ในมาเลเซียและภาคใต้ของไทย มีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเรียกว่า “ชาวจีนช่องแคบ” พวกเขาเดินทางมาไกลจากบ้านเกิดเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และต่อมาได้ค้าขายจนร่ำรวยมีฐานะขึ้นเป็นอันมาก
ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองพวกเขาบางส่วนต่อสู้กับญี่ปุ่นเพื่อปกป้องบ้านเมืองมาเลเซียอย่างกล้าหาญ ...จริงๆ ควรจะได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษ แต่วีรกรรมนั้นกลับถูกกลบฝัง ด้วยเหตุผลว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็น “คอมมิวนิสต์”
รูปแบบความคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับนี้เองได้กลายเป็นชนวนเหตุของความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน
บทความนี้จะพาทุกท่านย้อนรอยไปติดตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ตลอดจนปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์จีนกับมลายูที่ตกทอดมาถึงมาเลเซียสมัยใหม่กันครับ
ภาพแนบ: อุโมงค์เขาน้ำค้าง สงขลา ซึ่งฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เคยใช้เป็นฐาน ภาพจากการท่องเที่ยวไทย
*** ชาวจีนช่องแคบ ***
ชาวจีนอพยพเข้าแหลมมลายูเรื่อยๆ โดยมีระลอกใหญ่ในศตวรรษที่ 15 เมื่อราชวงศ์หมิงพัฒนาความสัมพันธ์กับชาติมลายู และเมื่อเกิดอาณานิคมอังกฤษในพื้นที่ช่วงศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากคนจีนเห็นว่าที่นี่มีโอกาสทำกินมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านเกิด
ภาพแนบ: เด็กชาวจีนช่องแคบ สังเกตเครื่องแต่งกายจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนทั้งจีนและมลายูนะครับ
ชาวจีนเหล่านี้ได้แต่งงานกับคนมลายูพื้นเมือง ผสมกลมกลืนเป็นเผ่าพันธุ์ใหม่เรียกว่า “ชาวจีนช่องแคบ” (Straits Chinese) พบมากในสิงคโปร์ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะเมืองภูเก็ต ระนอง ปีนัง มะละกา
ในไทยเรียกคนเหล่านี้ว่าบ้าบ๋า-ย่าหยา ในมาเลเซียเรียกพวกเขาว่าเปอรานากัน
ภาพแนบ: อาคารแบบชิโนโปรตุกีสในภูเก็ต
พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านทรงชิโนโปรตุกีส (หาดูได้ในเขตเมืองเก่าภูเก็ต) รับประทานอาหาร และแต่งกายแบบจีนผสมมลายู นอกจากนั้นยังนิยมประดับเครื่องเพชรอันหรูหราวิจิตร จนกลายเป็นเอกลักษณ์อีกอย่าง
ชาวจีนเหล่านี้ค้าขายเก่ง มักสร้างตนมีฐานะร่ำรวย มีอิทธิพลมาก ปัจจุบันชาวจีนช่องแคบที่อยู่ในไทยผสมกลมกลืนไปกับคนไทย แต่ที่อยู่ในมาเลเซียมีเรื่องราวซับซ้อนกว่านั้น…
ภาพแนบ: ฐานปีนังของซุนยัตเซ็น ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์
