ประวัติศาสตร์มลายูของกระทู้นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องราวในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น จะไม่มีการพูดถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมาเลเซียตะวันออก หรือ เกาะบอร์เนียวโดยตรง ดังนั้นเนื้อหาในกระทู้นี้จึงเน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับคาบสมุทรมลายูเท่านั้น
อาณาจักรมะละกาในยุคที่รุ่งเรืองสุดขีด
ช่วงเวลาหนึ่งที่บรรดารัฐมลายูทั้งในคาบสมุทรและหมู่เกาะต่างๆ ต่างแยกจากกัน ได้ปรากฎชื่อของเกาะเทอะมาเสิก (Temasek) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรมลายู หรือพูดง่ายๆก็คือเป็นเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบัน
.
เกาะสิงคโปร์ แต่เดิมเป็นอาณาจักรฮินดูของพวกมลายูฮินดูเช่นเดียวกับอีกหลายอาณาจักรในโลกมลายูโดยมีชื่อว่า อาณาจักรสิงคปุระ โดยผู้สถาปนาอาณาจักรสิงคปุระคือ สัง นีละ อุตามะ (Sang Nila Utama) โดยได้มีการปกครองมาประมาณ 5 ชั่วคน ประมาณศตวรรษหนึ่ง จนกระทั่งถึงช่วงเวลาของพระปรเมศวร (Parameswara; 1400-1414) กษัตริย์องค์สุดท้ายของสิงคปุระ ก็หนีการรุกรานจากพวกมัชปาหิต จึงได้อพยพมาตั้งอยู่ ณ ทางทิศตะวันตกของคาบสมุทร ริมแม่น้ำเบร์ตัม (หรือแม่น้ำมะละกาในปัจจุบัน) โดยได้สถาปนาเมืองใหม่ ณ ที่นั้น กลายเป็นเมืองมะละกา ว่ากันว่า การที่พระปรเมศวรต้องหนีมาตั้งเมืองใหม่ เนื่องจากได้ทำการลงโทษพระสนมที่ทำการลักลอบคบชายอื่นด้วยการเปลื้องผ้าประจาน จึงทำให้บิดาของนางทนไม่ไหว ส่งคำขอให้กษัตริย์มัชปาหิตจัดการยึดเมืองสิงคปุระเสีย
.
ว่ากันว่า เมื่อพระปรเมศวรได้มาถึงมะละกา ได้เห็นกระจงหลอกล่อให้หมาป่าจมลงน้ำไป ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า่ "ที่นี้ช่างวิเศษนัก แม้แต่กระจงก็ยังดูน่าเกรงขาม การตั้งอาณาจักรลงที่นี้น่าจะดีที่สุด" ว่ากันว่าพระองค์ดูกระจงใต้ต้นมะขามป้อม (Pokok Melaka) จึงทำให้เมืองมะละกาได้ชื่อนี้มา บ้างก็ว่าเป็นชื่อจากอาหรับ คือ Malakat เนื่องมาจากความเป็นเมืองท่าค้าขาย
.
พระองค์ได้ดำเนินความเป็นเมืองท่าด้วยการให้ชาวอูรักลาโว้ย (Orang Laut) เป็นผู้นำทางการค้าขายมาสู่พระองค์ โดยการปราบปรามโจรสลัดและชักชวนพ่อค้าเดินเรือให้มาค้าขายกับอาณาจักรมะละกา เมื่อมะละกาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้จีนได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและได้ส่งแม่ทัพเจิ้งเหอเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีด้วย ในรัชกาลต่อมา คือ มะกัต อิสกันดาร์ ชาห์ (Megat Iskandar Shah; 1414-1424) ได้เริ่มมีการขยายอำนาจไปทั่วคาบสมุทรมลายูและสร้างความเจริญจนใกล้เคียงกับอาณาจักรอยุธยาในเวลาใกล้เคียงกัน
.
