กสิกรชี้ 3ปัจจัยลบ-ปลดแรงงาน 1แสนคนสิ้นปีนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ 3ปัจจัยกดภาคการผลิตปลดคนสิ้นปีราว 1แสนตำแหน่ง “เงินบาทแข็ง-เศรษฐกิจโลกไม่ดีและMPIติดลบ 3%คาดปีหน้าจ่อปลดอีก 3หมื่น-พร้อมปรับคาดการณ์จีดีพีปีนี้เหลือ2.5%ส่วนปี63หวังรัฐเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณทันไตรมาส1
นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัดระบุว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย(จีดีพี)ในปี 2562 เหลือโต 2.5% จากเดิม 2.8% ส่วนการส่งออกติดลบ 2.5% จากปัจจัยผลกระทบทั้งจากการเจรจาทางการค้าและเงินบาทที่แข็งค่าซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปในปีหน้าซึ่งคาดการณ์จีดีพีจะขยายตัวที่ 2.7%(2.5-3.0%) บนสมมติฐานสามารถผลักดันพรบ. งบประมาณประจำปี 2563 ภายในไตรมาส 1 แต่หากล่าช้าออกไปไตรมาส 2 จะกระทบต่อการลงทุนภาครัฐ ที่สำคัญทางนโยบายการคลังและนโยบายการเงินจะต้องร่วมกัน เพื่อประคองเศรษฐกิจเพื่อประคองเศรษฐกิจ และภาคส่งออกขยายตัวติดลบ1.0% สำหรับไตรมาส4จะขยายตัวได้ 2.6%ซึ่งมาตรการรัฐจะช่วยประคองการบริโภคและการเบิกจ่ายภาครัฐยังหดตัว
อย่างไรก็ตาม ปีหน้ายังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมือง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถผ่านร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 ย่อมทำให้การเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณใหม่สู่ระบบเศรษฐกิจล่าช้า ซึ่งมีโอกาสจีดีพีจะต่ำกว่ากรอบล่างของประมาณการที่ 2.5%
“ปีหน้า 2แรงคือนโยบายการคลังและนโยบายการเงินต้องผสานกันเพื่อประคองเศรษฐกิจเพราะนโยบายการคลังยังขึ้นอยู่กับรัฐว่าจะเร่งกระบวนการผ่านกฎหมายได้หรือไม่ และหากเศรษฐกิจไตรมาส4ยังชะลอตัวเชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีโอกาสจะปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม2563และยังมีเครื่องมือนโยบายการเงินที่จะช่วยประชาชนลดต้นทุนทางการเงินด้วย”
ส่วนประเด็นค่าเงินบาทนั้นมีโอกาสแข็งค่าโดยเฉพาะไตรมาสแรก แต่ทั้งปีเงินบาทสวิงทั้ง 2ทางกรณีเงินบาทเฉลี่ยที่ 30บาทต่อดอลลาร์ทั้งปีซึ่งเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากปีนี้ 3.8%ซึ่งเท่ากับกำไรผู้ส่งออกหายไปในทันทีโดยที่ทุกอย่างคงที่ นอกจากนี้หากสงครามทางการค้ายังไม่ฟื้นตามตลาดคาดหวังจะส่งผลต่อกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม(MPI)สิ้นปี62ติดลบประมาณ 3% ส่วนปีหน้าถ้าเงินบาทยังแข็งค่า เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอนMPIมีโอกาสจะติดลบ 1 ถึง 1.0% เป็นการติดลบเป็นปีที่ 2ติดต่อกันซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าMPIติดลบ 1%หมายความว่า คำสั่งซื้อชะลอลงต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลภาคการผลิตปรับตัวโดยลดการผลิตหรือลดการจ้างงานจนกระทั่งปิดกิจการ
ทั้งนี้ ช่วง 10เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผู้มีงานทำเฉพาะภาคการผลิตปรับลดลงแล้ว 7หมื่นตำแหน่งคาดว่าทั้งปีจะปรับลดราว 1แสนตำแหน่ง โดยกรณีเงินบาทแข็งอยู่ที่ 30บาทต่อดอลลาร์ เศรษฐกิจโลกไม่ดี MPIติดลบ 1% ตำแหน่งงานของภาคการผลิตมีโอกาสจะหายเพิ่มอีก 3หมื่นตำแหน่ง สำหรับปัจจัยค่าเงินและเศรษฐกิจนั้นจะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร,รถยนต์ ,การท่องเที่ยวรวมถึงภาคการค้าส่งและค้าปลีก. ยกเว้น ภาคบริการ เช่นการท่องเที่ยว หรือการค้าปลีกออนไลน์-โรงพยาบาลและโลจิสติกส์ที่ยังมีแนวโน้มดี
