เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://mgronline.com/daily/detail/9680000003012?tbref=hp
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เป็นที่รับรู้กันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วว่า อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังมีปัญหา ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการผลิตที่ลดน้อยลงไปกว่าเดิมเยอะมาก แต่ที่ทำให้สะพรึงหนักไปกว่าเก่าก็คือ ข้อมูลที่ออกมาจากปากของ “ปิติ ดิษยทัต” รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ให้สัมภาษณ์ว่า “จะกระทบถึงแรงงานกว่า 1 ล้านคน”
แม้จะไม่ได้ลงในรายละเอียดว่าจะกระทบในลักษณะไหน แต่ก็พอจะอนุมานไปถึงการจ้างงานที่จะต้องลดลงตามไปด้วยตามกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ดี รองผู้ว่าฯ ปิติได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก รวมถึงไทย ต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัจจัยเฉพาะ อีกทั้งในระยะต่อไปก็มีความท้าทายค่อนข้างมาก ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมี 2 แง่ คือ ในแง่มูลค่าเพิ่มหรือสัดส่วนของจีดีพีคงไม่สูงมากนักในภาพรวม แต่ในแง่ของแรงงานจะผลกระทบมากกว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน
“ต้องจับตาดูว่า จะกระทบต่อตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยและอำนาจซื้อมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถือเป็นความท้าทายเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมๆ หนึ่ง”รองผู้ว่าฯ ธปท.ให้ความเห็น
จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2566 มีสัดส่วน 8.2%ของภาคอุตสาหกรรม และ 2.0% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)และ 15.6% ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งก็ไม่ได้กระทบต่อจีพีดีของประเทศเยอะมากอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าไว้
ทว่า การกระทบต่อตัวเลขต่อตัวเลขการจับจ่ายใช้สอบและอำนาจซื้อนั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะต้องยอมรับว่า อัตราค่าจ้างของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น อยู่ในระดับที่สูงพอสมควร
อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่เรื่อง “แรงงาน” เท่านั้น รองผู้ว่าฯ ปิติยังเปิดเผยถึงเรื่องตัวเลขสินเชื่อเช่าซื้อในภาคธุรกิจยานยนต์ด้วยว่า ตัวเลขจริงในปี 2567 จะออกมาติดลบ หลังจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3/2567 หดตัว -7.7% ขณะที่ในปี 2568 สถานการณ์อาจจะปรับดีขึ้นบ้าง แต่ก็อาจจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่าจะปรับตัวดีขึ้นแค่ไหน ซึ่งมีสัญญาณบางอย่างเริ่มทรงตัว ทั้งราคารถมือสองและยอดขายรถที่เริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ดียังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว
สำหรับภาพรวมของปี 2568 ก่อนหน้านี้บรรดากูรูในภาคอุตสาหกรรมนี้ มีการณ์คาดการณ์ว่า แนวโน้มยอดขายรถยนต์ในประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง และต้องติดตามแนวโน้มราคารถยนต์มือสองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะส่งผลต่อทั้งการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินและเงินดาวน์สำหรับซื้อรถใหม่
แม้ว่าผู้ประกอบการบางส่วนคาดว่าราคารถยนต์มือสองจะปรับดีขึ้น เนื่องจากปริมาณรถถูกยึดเข้าลานประมูลน้อยลงในช่วงปลายปี 2567 แต่ยังมีปัจจัยที่ไม่แน่นอน อาทิ การแข่งขันด้านราคาของรถยนต์ EV ที่อาจรุนแรงขึ้น และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2568
ที่น่าสนใจคือ มีการคาดการณ์ว่าปี 2568 ยอดขาย รถกระบะ จะฟื้นตัวได้ช้ากว่า รถยนต์นั่ง เนื่องจากรายได้ของผู้ซื้อรถกระบะจะยังฟื้นตัวช้า อีกทั้งความต้องการลงทุนซื้อรถกระบะในธุรกิจก่อสร้างน่าจะยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัว แม้จะมีปัจจัยบวกจากปริมาณงานก่อสร้างโครงการภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งมีโอกาสขยายตัวได้จากความนิยมรถยนต์ไฮบริด (Hybrid) ที่มากขึ้น และกลุ่มลูกค้าหลักยังคงมีกาลังซื้อค่อนข้างสูง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 ยังคงต้องเหนื่อย และคิดว่าจะยังอยู่ในสภาวะที่ขาลง โดยมี 2 ปัจจัย คือ
1. รัฐบาลต้องแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนซึ่งส่งผลกระทบต่อการที่สถาบันทางการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ ดังนั้น ภาครัฐจะต้องเร่งขับเคลื่อนเพื่อทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจ
2. ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีราคาไม่แพงและรูปโฉมดีไซน์ที่ดีและมีทางเลือกหลายแบรนด์ราคาถูกประหยัด อีกทั้ง ดวยเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมต่างให้ความสำคัญต่อนโยบายลดโลกร้อน จึงนิยมใช้รถ EV และรถสาธารณะ
อ่านต่อที่นี่
https://mgronline.com/daily/detail/9680000003012?tbref=hp