ในรัชกาลที่ 3 ของ ราชาตังกาห์ (Raja Tengah) ได้ปรากฎหมอสอนศาสนาอาหรับชื่อ ซัยยิด อับดุล อาซิซ (Saiyid Abdul Aziz) มาทำการเผยแพร่ศาสนาถึงราชสำนักมะละกา ราชาตังกาห์เกิดความเลื่อมใส่ในศาสนาอิสลาม จึงทำการเปลี่ยนศาสนา และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองทั้งหมดเป็นแบบอิสลาม รวมไปถึงได้เปลี่ยนพระยศจากราชาเป็นสุลต่าน เปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่าน มูฮัมหมัด ชาห์ (Sultan Muhammad Shah; 1424-1444) ในขณะที่อาณาจักรมะละกาได้เติบโตขึ้น ได้มีการร่างกฏหมายนาวีมะละกา (Undang-Undang Laut Melaka) ขึ้นเพื่อเป็นกฏสำหรับการปกครองโดยกลุ่มพ่อค้าเรือ นอกจากนี้ ได้มีการคิดค้นชุดประจำชาติขึ้น ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อว่า บาจูมลายู (Baju Melayu)
.
ในยุคต่อมา เป็นยุคของยุวกษัตริย์ ราชาอิบราฮีม (Raja Ibrahim) ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนศาสนาตามพระบิดาด้วย เพียงแต่ใช้พระนามแบบอิสลามว่า อาบู ชาฮีด ชาห์ (Abu Syahid Shah; 1444-1446) และใช้พระนามแบบฮินดูว่า ราชา ศรีปรเมศวรเทว ชาห์ (Raja Sri Parameswara Dewa Shah) ซึ่งหลังจากที่ขึ้นครองราชย์เพียง 17 เดือน พระองค์ก็ถูกโค่นจากบัลลังก์และถูกสำเร็จโทษ พระเชษฐา ราชากาซิม (Raja Kasim) ขึ้นครองราชย์เป็น สุลต่าน มูซัฟฟาร์ ชาห์ (Sultan Muzaffar Shah) ในเวลานั้น อยุธยาได้พยายามขยายอำนาจลงมายังอาณาจักรมะละกาแต่ก็ถูกหยุดยั้งไว้ได้โดย ราชาตุนปรัก (Raja Tun Perak) เจ้าเมืองกลัง (Klang - ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐสลังโงร์) ซึ่งจะกลายเป็นกำลังสำคัญต่ออาณาจักรมะละกาในเวลาต่อมา
ภาพในจินตนาการของพระราชวังมะละกาในยุคที่รุ่งเรืองสุดขีด
ในยุคของสุลต่าน มันซูร์ ชาห์ (Sultan Mansur Shah; 1459-1477) ได้มีความรุ่งเรืองสุดขีดทั้งอำนาจการปกครองและการค้าขาย โดยได้เข้ายึดครองอาณาจักรปาหัง และยึดครองบรรดาเมืองของมัชปาหิตในเกาะสุมาตราได้หลายเมือง หนึ่งในนักรบที่มีชื่อเสียงที่สุดของมะละกา คือ หัง ตูวะห์ (Hang Tuah) มีความสามารถพูดได้ 12 ภาษาและมีความชำนาญในการใช้สารพัดอาวุธเป็นอย่างดีจนได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพเรือ นอกจากนี้ มะละกายังมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยสู้ดีนักกับอันนามในเวลานั้นเนื่องจากการรุกรานอาณาจักรจามปา อันนามได้ทำการจับทูตมะละกาที่ไปเยือนจีนโดยการตอนผู้ที่ยังเป็นหนุ่มและใช้เป็นทาส มะละกามองว่าอันนามเป็นอาณาจักรของจีน จึงได้ร้องเรียนถึงจีนให้จัดการอันนาม โดยจีนได้อนุญาตให้มะละกาตอบโต้พวกอันนามได้
.
หลังจากยุคของสุลต่านมันซูร์ มะละกายังครองความยิ่งใหญ่ได้ สุลต่าน อลาอุดดิน เรียยัต ชาห์ (Sultan Alauddin Riayat Shah; 1477-1488) ยังสามารถรักษาความสงบสุขของอาณาจักรได้แม้จะมีการต่อต้านจากพวกตรังกานู ต่อมา สุลต่าน มาห์มูด ชาห์ (Sultan Mahmud Shah; 1488-1511) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา และยังได้ยึดครองอาณาจักรกลันตันในปี 1506
.
