ว้า เอาความกล้ามาจากไหน ที่หาญกล้ารุกล้ำดินแดนไทยลองอ่านดู
(6 ธ.ค.67) ข่าวสำคัญเรื่องหนึ่งที่พี่น้องประชาชนคนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิดก็คือ ไทยต้องการให้สหรัฐว้า (กลุ่มว้าแดง) ถอนค่ายทหารของกองทัพสหรัฐว้า (The United Wa State Army : UWSA) 9 แห่งที่รุกล้ำดินแดนไทยออกไป แต่ทว่ากลุ่มว้าแดงกลับไม่ตอบสนองและเรียกร้องให้มีการเจรจาทวิภาคี เรื่องนี้กลายเป็นความท้าทายในภูมิภาค ประเด็นเรื่องปัญหายาเสพติดและปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ภายในประเทศเมียนมา ‘สหรัฐว้า’ เป็นเขตปกครองตนเองในเมียนมาอย่างเป็นทางการได้รับการประกาศโดยรัฐกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2010 ซึ่งรัฐบาลเมียนมาประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มชาติพันธุ์ว้าภายใต้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘เขตพิเศษว้า’ ดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐว้าอย่างเป็นอิสระโดยพฤตินัย เคยถูกควบคุมโดยตรงโดยกองทัพพม่าจนกระทั่งโอนไปยังสหรัฐว้าในเดือนมกราคม 2024
.
นานมาแล้วที่ชาติพันธุ์ว้ากระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ภูเขาในดินแดนพม่า (เมียนมาปัจจุบัน) โดยไม่มีการปกครองแบบรวมเป็นหนึ่ง ในช่วงราชวงศ์ชิงพื้นที่ดังกล่าวถูกแยกออกจากการควบคุมทางทหารของชนเผ่าไตภายใต้การปกครองของอังกฤษในพม่า ซึ่งไม่ได้ปกครองรัฐว้า และพรมแดนพม่ากับจีนก็ไม่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1940 ในช่วงสงครามกลางเมืองในจีน กองกำลังที่เหลือของกองทัพสาธารณรัฐจีน (พรรคก๊กมินตั๋ง) ได้ล่าถอยเข้ามายังดินแดนพม่า เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ายึดครองประเทศจีน กองกำลังของกองพลที่ 8 กองทัพที่ 237 กองพลที่ 93 และกองทัพที่ 26 ได้ยึดพื้นที่ในพม่าเป็นเวลาสองทศวรรษเพื่อเตรียมการโต้กลับพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ภายใต้แรงกดดันจากสหประชาชาติการโจมตีถูกยกเลิก และกองกำลังดังกล่าวเคลื่อนย้ายมายังทางภาคเหนือของประเทศไทย และต่อมาถูกส่งไปไต้หวัน อย่างไรก็ตามกองกำลังบางส่วนตัดสินใจที่จะอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวินต่อ กลายเป็นกลุ่มกองโจรชนเผ่าเข้าควบคุมพื้นที่โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า
.
ในช่วงทศวรรษ 1960 พรรคคอมมิวนิสต์พม่าสูญเสียฐานปฏิบัติการในพม่าตอนกลาง และด้วยความช่วยเหลือของคอมมิวนิสต์จีน จึงได้ขยายพื้นที่ในเขตชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเยาวชนปัญญาชนจำนวนมากจากจีนเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และกองกำลังเหล่านี้ยังรับเอาสมาชิกกองโจรในพื้นที่เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก พรรคคอมมิวนิสต์พม่าได้เข้าควบคุมเมืองปางคาม ซึ่งต่อมากลายเป็นฐานปฏิบัติการหลัก ตอนปลายทศวรรษ 1980 ชนกลุ่มน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าถูกแยกทางการเมืองจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (อันเป็นที่มาของชื่อ ‘กลุ่มว้าแดง’) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 1989 กองกำลังติดอาวุธของเป่าโหยวเซียง (Bao Youxiang) ประกาศแยกตัวจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่าและก่อตั้งพรรคสหชาติพันธุ์เมียนมา ซึ่งต่อมากลายเป็น ‘พรรคสหรัฐว้า’ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1989 กองทัพสหรัฐว้าได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบของรัฐซึ่งเข้ามาแทนที่ระบอบทหารของเนวิน หลังจากการลุกฮือ8888 หลังจากการหยุดยิง รัฐบาลเมียนมาเริ่มเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "เขตพิเศษรัฐฉานที่ 2 (เขตว้า)
.