นางสาวเกวลิน หวังพิชญกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า ปีหน้าธุรกิจธนาคารพาณิชย์เจอโจทย์หิน 4เรื่องอาทิ สินเชื่อขยายตัวจำกัดเพียง 3.5%โดยคาดหวังสินเชื่อรายใหญ่ยังไปได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่โตจากปีนี้ไปมากแล้ว
ด้านคุณภาพสินเชื่อ(NPL)ยังเป็นโจทย์ยากที่อาจจะอยู่ที่ 3.1%หลังจากสิ้นปีนี้อยู่ที่ปะมาณ 3% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM)ขึ้นอยู่กับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถ้าปรับเพียงขาเดียวตอนนี้อยู่ที่ 2.8%ผลกระทบเงินกู้จะอยู่ที่8-9%และรายได้จากดอกเบี้ยและรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมกรอบเติบโตยังจำกัดอาจจะต่ำกว่า 1.0%จากปีนี้อยู่ที่กว่า 1.0%นอกจากนี้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังเจอโจทย์จากที่อยู่อาศัยยังคงมียอดขายสะสมประมาณ 2แสนยูนิตซึ่งต้องใช้เวลา 2ปีขึ้นไปในการระบายออกเนื่องจากสภาวะตลาดไม่เอื้อ
“สำหรับปัจจัยค่าเงินและเศรษฐกิจนั้นจะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร,รถยนต์ ,การท่องเที่ยวรวมถึงภาคการค้าส่งและค้าปลีก. ยกเว้น ภาคบริการ เช่นการท่องเที่ยว หรือการค้าปลีกออนไลน์-โรงพยาบาลและโลจิสติกส์ที่ยังมีแนวโน้มดี
https://www.thansettakij.com/content/money_market/416407?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral
กสิกรชี้ 3ปัจจัยลบ-ปลดแรงงาน 1แสนคนสิ้นปีนี้
กสิกรชี้ 3ปัจจัยลบ-ปลดแรงงาน 1แสนคนสิ้นปีนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ 3ปัจจัยกดภาคการผลิตปลดคนสิ้นปีราว 1แสนตำแหน่ง “เงินบาทแข็ง-เศรษฐกิจโลกไม่ดีและMPIติดลบ 3%คาดปีหน้าจ่อปลดอีก 3หมื่น-พร้อมปรับคาดการณ์จีดีพีปีนี้เหลือ2.5%ส่วนปี63หวังรัฐเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณทันไตรมาส1
นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัดระบุว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย(จีดีพี)ในปี 2562 เหลือโต 2.5% จากเดิม 2.8% ส่วนการส่งออกติดลบ 2.5% จากปัจจัยผลกระทบทั้งจากการเจรจาทางการค้าและเงินบาทที่แข็งค่าซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปในปีหน้าซึ่งคาดการณ์จีดีพีจะขยายตัวที่ 2.7%(2.5-3.0%) บนสมมติฐานสามารถผลักดันพรบ. งบประมาณประจำปี 2563 ภายในไตรมาส 1 แต่หากล่าช้าออกไปไตรมาส 2 จะกระทบต่อการลงทุนภาครัฐ ที่สำคัญทางนโยบายการคลังและนโยบายการเงินจะต้องร่วมกัน เพื่อประคองเศรษฐกิจเพื่อประคองเศรษฐกิจ และภาคส่งออกขยายตัวติดลบ1.0% สำหรับไตรมาส4จะขยายตัวได้ 2.6%ซึ่งมาตรการรัฐจะช่วยประคองการบริโภคและการเบิกจ่ายภาครัฐยังหดตัว
อย่างไรก็ตาม ปีหน้ายังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมือง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถผ่านร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 ย่อมทำให้การเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณใหม่สู่ระบบเศรษฐกิจล่าช้า ซึ่งมีโอกาสจีดีพีจะต่ำกว่ากรอบล่างของประมาณการที่ 2.5%