เวลาต่อมา โปรตุเกสส่ง ดีโอโก โลเปซ เด เซเกวร่า (Diogo Lopes de Sequeira) เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี แต่ถูกกลุ่มทมิฬมุสลิมในราชสำนักมองว่าเป็นพวกนอกรีต จึงได้ประกาศกระทำสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกโปรตุเกส โชคดีที่เด เซเกวร่า สามารถหนีมาจากมะละกาได้ทัน ขณะที่ลูกเรือที่เหลือ ถูกมะละกาจับกุมเป็นทาส โปรตุเกสจึงตัดสินใจโจมตีมะละกา โดยในตอนแรกได้เพียงแค่ขอปล่อยนักโทษที่เป็นพวกตนคืนประกอบกับการหยั่งเชิงความแข็งแกร่งของป้อมปราการของมะละกา หลังจากที่เกิดความล้มเหลวหลายครั้ง โปรตุเกสจึงตัดสินใจติดสินบนผู้เฝ้าป้อมปราการของมะละกาไว้และเข้ารุกรานเมืองมะละกา ถือเป็นจุดสิ้นสุดของเมืองมะละกาในปี 1511 สุลต่าน อาหมัด ชาห์ (Sultan Ahmad Shah; 1511-1513) ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาที่สละราชสมบัติ ได้ถูกพระบิดาแทงจนสิ้นพระชนม์เพราะไม่สามารถรักษามะละกาไว้ได้ ส่วนสุลต่าน มาห์มูด ชาห์ พระบิดา ได้อพยพจากมูวะห์ (Muar) ยะโฮร์ (Johor) และท้ายที่สุดได้ทรงหนีไปที่เมืองกัมปาร์ (Kampar) เกาะสุมาตรา และได้สิ้นพระชนม์ลง
.
ภายหลังการล้มสลาย ได้มีทั้งการฟื้นฟูอาณาจักรเก่าและการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมาหลายแห่ง หนึ่งในอาณาจักรที่ถือว่าสืบต่อเนื่องมาจากอาณาจักรมะละกาโดยตรง คือ อาณาจักรปรัก (Perak) ซึ่งสถาปนาโดยสุลต่าน มูซัฟฟาร์ ชาห์ และ อาณาจักรยะโฮร์ ซึ่งสถาปนาโดยสุลต่าน อลาอุดดิน เรียยัต ชาห์ ที่ 2 (Alauddin Riayat Shah II) ซึ่งได้มีอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้
.
โปรดติดตาม <--ตอนที่ 3:มลายูยุคอาณานิคม-->
ประวัติศาสตร์มลายู ตอนที่ 2 : อาณาจักรมะละกา
ช่วงเวลาหนึ่งที่บรรดารัฐมลายูทั้งในคาบสมุทรและหมู่เกาะต่างๆ ต่างแยกจากกัน ได้ปรากฎชื่อของเกาะเทอะมาเสิก (Temasek) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรมลายู หรือพูดง่ายๆก็คือเป็นเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบัน
.
เกาะสิงคโปร์ แต่เดิมเป็นอาณาจักรฮินดูของพวกมลายูฮินดูเช่นเดียวกับอีกหลายอาณาจักรในโลกมลายูโดยมีชื่อว่า อาณาจักรสิงคปุระ โดยผู้สถาปนาอาณาจักรสิงคปุระคือ สัง นีละ อุตามะ (Sang Nila Utama) โดยได้มีการปกครองมาประมาณ 5 ชั่วคน ประมาณศตวรรษหนึ่ง จนกระทั่งถึงช่วงเวลาของพระปรเมศวร (Parameswara; 1400-1414) กษัตริย์องค์สุดท้ายของสิงคปุระ ก็หนีการรุกรานจากพวกมัชปาหิต จึงได้อพยพมาตั้งอยู่ ณ ทางทิศตะวันตกของคาบสมุทร ริมแม่น้ำเบร์ตัม (หรือแม่น้ำมะละกาในปัจจุบัน) โดยได้สถาปนาเมืองใหม่ ณ ที่นั้น กลายเป็นเมืองมะละกา ว่ากันว่า การที่พระปรเมศวรต้องหนีมาตั้งเมืองใหม่ เนื่องจากได้ทำการลงโทษพระสนมที่ทำการลักลอบคบชายอื่นด้วยการเปลื้องผ้าประจาน จึงทำให้บิดาของนางทนไม่ไหว ส่งคำขอให้กษัตริย์มัชปาหิตจัดการยึดเมืองสิงคปุระเสีย
.