ภายหลังการรัฐประหารในเมียนมาในปี 2021 สหรัฐว้าเริ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาโดยตรงมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากกลยุทธ์ 'การป้องกันล่วงหน้า' ไปเป็นการสนับสนุนกองกำลังต่อต้านรัฐบาลที่มีขนาดเล็กกว่าในด้านการทหาร ซึ่งควรจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพเมียนมาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและการทหารของพวกเขาไปยังเมียนมาตอนกลาง เมื่อการสู้รบในรัฐฉานทางตอนเหนือทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน 2023 สหรัฐว้าได้แสดงจุดยืนเป็นกลางโดยเรียกร้องให้มีการหยุดยิงในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 กองทัพสหรัฐว้าได้ระบุอีกครั้งว่าพวกเขาจะตอบโต้ต่อการดำเนินการทางทหารใด ๆ ที่มีต่อสหรัฐว้า
.
กองทัพสหรัฐว้า (UWSA) มี 'กองกำลัง' จำนวน 5 กองพลที่ประจำการตามแนวชายแดนไทย-พม่า ได้แก่ กองพลที่ 778 กองพลที่ 772 กองพลที่ 775 กองพลที่ 248 กองพลที่ 518 และประจำการตามชายแดนจีน-พม่าอีกสามหน่วยได้แก่ กองพลที่ 318 กองพลที่ 418 และ กองพลที่ 468 โดยกองทัพสหรัฐว้ามีกำลังพลประจำการ 30,000 นาย (แหล่งข่าวบางแหล่งระบุว่าอาจมีมากถึง 80,000 นาย) พร้อมกำลังเสริมอีก 10,000 นาย โดยเงินเดือนของทหารอยู่ที่ 60 หยวน (300 บาท) เท่านั้น ตามรายงานของ Jane's Intelligence Review เมื่อเดือนเมษายน 2008 จีนเป็นแหล่งสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์หลักให้กองทัพสหรัฐว้าแทนที่แหล่งอาวุธตลาดมืดดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทยและกัมพูชา การส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังกองทัพสหรัฐว้าจากจีนจะดำเนินการตามนโยบายระดับสูงสุดในกรุงปักกิ่ง
.
รายงานของ Jane's ในปี 2001 ระบุว่า กองทัพสหรัฐว้าได้จัดหาขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ (SAM) HN-5 N จากจีนอันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างฐานทัพใกล้ชายแดนไทย ซึ่งมีรายงานว่าที่ตั้งทางทหาร 40-50 แห่งที่ประจำการขีปนาวุธดังกล่าว ในเดือนพฤศจิกายน 2014 Jane’s รายงานเพิ่มเติมว่า กองทัพสหรัฐว้าได้จัดหาขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ FN-6 เพื่อมาแทนที่ HN-5N ที่ใช้งานอยู่ ซึ่งกองทัพสหรัฐว้าได้ปฏิเสธในทันที นอกจากนี้สหรัฐว้ายังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตอาวุธจีนและกลุ่มกบฏอื่น ๆ ในเมียนมา ในปี 2012 การสนับสนุนจากจีนเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นการจัดหายานเกราะจู่โจมแบบ PTL-02 6 × 6 ที่พบเห็นในเมือง Pangkham
.
29 เมษายน 2013 Jane's รายงานว่า จีนได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์แบบ Mil Mi-17 ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ TY-90 ให้กับกองทัพสหรัฐว้า แต่ถูกปฏิเสธจาก แหล่งข่าวทางทหารของจีน ไทย กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ของเมียนมา และกองทัพสหรัฐว้าเอง ในปี 2015 Jane's รายงานว่า ทหารของกองทัพสหรัฐว้าถูกถ่ายภาพขณะฝึกการใช้กับปืนใหญ่ Type 96 ขนาด 122 มม. และ ATGM HJ-8 ของจีน รายงานของ Jane’s ในเดือนธันวาคม 2008 ระบุว่า กองทัพสหรัฐว้าได้เริ่มมาผลิตอาวุธเองเพื่อเสริมรายได้จากการค้าอาวุธและยาเสพติด และเริ่มสายการผลิตอาวุธปืนแบบ AK- 47 สหรัฐว้ามีนโยบายการเกณฑ์ทหารโดยกำหนดให้ผู้ชายอย่างน้อย 1 คนในแต่ละครัวเรือนต้องประจำการในกองทัพสหรัฐว้าหรือหน่วยงานของสหรัฐว้า
.
ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2002 กองทัพสหรัฐว้าเคยปะทะกับกองทัพไทย และประสบความสูญเสียค่อนข้างหนักอันเนื่องมาจากอาวุธหนักจากฝ่ายไทย จนเป็นที่มาของคำกล่าวของทหารว้าที่ว่า “ทหารว้าไม่กลัวทหารไทยเลย ถ้ารบกันแบบเห็นตัว แต่ที่กลัวที่สุดคือ ปืนใหญ่ของไทย เพราะมาแบบไม่เห็นตัว” ปัญหาความมั่นคงจากสหรัฐว้าที่ไทยเผชิญอยู่ตลอดมาก็คือ การค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของสหรัฐว้า และมีความลักลอบลำเลียงเข้าไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมา และไทยได้พยายามปราบปรามภายในเขตแดนของประเทศตลอดมา ตอนที่ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก และทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีสถานการณ์ในลักษณะนี้แล้วครั้งหนึ่ง โดย พล.อ.สุรยุทธ์ เตรียมการส่งกำลังทหารม้าไปปฏิบัติการร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 แต่นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้นกลับบอกว่า กองทัพไทยทำเกินไป (กองทัพไทย Over-react) ทั้งที่ตอนนั้นมีกองกำลังว้าแดงอยู่ในสมการความขัดแย้งด้วย จึงไม่มีปฏิบัติการทางทหารในกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น และทำให้สหรัฐว้าแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน สำหรับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐว้าและไทยครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 อันเนื่องมาจากที่ตั้งของค่ายทหารของสหรัฐว้า 9 รุกล้ำดินแดนไทย และกองทัพไทยได้มีการกำหนดเส้นตายเอาไว้ว่าภายในวันที่ 18 ธันวาคม UWSA ต้องมีการรื้อถอนค่ายทหารออกและเคลื่อนกำลังออกจากดินแดนไทยให้หมด ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
https://www.facebook.com/share/p/12ChZ8StEPV/
เอาความกล้ามาจากไหน ที่หาญกล้ารุกล้ำดินแดนไทย
(6 ธ.ค.67) ข่าวสำคัญเรื่องหนึ่งที่พี่น้องประชาชนคนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิดก็คือ ไทยต้องการให้สหรัฐว้า (กลุ่มว้าแดง) ถอนค่ายทหารของกองทัพสหรัฐว้า (The United Wa State Army : UWSA) 9 แห่งที่รุกล้ำดินแดนไทยออกไป แต่ทว่ากลุ่มว้าแดงกลับไม่ตอบสนองและเรียกร้องให้มีการเจรจาทวิภาคี เรื่องนี้กลายเป็นความท้าทายในภูมิภาค ประเด็นเรื่องปัญหายาเสพติดและปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ภายในประเทศเมียนมา ‘สหรัฐว้า’ เป็นเขตปกครองตนเองในเมียนมาอย่างเป็นทางการได้รับการประกาศโดยรัฐกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2010 ซึ่งรัฐบาลเมียนมาประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มชาติพันธุ์ว้าภายใต้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘เขตพิเศษว้า’ ดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐว้าอย่างเป็นอิสระโดยพฤตินัย เคยถูกควบคุมโดยตรงโดยกองทัพพม่าจนกระทั่งโอนไปยังสหรัฐว้าในเดือนมกราคม 2024
.