*** จีนช่องแคบกับการเมืองในจีน ***
ชาวจีนช่องแคบยังมีความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ และบ่อยครั้งช่วยสนับสนุนทางการเมือง เช่นในช่วงก่อนการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงปี 1911 ซุนยัตเซ็นผู้นำการปฏิวัติจีนได้เดินสายเรี่ยไรขอการสนับสนุนสำหรับชาวจีนโพ้นทะเล โดยเดินทางมาเยี่ยมชุมชนจีนหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งที่ปีนัง และเยาวราช
ในปี 1925 ชาวจีนช่องแคบได้ก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ ชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้” ที่สิงคโปร์ ก่อนถูกทางการสั่งยุบ อย่างไรก็ตามได้มีพรรคคอมมิวนิสต์ในเครือเกิดขึ้นแทนมากมายในอินโดจีน มาเลเซีย พม่าและไทย
ภาพแนบ: สำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์มลายา
*** คอมมิวนิสต์กู้ชาติ? ***
พรรคคอมมิวนิสต์มลายา (Malayan Communist Party: MCP) ก่อตั้งขึ้นในปี 1930 โดยมีสมาชิกส่วนใหญ่มีเป็นชาวมลายูเชื้อสายจีน พวกเขาค่อยๆ แผ่อิทธิพลในหมู่ผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ โดยร่วมมือกับสหภาพแรงงานหลายแห่ง
เมื่อเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ในปี 1937 ชาวจีนช่องแคบทั้งที่สนับสนุนก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์ต่างจับมือกันระดมทุนเพื่อปกป้องประเทศจีน
ภาพแนบ: อังกฤษเสียสิงคโปร์แก่ญี่ปุ่น
เมื่อญี่ปุ่นบุกมาเลเซีย (ตอนนั้นเป็นอาณานิคมอังกฤษ ชื่อว่าบริติชมลายา) ในเดือนธันวาคม 1941 พรรค MCP ได้ขอเสนอตัวร่วมมือกับอังกฤษ แลกกับการปล่อยตัวนักโทษฝ่ายซ้ายและคำสัญญาว่าเมื่อชนะสงครามจะรับรองสถานะของพรรค นำสู่การที่ทางการอังกฤษฝึกพวกเขาเป็นนักรบกองโจรรุ่นแรกจำนวนร้อยกว่าคนที่สิงคโปร์ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 1942 สิงคโปร์ก็ได้เสียให้แก่ญี่ปุ่น
ภาพแนบ: ธง MPAJA
ช่วงไล่เลี่ยกัน MCP จัดตั้งขบวนการกู้ชาติที่เรียกว่า กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น (Malayan Peoples' Anti-Japanese Army: MPAJA) และเริ่มทำกองโจรลอบทำลายทรัพยากรและซุ่มโจมตีทหารญี่ปุ่น
ด้านญี่ปุ่นตอบโต้ด้วยออกมาตรการกดขี่คนเชื้อสายจีน ทำให้ชาวจีนช่องแคบจำนวนมากต้องหนีออกจากเมืองไปอยู่ตามชายป่า กลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังพลและเสบียงแก่ MPAJA
ภาพแนบ: การเดินสวนสนามของ MPAJA
ในเดือนกันยายน 1942 ทางการญี่ปุ่นกวาดล้างสมาชิกพรรคได้ขนานใหญ่ ทำให้ MPAJA ได้รับความเสียหาย และต้องเลี่ยงการปะทะ จนค่อยๆ รวบรวมกำลังพลได้ใหม่จำนวน 4,500 คนในปี 1943
ในปี 1943-1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรติดต่อกับกลุ่มกองโจร และตกลงกันได้ว่า MPAJA จะรับแนวทางบางส่วนจากกองบัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตร แลกกับอาวุธและเสบียงกลายเป็นกำลังท้องถิ่นหลักที่สู้รบกับญี่ปุ่นในช่วงนั้น แต่ไม่มีรายละเอียดการลงมือใหญ่ (คาดว่าน่าจะนัดหมายก่อการกับฝ่ายสัมพันธมิตรเหมือนกับเสรีไทย แต่สงครามยุติลงเสียก่อน)
ภาพแนบ: ไลเต็ก
