จับตา สศช.แถลง GDP ไตรมาส 1 20 พ.ค.“ทีดีอาร์ไอ” คาดเจอแรงกดดันเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ หนี้ครัวเรือนสูง CIMB ไทย-KKP หวั่นติดลบเสี่ยงเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค “กสิกรไทย” คาดจีดีพีเสี่ยงต่ำกว่าคาด เตรียมปรับGDPทั้งปีเหลือ 2.5% ปัจจัยบวกเหลือแค่ท่องเที่ยว
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2567 รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 ในที่ 20 พ.ค.2567 โดยการแถลงครั้งที่ผ่านมา สศช.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัว 2.2-3.2% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจาก 1.9% ในปี 2566
ทั้งนี้ ต้องจับตาการแถลงตัวเลขของ สศช.ว่าไตรมาส 1 เศรษฐกิจจะขยายมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากมีการขยายตัวต่ำมากอาจนำไปสู่การปรับลดประมาณการปี 2567 ทั้งปีลงหรือไม่
รวมทั้งก่อนหน้านี้หลายหน่วยงานเศรษฐกิจปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2567 โดยสำนักเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดเหลือ 2.4% จากประมาณการเดิม 2.8% และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับลงมาที่ 2.2-2.7% ในการแถลงครั้งล่าสุด
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ถือว่าเผชิญปัจจัยลบทางเศรษฐกิจหลายประการ การส่งออกสินค้าและการผลิตที่ฟื้นตัวได้ช้า มูลค่าการส่งออกสินค้าไตรมาส 1 ติดลบ 0.2% หลังจากที่เดือน มี.ค.การส่งออกหดตัว 10.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยลบต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยทำให้แนวโน้มการส่งออกจะเติบโตได้น้อยกว่าที่คาด
ส่วนภาคการผลิตเป็นอีกปัจจัยที่จะฉุดเศรษฐกิจไทย โดยการแถลงล่าสุด 7 พ.ค.2567 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มี.ค.2567 อยู่ที่ระดับ 104.06 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39%
ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 100.85 หดตัวเฉลี่ย 3.65% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 60.45% ซึ่งกำลังการผลิตที่หดตัวต่อเนื่องทำให้การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนที่จะขยายการลงทุนยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับเครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจอีกตัว คือ ภาคท่องเที่ยวถึงแม้ปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้นนักท่องเที่ยวช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 มียอดสะสม 9.4 ล้านคน แต่การใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว (Spending per Head) ยังต่ำกว่าปี 2562 โดยใช้จ่ายอยู่ที่ 45,760 บาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าปี 2562 ราย 4.5% จากค่าเฉลี่ย 47,895 บาท
“ทีดีอาร์ไอ” ชี้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ไม่ค่อยมีปัจจัยบวกมากนัก เพราะเผชิญแรงกดดันปัจจัยเสี่ยงทั้งภายนอกและภายใน และปัจจัยบวกจากท่องเที่ยวช่วยได้แค่บางส่วน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายนอกเผชิญทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กระทบการส่งออกสินค้าของไทย และความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออก
รวมทั้งไทยกำลังเผชิญกับคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามที่ค่าแรงถูกกว่า ส่งผลให้ไทยสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า ส่งผลต่อการลงทุนภาครัฐ ชะลอการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ท่องเที่ยวช่วยจีดีพีไม่มากมีสัดส่วนเพียง 18%
