเลือกก่อน แต่ปฏิเสธไปเพราะพระชนมายุมากแล้ว ส่วนสุลต่านอาบูบักร์แห่งปะหัง เจ้าผู้ครององค์อื่นส่วนมาก ไม่เห็นด้วย
ลำดับที่ 3 ที่ครองราชย์ต่อมานั้น จึงเป็น ตวนกู อับดุล ระห์มัน แห่งนครีซัมบิลัน โดยติมบะลัน ยังดีประตวนอากง คือ สุลต่านฮิซามุดดินแห่งสะลาโงร์
โดยลำดับการเลือกในช่วงแรก จะนิยมใช้การช่วงระยะการครองราชย์ หากสุลต่านองค์ใดสวรรคตก่อนรับตำแหน่ง ก็จะให้สุลต่านองค์ต่อมาเข้าแทนที่
เช่น สุลต่าน บาดิลชาห์ แห่ง เกดะห์ ควรครองราชย์ถัดจากสุลต่านสะลาโงร์ แต่ก็สวรรคตไปก่อน ทำให้ราชารัฐปะลิส เข้ามาทรงอยู่ในลำดับที่ 3 แทน
ขณะที่สุลต่านอิบราฮีมแห่งรัฐกลันตัน ที่ควรจะครองราชย์ถัดจากราชารัฐปะลิส ก็สวรรคตไป ทำให้สุลต่านรัฐตรังกานู เข้ามาทรงอยู่ในลำดับที่ 4 แทน
ส่วนสุลต่านแห่งปะหัง แม้ว่าจะอยู่ลำดับที่ 2 ก่อนหน้าตวนกูอับดุล ระห์มัน ยังดีประตวนอากงองค์แรก แต่ก็ไม่เคยได้ทรงรับเลือกเลยตลอดพระชนม์ชีพ
ขณะที่สุลต่านอิบราฮีมแห่งยะโฮร์ ก็เสด็จสวรรคตไปก่อน ทำให้สุลต่านอิสมาอิล พระราชโอรส ต้องไปอยู่ในลำดับใหม่ ถัดจากองค์ที่ครองราชย์ก่อน
ในลำดับการสืบทอดตำแหน่งยังดีประตวนอากงนั้น รัฐใดที่ได้พ้นวาระหรือมีเหตุสิ้นสุดตำแหน่ง ยดปอ. ขึ้นมา รัฐนั้นจะยังไม่ได้รับเลือกใหม่โดยทันที
เช่น รัฐนครี ซัมบิลัน ที่แม้ตวนกูจาฟาร์จะขึ้นครองราชย์ก่อนสุลต่านปะหัง, ยะโฮร์ และ เปราก์ แต่ก็ยังไม่ได้มีการเลือกพระองค์ขึ้นมาก่อนจนครบหมด
เมื่อตวนกูจาฟาร์ดำรงตำแหน่งขึ้นมา จึงได้เปลี่ยนจากการเลือก มาเป็นการเรียง ตามลำดับที่เคยเลือก โดยไม่อิงถึงลำดับการขึ้นครองราชย่อีกต่อไป
ดังนั้น เมื่อรัฐนครี ซัมบิลัน ได้สิ้นสุดวาระดำรงตำแหน่ง รัฐสะลาโงร์ จึงรับตำแหน่งต่อมา และเรียงตามลำดับที่เคยเลือกเรื่อยๆ จนรัฐปะหังในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ติมบะลันยังดีประตวนอากง.ไม่จำเป็นต้องรับตำแหน่งสืบต่อ เช่นในกรณีของสุลต่านเปราก์ที่ดำรงตำแหน่งแทนสุลต่านรัฐปะหังที่ทรงพระประชวร
ยังดีประตวนอากง ในฐานะประมุขของชาติ มีพระราชอำนาจที่คล้ายกับนานาประเทศก็คือ ทรงรับรองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภา และ ศาล
ทั้งยังทรงเป็นจองทัพของกองทัพมาเลเซีย และทรงเป็นผู้นำของศาสนาอิสลาม ในรัฐทั้ง 4 ที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐ และดินแดนรัฐในสหพันธรัฐมาเลเซีย
การดำรงตำแหน่งยังดีประตวนอากง โดยปกติ จะดำรงตำแหน่งตามวาระ 5 ปี โดยพอดีตามวัน เว้นแต่ในกรณีที่สวรรคตในตำแหน่งหรือสละราชสมบัติ
ระหว่างการดำรงตำแหน่งยังดีประตวนอากง จะต้องทรงพำนักอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ตามอย่างนานาประเทศโดยปกติ
เมื่อสิ้นสุดวาระ ก็จะทรงกลับมาเป็นเจ้าผู้ครองรัฐ ดำรงตำแหน่งตามเดิมโดยปกติ หากมีพระชนมายุยืนยาวพอ ก็จะได้ทรงดำรงอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2