ในเดือนสิงหาคม 1945 ญี่ปุ่นยอมจำนน และทางการอังกฤษกลับเข้าควบคุมมลายาอีกครั้ง
ฉากหน้า MPAJA นั้นยอมสลายตัวและมอบอาวุธคืน แต่ยังแอบเก็บอาวุธไว้บางส่วน ในช่วงแรกๆ พรรคมีความเห็นแตกกันว่า "จะปลดแอกอังกฤษตั้งตัวเป็นรัฐคอมมิวนิสต์เลยหรือไม่?" แต่นายไลเต็ก (Lai Teck) หัวหน้าพรรคขณะนั้นเห็นชอบกับแผนเรียกร้องเอกราชแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า
ในปี 1946 พรรคคอมมิวนิสต์เกิดแตกกันเอง เนื่องจากสมาชิกพรรคสงสัยกับแนวทางของไลเต็ก จึงได้เปิดการสอบสวนเขา แต่ไลเต็กได้หลบหนีออกนอกประเทศไปพร้อมกับเงินของพรรค (ในภายหลังมีบันทึกว่าไลเต็กเป็นสายของทางการอังกฤษตั้งแต่ต้นด้วย)
ภาพแนบ: จินเป็งวัยหนุ่ม
แต่การกวาดล้างผู้นำพรรคโดยญี่ปุ่นเมื่อปี 1942 และการออกจากพรรคของไลเต็กเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำแทน
เลขาธิการพรรคคนต่อมา คือ จินเป็ง (Chen Peng คนไทยเรียก “จีนเป็ง”) วัย 26 ปี ซึ่งต่อมาเป็นถึงบุคคลที่ทางการอังกฤษต้องการตัวมากที่สุด มีค่าหัวถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ภาพแนบ: พิธียอมจำนนของทหารญี่ปุ่นที่กัวลาลัมเปอร์
*** ภาวะฉุกเฉินมลายา ***
ถึงแม้ทางการอังกฤษจะเร่งการผลิตดีบุกและยางจนเศรษฐกิจมลายาฟื้นตัวหลังสงคราม แต่ทางการเลือกปราบปรามผู้ประท้วงอย่างหนักทำให้กระแสคอมมิวนิสต์ยิ่งรุนแรงขึ้น ทางการอังกฤษพยายามคิดอ่านป้องกัน เพราะเกรงกลัวภัยคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องการคุ้มครองแหล่งผลิตยางซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญ
นอกจากนี้ทางการอังกฤษยังบิดพลิ้วไม่ยอมรับสถานะของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เคยสัญญาว่าจะให้แลกกับการช่วยสู้ญี่ปุ่น โดยอ้างว่าพรรคไม่ยอมยุติการแทรกซึมแบบคอมมิวนิสต์และคืนอาวุธไม่ครบ
ภาพแนบ: ลีเม็ง (Lee Meng) หนึ่งในหัวหน้าคอมมิวนิสต์ในรัฐเปรัก
ความตึงเครียดปะทุออกมาในเดือนมิถุนายน 1948 เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอังกฤษผู้จัดการสวนยาง 3 คนถูกคนเชื้อสายจีนฆ่า ทำให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้ตำรวจสามารถจับกุม, ลงโทษถึงขั้นวิสามัญฆาตกรรมได้โดยไม่ต้องขึ้นศาล
ภายในหนึ่งเดือนมีการจับกุมสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หลายร้อยคน และมีการประกาศให้พรรคผิดกฎหมาย สมาชิกพรรคจึงได้กลับไปรวมกันในป่า และก่อตั้งกลุ่มกองโจรต่อสู้อังกฤษขึ้น
ภาพแนบ: ตำรวจอังกฤษและมลายูสอบสวนชาวจีน
ในปี 1949 กลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ใช้ชื่อว่า “กองทัพปลดปล่อยประชาชนมลายู (MPLA)” โดยเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐคอมมิวนิสต์
พวกเขามีทหารประมาณ 4,000 คน ทำการตามป่าเขา และคอยลงมือซุ่มโจมตีตามถนนหรือรางรถไฟ โดยค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 17 ครั้งต่อเดือนมาถึง 100 ครั้งต่อเดือนเมื่อถึงปี 1950 นอกจากนี้ยังลงมือฆ่าข้าหลวงใหญ่อังกฤษ เซอร์เฮนรี เกอร์นี ได้ในปี 1952