นอกจากนี้ ช่วงที่ผ่านมาขาดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมและชัดเจน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและผู้บริโภค ส่วนภาคเอกชนยังอยู่โหมดระบายของเก่าการลงทุนเพิ่มยังไม่มีเพราะยังไม่มั่นใจลงทุนใหม่ เช่นเดียวกับหนี้ครัวเรือนสูงที่สูงจึงเป็นภาระต่อประชาชนชะลอการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ซึ่งปัจจัยทั้งหมดส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ส่วนภาคการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยบวกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกปีนี้ แต่แม้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แต่มีน้ำหนักใน GDP เพียง 15-18% เท่านั้น อาจไม่ชดเชยปัจจัยเสี่ยงอื่นได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอคาดว่าปี 2567 เศรษฐกิจจะขยายตัว 2.5% ซึ่งยังไม่รวมปัจจัยมาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตปลายปี ซึ่งอาจล่าช้าและหากแจกในช่วงปลายปีก็จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีหน้า
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า คาดการณ์เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 จะขยายตัว 0.6% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และขยายตัว 0.8% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมาจากเศรษฐกิจแผ่วลง การบริโภคชะลอตัว คนกังวลหนี้ครัวเรือนสูงต่อเนื่อง
อีกทั้งปัจจัยหลักมาจากงบประมาณรายจ่ายที่เบิกจ่ายไม่ได้ ส่งผลให้การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวแรงไตรมาส 1 เช่นเดียวกันการบริโภคและการลงทุนเอกชนที่ชะลอตัว
เครื่องยนต์หลักเศรษฐกิจไทยมาจากภาคการท่องเที่ยวแม้ปรับตัวขึ้น แต่การใช้จ่ายต่อหัวลดลง ซึ่งอาจไม่เป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วเหมือนที่คาด ดังนั้นเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ภาวะซึม
อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจไทย ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดได้ โดยเฉพาะภาคการผลิตและการลงทุนลดลงกว่าคาดจากการสต็อกสินค้าที่ลดลง เช่นเดียวกันต่างประเทศที่กำลังการผลิตลดลง ดังนั้นถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้หากผลกระทบเหล่านี้มากกว่าคาด การผลิตการลดลงมาก รวมถึงการลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยอาจติดลบ ต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีก่อน ทำให้เศรษฐกิจไทยอาจเข้าภาวะ “ถดถอยทางเทคนิค” หรือ Technical Recession จึงน่ากังวล
แต่ยังไม่ถือว่าเศรษฐกิจเข้าภาวะวิกฤติเพียงแต่ขยายตัวชะลอลงทางเทคนิคเท่านั้น จากภาคการผลิตและการลงทุนภาครัฐที่หดตัวมาก จากการขาดงบประมาณ
“เศรษฐกิจไทยอ่อนแอกว่าคาดและมีโอกาสไตรมาส 1 จะต่ำกว่าประเมินไว้ได้ หากผลกระทบจากภาคการผลิตจากสินค้าคงคลังหายไปกว่าคาด และงบประมาณรัฐหายไปมากกว่าคาด แต่ยังยืนอยู่ที่ 2.3% เหมือนที่ประเมินไว้ทั้งปี เพราะประเมินไว้ต่ำแล้วหากเทียบกับที่อื่น”
เสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่าคาด
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า หากคาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาสแรกจะขยายตัวอยู่ที่ 0.8% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ 0.5% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่มีความเสี่ยง หากเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกแย่กว่าคาด หรือเสี่ยงติดลบ เศรษฐกิจไทยอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคได้
แต่การถดถอยทางเทคนิค ถือเป็นเพียงช่วงๆนั้นๆจากการเบิกจ่ายภาครัฐที่หายไปในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งไตรมาส2ปัจจัยลบนี้จะหายไป ดังนั้นแม้เศรษฐกิจไทยจะติดลบก็ไม่ได้น่าห่วงมากนัก เพราะมาจากปัจจัยเฉพาะ ไม่ได้เหมือนอดีต ที่มาจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าห่วงถัดไปในระยะข้างหน้า ที่ต้องจับตาใกล้ชิดคือ ภาคการผลิต และภาคการเกษตรว่าจะกลับมาได้หรือไม่ เพราะหากไม่กลับมาในไตรมาส2เป็นต้นไป จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการผลิต ที่วันนี้เศรษฐกิจไทยเผชิญกับความสามารถการแข่งขันอยู่แล้ว อาจทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้น
“หากจีดีพีไตรมาสแรก ออกมาแย่กว่าที่คาด แน่นอนอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งปี ที่เราประเมินไว้ ที่ 2.6% ดังนั้นก็ต้องดูว่าต่ำกว่าที่คาดไว้มากหรือไม่”
ไตรมาสแรกดิ่งฉุดปรับจีดีพีทั้งปีเหลือ2.5%
