อนาคต พม่ามีโอกาสแตกเป็นหลายประเทศ เหมือนยูโกสลาเวียไหม

ความขัดแย้งระหว่างทหารรัฐบาลพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เป็นสงครามที่ยึดเยื้อกินเวลาช้านาน นับตั้งแต่สมัยที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ.1948 ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติภายในพม่าซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นสงครามกลางเมืองนี้ อาจนับถอยหลังไปได้จนถึงสมัยพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ.1824 เป็นต้นมา



สาเหตุความขัดแย้งมีหลายประเด็น
►[ประเด็นแรก: ก่อนพม่าจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษอย่างสมบูรณ์ ในปี ค.ศ.1886 อังกฤษได้ผนวกพม่าและดินแดนของชนกลุ่มน้อยต่างๆ เข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ซึ่งอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมในขณะนั้น  รัฐบาลอังกฤษซึ่งเข้ามาปกครองพม่าโดยใช้นโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง” (divide and rule) เพราะอังกฤษได้แบ่งแยกรัฐของกลุ่มน้อยออกจากรัฐของชาวพม่า และใช้ระบบการปกครองที่ต่างกันออกเป็น 2 ส่วนคือ “พม่าแท้” (Burma proper) กับ “เขตชายแดน” (Frontier Areas)
►อังกฤษถอนตัวออกจากพม่าอย่างกะทันหัน พร้อมกับทิ้งปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ให้รัฐบาลกลางของพม่าซึ่งเข้ามารับภาระหน้าที่แทนผู้นำรัฐบาลพม่าในช่วงที่ได้รับอิสรภาพแล้ว
►นับตั้งแต่นายพลออง ซาน   อู นุ และนายพลเนวิน ต่างก็มีทัศนคติต่อการรวมชาติและความเป็นเอกภาพในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่าที่แตกต่างกันออกไป
►สงครามกลางเมืองที่ได้เริ่มก่อตัวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 จนถึงช่วงวิกฤตในทศวรรษที่ 1960
►นับแต่นั้นมา พม่าก็ได้กลายเป็นดินแดนแห่งการสู้รบระหว่างรัฐบาลกลางกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
►ประเด็นต่อมา จากสภาพภูมิประเทศซึ่งแยกชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ออกจากกัน ด้วยเทือกเขาสูง ป่าทึบและแม่น้ำ
►อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยการคงเอกลักษณ์เด่นของตนไว้ ไม่มีการผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้และการยอมรับซึ่งกันและกัน
►ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อย ได้กลายสภาพเป็นปัญหาที่บั่นทอนความมั่นคงและเอกภาพของรัฐ
►ดังนั้นความจำเป็นของรัฐบาลพม่าในการที่จะธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพของรัฐด้วยการทำสงครามสยบกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ และได้กลายเป็นภารกิจความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเชิงนโยบายเป็นสำคัญอันดับแรกของประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่