ฝ่ายอังกฤษตอบโต้ด้วยการบังคับย้ายชาวบ้านเชื้อสายจีนออกจากชายป่าให้มาอยู่ในเขตกักกัน ซึ่งรวมแล้วมีชาวจีนช่องแคบราว 650,000 คนตกอยู่ในสภาพนี้ นอกจากนี้ทางการยังใช้วิธีควบคุมการขายอาหารอย่างเคร่งครัด และเผาหมู่บ้านที่ต้องสงสัยว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ด้วย
ภาพแนบ: ตวนกู อับดุลเราะห์มัน
ผลของกดขี่ของอังกฤษทำให้ชาวจีนช่องแคบประสบความลำบากมาก ทำให้คนออกห่างจากพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคต้องหันไปต่อสู้ผ่านทางสหภาพแรงงานกับพรรคอื่นๆ แทน
ในปี 1955 อังกฤษค่อยๆ มีกระบวนการให้เอกราชมาเลเซีย ตามกระแสปลดปล่อยชาติอาณานิคม ตอนนั้นมีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรก "ตวนกู อับดุลเราะห์มัน" ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย มีการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินมลายาด้วย
จินเป็งเป็นฝ่ายขอเจรจากับทางการมาเลเซีย แต่เมื่อพบกันอย่างเป็นทางการ ทั้งสองฝ่ายกลับเห็นไม่ตรงกันในเรื่องสถานะของ MCP โดยทางการอยากให้ยุบพรรค แต่จินเป็งขอให้เป็นพรรคถูกกฎหมาย ทำให้การเจรจาล้มเหลว และ MCP ต้องไปสู้รบในป่าเขาต่อ
ในช่วงปี 1957-1960 ทางการสามารถบีบ MCP ได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถติดสินบนผู้นำระดับสูงคนหนึ่งให้ยอมวางอาวุธได้ ต่อมาพื้นที่ “สีแดง” ของ MCP ลดลงจนเหลือเพียงพื้นที่ปฏิบัติการแถวชายแดนไทย-มาเลเซียเท่านั้น
*** ภาวะฉุกเฉินมลายา (รอบ 2) ***
พรรค MCP ใช้เวลา 8 ปี (1960-1968) ฟื้นกำลังและจัดระเบียบพรรคใหม่ พร้อมกับเรียนเอาเทคนิคการสู้รบแบบกองโจรเพิ่มเติมจากพวกเวียดนามเหนือ นอกจากนั้นพวกเขายังได้รับการสนับสนุนงบจากผู้นำจีนยุคนั้นคือเติ้งเสี่ยวผิง (ตั้งแต่ยังอยู่ใต้เหมาเจ๋อตงอยู่) จนมีกำลังกล้าแข็งขึ้น
ในช่วงนั้น MCP ได้เปรียบสามารถสังหารทหารฝ่ายรัฐบาลได้เป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้ชาวจีนช่องแคบที่ถูกกดดันด้วยนโยบายเลือกปฏิบัติมาเข้าร่วมด้วย รวมทั้งมีสมาชิกจากภาคใต้ของไทยมาขอสวามิภักดิ์ไม่น้อย
ภาพแนบ: ลีกวนยิวซับน้ำตาในพิธีลงนามข้อตกลงแยกสิงคโปร์ออกจากสหพันธรัฐมลายา
มีเรื่องที่ควรกล่าวถึงในช่วงเวลาเดียวกัน คือตอนนั้นมีความแตกแยกระหว่างชุมชนมลายูกับจีนทำให้เกิดการทะเลาะระหว่างพรรคอัมโน (United Malays National Organisation: UMNO) หรือองค์การมลายูรวมแห่งชาติ กับพรรคกิจประชา (People’s Action Party: PAP) ที่มีผู้นำเชื้อสายจีน นำไปสู่จลาจลด้วยเหตุเชื้อชาติ
สิ่งนี้ทำให้ชาวจีนช่องแคบจำนวนมากโดนผลักไสออกจากมาเลเซีย พวกเขาหลายคนรู้สึกเจ็บปวด เพราะการมีเชื้อสายจีนไม่ได้หมายความว่าเขารักมาเลเซียน้อยกว่าชาวมลายูทั้งหลาย
อย่างไรก็ตามการดังกล่าวทำให้ชาวจีนช่องแคบได้สร้างประเทศใหม่ของตนชื่อว่า “สาธารณรัฐสิงคโปร์”