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 จะขยายตัว 0.6% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมาจากสินค้าคงคลังและฝั่งอุปทานหายไปค่อนข้างมากทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่ำกว่าที่ประเมินไว้
ดังนั้น ศูนย์วิจัยฯ อยู่ระหว่างการปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ลงเหลือ 2.5% จากเดิม 2.8% มาจากภาคการผลิต สินค้าคงคลังหายไป และกลับมาค่อนข้างช้า อีกทั้งภาคการลงทุนภาครัฐหายไปมาก
นอกจากนี้มาจากความเสี่ยงการส่งออกที่จะมีมากขึ้นทั้งปัญหาจากสงครามการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจกระทบการส่งออกไทยให้ลดลงได้ ดังนั้นอยู่ระหว่างการปรับตัวเลขส่งออกลดลง จากเดิมคาดว่าขยายตัว 2% จากปัจจัยเสี่ยงโลกที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่หากหนักขึ้นอาจกระทบการค้าไทย
ดังนั้นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยมาจากภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ภาคเศรษฐกิจอื่นอ่อนแอ โดยเฉพาะการบริโภคไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนสูงส่งผลให้การบริโภค การสินเชื่อลดลงต่อเนื่อง
“ตัวเลขหลายตัวอาจลดลงจึงกำลังปรับจีดีพีลงเหลือ 2.5% จาก 2.8% เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจหายไปทั้งหมด เหลือเพียงการท่องเที่ยว การบริโภคที่ยังเติบโต แต่หากหักออกไปจะพบว่าไม่ขยายตัว เพราะอยู่ภาวะหนี้สูง การบริโภคลดลง เครื่องจักรหลายตัวมีความเสี่ยงขึ้น เช่น การส่งออก”
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าจะเห็นเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปี 2567 ขยายตัว 1% ทั้งเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยปัจจัยหลักฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยมาจาก พ.รบ.งบประมาณ 2567 ที่ไม่ประกาศใช้ทำให้ไตรมาส 1 การใช้จ่ายภาครัฐติดลบ 39.6% ต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2567 ที่ลดลง 20.1%
แต่อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า ภาครัฐจะมีการเร่งเบิกจ่ายมากขึ้นในไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งจะคาดว่าจะกลับมาเป็นแรงส่งให้กับเศรษฐกิจในไตรมาสสองเป็นต้นไป
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1127222
ระทึก! ‘GDPไทย‘ ไตรมาส1 เครื่องยนต์เศรษฐกิจแผ่ว ลุ้นหั่นเป้าปี 67
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2567 รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 ในที่ 20 พ.ค.2567 โดยการแถลงครั้งที่ผ่านมา สศช.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัว 2.2-3.2% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจาก 1.9% ในปี 2566
ทั้งนี้ ต้องจับตาการแถลงตัวเลขของ สศช.ว่าไตรมาส 1 เศรษฐกิจจะขยายมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากมีการขยายตัวต่ำมากอาจนำไปสู่การปรับลดประมาณการปี 2567 ทั้งปีลงหรือไม่
รวมทั้งก่อนหน้านี้หลายหน่วยงานเศรษฐกิจปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2567 โดยสำนักเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดเหลือ 2.4% จากประมาณการเดิม 2.8% และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับลงมาที่ 2.2-2.7% ในการแถลงครั้งล่าสุด
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ถือว่าเผชิญปัจจัยลบทางเศรษฐกิจหลายประการ การส่งออกสินค้าและการผลิตที่ฟื้นตัวได้ช้า มูลค่าการส่งออกสินค้าไตรมาส 1 ติดลบ 0.2% หลังจากที่เดือน มี.ค.การส่งออกหดตัว 10.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยลบต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยทำให้แนวโน้มการส่งออกจะเติบโตได้น้อยกว่าที่คาด
ส่วนภาคการผลิตเป็นอีกปัจจัยที่จะฉุดเศรษฐกิจไทย โดยการแถลงล่าสุด 7 พ.ค.2567 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มี.ค.2567 อยู่ที่ระดับ 104.06 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39%
ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 100.85 หดตัวเฉลี่ย 3.65% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 60.45% ซึ่งกำลังการผลิตที่หดตัวต่อเนื่องทำให้การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนที่จะขยายการลงทุนยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับเครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจอีกตัว คือ ภาคท่องเที่ยวถึงแม้ปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้นนักท่องเที่ยวช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 มียอดสะสม 9.4 ล้านคน แต่การใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว (Spending per Head) ยังต่ำกว่าปี 2562 โดยใช้จ่ายอยู่ที่ 45,760 บาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าปี 2562 ราย 4.5% จากค่าเฉลี่ย 47,895 บาท
“ทีดีอาร์ไอ” ชี้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ไม่ค่อยมีปัจจัยบวกมากนัก เพราะเผชิญแรงกดดันปัจจัยเสี่ยงทั้งภายนอกและภายใน และปัจจัยบวกจากท่องเที่ยวช่วยได้แค่บางส่วน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายนอกเผชิญทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กระทบการส่งออกสินค้าของไทย และความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออก
รวมทั้งไทยกำลังเผชิญกับคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามที่ค่าแรงถูกกว่า ส่งผลให้ไทยสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า ส่งผลต่อการลงทุนภาครัฐ ชะลอการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ท่องเที่ยวช่วยจีดีพีไม่มากมีสัดส่วนเพียง 18%
นอกจากนี้ ช่วงที่ผ่านมาขาดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมและชัดเจน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและผู้บริโภค ส่วนภาคเอกชนยังอยู่โหมดระบายของเก่าการลงทุนเพิ่มยังไม่มีเพราะยังไม่มั่นใจลงทุนใหม่ เช่นเดียวกับหนี้ครัวเรือนสูงที่สูงจึงเป็นภาระต่อประชาชนชะลอการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ซึ่งปัจจัยทั้งหมดส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ส่วนภาคการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยบวกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกปีนี้ แต่แม้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แต่มีน้ำหนักใน GDP เพียง 15-18% เท่านั้น อาจไม่ชดเชยปัจจัยเสี่ยงอื่นได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอคาดว่าปี 2567 เศรษฐกิจจะขยายตัว 2.5% ซึ่งยังไม่รวมปัจจัยมาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตปลายปี ซึ่งอาจล่าช้าและหากแจกในช่วงปลายปีก็จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีหน้า
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า คาดการณ์เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 จะขยายตัว 0.6% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และขยายตัว 0.8% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมาจากเศรษฐกิจแผ่วลง การบริโภคชะลอตัว คนกังวลหนี้ครัวเรือนสูงต่อเนื่อง
อีกทั้งปัจจัยหลักมาจากงบประมาณรายจ่ายที่เบิกจ่ายไม่ได้ ส่งผลให้การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวแรงไตรมาส 1 เช่นเดียวกันการบริโภคและการลงทุนเอกชนที่ชะลอตัว
เครื่องยนต์หลักเศรษฐกิจไทยมาจากภาคการท่องเที่ยวแม้ปรับตัวขึ้น แต่การใช้จ่ายต่อหัวลดลง ซึ่งอาจไม่เป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วเหมือนที่คาด ดังนั้นเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ภาวะซึม
อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจไทย ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดได้ โดยเฉพาะภาคการผลิตและการลงทุนลดลงกว่าคาดจากการสต็อกสินค้าที่ลดลง เช่นเดียวกันต่างประเทศที่กำลังการผลิตลดลง ดังนั้นถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้หากผลกระทบเหล่านี้มากกว่าคาด การผลิตการลดลงมาก รวมถึงการลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยอาจติดลบ ต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีก่อน ทำให้เศรษฐกิจไทยอาจเข้าภาวะ “ถดถอยทางเทคนิค” หรือ Technical Recession จึงน่ากังวล
แต่ยังไม่ถือว่าเศรษฐกิจเข้าภาวะวิกฤติเพียงแต่ขยายตัวชะลอลงทางเทคนิคเท่านั้น จากภาคการผลิตและการลงทุนภาครัฐที่หดตัวมาก จากการขาดงบประมาณ