นานมาแล้วที่ชาติพันธุ์ว้ากระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ภูเขาในดินแดนพม่า (เมียนมาปัจจุบัน) โดยไม่มีการปกครองแบบรวมเป็นหนึ่ง ในช่วงราชวงศ์ชิงพื้นที่ดังกล่าวถูกแยกออกจากการควบคุมทางทหารของชนเผ่าไตภายใต้การปกครองของอังกฤษในพม่า ซึ่งไม่ได้ปกครองรัฐว้า และพรมแดนพม่ากับจีนก็ไม่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1940 ในช่วงสงครามกลางเมืองในจีน กองกำลังที่เหลือของกองทัพสาธารณรัฐจีน (พรรคก๊กมินตั๋ง) ได้ล่าถอยเข้ามายังดินแดนพม่า เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ายึดครองประเทศจีน กองกำลังของกองพลที่ 8 กองทัพที่ 237 กองพลที่ 93 และกองทัพที่ 26 ได้ยึดพื้นที่ในพม่าเป็นเวลาสองทศวรรษเพื่อเตรียมการโต้กลับพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ภายใต้แรงกดดันจากสหประชาชาติการโจมตีถูกยกเลิก และกองกำลังดังกล่าวเคลื่อนย้ายมายังทางภาคเหนือของประเทศไทย และต่อมาถูกส่งไปไต้หวัน อย่างไรก็ตามกองกำลังบางส่วนตัดสินใจที่จะอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวินต่อ กลายเป็นกลุ่มกองโจรชนเผ่าเข้าควบคุมพื้นที่โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า
.
ในช่วงทศวรรษ 1960 พรรคคอมมิวนิสต์พม่าสูญเสียฐานปฏิบัติการในพม่าตอนกลาง และด้วยความช่วยเหลือของคอมมิวนิสต์จีน จึงได้ขยายพื้นที่ในเขตชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเยาวชนปัญญาชนจำนวนมากจากจีนเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และกองกำลังเหล่านี้ยังรับเอาสมาชิกกองโจรในพื้นที่เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก พรรคคอมมิวนิสต์พม่าได้เข้าควบคุมเมืองปางคาม ซึ่งต่อมากลายเป็นฐานปฏิบัติการหลัก ตอนปลายทศวรรษ 1980 ชนกลุ่มน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าถูกแยกทางการเมืองจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (อันเป็นที่มาของชื่อ ‘กลุ่มว้าแดง’) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 1989 กองกำลังติดอาวุธของเป่าโหยวเซียง (Bao Youxiang) ประกาศแยกตัวจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่าและก่อตั้งพรรคสหชาติพันธุ์เมียนมา ซึ่งต่อมากลายเป็น ‘พรรคสหรัฐว้า’ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1989 กองทัพสหรัฐว้าได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบของรัฐซึ่งเข้ามาแทนที่ระบอบทหารของเนวิน หลังจากการลุกฮือ8888 หลังจากการหยุดยิง รัฐบาลเมียนมาเริ่มเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "เขตพิเศษรัฐฉานที่ 2 (เขตว้า)
.
ภายหลังการรัฐประหารในเมียนมาในปี 2021 สหรัฐว้าเริ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาโดยตรงมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากกลยุทธ์ 'การป้องกันล่วงหน้า' ไปเป็นการสนับสนุนกองกำลังต่อต้านรัฐบาลที่มีขนาดเล็กกว่าในด้านการทหาร ซึ่งควรจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพเมียนมาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและการทหารของพวกเขาไปยังเมียนมาตอนกลาง เมื่อการสู้รบในรัฐฉานทางตอนเหนือทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน 2023 สหรัฐว้าได้แสดงจุดยืนเป็นกลางโดยเรียกร้องให้มีการหยุดยิงในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 กองทัพสหรัฐว้าได้ระบุอีกครั้งว่าพวกเขาจะตอบโต้ต่อการดำเนินการทางทหารใด ๆ ที่มีต่อสหรัฐว้า
.
กองทัพสหรัฐว้า (UWSA) มี 'กองกำลัง' จำนวน 5 กองพลที่ประจำการตามแนวชายแดนไทย-พม่า ได้แก่ กองพลที่ 778 กองพลที่ 772 กองพลที่ 775 กองพลที่ 248 กองพลที่ 518 และประจำการตามชายแดนจีน-พม่าอีกสามหน่วยได้แก่ กองพลที่ 318 กองพลที่ 418 และ กองพลที่ 468 โดยกองทัพสหรัฐว้ามีกำลังพลประจำการ 30,000 นาย (แหล่งข่าวบางแหล่งระบุว่าอาจมีมากถึง 80,000 นาย) พร้อมกำลังเสริมอีก 10,000 นาย โดยเงินเดือนของทหารอยู่ที่ 60 หยวน (300 บาท) เท่านั้น ตามรายงานของ Jane's Intelligence Review เมื่อเดือนเมษายน 2008 จีนเป็นแหล่งสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์หลักให้กองทัพสหรัฐว้าแทนที่แหล่งอาวุธตลาดมืดดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทยและกัมพูชา การส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังกองทัพสหรัฐว้าจากจีนจะดำเนินการตามนโยบายระดับสูงสุดในกรุงปักกิ่ง
.