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** จากมาเลสู่เบตง: “วีรชน” ที่ชาติไม่ต้องการ ***
ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองพวกเขาบางส่วนต่อสู้กับญี่ปุ่นเพื่อปกป้องบ้านเมืองมาเลเซียอย่างกล้าหาญ ...จริงๆ ควรจะได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษ แต่วีรกรรมนั้นกลับถูกกลบฝัง ด้วยเหตุผลว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็น “คอมมิวนิสต์”
รูปแบบความคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับนี้เองได้กลายเป็นชนวนเหตุของความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน
บทความนี้จะพาทุกท่านย้อนรอยไปติดตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ตลอดจนปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์จีนกับมลายูที่ตกทอดมาถึงมาเลเซียสมัยใหม่กันครับ
ภาพแนบ: อุโมงค์เขาน้ำค้าง สงขลา ซึ่งฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เคยใช้เป็นฐาน ภาพจากการท่องเที่ยวไทย
*** ชาวจีนช่องแคบ ***
ชาวจีนอพยพเข้าแหลมมลายูเรื่อยๆ โดยมีระลอกใหญ่ในศตวรรษที่ 15 เมื่อราชวงศ์หมิงพัฒนาความสัมพันธ์กับชาติมลายู และเมื่อเกิดอาณานิคมอังกฤษในพื้นที่ช่วงศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากคนจีนเห็นว่าที่นี่มีโอกาสทำกินมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านเกิด
ภาพแนบ: เด็กชาวจีนช่องแคบ สังเกตเครื่องแต่งกายจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนทั้งจีนและมลายูนะครับ
ชาวจีนเหล่านี้ได้แต่งงานกับคนมลายูพื้นเมือง ผสมกลมกลืนเป็นเผ่าพันธุ์ใหม่เรียกว่า “ชาวจีนช่องแคบ” (Straits Chinese) พบมากในสิงคโปร์ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะเมืองภูเก็ต ระนอง ปีนัง มะละกา
ในไทยเรียกคนเหล่านี้ว่าบ้าบ๋า-ย่าหยา ในมาเลเซียเรียกพวกเขาว่าเปอรานากัน
ภาพแนบ: อาคารแบบชิโนโปรตุกีสในภูเก็ต
พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านทรงชิโนโปรตุกีส (หาดูได้ในเขตเมืองเก่าภูเก็ต) รับประทานอาหาร และแต่งกายแบบจีนผสมมลายู นอกจากนั้นยังนิยมประดับเครื่องเพชรอันหรูหราวิจิตร จนกลายเป็นเอกลักษณ์อีกอย่าง
ชาวจีนเหล่านี้ค้าขายเก่ง มักสร้างตนมีฐานะร่ำรวย มีอิทธิพลมาก ปัจจุบันชาวจีนช่องแคบที่อยู่ในไทยผสมกลมกลืนไปกับคนไทย แต่ที่อยู่ในมาเลเซียมีเรื่องราวซับซ้อนกว่านั้น…
ภาพแนบ: ฐานปีนังของซุนยัตเซ็น ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์
*** จีนช่องแคบกับการเมืองในจีน ***
ชาวจีนช่องแคบยังมีความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ และบ่อยครั้งช่วยสนับสนุนทางการเมือง เช่นในช่วงก่อนการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงปี 1911 ซุนยัตเซ็นผู้นำการปฏิวัติจีนได้เดินสายเรี่ยไรขอการสนับสนุนสำหรับชาวจีนโพ้นทะเล โดยเดินทางมาเยี่ยมชุมชนจีนหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งที่ปีนัง และเยาวราช