ว่ากันว่า เมื่อพระปรเมศวรได้มาถึงมะละกา ได้เห็นกระจงหลอกล่อให้หมาป่าจมลงน้ำไป ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า่ "ที่นี้ช่างวิเศษนัก แม้แต่กระจงก็ยังดูน่าเกรงขาม การตั้งอาณาจักรลงที่นี้น่าจะดีที่สุด" ว่ากันว่าพระองค์ดูกระจงใต้ต้นมะขามป้อม (Pokok Melaka) จึงทำให้เมืองมะละกาได้ชื่อนี้มา บ้างก็ว่าเป็นชื่อจากอาหรับ คือ Malakat เนื่องมาจากความเป็นเมืองท่าค้าขาย
.
พระองค์ได้ดำเนินความเป็นเมืองท่าด้วยการให้ชาวอูรักลาโว้ย (Orang Laut) เป็นผู้นำทางการค้าขายมาสู่พระองค์ โดยการปราบปรามโจรสลัดและชักชวนพ่อค้าเดินเรือให้มาค้าขายกับอาณาจักรมะละกา เมื่อมะละกาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้จีนได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและได้ส่งแม่ทัพเจิ้งเหอเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีด้วย ในรัชกาลต่อมา คือ มะกัต อิสกันดาร์ ชาห์ (Megat Iskandar Shah; 1414-1424) ได้เริ่มมีการขยายอำนาจไปทั่วคาบสมุทรมลายูและสร้างความเจริญจนใกล้เคียงกับอาณาจักรอยุธยาในเวลาใกล้เคียงกัน
.
ในรัชกาลที่ 3 ของ ราชาตังกาห์ (Raja Tengah) ได้ปรากฎหมอสอนศาสนาอาหรับชื่อ ซัยยิด อับดุล อาซิซ (Saiyid Abdul Aziz) มาทำการเผยแพร่ศาสนาถึงราชสำนักมะละกา ราชาตังกาห์เกิดความเลื่อมใส่ในศาสนาอิสลาม จึงทำการเปลี่ยนศาสนา และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองทั้งหมดเป็นแบบอิสลาม รวมไปถึงได้เปลี่ยนพระยศจากราชาเป็นสุลต่าน เปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่าน มูฮัมหมัด ชาห์ (Sultan Muhammad Shah; 1424-1444) ในขณะที่อาณาจักรมะละกาได้เติบโตขึ้น ได้มีการร่างกฏหมายนาวีมะละกา (Undang-Undang Laut Melaka) ขึ้นเพื่อเป็นกฏสำหรับการปกครองโดยกลุ่มพ่อค้าเรือ นอกจากนี้ ได้มีการคิดค้นชุดประจำชาติขึ้น ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อว่า บาจูมลายู (Baju Melayu)
.
ในยุคต่อมา เป็นยุคของยุวกษัตริย์ ราชาอิบราฮีม (Raja Ibrahim) ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนศาสนาตามพระบิดาด้วย เพียงแต่ใช้พระนามแบบอิสลามว่า อาบู ชาฮีด ชาห์ (Abu Syahid Shah; 1444-1446) และใช้พระนามแบบฮินดูว่า ราชา ศรีปรเมศวรเทว ชาห์ (Raja Sri Parameswara Dewa Shah) ซึ่งหลังจากที่ขึ้นครองราชย์เพียง 17 เดือน พระองค์ก็ถูกโค่นจากบัลลังก์และถูกสำเร็จโทษ พระเชษฐา ราชากาซิม (Raja Kasim) ขึ้นครองราชย์เป็น สุลต่าน มูซัฟฟาร์ ชาห์ (Sultan Muzaffar Shah) ในเวลานั้น อยุธยาได้พยายามขยายอำนาจลงมายังอาณาจักรมะละกาแต่ก็ถูกหยุดยั้งไว้ได้โดย ราชาตุนปรัก (Raja Tun Perak) เจ้าเมืองกลัง (Klang - ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐสลังโงร์) ซึ่งจะกลายเป็นกำลังสำคัญต่ออาณาจักรมะละกาในเวลาต่อมา
ในยุคของสุลต่าน มันซูร์ ชาห์ (Sultan Mansur Shah; 1459-1477) ได้มีความรุ่งเรืองสุดขีดทั้งอำนาจการปกครองและการค้าขาย โดยได้เข้ายึดครองอาณาจักรปาหัง และยึดครองบรรดาเมืองของมัชปาหิตในเกาะสุมาตราได้หลายเมือง หนึ่งในนักรบที่มีชื่อเสียงที่สุดของมะละกา คือ หัง ตูวะห์ (Hang Tuah) มีความสามารถพูดได้ 12 ภาษาและมีความชำนาญในการใช้สารพัดอาวุธเป็นอย่างดีจนได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพเรือ นอกจากนี้ มะละกายังมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยสู้ดีนักกับอันนามในเวลานั้นเนื่องจากการรุกรานอาณาจักรจามปา อันนามได้ทำการจับทูตมะละกาที่ไปเยือนจีนโดยการตอนผู้ที่ยังเป็นหนุ่มและใช้เป็นทาส มะละกามองว่าอันนามเป็นอาณาจักรของจีน จึงได้ร้องเรียนถึงจีนให้จัดการอันนาม โดยจีนได้อนุญาตให้มะละกาตอบโต้พวกอันนามได้
.