รายงานของ Jane's ในปี 2001 ระบุว่า กองทัพสหรัฐว้าได้จัดหาขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ (SAM) HN-5 N จากจีนอันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างฐานทัพใกล้ชายแดนไทย ซึ่งมีรายงานว่าที่ตั้งทางทหาร 40-50 แห่งที่ประจำการขีปนาวุธดังกล่าว ในเดือนพฤศจิกายน 2014 Jane’s รายงานเพิ่มเติมว่า กองทัพสหรัฐว้าได้จัดหาขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ FN-6 เพื่อมาแทนที่ HN-5N ที่ใช้งานอยู่ ซึ่งกองทัพสหรัฐว้าได้ปฏิเสธในทันที นอกจากนี้สหรัฐว้ายังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตอาวุธจีนและกลุ่มกบฏอื่น ๆ ในเมียนมา ในปี 2012 การสนับสนุนจากจีนเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นการจัดหายานเกราะจู่โจมแบบ PTL-02 6 × 6 ที่พบเห็นในเมือง Pangkham
.
29 เมษายน 2013 Jane's รายงานว่า จีนได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์แบบ Mil Mi-17 ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ TY-90 ให้กับกองทัพสหรัฐว้า แต่ถูกปฏิเสธจาก แหล่งข่าวทางทหารของจีน ไทย กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ของเมียนมา และกองทัพสหรัฐว้าเอง ในปี 2015 Jane's รายงานว่า ทหารของกองทัพสหรัฐว้าถูกถ่ายภาพขณะฝึกการใช้กับปืนใหญ่ Type 96 ขนาด 122 มม. และ ATGM HJ-8 ของจีน รายงานของ Jane’s ในเดือนธันวาคม 2008 ระบุว่า กองทัพสหรัฐว้าได้เริ่มมาผลิตอาวุธเองเพื่อเสริมรายได้จากการค้าอาวุธและยาเสพติด และเริ่มสายการผลิตอาวุธปืนแบบ AK- 47 สหรัฐว้ามีนโยบายการเกณฑ์ทหารโดยกำหนดให้ผู้ชายอย่างน้อย 1 คนในแต่ละครัวเรือนต้องประจำการในกองทัพสหรัฐว้าหรือหน่วยงานของสหรัฐว้า
.
ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2002 กองทัพสหรัฐว้าเคยปะทะกับกองทัพไทย และประสบความสูญเสียค่อนข้างหนักอันเนื่องมาจากอาวุธหนักจากฝ่ายไทย จนเป็นที่มาของคำกล่าวของทหารว้าที่ว่า “ทหารว้าไม่กลัวทหารไทยเลย ถ้ารบกันแบบเห็นตัว แต่ที่กลัวที่สุดคือ ปืนใหญ่ของไทย เพราะมาแบบไม่เห็นตัว” ปัญหาความมั่นคงจากสหรัฐว้าที่ไทยเผชิญอยู่ตลอดมาก็คือ การค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของสหรัฐว้า และมีความลักลอบลำเลียงเข้าไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมา และไทยได้พยายามปราบปรามภายในเขตแดนของประเทศตลอดมา ตอนที่ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก และทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีสถานการณ์ในลักษณะนี้แล้วครั้งหนึ่ง โดย พล.อ.สุรยุทธ์ เตรียมการส่งกำลังทหารม้าไปปฏิบัติการร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 แต่นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้นกลับบอกว่า กองทัพไทยทำเกินไป (กองทัพไทย Over-react) ทั้งที่ตอนนั้นมีกองกำลังว้าแดงอยู่ในสมการความขัดแย้งด้วย จึงไม่มีปฏิบัติการทางทหารในกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น และทำให้สหรัฐว้าแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน สำหรับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐว้าและไทยครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 อันเนื่องมาจากที่ตั้งของค่ายทหารของสหรัฐว้า 9 รุกล้ำดินแดนไทย และกองทัพไทยได้มีการกำหนดเส้นตายเอาไว้ว่าภายในวันที่ 18 ธันวาคม UWSA ต้องมีการรื้อถอนค่ายทหารออกและเคลื่อนกำลังออกจากดินแดนไทยให้หมด ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
https://www.facebook.com/share/p/12ChZ8StEPV/