รัฐยะโฮร์ เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศมาเลเซีย เป็นรัฐเดียวของมาเลเซีย ที่ติดทั้งฝั่งช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้ จึงอำนวยต่อการค้า
รัฐยะโฮร์ มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของมาเลเซีย มีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของมาเลเซีย หากไม่นับฝั่งตะวันออก จะเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับก่อน
รัฐยะโฮร์ รวมถึงเมืองหลวงโจโฮร์บะห์รู เป็นรัฐและเมืองที่สำคัญมากที่สุดรัฐหนึ่งของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเกาะสิงคโปร์เพียงไม่กี่ กม.
รัฐยะโฮร์ เป็นรัฐเพียงแห่งเดียวในประเทศมาเลเซีย ที่มีกองกำลังเป็นของตัวเอง โดยเป็นกองกำลังส่วนพระองค์ขององค์สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์เอง
ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่รัฐยะโฮร์มีความพิเศษจนคิดแยกตัวจากมาเลเซียในฐานะรัฐอธิปไตย เช่นเดียวกับบรูไนดารุสสลามที่เคยทำมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน
ยะโฮร์เป็น 1 ใน 9 รัฐที่มีผู้ปกครองเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นรัฐมลายู แตกต่างกับอีก 4 รัฐที่มีเพียงแค่ผู้ว่าราชการรัฐหรือตัวแทน YDPA
แต่ในขณะที่ 8 ราชวงศ์ที่เหลือ ไม่มีปัญหากระทบกระทั่งกับรัฐบาลกลางใน KL ราชวงศ์ยะโฮร์ มักจะมีปัญหาอยู่ตลอดเป็นเนื่องๆ ในหลายปีหลังมานี้
ในเวลาไม่กี่ปีนี้ ราชสำนักยะโฮร์มีท่าทีก้าวร้าวต่อรัฐบาลมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้าสุลต่านแห่งยะโฮร์จะทรงไม่มีท่าทีใดๆ แต่ตรงกันข้ามกับพระราชโอรส
จุดเริ่มต้นเกิดจากที่มหาธีร์ตั้งประเด็นว่า ราชสำนักยะโฮร์นั้น พยายามหลีกเลี่ยงภาษีและพยายามฮุบที่ดิน จนส่งผลต่อภาพลักษณ์ของราชสำนักยะโฮร์
ไม่เพียงเท่านั้น มหาธีร์ ยังตั้งคำถามจากการที่ราชสำนักยะโฮร์ใช้อำนาจในการแต่งตั้งมุขมนตรีคนใหม่ จนมองว่าเป็นการใช้อำนาจในทางการเมืองไป
มหาธีร์ กับ ตุนกู อิสมาอิล อิดริส เปิดสงครามน้ำลายผ่านสื่ออย่างดุเดือด จนมหาธีร์ถึงกับสวนกันแรงไปเลยว่าตุนกูอิสมาอิลนั้น 'เป็นเด็กน้อยและโง่เง่า'
การถกเถียงผ่านสื่อ ยังทำให้ รายา ซาริท โซเฟีย พระมารดา ทรงทนไม่ไหว จนต้องออกมาแสดงความเป็นห่วงเป็นใยต่อพระราชโอรสว่าจะถูกรุมรังแก
ทั้งนี้ มองในแง่รวม ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ยะโฮร์มีท่าที่ที่ดูก้าวร้าวต่อรัฐบาล สาเหตุหนึ่งจากการที่เพราะผู้ปกครองต่างมีปัญหากับทางรัฐบาล
โดยมุมมองของยะโฮร์ มองว่ารัฐบาลเอาใจใส่และพัฒนารัฐยะโฮร์ได้ไม่ดีพอ และทำท่าทีว่ายะโฮร์เป็นเพียง "ลูกเลี้ยง" ของรัฐบาลกลางใน KL เท่านั้น
ในขณะที่มุมมองของรัฐบาลกลาง ทั้งในพรรคอัมโน และกลุ่ม PH ของมหาธีร์เองนั้น มองว่าราชสำนักนั้นพยายามตั้งแง่และท้าทายอำนาจของรัฐบาล
แต่หากมองอีกจุดหนึ่ง ยะโฮร์นั้นไม่เคยคิดจะรวมกับมาเลเซียเลย เพียงแต่สุลต่านอิสมาอิล สุลต่านองค์ที่ 3 เป็นผู้ที่ตั้งพระทัยให้รวมกับมาเลเซียเอง
