จิตตสังขารคือจิตหรือ?

 จิตตสังขาร  
        จิต ส่วนที่หมายถึงจิตตสังขาร
 มีความหมายถึง สิ่งปรุงแต่งอันเกิดแต่จิต
 ท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้
        1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
(จขกท-ถ้าจิตตสังขารเป็นจิตแสดงว่าจิตเป็นขันธ์5เพราะมีสัญญาและเวทนาและสังขาร)

        2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่
เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม คือมโนสังขาร (การกระทำทางใจเช่นความคิด)

        ดังนั้น จิตตสังขารหรือจิตสังขาร(จขกท-สังขารคือเจตสิค52)
จึงมีความหมายครอบคลุมถึงทั้งเวทนา,สัญญาและมโนสังขาร  
และมักเรียกกันย่อๆว่า
จิตบ้าง ดังคำว่า เห็นจิต  ดูจิต  จิตเห็นจิต  สติเห็นจิต

ต่างล้วนหมายถึงการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิตตสังขาร
 ที่ครอบคลุมทั้งเวทนา,สัญญา และมโนสังขาร
(จขกท-จิตเห็นขันธ์5 ฉนั้นจิตคือขันธ์5)
คือความคิดนึกที่ประกอบด้วยอาการของจิต
เช่นโทสะ โมหะ ราคะ ฟุ้งซ่าน หดหู่ ฯลฯ.เหล่านี้นี่เอง  
 บางครั้งบางท่านจึงมีความสับสนในการสื่อ
ไปพยายามหาจิต ดูจิต ไปหมายมั่นเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าเป็นจิตขึ้น

สังขาร หมายถึงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น
หรือสิ่งที่เกิดแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นมาทั้งหลายทั้งปวง  
จึงมีความหมายที่กว้างขวางครอบคลุมแทบทุกสรรพสิ่ง
ยกเว้นแต่เพียงอสังขตธรรมอันเป็นเพียงสภาวะ 
กล่าวคือสภาวธรรมหรือสภาวะของธรรมชาติ ดังเช่น
พระนิพพานหรือนิพพานธรรม 

สังขารในขันธ์ ๕ ที่หมายถึง สังขารขันธ์ จึงมีความหมายว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุ อันคือขันธ์ต่างๆมาเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกัน
จึงยังให้เกิดผลอันคือสังขารขันธ์ที่หมายถึงการกระทำต่างๆ  
 ดังนั้นจิตตสังขารจึงหมายถึง สิ่งปรุงแต่งทางจิตหรือใจ
แล้วแสดงออกมาทางการกระทำต่างๆ 
 ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ พวกใหญ่ๆ คือ
การกระทำทางกาย(กายสังขาร) ๑.  
 ทางวาจา(วจีสังขาร) ๑.   
และทางใจ(จิตสังขาร,จิตตสังขาร,มโนสังขาร) ๑.   
 (อย่าไปสับสน กับที่มีผู้ใช้คำว่า สังขารในภาษาไทยหรือโลกิยะ ที่ใช้กันโดยทั่วไป
หมายถึงสังขารกายหรือสังขารของกายคือร่างกายคือรูปหรือรูปขันธ์ก็มี
 เมื่อพิจารณาธรรมจึงมักสับสนเอนเอียงฝักใฝ่ไปคอยเข้าใจอยู่ในทีโดยไม่รู้ตัวว่า
เป็นสังขารร่างกายแต่ฝ่ายเดียวตามความเห็นความเข้าใจอันคือทิฏฐิทางโลก จึงไม่สามารถเห็นธรรม)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่