เกดะห์ หรือ ไทรบุรี ปัจจุบันคือรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย เป็นรัฐที่คนไทยค่อนข้างจะรู้จักมากกว่ารัฐชายแดนที่อื่น เพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับด่านนอก
เกดะห์ มีเมืองหลวงคือ อโลร์ซะตาร์ เมืองใหญ่ที่สุดคือ สุไหงปะตานี มีสุลต่านองค์ปัจจุบัน พระนามว่า สุลต่านซัลเลฮุดดิน เป็นสุลต่านองค์ที่ 29
ความน่าสนใจของรัฐเกดะห์ ในเชิงการเมือง ถือว่ามีไม่น้อย เพราะมีนักการเมืองชื่อดังจำนวนมาก ที่ต่างเกิดในเกดะห์หรือมีพื้นเพมาจากรัฐเกดะห์
ในจำนวนี้มี ตุนกู อับดุล ระห์มัน นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย และ มหาธีร์ โมฮาหมัด นายกฯ 22 ปี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ราชวงศ์เกดะห์ ที่ถูกกล่าวขานว่าอาจจะเป็นราชวงศ์มลายู ที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย ที่ยังดำรงอยู่มาตลอด
เพราะอะไรที่ราชวงศ์เกดะห์ จึงเป็นราชวงศ์ที่เก่าแก่และยังดำรงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ได้ จริงๆ ก็ต้องย้อนความไปหลายร้อยปีหลายศตวรรษก่อน
ในบรรดารัฐเก่าแก่นอกเหนือจากนี้ ก็เห็นจะมีแต่กลันตัน ที่อ้างว่าเก่าแก่น้อยกว่าเกดะห์เล็กน้อย แต่ราชวงศ์ปัจจุบันอยู่แค่ประมาณ 300 กว่าปีเท่านั้น
ขณะที่ราชวงศ์ปัจจุบันของตรังกานู ปะหัง ปราก์ และ ยะโฮร์ ต่างก็มาจากราชวงศ์ของสุลต่านมะละกา ที่เคยครองความเป็นใหญ่สุดในแหลมมลายู
ส่วนนะกะรี ซัมบิลัน และ สะลาโงร์ ต่างเป็นรัฐเกิดใหม่ที่เกิดจากผู้อพยพนอกแหลม ก่อตั้งอาณาจักรของตัวเองในระยะเวลาไม่ถึง 300-400 กว่าปี
ยิ่งสำหรับรัฐปะลิส ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะแยกตัวมาจากเกดะห์เอง ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 200 กว่าปีนี้ โดยแยกตัวพร้อมๆ กับสตูลไปด้วยในตอนนั้น
ส่วนเกดะห์นั้น หากนับหลักฐานที่มีอยู่จริง และพิสูจน์ได้ เชื่อกันว่า น่าจะก่อตั้งกันมานานตั้งแต่ไม่เกินช่วงศตวรรษที่ 6-7 จากหลักฐานในหุบเขาบูจัง
ตามหลักฐานทางโบราณคดี ระบุไว้ว่า บริเวณหุบเขาบูจัง เคยเป็นศูนย์กลางทางการค้า และมีการค้นพบ พระพุทธรูป เทวรูป โบราณสถาน จำนวนมาก
สันนิษฐานว่าสร้างโดยคนมลายูโบราณเองในช่วงประมาณยุคอาณาจักรศรีวิชัย โดยได้อพยพไปจากเกาะสุมาตราแล้วสร้างโบราณสถานในหุบเขาบูจัง
ในเมืองจัมบี และ ปาลัมบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ก็มีโบราณสถานที่ใกล้เคียงกันและระยะเวลาเดียวกัน จึงอาจจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันด้วย
อย่างไรก็ตาม โบราณสถานในหุบเขาบูจังมีน้อยกว่าและสถาปัตย์หยาบกว่าของทางอินโดนีเซีย ทำให้เชื่อว่าไม่ใช่ศูนย์กลางของศรีวิชัยแต่อย่างใด
สำหรับพระบรรพบุรุษของราชวงศ์เกดะห์ ตำนานเมืองระบุไว้ว่า มะโรง มหาวังสะ หรือ ดุรบา ราชา เป็นปฐมกษัตริย์ของเกดะห์ โดยเดินทางจากกรุงโรม
นักวิชาการระบุว่า กรุงโรมที่อ้างในตำนานนั้น ไม่ใช่กรุงโรมของอิตาลีในยุคจักรวรรดิโรมัน หากแต่อาจจะเป็นจักรวรรดิออตโตมันที่ใช้ชื่อว่าโรมันด้วย
ซึ่งหากเป็นไปตามนักวิชาการระบุไว้ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า อาณาจักรเกดะห์ อาจจะไม่ได้เก่าแก่มาก เนื่องจากระบุปี 1136 เป็นปีกำเนิดระบบสุลต่าน
ทั้งนี้ สุลต่านเกดะห์เกือบทุกพระองค์ ใช้พระนามว่า ชาห์ ตามอย่างออตโตมัน ซึ่งก่อตั้งหลังปี 1136 ร้อยกว่าปี จึงทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นปีดังกล่าว
ที่สำคัญ พงศาวดารไทรบุรี เขียนขึ้นในช่วงปี 1800 ยุคที่เกดะห์ถูกยึดครองโดยสยาม จึงได้รับอิทธิพลพระนามจากสยาม ทั้งยังสอดแทรกเรื่องราวต่างๆ
อย่างไรก็ตาม พงศาวดารของอาเจะห์ ระบุไว้ว่า เกดะห์รับอิสลามในปี 1474 ช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับที่รัฐสุลต่านมะละกาได้แผ่ขยายอำนาจในมลายู
หลายหลักฐาน ล้วนระบุกันว่า ช่วงเวลาที่รัฐมะละกา ครองความยิ่งใหญ่ทั้งในแหลมมลายู คือช่วงเวลาที่ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายศาสนาไปด้วย
ด้วยลักษณะของการรับศาสนาอิสลามที่แตกต่างจากชวา และการรับโดยตรงจากผู้นำทางศาสนาของอาหรับ ทำให้วัฒนธรรมต่างๆ ต้องสูญหายไป
ด้วยสภาพที่เป็นนครรัฐและไม่ขึ้นต่อกัน ประกอบกับการเข้ามาของนักล่าอาณานิคมตะวันตก ทำให้หลายรัฐต้องตกเป็นเมืองขึ้น หรือสูญสิ้นไป
สำหรับเกดะห์ หลังจากที่สยามส่งมอบให้เป็นของอังกฤษ ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเมืองของมาเลเซีย โดยเฉพาะจาก ตุนกู อับดุล ระห์มัน ..
ปริศนาไทรบุรี 1
เกดะห์ มีเมืองหลวงคือ อโลร์ซะตาร์ เมืองใหญ่ที่สุดคือ สุไหงปะตานี มีสุลต่านองค์ปัจจุบัน พระนามว่า สุลต่านซัลเลฮุดดิน เป็นสุลต่านองค์ที่ 29
ความน่าสนใจของรัฐเกดะห์ ในเชิงการเมือง ถือว่ามีไม่น้อย เพราะมีนักการเมืองชื่อดังจำนวนมาก ที่ต่างเกิดในเกดะห์หรือมีพื้นเพมาจากรัฐเกดะห์
ในจำนวนี้มี ตุนกู อับดุล ระห์มัน นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย และ มหาธีร์ โมฮาหมัด นายกฯ 22 ปี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ราชวงศ์เกดะห์ ที่ถูกกล่าวขานว่าอาจจะเป็นราชวงศ์มลายู ที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย ที่ยังดำรงอยู่มาตลอด
เพราะอะไรที่ราชวงศ์เกดะห์ จึงเป็นราชวงศ์ที่เก่าแก่และยังดำรงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ได้ จริงๆ ก็ต้องย้อนความไปหลายร้อยปีหลายศตวรรษก่อน
ในบรรดารัฐเก่าแก่นอกเหนือจากนี้ ก็เห็นจะมีแต่กลันตัน ที่อ้างว่าเก่าแก่น้อยกว่าเกดะห์เล็กน้อย แต่ราชวงศ์ปัจจุบันอยู่แค่ประมาณ 300 กว่าปีเท่านั้น
ขณะที่ราชวงศ์ปัจจุบันของตรังกานู ปะหัง ปราก์ และ ยะโฮร์ ต่างก็มาจากราชวงศ์ของสุลต่านมะละกา ที่เคยครองความเป็นใหญ่สุดในแหลมมลายู
ส่วนนะกะรี ซัมบิลัน และ สะลาโงร์ ต่างเป็นรัฐเกิดใหม่ที่เกิดจากผู้อพยพนอกแหลม ก่อตั้งอาณาจักรของตัวเองในระยะเวลาไม่ถึง 300-400 กว่าปี
