จิต ส่วนที่หมายถึงจิตตสังขาร มีความหมายถึง สิ่งปรุงแต่งอันเกิดแต่จิต ท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้
1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม คือมโนสังขาร (การกระทำทางใจเช่นความคิด)
ดังนั้น จิตตสังขารหรือจิตสังขาร จึงมีความหมายครอบคลุมถึงทั้งเวทนา,สัญญาและมโนสังขาร
และมักเรียกกันย่อๆว่าจิตบ้าง
ดังคำว่า เห็นจิต ดูจิต จิตเห็นจิต สติเห็นจิต
ต่างล้วนหมายถึงการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิตตสังขาร
ที่ครอบคลุมทั้งเวทนา,สัญญา และมโนสังขารคือความคิดนึก
ที่ประกอบด้วยอาการของจิต
เช่นโทสะ โมหะ ราคะ ฟุ้งซ่าน หดหู่ ฯลฯ.เหล่านี้นี่เอง
บางครั้งบางท่านจึงมีความสับสนในการสื่อ
ไปพยายามหาจิต ดูจิต ไปหมายมั่นเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าเป็นจิตขึ้น
หรือไปหมายถึงจิตที่หมายถึงวิญญาณว่ามีตัวตน(อัตตา)
ทั้งๆที่จิตไม่มีตัวตนเพราะความที่เป็นอนัตตา
ที่เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งคือเกิดการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและภายนอก
จิตตสังขารไม่ใช่จิต
จิตตสังขารไม่ใช่จิต
1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม คือมโนสังขาร (การกระทำทางใจเช่นความคิด)
ดังนั้น จิตตสังขารหรือจิตสังขาร จึงมีความหมายครอบคลุมถึงทั้งเวทนา,สัญญาและมโนสังขาร
และมักเรียกกันย่อๆว่าจิตบ้าง
ดังคำว่า เห็นจิต ดูจิต จิตเห็นจิต สติเห็นจิต
ต่างล้วนหมายถึงการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิตตสังขาร
ที่ครอบคลุมทั้งเวทนา,สัญญา และมโนสังขารคือความคิดนึก
ที่ประกอบด้วยอาการของจิต
เช่นโทสะ โมหะ ราคะ ฟุ้งซ่าน หดหู่ ฯลฯ.เหล่านี้นี่เอง
บางครั้งบางท่านจึงมีความสับสนในการสื่อ
ไปพยายามหาจิต ดูจิต ไปหมายมั่นเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าเป็นจิตขึ้น
หรือไปหมายถึงจิตที่หมายถึงวิญญาณว่ามีตัวตน(อัตตา)
ทั้งๆที่จิตไม่มีตัวตนเพราะความที่เป็นอนัตตา
ที่เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งคือเกิดการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและภายนอก
จิตตสังขารไม่ใช่จิต