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอ่อนแรง กระทบถึงแรงงานกว่า 1 ล้านคน
https://mgronline.com/daily/detail/9680000003012?tbref=hp
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เป็นที่รับรู้กันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วว่า อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังมีปัญหา ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการผลิตที่ลดน้อยลงไปกว่าเดิมเยอะมาก แต่ที่ทำให้สะพรึงหนักไปกว่าเก่าก็คือ ข้อมูลที่ออกมาจากปากของ “ปิติ ดิษยทัต” รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ให้สัมภาษณ์ว่า “จะกระทบถึงแรงงานกว่า 1 ล้านคน”
แม้จะไม่ได้ลงในรายละเอียดว่าจะกระทบในลักษณะไหน แต่ก็พอจะอนุมานไปถึงการจ้างงานที่จะต้องลดลงตามไปด้วยตามกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ดี รองผู้ว่าฯ ปิติได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก รวมถึงไทย ต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัจจัยเฉพาะ อีกทั้งในระยะต่อไปก็มีความท้าทายค่อนข้างมาก ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมี 2 แง่ คือ ในแง่มูลค่าเพิ่มหรือสัดส่วนของจีดีพีคงไม่สูงมากนักในภาพรวม แต่ในแง่ของแรงงานจะผลกระทบมากกว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน
“ต้องจับตาดูว่า จะกระทบต่อตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยและอำนาจซื้อมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถือเป็นความท้าทายเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมๆ หนึ่ง”รองผู้ว่าฯ ธปท.ให้ความเห็น
จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2566 มีสัดส่วน 8.2%ของภาคอุตสาหกรรม และ 2.0% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)และ 15.6% ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งก็ไม่ได้กระทบต่อจีพีดีของประเทศเยอะมากอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าไว้
ทว่า การกระทบต่อตัวเลขต่อตัวเลขการจับจ่ายใช้สอบและอำนาจซื้อนั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะต้องยอมรับว่า อัตราค่าจ้างของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น อยู่ในระดับที่สูงพอสมควร
อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่เรื่อง “แรงงาน” เท่านั้น รองผู้ว่าฯ ปิติยังเปิดเผยถึงเรื่องตัวเลขสินเชื่อเช่าซื้อในภาคธุรกิจยานยนต์ด้วยว่า ตัวเลขจริงในปี 2567 จะออกมาติดลบ หลังจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3/2567 หดตัว -7.7% ขณะที่ในปี 2568 สถานการณ์อาจจะปรับดีขึ้นบ้าง แต่ก็อาจจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่าจะปรับตัวดีขึ้นแค่ไหน ซึ่งมีสัญญาณบางอย่างเริ่มทรงตัว ทั้งราคารถมือสองและยอดขายรถที่เริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ดียังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว
สำหรับภาพรวมของปี 2568 ก่อนหน้านี้บรรดากูรูในภาคอุตสาหกรรมนี้ มีการณ์คาดการณ์ว่า แนวโน้มยอดขายรถยนต์ในประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง และต้องติดตามแนวโน้มราคารถยนต์มือสองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะส่งผลต่อทั้งการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินและเงินดาวน์สำหรับซื้อรถใหม่
แม้ว่าผู้ประกอบการบางส่วนคาดว่าราคารถยนต์มือสองจะปรับดีขึ้น เนื่องจากปริมาณรถถูกยึดเข้าลานประมูลน้อยลงในช่วงปลายปี 2567 แต่ยังมีปัจจัยที่ไม่แน่นอน อาทิ การแข่งขันด้านราคาของรถยนต์ EV ที่อาจรุนแรงขึ้น และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2568
ที่น่าสนใจคือ มีการคาดการณ์ว่าปี 2568 ยอดขาย รถกระบะ จะฟื้นตัวได้ช้ากว่า รถยนต์นั่ง เนื่องจากรายได้ของผู้ซื้อรถกระบะจะยังฟื้นตัวช้า อีกทั้งความต้องการลงทุนซื้อรถกระบะในธุรกิจก่อสร้างน่าจะยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัว แม้จะมีปัจจัยบวกจากปริมาณงานก่อสร้างโครงการภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งมีโอกาสขยายตัวได้จากความนิยมรถยนต์ไฮบริด (Hybrid) ที่มากขึ้น และกลุ่มลูกค้าหลักยังคงมีกาลังซื้อค่อนข้างสูง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 ยังคงต้องเหนื่อย และคิดว่าจะยังอยู่ในสภาวะที่ขาลง โดยมี 2 ปัจจัย คือ
1. รัฐบาลต้องแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนซึ่งส่งผลกระทบต่อการที่สถาบันทางการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ ดังนั้น ภาครัฐจะต้องเร่งขับเคลื่อนเพื่อทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจ
2. ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีราคาไม่แพงและรูปโฉมดีไซน์ที่ดีและมีทางเลือกหลายแบรนด์ราคาถูกประหยัด อีกทั้ง ดวยเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมต่างให้ความสำคัญต่อนโยบายลดโลกร้อน จึงนิยมใช้รถ EV และรถสาธารณะ
อ่านต่อที่นี่ https://mgronline.com/daily/detail/9680000003012?tbref=hp