ในปี 1925 ชาวจีนช่องแคบได้ก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ ชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้” ที่สิงคโปร์ ก่อนถูกทางการสั่งยุบ อย่างไรก็ตามได้มีพรรคคอมมิวนิสต์ในเครือเกิดขึ้นแทนมากมายในอินโดจีน มาเลเซีย พม่าและไทย
ภาพแนบ: สำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์มลายา
*** คอมมิวนิสต์กู้ชาติ? ***
พรรคคอมมิวนิสต์มลายา (Malayan Communist Party: MCP) ก่อตั้งขึ้นในปี 1930 โดยมีสมาชิกส่วนใหญ่มีเป็นชาวมลายูเชื้อสายจีน พวกเขาค่อยๆ แผ่อิทธิพลในหมู่ผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ โดยร่วมมือกับสหภาพแรงงานหลายแห่ง
เมื่อเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ในปี 1937 ชาวจีนช่องแคบทั้งที่สนับสนุนก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์ต่างจับมือกันระดมทุนเพื่อปกป้องประเทศจีน
ภาพแนบ: อังกฤษเสียสิงคโปร์แก่ญี่ปุ่น
เมื่อญี่ปุ่นบุกมาเลเซีย (ตอนนั้นเป็นอาณานิคมอังกฤษ ชื่อว่าบริติชมลายา) ในเดือนธันวาคม 1941 พรรค MCP ได้ขอเสนอตัวร่วมมือกับอังกฤษ แลกกับการปล่อยตัวนักโทษฝ่ายซ้ายและคำสัญญาว่าเมื่อชนะสงครามจะรับรองสถานะของพรรค นำสู่การที่ทางการอังกฤษฝึกพวกเขาเป็นนักรบกองโจรรุ่นแรกจำนวนร้อยกว่าคนที่สิงคโปร์ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 1942 สิงคโปร์ก็ได้เสียให้แก่ญี่ปุ่น
ภาพแนบ: ธง MPAJA
ช่วงไล่เลี่ยกัน MCP จัดตั้งขบวนการกู้ชาติที่เรียกว่า กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น (Malayan Peoples' Anti-Japanese Army: MPAJA) และเริ่มทำกองโจรลอบทำลายทรัพยากรและซุ่มโจมตีทหารญี่ปุ่น
ด้านญี่ปุ่นตอบโต้ด้วยออกมาตรการกดขี่คนเชื้อสายจีน ทำให้ชาวจีนช่องแคบจำนวนมากต้องหนีออกจากเมืองไปอยู่ตามชายป่า กลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังพลและเสบียงแก่ MPAJA
ภาพแนบ: การเดินสวนสนามของ MPAJA
ในเดือนกันยายน 1942 ทางการญี่ปุ่นกวาดล้างสมาชิกพรรคได้ขนานใหญ่ ทำให้ MPAJA ได้รับความเสียหาย และต้องเลี่ยงการปะทะ จนค่อยๆ รวบรวมกำลังพลได้ใหม่จำนวน 4,500 คนในปี 1943
ในปี 1943-1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรติดต่อกับกลุ่มกองโจร และตกลงกันได้ว่า MPAJA จะรับแนวทางบางส่วนจากกองบัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตร แลกกับอาวุธและเสบียงกลายเป็นกำลังท้องถิ่นหลักที่สู้รบกับญี่ปุ่นในช่วงนั้น แต่ไม่มีรายละเอียดการลงมือใหญ่ (คาดว่าน่าจะนัดหมายก่อการกับฝ่ายสัมพันธมิตรเหมือนกับเสรีไทย แต่สงครามยุติลงเสียก่อน)
ภาพแนบ: ไลเต็ก
ในเดือนสิงหาคม 1945 ญี่ปุ่นยอมจำนน และทางการอังกฤษกลับเข้าควบคุมมลายาอีกครั้ง