ยิ่งสำหรับรัฐปะลิส ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะแยกตัวมาจากเกดะห์เอง ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 200 กว่าปีนี้ โดยแยกตัวพร้อมๆ กับสตูลไปด้วยในตอนนั้น
ส่วนเกดะห์นั้น หากนับหลักฐานที่มีอยู่จริง และพิสูจน์ได้ เชื่อกันว่า น่าจะก่อตั้งกันมานานตั้งแต่ไม่เกินช่วงศตวรรษที่ 6-7 จากหลักฐานในหุบเขาบูจัง
ตามหลักฐานทางโบราณคดี ระบุไว้ว่า บริเวณหุบเขาบูจัง เคยเป็นศูนย์กลางทางการค้า และมีการค้นพบ พระพุทธรูป เทวรูป โบราณสถาน จำนวนมาก
สันนิษฐานว่าสร้างโดยคนมลายูโบราณเองในช่วงประมาณยุคอาณาจักรศรีวิชัย โดยได้อพยพไปจากเกาะสุมาตราแล้วสร้างโบราณสถานในหุบเขาบูจัง
ในเมืองจัมบี และ ปาลัมบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ก็มีโบราณสถานที่ใกล้เคียงกันและระยะเวลาเดียวกัน จึงอาจจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันด้วย
อย่างไรก็ตาม โบราณสถานในหุบเขาบูจังมีน้อยกว่าและสถาปัตย์หยาบกว่าของทางอินโดนีเซีย ทำให้เชื่อว่าไม่ใช่ศูนย์กลางของศรีวิชัยแต่อย่างใด
สำหรับพระบรรพบุรุษของราชวงศ์เกดะห์ ตำนานเมืองระบุไว้ว่า มะโรง มหาวังสะ หรือ ดุรบา ราชา เป็นปฐมกษัตริย์ของเกดะห์ โดยเดินทางจากกรุงโรม
นักวิชาการระบุว่า กรุงโรมที่อ้างในตำนานนั้น ไม่ใช่กรุงโรมของอิตาลีในยุคจักรวรรดิโรมัน หากแต่อาจจะเป็นจักรวรรดิออตโตมันที่ใช้ชื่อว่าโรมันด้วย
ซึ่งหากเป็นไปตามนักวิชาการระบุไว้ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า อาณาจักรเกดะห์ อาจจะไม่ได้เก่าแก่มาก เนื่องจากระบุปี 1136 เป็นปีกำเนิดระบบสุลต่าน
ทั้งนี้ สุลต่านเกดะห์เกือบทุกพระองค์ ใช้พระนามว่า ชาห์ ตามอย่างออตโตมัน ซึ่งก่อตั้งหลังปี 1136 ร้อยกว่าปี จึงทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นปีดังกล่าว
ที่สำคัญ พงศาวดารไทรบุรี เขียนขึ้นในช่วงปี 1800 ยุคที่เกดะห์ถูกยึดครองโดยสยาม จึงได้รับอิทธิพลพระนามจากสยาม ทั้งยังสอดแทรกเรื่องราวต่างๆ
อย่างไรก็ตาม พงศาวดารของอาเจะห์ ระบุไว้ว่า เกดะห์รับอิสลามในปี 1474 ช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับที่รัฐสุลต่านมะละกาได้แผ่ขยายอำนาจในมลายู
หลายหลักฐาน ล้วนระบุกันว่า ช่วงเวลาที่รัฐมะละกา ครองความยิ่งใหญ่ทั้งในแหลมมลายู คือช่วงเวลาที่ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายศาสนาไปด้วย
ด้วยลักษณะของการรับศาสนาอิสลามที่แตกต่างจากชวา และการรับโดยตรงจากผู้นำทางศาสนาของอาหรับ ทำให้วัฒนธรรมต่างๆ ต้องสูญหายไป
ด้วยสภาพที่เป็นนครรัฐและไม่ขึ้นต่อกัน ประกอบกับการเข้ามาของนักล่าอาณานิคมตะวันตก ทำให้หลายรัฐต้องตกเป็นเมืองขึ้น หรือสูญสิ้นไป
สำหรับเกดะห์ หลังจากที่สยามส่งมอบให้เป็นของอังกฤษ ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเมืองของมาเลเซีย โดยเฉพาะจาก ตุนกู อับดุล ระห์มัน ..