“เศรษฐกิจไทยอ่อนแอกว่าคาดและมีโอกาสไตรมาส 1 จะต่ำกว่าประเมินไว้ได้ หากผลกระทบจากภาคการผลิตจากสินค้าคงคลังหายไปกว่าคาด และงบประมาณรัฐหายไปมากกว่าคาด แต่ยังยืนอยู่ที่ 2.3% เหมือนที่ประเมินไว้ทั้งปี เพราะประเมินไว้ต่ำแล้วหากเทียบกับที่อื่น”
เสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่าคาด
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า หากคาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาสแรกจะขยายตัวอยู่ที่ 0.8% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ 0.5% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่มีความเสี่ยง หากเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกแย่กว่าคาด หรือเสี่ยงติดลบ เศรษฐกิจไทยอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคได้
แต่การถดถอยทางเทคนิค ถือเป็นเพียงช่วงๆนั้นๆจากการเบิกจ่ายภาครัฐที่หายไปในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งไตรมาส2ปัจจัยลบนี้จะหายไป ดังนั้นแม้เศรษฐกิจไทยจะติดลบก็ไม่ได้น่าห่วงมากนัก เพราะมาจากปัจจัยเฉพาะ ไม่ได้เหมือนอดีต ที่มาจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าห่วงถัดไปในระยะข้างหน้า ที่ต้องจับตาใกล้ชิดคือ ภาคการผลิต และภาคการเกษตรว่าจะกลับมาได้หรือไม่ เพราะหากไม่กลับมาในไตรมาส2เป็นต้นไป จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการผลิต ที่วันนี้เศรษฐกิจไทยเผชิญกับความสามารถการแข่งขันอยู่แล้ว อาจทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้น
“หากจีดีพีไตรมาสแรก ออกมาแย่กว่าที่คาด แน่นอนอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งปี ที่เราประเมินไว้ ที่ 2.6% ดังนั้นก็ต้องดูว่าต่ำกว่าที่คาดไว้มากหรือไม่”
ไตรมาสแรกดิ่งฉุดปรับจีดีพีทั้งปีเหลือ2.5%
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 จะขยายตัว 0.6% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมาจากสินค้าคงคลังและฝั่งอุปทานหายไปค่อนข้างมากทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่ำกว่าที่ประเมินไว้
ดังนั้น ศูนย์วิจัยฯ อยู่ระหว่างการปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ลงเหลือ 2.5% จากเดิม 2.8% มาจากภาคการผลิต สินค้าคงคลังหายไป และกลับมาค่อนข้างช้า อีกทั้งภาคการลงทุนภาครัฐหายไปมาก
นอกจากนี้มาจากความเสี่ยงการส่งออกที่จะมีมากขึ้นทั้งปัญหาจากสงครามการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจกระทบการส่งออกไทยให้ลดลงได้ ดังนั้นอยู่ระหว่างการปรับตัวเลขส่งออกลดลง จากเดิมคาดว่าขยายตัว 2% จากปัจจัยเสี่ยงโลกที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่หากหนักขึ้นอาจกระทบการค้าไทย
ดังนั้นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยมาจากภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ภาคเศรษฐกิจอื่นอ่อนแอ โดยเฉพาะการบริโภคไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนสูงส่งผลให้การบริโภค การสินเชื่อลดลงต่อเนื่อง
“ตัวเลขหลายตัวอาจลดลงจึงกำลังปรับจีดีพีลงเหลือ 2.5% จาก 2.8% เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจหายไปทั้งหมด เหลือเพียงการท่องเที่ยว การบริโภคที่ยังเติบโต แต่หากหักออกไปจะพบว่าไม่ขยายตัว เพราะอยู่ภาวะหนี้สูง การบริโภคลดลง เครื่องจักรหลายตัวมีความเสี่ยงขึ้น เช่น การส่งออก”
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าจะเห็นเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปี 2567 ขยายตัว 1% ทั้งเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยปัจจัยหลักฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยมาจาก พ.รบ.งบประมาณ 2567 ที่ไม่ประกาศใช้ทำให้ไตรมาส 1 การใช้จ่ายภาครัฐติดลบ 39.6% ต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2567 ที่ลดลง 20.1%
แต่อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า ภาครัฐจะมีการเร่งเบิกจ่ายมากขึ้นในไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งจะคาดว่าจะกลับมาเป็นแรงส่งให้กับเศรษฐกิจในไตรมาสสองเป็นต้นไป
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1127222