ฉากหน้า MPAJA นั้นยอมสลายตัวและมอบอาวุธคืน แต่ยังแอบเก็บอาวุธไว้บางส่วน ในช่วงแรกๆ พรรคมีความเห็นแตกกันว่า "จะปลดแอกอังกฤษตั้งตัวเป็นรัฐคอมมิวนิสต์เลยหรือไม่?" แต่นายไลเต็ก (Lai Teck) หัวหน้าพรรคขณะนั้นเห็นชอบกับแผนเรียกร้องเอกราชแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า
ในปี 1946 พรรคคอมมิวนิสต์เกิดแตกกันเอง เนื่องจากสมาชิกพรรคสงสัยกับแนวทางของไลเต็ก จึงได้เปิดการสอบสวนเขา แต่ไลเต็กได้หลบหนีออกนอกประเทศไปพร้อมกับเงินของพรรค (ในภายหลังมีบันทึกว่าไลเต็กเป็นสายของทางการอังกฤษตั้งแต่ต้นด้วย)
ภาพแนบ: จินเป็งวัยหนุ่ม
แต่การกวาดล้างผู้นำพรรคโดยญี่ปุ่นเมื่อปี 1942 และการออกจากพรรคของไลเต็กเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำแทน
เลขาธิการพรรคคนต่อมา คือ จินเป็ง (Chen Peng คนไทยเรียก “จีนเป็ง”) วัย 26 ปี ซึ่งต่อมาเป็นถึงบุคคลที่ทางการอังกฤษต้องการตัวมากที่สุด มีค่าหัวถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ภาพแนบ: พิธียอมจำนนของทหารญี่ปุ่นที่กัวลาลัมเปอร์
*** ภาวะฉุกเฉินมลายา ***
ถึงแม้ทางการอังกฤษจะเร่งการผลิตดีบุกและยางจนเศรษฐกิจมลายาฟื้นตัวหลังสงคราม แต่ทางการเลือกปราบปรามผู้ประท้วงอย่างหนักทำให้กระแสคอมมิวนิสต์ยิ่งรุนแรงขึ้น ทางการอังกฤษพยายามคิดอ่านป้องกัน เพราะเกรงกลัวภัยคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องการคุ้มครองแหล่งผลิตยางซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญ
นอกจากนี้ทางการอังกฤษยังบิดพลิ้วไม่ยอมรับสถานะของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เคยสัญญาว่าจะให้แลกกับการช่วยสู้ญี่ปุ่น โดยอ้างว่าพรรคไม่ยอมยุติการแทรกซึมแบบคอมมิวนิสต์และคืนอาวุธไม่ครบ
ภาพแนบ: ลีเม็ง (Lee Meng) หนึ่งในหัวหน้าคอมมิวนิสต์ในรัฐเปรัก
ความตึงเครียดปะทุออกมาในเดือนมิถุนายน 1948 เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอังกฤษผู้จัดการสวนยาง 3 คนถูกคนเชื้อสายจีนฆ่า ทำให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้ตำรวจสามารถจับกุม, ลงโทษถึงขั้นวิสามัญฆาตกรรมได้โดยไม่ต้องขึ้นศาล
ภายในหนึ่งเดือนมีการจับกุมสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หลายร้อยคน และมีการประกาศให้พรรคผิดกฎหมาย สมาชิกพรรคจึงได้กลับไปรวมกันในป่า และก่อตั้งกลุ่มกองโจรต่อสู้อังกฤษขึ้น
ภาพแนบ: ตำรวจอังกฤษและมลายูสอบสวนชาวจีน
ในปี 1949 กลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ใช้ชื่อว่า “กองทัพปลดปล่อยประชาชนมลายู (MPLA)” โดยเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐคอมมิวนิสต์
พวกเขามีทหารประมาณ 4,000 คน ทำการตามป่าเขา และคอยลงมือซุ่มโจมตีตามถนนหรือรางรถไฟ โดยค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 17 ครั้งต่อเดือนมาถึง 100 ครั้งต่อเดือนเมื่อถึงปี 1950 นอกจากนี้ยังลงมือฆ่าข้าหลวงใหญ่อังกฤษ เซอร์เฮนรี เกอร์นี ได้ในปี 1952