หลังจากยุคของสุลต่านมันซูร์ มะละกายังครองความยิ่งใหญ่ได้ สุลต่าน อลาอุดดิน เรียยัต ชาห์ (Sultan Alauddin Riayat Shah; 1477-1488) ยังสามารถรักษาความสงบสุขของอาณาจักรได้แม้จะมีการต่อต้านจากพวกตรังกานู ต่อมา สุลต่าน มาห์มูด ชาห์ (Sultan Mahmud Shah; 1488-1511) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา และยังได้ยึดครองอาณาจักรกลันตันในปี 1506
.
เวลาต่อมา โปรตุเกสส่ง ดีโอโก โลเปซ เด เซเกวร่า (Diogo Lopes de Sequeira) เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี แต่ถูกกลุ่มทมิฬมุสลิมในราชสำนักมองว่าเป็นพวกนอกรีต จึงได้ประกาศกระทำสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกโปรตุเกส โชคดีที่เด เซเกวร่า สามารถหนีมาจากมะละกาได้ทัน ขณะที่ลูกเรือที่เหลือ ถูกมะละกาจับกุมเป็นทาส โปรตุเกสจึงตัดสินใจโจมตีมะละกา โดยในตอนแรกได้เพียงแค่ขอปล่อยนักโทษที่เป็นพวกตนคืนประกอบกับการหยั่งเชิงความแข็งแกร่งของป้อมปราการของมะละกา หลังจากที่เกิดความล้มเหลวหลายครั้ง โปรตุเกสจึงตัดสินใจติดสินบนผู้เฝ้าป้อมปราการของมะละกาไว้และเข้ารุกรานเมืองมะละกา ถือเป็นจุดสิ้นสุดของเมืองมะละกาในปี 1511 สุลต่าน อาหมัด ชาห์ (Sultan Ahmad Shah; 1511-1513) ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาที่สละราชสมบัติ ได้ถูกพระบิดาแทงจนสิ้นพระชนม์เพราะไม่สามารถรักษามะละกาไว้ได้ ส่วนสุลต่าน มาห์มูด ชาห์ พระบิดา ได้อพยพจากมูวะห์ (Muar) ยะโฮร์ (Johor) และท้ายที่สุดได้ทรงหนีไปที่เมืองกัมปาร์ (Kampar) เกาะสุมาตรา และได้สิ้นพระชนม์ลง
.
ภายหลังการล้มสลาย ได้มีทั้งการฟื้นฟูอาณาจักรเก่าและการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมาหลายแห่ง หนึ่งในอาณาจักรที่ถือว่าสืบต่อเนื่องมาจากอาณาจักรมะละกาโดยตรง คือ อาณาจักรปรัก (Perak) ซึ่งสถาปนาโดยสุลต่าน มูซัฟฟาร์ ชาห์ และ อาณาจักรยะโฮร์ ซึ่งสถาปนาโดยสุลต่าน อลาอุดดิน เรียยัต ชาห์ ที่ 2 (Alauddin Riayat Shah II) ซึ่งได้มีอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้
.
โปรดติดตาม <--ตอนที่ 3:มลายูยุคอาณานิคม-->