ในขณะที่ก่อนหน้านี้ สุลต่านอิบราฮีม สุลต่านองค์ที่ 2 มีท่าทีไม่คิดจะรวมเข้ากับมาเลเซีย และต้องการจะให้ยะโฮร์มีเอกราชต่างหากเหมือนกับบรูไน
ไม่ว่าเป็นอย่างไรก็ตาม การคาดเดาจากหลายฝ่ายทำให้เชื่อว่า ยะโฮร์หลังยุคสุลต่านอิบราฮีม อิสมาอิล มีโอกาสสูงที่ยะโฮร์จะแยกตัวออกจากมาเลเซีย
สาเหตุหนึ่งที่เป็นเช่นนั้น เพราะก่อนหน้านี้ ตุนกู อิสมาอิล อิดริส มกุฎราชกุมาร มักตั้งคำถามและพูดประเด็นการแยกตัวของยะโฮร์จากมาเลเซียอยู่ตลอด
รวมถึงการที่มีสมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่น ได้แสดงท่าทีว่าต้องการแยกตัวด้วยการโพสต์รูปลง Instagram ส่วนพระองค์ว่าไม่ต้องการรวมกับมาเลเซีย
มองจากภาพรวม ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า การที่ราชสำนักยะโฮร์คิดแบบนั้น เพราะถูกแทรกแซงและถูกควบคุมจากรัฐบาลกลางมากเกินไปจนเป็นปัญหา
แต่สิ่งที่สามารถตัดสินได้ทุกอย่างก็คือ ประชาชนของรัฐยะโฮร์เอง ว่าจะเลือกอยู่กับยะโฮร์ต่อไป หรือว่าจะแยกตัวเป็นรัฐอธิปัตย์ใหม่ ไม่ขึ้นกับใครทั้งนั้น
โดยหากมีการแยกตัวจริง มาเลเซียจะสูญเสียพื้นที่ไปประมาณ 6% สูญเสีย GDP ประมาณ 7% แต่ก็ไม่ได้ถึงกับทำให้มาเลเซียต้องอับปางแต่อย่างใด
ในปัจจุบัน รัฐที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมมากที่สุดก็คือ รัฐสะลาโงร์ ด้วยเหตุผลที่เป็นรัฐล้อมรอบเมืองหลวงและศูนย์กลางรัฐบาล
แต่เนื่องจากด้วยฐานะของยะโฮร์ ที่ติดต่อกับสิงคโปร์ได้ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่มาเลเซีย อาจจะไม่ยอมให้ยะโฮร์ แยกตัวออกไปจากสหพันธรัฐได้ง่าย
ยะโฮร์ แยกตัวทำไม? ทำไมต้องแยกตัว? มีคำตอบ ..
รัฐยะโฮร์ มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของมาเลเซีย มีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของมาเลเซีย หากไม่นับฝั่งตะวันออก จะเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับก่อน
รัฐยะโฮร์ รวมถึงเมืองหลวงโจโฮร์บะห์รู เป็นรัฐและเมืองที่สำคัญมากที่สุดรัฐหนึ่งของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเกาะสิงคโปร์เพียงไม่กี่ กม.
รัฐยะโฮร์ เป็นรัฐเพียงแห่งเดียวในประเทศมาเลเซีย ที่มีกองกำลังเป็นของตัวเอง โดยเป็นกองกำลังส่วนพระองค์ขององค์สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์เอง
ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่รัฐยะโฮร์มีความพิเศษจนคิดแยกตัวจากมาเลเซียในฐานะรัฐอธิปไตย เช่นเดียวกับบรูไนดารุสสลามที่เคยทำมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน
ยะโฮร์เป็น 1 ใน 9 รัฐที่มีผู้ปกครองเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นรัฐมลายู แตกต่างกับอีก 4 รัฐที่มีเพียงแค่ผู้ว่าราชการรัฐหรือตัวแทน YDPA
แต่ในขณะที่ 8 ราชวงศ์ที่เหลือ ไม่มีปัญหากระทบกระทั่งกับรัฐบาลกลางใน KL ราชวงศ์ยะโฮร์ มักจะมีปัญหาอยู่ตลอดเป็นเนื่องๆ ในหลายปีหลังมานี้
ในเวลาไม่กี่ปีนี้ ราชสำนักยะโฮร์มีท่าทีก้าวร้าวต่อรัฐบาลมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้าสุลต่านแห่งยะโฮร์จะทรงไม่มีท่าทีใดๆ แต่ตรงกันข้ามกับพระราชโอรส