ฝ่ายอังกฤษตอบโต้ด้วยการบังคับย้ายชาวบ้านเชื้อสายจีนออกจากชายป่าให้มาอยู่ในเขตกักกัน ซึ่งรวมแล้วมีชาวจีนช่องแคบราว 650,000 คนตกอยู่ในสภาพนี้ นอกจากนี้ทางการยังใช้วิธีควบคุมการขายอาหารอย่างเคร่งครัด และเผาหมู่บ้านที่ต้องสงสัยว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ด้วย
ภาพแนบ: ตวนกู อับดุลเราะห์มัน
ผลของกดขี่ของอังกฤษทำให้ชาวจีนช่องแคบประสบความลำบากมาก ทำให้คนออกห่างจากพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคต้องหันไปต่อสู้ผ่านทางสหภาพแรงงานกับพรรคอื่นๆ แทน
ในปี 1955 อังกฤษค่อยๆ มีกระบวนการให้เอกราชมาเลเซีย ตามกระแสปลดปล่อยชาติอาณานิคม ตอนนั้นมีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรก "ตวนกู อับดุลเราะห์มัน" ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย มีการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินมลายาด้วย
จินเป็งเป็นฝ่ายขอเจรจากับทางการมาเลเซีย แต่เมื่อพบกันอย่างเป็นทางการ ทั้งสองฝ่ายกลับเห็นไม่ตรงกันในเรื่องสถานะของ MCP โดยทางการอยากให้ยุบพรรค แต่จินเป็งขอให้เป็นพรรคถูกกฎหมาย ทำให้การเจรจาล้มเหลว และ MCP ต้องไปสู้รบในป่าเขาต่อ
ในช่วงปี 1957-1960 ทางการสามารถบีบ MCP ได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถติดสินบนผู้นำระดับสูงคนหนึ่งให้ยอมวางอาวุธได้ ต่อมาพื้นที่ “สีแดง” ของ MCP ลดลงจนเหลือเพียงพื้นที่ปฏิบัติการแถวชายแดนไทย-มาเลเซียเท่านั้น
*** ภาวะฉุกเฉินมลายา (รอบ 2) ***
พรรค MCP ใช้เวลา 8 ปี (1960-1968) ฟื้นกำลังและจัดระเบียบพรรคใหม่ พร้อมกับเรียนเอาเทคนิคการสู้รบแบบกองโจรเพิ่มเติมจากพวกเวียดนามเหนือ นอกจากนั้นพวกเขายังได้รับการสนับสนุนงบจากผู้นำจีนยุคนั้นคือเติ้งเสี่ยวผิง (ตั้งแต่ยังอยู่ใต้เหมาเจ๋อตงอยู่) จนมีกำลังกล้าแข็งขึ้น
ในช่วงนั้น MCP ได้เปรียบสามารถสังหารทหารฝ่ายรัฐบาลได้เป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้ชาวจีนช่องแคบที่ถูกกดดันด้วยนโยบายเลือกปฏิบัติมาเข้าร่วมด้วย รวมทั้งมีสมาชิกจากภาคใต้ของไทยมาขอสวามิภักดิ์ไม่น้อย
ภาพแนบ: ลีกวนยิวซับน้ำตาในพิธีลงนามข้อตกลงแยกสิงคโปร์ออกจากสหพันธรัฐมลายา
มีเรื่องที่ควรกล่าวถึงในช่วงเวลาเดียวกัน คือตอนนั้นมีความแตกแยกระหว่างชุมชนมลายูกับจีนทำให้เกิดการทะเลาะระหว่างพรรคอัมโน (United Malays National Organisation: UMNO) หรือองค์การมลายูรวมแห่งชาติ กับพรรคกิจประชา (People’s Action Party: PAP) ที่มีผู้นำเชื้อสายจีน นำไปสู่จลาจลด้วยเหตุเชื้อชาติ
สิ่งนี้ทำให้ชาวจีนช่องแคบจำนวนมากโดนผลักไสออกจากมาเลเซีย พวกเขาหลายคนรู้สึกเจ็บปวด เพราะการมีเชื้อสายจีนไม่ได้หมายความว่าเขารักมาเลเซียน้อยกว่าชาวมลายูทั้งหลาย
อย่างไรก็ตามการดังกล่าวทำให้ชาวจีนช่องแคบได้สร้างประเทศใหม่ของตนชื่อว่า “สาธารณรัฐสิงคโปร์”
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***