ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย "วิรไท สันติประภพ" ส่งสัญญาณว่าคนไทยวันนี้กำลัง “เป็นทุกข์ในโลก” เพราะมีสภาพหนี้ที่นับวันจะเพิ่มพูนจนเกินความสามารถที่จะชำระได้
ลักษณะที่เข้าข่าย “หนี้ท่วมหัว” นี้ ดูจากสถิติ “หนี้ครัวเรือน” 3-4 ไตรมาสที่เพิ่มต่อเนื่องมาถึงระดับ 78.7 % ของจีดีพี (ผลผลิตมวลรวมของประเทศ)
นี่ถ้าผนวกหนี้ กยศ. กับ หนี้นอกระบบด้วย หนี้ครัวเรือนรวมเบ็ดเสร็จจะสูงถึง 130-140% หมายความว่ารายได้เดือนละ 100 บาท แต่เป็นหนี้ 130-140 บาท ชักหน้าไม่ถึงหลัง
เหตุผลง่ายๆคือ รายได้ของชาวบ้านทุกวันนี้เพิ่มไม่ทันการเพิ่มของหนี้ ส่วนบุคคล หนี้ผ่อนบ้าน หนี้เพื่อธุรกิจ หนี้ยานยนต์ และหนี้บัตรเครดิต ฟังดูก็คุ้นๆ แต่ประเด็นมันไม่ใช้ลักษณะของหนี้(ครัวเรือน)ตามนนั้น แต่เป็นความหลงและอวิชชาที่อยู่เบื้องหลัง
ท่านหมายถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการที่เปลี่ยนไป และพบว่า “คนรุ่นใหม่” นิยมความฟุ่มเฟือย เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง เดินตามกระแสแฟชั่น ให้คุณค่าความสบายมากกว่าความจำเป็น
ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ เดือนแรกที่ทำงานก็ฉลองด้วยการซื้อทัวร์ไปเที่ยวเมืองนอก เพราะถูกจูงใจจากการตลาดประเภทผ่อนชำระยาวครึ่งปี ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ การสั่งซื้อของฟุ่มเฟือยออนไลน์ ท่านยืนยันจากรายงานผลการวิจัยที่พบว่าคนเล่นเนตมากชั่วโมงต่อวันต่อเดือนเป็นหนี้สินค้าออนไลน์มากกว่าคนเล่นเนตน้อยชั่วโมงกว่า เมื่อเปรียบต่อวันต่อเดือนจากหน่วยเดียวกัน
นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ยังไม่นิยมการออม ขาดวินัยในการบริหารการเงินส่วนตัว
ท่านว่าจะโทษคนรุ่นใหม่ทั้งหมดคงไม่ยุติธรรม เพราะสถาบันการเงินก็มีส่วนสนับสนุนให้เกิด “โปรโมชั่นผ่อน 0%” ที่จูงใจให้คนรุ่นใหม่ติดกับดักหนี้ผ่านบัตรเครดิต เสี่ยงที่จะเป็นลูกค้าเอ็นพีแอล และเป็นกันมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรวัย 29-30 ปี
สถานการณ์เช่นนี้บางทีธนาคารแห่งชาติก็คุม(สถายันการเงิน)ไม่อยู่
และเป็นเรื่องน่าห่วงเพราะสถาบันการเงินอาจล้มได้ ถ้าเมื่อใดหนี้ครัวเรือนพุ่งถึง 84% ของจีดีพี เพราะเมื่อนั้นมีโอกาสที่จะเกิดปรากฎการณ์ชาวบ้านหยุดชำระหนี้ ไม่ใช่เพราะเบี้ยว แต่สิ้นเนื้อประดาตัวกันถ้วนหน้า
หนี้ครัวเรือน 78.7% ต่อจีดีพีของไทยวันนี้ จึงถือว่าเข้าเขตอันตรายแล้ว
เป็นเรื่องดีที่ท่านผู้ว่าแบงก์ชาติเตือนมาหลังนายกฯพูดในสภาเมื่อวันอภิปรายทั่วไปแบบสุดโอ่ว่าเศรษฐกิจไทยแข็งโป๊ก อ้างเงินทุนสำรองฯของประเทศไทยที่อยู่ในอันดับต้นๆของโลก
ปัญหาคือตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่ท่านายกฯอ่านจากโพยวันนั้น จะกี่แสนล้านดอลล่าร์ก็ตาม มันชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนในชาติไม่ได้ การแก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้านต้องพิเคราะห์จากที่มาที่ไปของการเกิดหนี้ครัวเรือน จะหนักจะเบาอย่างไรก็ต้องดูว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรกับผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
ยิ่งเมื่อนายกฯรัฐมนตรีมานั่งเป็นหัวหน้าทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของชาติ ก็สมควรแล้วที่ท่านผู้ว่าแบงก์ชาติจะกรุณาให้วิทยาทานเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าและท้าทายความสามารถของรัฐบาลนี้บ่อยๆครับ
อ้างอิง:
https://www.youtube.com/watch?v=JSlFzcBIx88
Cr:
#thaitribune
credit by :
https://www.facebook.com/Seminar-knowledge-by-Amorn-178124232617862/
บทความจากแบงค์ชาติ ... หนี้ครัวเรือนกำลังจะท่วมหัว
ลักษณะที่เข้าข่าย “หนี้ท่วมหัว” นี้ ดูจากสถิติ “หนี้ครัวเรือน” 3-4 ไตรมาสที่เพิ่มต่อเนื่องมาถึงระดับ 78.7 % ของจีดีพี (ผลผลิตมวลรวมของประเทศ)
นี่ถ้าผนวกหนี้ กยศ. กับ หนี้นอกระบบด้วย หนี้ครัวเรือนรวมเบ็ดเสร็จจะสูงถึง 130-140% หมายความว่ารายได้เดือนละ 100 บาท แต่เป็นหนี้ 130-140 บาท ชักหน้าไม่ถึงหลัง
เหตุผลง่ายๆคือ รายได้ของชาวบ้านทุกวันนี้เพิ่มไม่ทันการเพิ่มของหนี้ ส่วนบุคคล หนี้ผ่อนบ้าน หนี้เพื่อธุรกิจ หนี้ยานยนต์ และหนี้บัตรเครดิต ฟังดูก็คุ้นๆ แต่ประเด็นมันไม่ใช้ลักษณะของหนี้(ครัวเรือน)ตามนนั้น แต่เป็นความหลงและอวิชชาที่อยู่เบื้องหลัง
ท่านหมายถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการที่เปลี่ยนไป และพบว่า “คนรุ่นใหม่” นิยมความฟุ่มเฟือย เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง เดินตามกระแสแฟชั่น ให้คุณค่าความสบายมากกว่าความจำเป็น
ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ เดือนแรกที่ทำงานก็ฉลองด้วยการซื้อทัวร์ไปเที่ยวเมืองนอก เพราะถูกจูงใจจากการตลาดประเภทผ่อนชำระยาวครึ่งปี ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ การสั่งซื้อของฟุ่มเฟือยออนไลน์ ท่านยืนยันจากรายงานผลการวิจัยที่พบว่าคนเล่นเนตมากชั่วโมงต่อวันต่อเดือนเป็นหนี้สินค้าออนไลน์มากกว่าคนเล่นเนตน้อยชั่วโมงกว่า เมื่อเปรียบต่อวันต่อเดือนจากหน่วยเดียวกัน
นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ยังไม่นิยมการออม ขาดวินัยในการบริหารการเงินส่วนตัว
ท่านว่าจะโทษคนรุ่นใหม่ทั้งหมดคงไม่ยุติธรรม เพราะสถาบันการเงินก็มีส่วนสนับสนุนให้เกิด “โปรโมชั่นผ่อน 0%” ที่จูงใจให้คนรุ่นใหม่ติดกับดักหนี้ผ่านบัตรเครดิต เสี่ยงที่จะเป็นลูกค้าเอ็นพีแอล และเป็นกันมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรวัย 29-30 ปี
สถานการณ์เช่นนี้บางทีธนาคารแห่งชาติก็คุม(สถายันการเงิน)ไม่อยู่
และเป็นเรื่องน่าห่วงเพราะสถาบันการเงินอาจล้มได้ ถ้าเมื่อใดหนี้ครัวเรือนพุ่งถึง 84% ของจีดีพี เพราะเมื่อนั้นมีโอกาสที่จะเกิดปรากฎการณ์ชาวบ้านหยุดชำระหนี้ ไม่ใช่เพราะเบี้ยว แต่สิ้นเนื้อประดาตัวกันถ้วนหน้า
หนี้ครัวเรือน 78.7% ต่อจีดีพีของไทยวันนี้ จึงถือว่าเข้าเขตอันตรายแล้ว
เป็นเรื่องดีที่ท่านผู้ว่าแบงก์ชาติเตือนมาหลังนายกฯพูดในสภาเมื่อวันอภิปรายทั่วไปแบบสุดโอ่ว่าเศรษฐกิจไทยแข็งโป๊ก อ้างเงินทุนสำรองฯของประเทศไทยที่อยู่ในอันดับต้นๆของโลก
ปัญหาคือตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่ท่านายกฯอ่านจากโพยวันนั้น จะกี่แสนล้านดอลล่าร์ก็ตาม มันชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนในชาติไม่ได้ การแก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้านต้องพิเคราะห์จากที่มาที่ไปของการเกิดหนี้ครัวเรือน จะหนักจะเบาอย่างไรก็ต้องดูว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรกับผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
ยิ่งเมื่อนายกฯรัฐมนตรีมานั่งเป็นหัวหน้าทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของชาติ ก็สมควรแล้วที่ท่านผู้ว่าแบงก์ชาติจะกรุณาให้วิทยาทานเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าและท้าทายความสามารถของรัฐบาลนี้บ่อยๆครับ
อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=JSlFzcBIx88
Cr:
#thaitribune
credit by : https://www.facebook.com/Seminar-knowledge-by-Amorn-178124232617862/