“ปีหน้า 2แรงคือนโยบายการคลังและนโยบายการเงินต้องผสานกันเพื่อประคองเศรษฐกิจเพราะนโยบายการคลังยังขึ้นอยู่กับรัฐว่าจะเร่งกระบวนการผ่านกฎหมายได้หรือไม่ และหากเศรษฐกิจไตรมาส4ยังชะลอตัวเชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีโอกาสจะปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม2563และยังมีเครื่องมือนโยบายการเงินที่จะช่วยประชาชนลดต้นทุนทางการเงินด้วย”
ส่วนประเด็นค่าเงินบาทนั้นมีโอกาสแข็งค่าโดยเฉพาะไตรมาสแรก แต่ทั้งปีเงินบาทสวิงทั้ง 2ทางกรณีเงินบาทเฉลี่ยที่ 30บาทต่อดอลลาร์ทั้งปีซึ่งเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากปีนี้ 3.8%ซึ่งเท่ากับกำไรผู้ส่งออกหายไปในทันทีโดยที่ทุกอย่างคงที่ นอกจากนี้หากสงครามทางการค้ายังไม่ฟื้นตามตลาดคาดหวังจะส่งผลต่อกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม(MPI)สิ้นปี62ติดลบประมาณ 3% ส่วนปีหน้าถ้าเงินบาทยังแข็งค่า เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอนMPIมีโอกาสจะติดลบ 1 ถึง 1.0% เป็นการติดลบเป็นปีที่ 2ติดต่อกันซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าMPIติดลบ 1%หมายความว่า คำสั่งซื้อชะลอลงต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลภาคการผลิตปรับตัวโดยลดการผลิตหรือลดการจ้างงานจนกระทั่งปิดกิจการ
ทั้งนี้ ช่วง 10เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผู้มีงานทำเฉพาะภาคการผลิตปรับลดลงแล้ว 7หมื่นตำแหน่งคาดว่าทั้งปีจะปรับลดราว 1แสนตำแหน่ง โดยกรณีเงินบาทแข็งอยู่ที่ 30บาทต่อดอลลาร์ เศรษฐกิจโลกไม่ดี MPIติดลบ 1% ตำแหน่งงานของภาคการผลิตมีโอกาสจะหายเพิ่มอีก 3หมื่นตำแหน่ง สำหรับปัจจัยค่าเงินและเศรษฐกิจนั้นจะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร,รถยนต์ ,การท่องเที่ยวรวมถึงภาคการค้าส่งและค้าปลีก. ยกเว้น ภาคบริการ เช่นการท่องเที่ยว หรือการค้าปลีกออนไลน์-โรงพยาบาลและโลจิสติกส์ที่ยังมีแนวโน้มดี
นางสาวเกวลิน หวังพิชญกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า ปีหน้าธุรกิจธนาคารพาณิชย์เจอโจทย์หิน 4เรื่องอาทิ สินเชื่อขยายตัวจำกัดเพียง 3.5%โดยคาดหวังสินเชื่อรายใหญ่ยังไปได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่โตจากปีนี้ไปมากแล้ว
ด้านคุณภาพสินเชื่อ(NPL)ยังเป็นโจทย์ยากที่อาจจะอยู่ที่ 3.1%หลังจากสิ้นปีนี้อยู่ที่ปะมาณ 3% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM)ขึ้นอยู่กับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถ้าปรับเพียงขาเดียวตอนนี้อยู่ที่ 2.8%ผลกระทบเงินกู้จะอยู่ที่8-9%และรายได้จากดอกเบี้ยและรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมกรอบเติบโตยังจำกัดอาจจะต่ำกว่า 1.0%จากปีนี้อยู่ที่กว่า 1.0%นอกจากนี้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังเจอโจทย์จากที่อยู่อาศัยยังคงมียอดขายสะสมประมาณ 2แสนยูนิตซึ่งต้องใช้เวลา 2ปีขึ้นไปในการระบายออกเนื่องจากสภาวะตลาดไม่เอื้อ
“สำหรับปัจจัยค่าเงินและเศรษฐกิจนั้นจะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร,รถยนต์ ,การท่องเที่ยวรวมถึงภาคการค้าส่งและค้าปลีก. ยกเว้น ภาคบริการ เช่นการท่องเที่ยว หรือการค้าปลีกออนไลน์-โรงพยาบาลและโลจิสติกส์ที่ยังมีแนวโน้มดี
https://www.thansettakij.com/content/money_market/416407?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral