พุ่งไม่หยุด! แนวโน้มหนี้ครัวเรือนปีนี้จ่อแตะ 93% ต่อจีดีพี ธปท.พบคนไทยก่อหนี้ระยะสั้น ดอกเบี้ยแพง หวั่นมีคนชำระหนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอนาคต ชี้ที่ผ่านมามีมาตรการพักหนี้ และลดค่างวดช่วยประคองไว้ แต่แบงก์ต้องเร่งแก้หนี้ให้เร็วขึ้น ขณะที่มาตรการการคลัง เน้นช่วยค่าครองชีพไม่ให้คนต้องก่อหนี้ใหม่จนเกินตัว ด้านสมาคมธนาคารไทยโชว์ตัวเลขช่วยเหลือลูกหนี้แล้วกว่า 6 ล้านล้านบัญชี
พุ่งไม่หยุด! แนวโน้มหนี้ครัวเรือนปีนี้จ่อแตะ 93% ต่อจีดีพี ธปท.พบคนไทยก่อหนี้ระยะสั้น ดอกเบี้ยแพง หวั่นมีคนชำระหนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอนาคต ชี้ที่ผ่านมามีมาตรการพักหนี้ และลดค่างวดช่วยประคองไว้ แต่แบงก์ต้องเร่งแก้หนี้ให้เร็วขึ้น ขณะที่มาตรการการคลัง เน้นช่วยค่าครองชีพไม่ให้คนต้องก่อหนี้ใหม่จนเกินตัว ด้านสมาคมธนาคารไทยโชว์ตัวเลขช่วยเหลือลูกหนี้แล้วกว่า 6 ล้านล้านบัญชี
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงตัวเลขหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 2 ของปีนี้ว่า หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มทรงตัวหรืออาจปรับลดลง เล็กน้อย เนื่องจากคาดว่าตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 จะขยายตัวเป็นบวกสูงพอสมควร จากผลของฐานต่ำในปีที่แล้วที่เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 หดตัวกว่า 12% อย่างไรก็ดี หากมองไกลถึงสิ้นปีนี้ ภายใต้สมมติฐานว่า เศรษฐกิจปีนี้โตประมาณ 1% ขณะที่มูลหนี้ครัวเรือนในช่วงที่เหลือของปียังขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับที่ผ่านมา สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ณ สิ้นปีมีโอกาสแตะ 93% ของจีดีพีได้ ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนดังกล่าว ยังไม่ได้รวมหนี้กองทุนหมู่บ้าน หนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สินเชื่อพิโคไฟแนนซ์ ซึ่งมียอดรวมกันประมาณ 500,000 ล้านบาท ไม่ได้รวมหนี้ที่สถาบันการเงินตัดหนี้สูญแล้ว และไม่ได้รวมหนี้นอกระบบ หมายความว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่แท้จริงเลวร้ายกว่าตัวเลขที่เราเห็น
นอกจากนั้น เมื่อเจาะลึกลงไปที่โครงสร้างของหนี้ครัวเรือนไทย พบว่าหนี้เพื่อการบริโภคทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้นและดอกเบี้ยแพงมีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ทำให้ภาระการชำระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือนของครัวเรือนไทยสูงมาก โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุด พบว่า ณ สิ้นปี 2563 ประมาณ 1 ใน 4 ของครัวเรือนไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
“ในมุมมองเศรษฐกิจมหภาค ระดับของสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีและสัดส่วนของครัวเรือนที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ที่สูงนอกจากฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ ยังมีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะเห็นการผิดนัดชำระหนี้เป็นวงกว้างจนกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินประเทศ แต่ที่เรายังไม่เห็นปัญหานี้ เนื่องจากที่ผ่านมา เพราะเรามีมาตรการพักชำระหนี้และมาตรการลดค่างวดขั้นต่ำของสถาบันการเงิน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์”
นายดอน กล่าวต่อว่า มาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า ในด้านการคลัง คือ การเยียวยาครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะจากการล็อกดาวน์เพื่อให้พวกเขาอยู่รอดได้ โดยไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม ขณะที่ในด้านการเงิน คือการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนที่มีภาระชำระหนี้สินเกินตัวให้สามารถไปต่อได้ โดยจากข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และของ ธปท.ที่ครอบคลุมลูกหนี้รายย่อยของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจเช่าซื้อ รวมเกือบ 15 ล้านคน พบว่า ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจ ณ เดือน มิ.ย.ของ ธปท.ถ้าต้องการจะช่วยให้ลูกหนี้ที่มีหนี้สินเกินตัวทั้งหมดไปต่อได้ มีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้โดยวิธีที่สถาบันการเงินต้องมีส่วนสูญเสีย ได้แก่ การลดดอกเบี้ย ลดเงินต้น ในหลักแสนล้านบาท ภายในสิ้นปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากยอดการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีส่วนสูญเสียอยู่ในหลักหมื่นล้านบาท ชี้ว่าเราต้องเร่งการปรับโครงสร้างหนี้แบบจริงจังให้มากขึ้นและเร็วขึ้น โดยข้อดีคือ ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินไทยยังมีฐานแข็งแกร่งเพียงพอที่จะช่วยลูกหนี้ได้ และหาช่วยครัวเรือนที่มีหนี้สินเกินตัวให้ไปต่อได้ ระดับหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยก็จะลดลงโดยปริยาย
ด้านนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. โดยในเดือน ก.ค.63 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 800,000 ล้านบาท ลูกค้าเอสเอ็มอี 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนได้ออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้น
“โดยล่าสุด ยังมีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือรวม 1.89 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือกว่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 560,000 ล้านบาท ลูกค้าเอสเอ็มอี 820,000 ล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 620,000 ล้านบาท ขณะที่มาตรการเสริมสภาพคล่อง เพื่อประคับประคองธุรกิจตามมาตรการช่วยเหลือของ ธปท. ธนาคารสมาชิกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเสริมสภาพคล่องกว่า 216,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) 138,000 ล้านบาท สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจกว่า 78,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมาย 100,000 ล้านบาท ในเดือน ต.ค.นี้.
https://www.thairath.co.th/business/economics/2152893
หนี้ครัวเรือนพุ่งจ่อแตะ 93% จีดีพี ธปท.กังวลคนผ่อนไม่ไหวจี้แบงก์ช่วยลูกหนี้ด่วน
พุ่งไม่หยุด! แนวโน้มหนี้ครัวเรือนปีนี้จ่อแตะ 93% ต่อจีดีพี ธปท.พบคนไทยก่อหนี้ระยะสั้น ดอกเบี้ยแพง หวั่นมีคนชำระหนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอนาคต ชี้ที่ผ่านมามีมาตรการพักหนี้ และลดค่างวดช่วยประคองไว้ แต่แบงก์ต้องเร่งแก้หนี้ให้เร็วขึ้น ขณะที่มาตรการการคลัง เน้นช่วยค่าครองชีพไม่ให้คนต้องก่อหนี้ใหม่จนเกินตัว ด้านสมาคมธนาคารไทยโชว์ตัวเลขช่วยเหลือลูกหนี้แล้วกว่า 6 ล้านล้านบัญชี
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงตัวเลขหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 2 ของปีนี้ว่า หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มทรงตัวหรืออาจปรับลดลง เล็กน้อย เนื่องจากคาดว่าตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 จะขยายตัวเป็นบวกสูงพอสมควร จากผลของฐานต่ำในปีที่แล้วที่เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 หดตัวกว่า 12% อย่างไรก็ดี หากมองไกลถึงสิ้นปีนี้ ภายใต้สมมติฐานว่า เศรษฐกิจปีนี้โตประมาณ 1% ขณะที่มูลหนี้ครัวเรือนในช่วงที่เหลือของปียังขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับที่ผ่านมา สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ณ สิ้นปีมีโอกาสแตะ 93% ของจีดีพีได้ ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนดังกล่าว ยังไม่ได้รวมหนี้กองทุนหมู่บ้าน หนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สินเชื่อพิโคไฟแนนซ์ ซึ่งมียอดรวมกันประมาณ 500,000 ล้านบาท ไม่ได้รวมหนี้ที่สถาบันการเงินตัดหนี้สูญแล้ว และไม่ได้รวมหนี้นอกระบบ หมายความว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่แท้จริงเลวร้ายกว่าตัวเลขที่เราเห็น
นอกจากนั้น เมื่อเจาะลึกลงไปที่โครงสร้างของหนี้ครัวเรือนไทย พบว่าหนี้เพื่อการบริโภคทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้นและดอกเบี้ยแพงมีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ทำให้ภาระการชำระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือนของครัวเรือนไทยสูงมาก โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุด พบว่า ณ สิ้นปี 2563 ประมาณ 1 ใน 4 ของครัวเรือนไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
“ในมุมมองเศรษฐกิจมหภาค ระดับของสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีและสัดส่วนของครัวเรือนที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ที่สูงนอกจากฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ ยังมีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะเห็นการผิดนัดชำระหนี้เป็นวงกว้างจนกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินประเทศ แต่ที่เรายังไม่เห็นปัญหานี้ เนื่องจากที่ผ่านมา เพราะเรามีมาตรการพักชำระหนี้และมาตรการลดค่างวดขั้นต่ำของสถาบันการเงิน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์”
นายดอน กล่าวต่อว่า มาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า ในด้านการคลัง คือ การเยียวยาครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะจากการล็อกดาวน์เพื่อให้พวกเขาอยู่รอดได้ โดยไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม ขณะที่ในด้านการเงิน คือการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนที่มีภาระชำระหนี้สินเกินตัวให้สามารถไปต่อได้ โดยจากข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และของ ธปท.ที่ครอบคลุมลูกหนี้รายย่อยของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจเช่าซื้อ รวมเกือบ 15 ล้านคน พบว่า ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจ ณ เดือน มิ.ย.ของ ธปท.ถ้าต้องการจะช่วยให้ลูกหนี้ที่มีหนี้สินเกินตัวทั้งหมดไปต่อได้ มีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้โดยวิธีที่สถาบันการเงินต้องมีส่วนสูญเสีย ได้แก่ การลดดอกเบี้ย ลดเงินต้น ในหลักแสนล้านบาท ภายในสิ้นปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากยอดการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีส่วนสูญเสียอยู่ในหลักหมื่นล้านบาท ชี้ว่าเราต้องเร่งการปรับโครงสร้างหนี้แบบจริงจังให้มากขึ้นและเร็วขึ้น โดยข้อดีคือ ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินไทยยังมีฐานแข็งแกร่งเพียงพอที่จะช่วยลูกหนี้ได้ และหาช่วยครัวเรือนที่มีหนี้สินเกินตัวให้ไปต่อได้ ระดับหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยก็จะลดลงโดยปริยาย
ด้านนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. โดยในเดือน ก.ค.63 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 800,000 ล้านบาท ลูกค้าเอสเอ็มอี 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนได้ออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้น
“โดยล่าสุด ยังมีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือรวม 1.89 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือกว่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 560,000 ล้านบาท ลูกค้าเอสเอ็มอี 820,000 ล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 620,000 ล้านบาท ขณะที่มาตรการเสริมสภาพคล่อง เพื่อประคับประคองธุรกิจตามมาตรการช่วยเหลือของ ธปท. ธนาคารสมาชิกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเสริมสภาพคล่องกว่า 216,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) 138,000 ล้านบาท สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจกว่า 78,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมาย 100,000 ล้านบาท ในเดือน ต.ค.นี้.
https://www.thairath.co.th/business/economics/2152893