จุดเริ่มต้นเกิดจากที่มหาธีร์ตั้งประเด็นว่า ราชสำนักยะโฮร์นั้น พยายามหลีกเลี่ยงภาษีและพยายามฮุบที่ดิน จนส่งผลต่อภาพลักษณ์ของราชสำนักยะโฮร์
ไม่เพียงเท่านั้น มหาธีร์ ยังตั้งคำถามจากการที่ราชสำนักยะโฮร์ใช้อำนาจในการแต่งตั้งมุขมนตรีคนใหม่ จนมองว่าเป็นการใช้อำนาจในทางการเมืองไป
มหาธีร์ กับ ตุนกู อิสมาอิล อิดริส เปิดสงครามน้ำลายผ่านสื่ออย่างดุเดือด จนมหาธีร์ถึงกับสวนกันแรงไปเลยว่าตุนกูอิสมาอิลนั้น 'เป็นเด็กน้อยและโง่เง่า'
การถกเถียงผ่านสื่อ ยังทำให้ รายา ซาริท โซเฟีย พระมารดา ทรงทนไม่ไหว จนต้องออกมาแสดงความเป็นห่วงเป็นใยต่อพระราชโอรสว่าจะถูกรุมรังแก
ทั้งนี้ มองในแง่รวม ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ยะโฮร์มีท่าที่ที่ดูก้าวร้าวต่อรัฐบาล สาเหตุหนึ่งจากการที่เพราะผู้ปกครองต่างมีปัญหากับทางรัฐบาล
โดยมุมมองของยะโฮร์ มองว่ารัฐบาลเอาใจใส่และพัฒนารัฐยะโฮร์ได้ไม่ดีพอ และทำท่าทีว่ายะโฮร์เป็นเพียง "ลูกเลี้ยง" ของรัฐบาลกลางใน KL เท่านั้น
ในขณะที่มุมมองของรัฐบาลกลาง ทั้งในพรรคอัมโน และกลุ่ม PH ของมหาธีร์เองนั้น มองว่าราชสำนักนั้นพยายามตั้งแง่และท้าทายอำนาจของรัฐบาล
แต่หากมองอีกจุดหนึ่ง ยะโฮร์นั้นไม่เคยคิดจะรวมกับมาเลเซียเลย เพียงแต่สุลต่านอิสมาอิล สุลต่านองค์ที่ 3 เป็นผู้ที่ตั้งพระทัยให้รวมกับมาเลเซียเอง
ในขณะที่ก่อนหน้านี้ สุลต่านอิบราฮีม สุลต่านองค์ที่ 2 มีท่าทีไม่คิดจะรวมเข้ากับมาเลเซีย และต้องการจะให้ยะโฮร์มีเอกราชต่างหากเหมือนกับบรูไน
ไม่ว่าเป็นอย่างไรก็ตาม การคาดเดาจากหลายฝ่ายทำให้เชื่อว่า ยะโฮร์หลังยุคสุลต่านอิบราฮีม อิสมาอิล มีโอกาสสูงที่ยะโฮร์จะแยกตัวออกจากมาเลเซีย
สาเหตุหนึ่งที่เป็นเช่นนั้น เพราะก่อนหน้านี้ ตุนกู อิสมาอิล อิดริส มกุฎราชกุมาร มักตั้งคำถามและพูดประเด็นการแยกตัวของยะโฮร์จากมาเลเซียอยู่ตลอด
รวมถึงการที่มีสมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่น ได้แสดงท่าทีว่าต้องการแยกตัวด้วยการโพสต์รูปลง Instagram ส่วนพระองค์ว่าไม่ต้องการรวมกับมาเลเซีย
มองจากภาพรวม ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า การที่ราชสำนักยะโฮร์คิดแบบนั้น เพราะถูกแทรกแซงและถูกควบคุมจากรัฐบาลกลางมากเกินไปจนเป็นปัญหา
แต่สิ่งที่สามารถตัดสินได้ทุกอย่างก็คือ ประชาชนของรัฐยะโฮร์เอง ว่าจะเลือกอยู่กับยะโฮร์ต่อไป หรือว่าจะแยกตัวเป็นรัฐอธิปัตย์ใหม่ ไม่ขึ้นกับใครทั้งนั้น
โดยหากมีการแยกตัวจริง มาเลเซียจะสูญเสียพื้นที่ไปประมาณ 6% สูญเสีย GDP ประมาณ 7% แต่ก็ไม่ได้ถึงกับทำให้มาเลเซียต้องอับปางแต่อย่างใด
ในปัจจุบัน รัฐที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมมากที่สุดก็คือ รัฐสะลาโงร์ ด้วยเหตุผลที่เป็นรัฐล้อมรอบเมืองหลวงและศูนย์กลางรัฐบาล
แต่เนื่องจากด้วยฐานะของยะโฮร์ ที่ติดต่อกับสิงคโปร์ได้ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่มาเลเซีย อาจจะไม่ยอมให้ยะโฮร์ แยกตัวออกไปจากสหพันธรัฐได้ง่าย