เครดิตบูโรเผยหนี้เสียในระบบสินเชื่อ 16 ล้านบัญชี อยู่ระหว่างดำเนินคดี 1.1 ล้านบัญชี จากลูกหนี้ 44 ล้านบัญชี ห่วงคนรายได้ต่ำกว่าหมื่น สัญญาณมีปัญหามากขึ้น ส่วนสินเชื่อรถยนต์ค้างชำระ 6% จาก 5 ล้านคันทั่วประเทศ ด้านสถาบันการเงินเริ่มเช็คข้อมูลบ่อยขึ้น รับขยายตัวเร็ว สินเชื่อรถโต 30% บัตรเครดิตโต 25% ขณะเคทีซีประเมินทุกสัปดาห์ ยันยังไม่มีปัญหา
ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนเป็นปัจจัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)วิตกกังวลมากขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีสัญญาณค้างชำระเกิน 1 เดือนเพิ่มขึ้น อีกทั้งสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวต่อเนื่อง โดยสิ้นเดือนพ.ย. 2555 ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 15.7%
จากข้อมูลของธปท.ระบุว่าหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2552 สินเชื่อที่อยู่ในภาคครัวเรือนมีสัดส่วน 58% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) แต่ในไตรมาส 3 ของปี 2555 ปรับเพิ่มมาเกินกว่า 75% ต่อจีดีพี ซึ่งธปท.วิตกว่าอาจกระทบความสามารถในการชำระหนี้ และส่งผลต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ธปท.ไม่ได้ระบุรายละเอียดฐานะของลูกหนี้ แม้จะแสดงความเป็นห่วงหลายครั้งเมื่อพูดถึงปัจจัยเสี่ยงในปีนี้
แต่จากข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร) ชี้ให้เห็นว่าปัญหาค้างชำระหนี้เริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเห็นสัญญาณที่มีปัญหากับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) กล่าวว่าจากข้อมูล ณ สิ้นปี 2555 ลูกหนี้สินเชื่อในระบบของเครดิตบูโรมีทั้งสิ้น 23 ล้านราย 44 ล้านบัญชีสินเชื่อ คิดเป็นลูกหนี้ประมาณ 17-18 ล้านครัวเรือน มีลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ค้างชำระหนี้เกิน 1 ปี ประมาณ 16 ล้านบัญชี และ 1.1 ล้านบัญชี อยู่ระหว่างการดำเนินการในชั้นศาล
“เท่าที่เรามีข้อมูลจะพบว่าคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน อยู่บ้านเช่า กินข้าวถุง เริ่มเห็นสัญญาณมีปัญหา”นายสุรพลกล่าวใน "Business Talk" ทาง "กรุงเทพธุรกิจทีวี"
นายสุรพล กล่าวว่า ปัญหาหนี้เสียในกลุ่มคนที่รายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะเห็นชัดเจนในปีนี้ เนื่องจากในช่วงปลายปี 2554 หลังจากไทยเจอมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ มีการผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ย หรือยืดการชำระหนี้ ซึ่งมาตรการให้ความช่วยเหลือจะเริ่มสิ้นสุดลงในปีนื้ และเจ้าหนี้รายใหญ่ของลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ซึ่งปล่อยกู้คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท/เดือน ซึ่งมีประมาณ 2.7 ล้านบัญชี
ขณะเดียวกัน เครดิตบูโร ยังมีความกังวลลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพราะจากข้อมูล ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2555 แม้จะยังไม่มีโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล แต่พบว่ามีลูกหนี้ที่ขอกู้ซื้อรถยนต์ เริ่มมีการค้างชำระเกิน 3 งวดเพิ่มมากขึ้น โดยมีลูกหนี้ค้างชำระกว่า 3.8 แสนคน จากจำนวนผู้ขอกู้ 5 ล้านคัน หรือคิดเป็นประมาณ 6%
“ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สะสมในช่วงก่อนหน้า ก่อนที่จะมีโครงการรถคันแรก ซึ่งก็คงต้องดูต่อไปว่า หลังจากที่มีโครงการรถยนต์คันแรกแล้ว จะมีปัญหาเพิ่มขึ้นหรือไม่”นายสุรพล กล่าว
หลังจากที่รัฐบาลมีโครงการรถคันแรกในปีที่ผ่านมา จำนวนบัญชีใหม่ที่เปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์สูงขึ้นมาก ซึ่งหมายความว่า หนี้ครัวเรือนเริ่มปรับตัวสูง และเริ่มเห็นการขยับตัวของบรรดาลิสซิ่งในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจจักรยานยนต์ ขอเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรมากขึ้น
สำหรับยอดผู้ขอเข้าใช้สิทธิโครงการรถคันแรกประมาณ 1.2 ล้านคัน โดยใช้สิทธิในปี 2555 ประมาณ 5 แสนคัน และอีก 7 แสนคันจะใช้สิทธิในปีนี้
สถาบันการเงินต่างชาติเช็คข้อมูลถี่
นายสุรพลกล่าวว่าขณะนี้ยังสัญญาณที่น่ากังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้รายย่อย ขณะนี้เริ่มเห็นบริษัทที่ปล่อยกู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นต่างชาติ เข้ามาขอข้อมูลการชำระหนี้ของลูกหนี้รายย่อยถี่ขึ้น จากเดิมที่ขอเป็นรายไตรมาส แต่ตอนนี้เริ่มขอข้อมูล 2 เดือน หรือถี่ขึ้นจากเดิมปีละ 4 ครั้งเป็น 6 ครั้ง เนื่องจากกังวลว่าอาจเป็นเอ็นพีแอล
“ที่ผมห่วงคือ คนที่เป็นหนี้แล้ว เริ่มแบกภาระไม่ไหว ขอกู้ใหม่ มาโปะหนี้ใหม่ แล้วเขาจะผ่อนไหวหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่น่ากังวลสำหรับหนี้ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท”
ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร ยังแนะนำด้วยว่า ก่อนการตัดสินใจกู้หนี้ เราควรคิดอย่างรอบคอบ และประเมินสถานะของตัวเองว่าสามารถผ่อนชำระคืนได้หรือไม่ เพราะจริงๆแล้วถ้าเรามีหนี้ที่เป็นสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และบัตรเครดิต ควรไม่เกิน 40% ของรายได้ ส่วนอีก 30% ควรเก็บไว้สำหรับจ่ายรายเดือน และอีก 30% เก็บไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด
ลิสซิ่งชี้แนวโน้มเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น
นายอิสระ วงศ์รุ่ง ประธานกรรมการบริหาร ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด ในฐานะประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย จากตัวเลขที่เครดิตบูโรเปิดเผยว่า ณ สิ้นปีที่ผ่านมาลูกหนี้ลิสซิ่งเริ่มเป็นเอ็นพีแอลประมาณ 3.8 แสนคัน ถือว่าน่าตกใจมาก เพราะจากข้อมูลของสมาคมเช่าซื้อไทย ณ สิ้นปี 2554 มีหนี้เอ็นพีแอลประมาณ 1.15% สิ้นปี 2555 เพิ่มเป็น 1.3% ถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มเอ็นพีแอลสินเชื่อรถยนต์ อาจเพิ่มมากขึ้น เพราะยังไม่นับรวมกับโครงการรถยนต์คันแรกที่มีขึ้นในปลายปีที่ผ่านมา และเริ่มมีการส่งมอบครบในปีนี้
“ที่ผ่านมาเรายังไม่เห็นสัญญาณหนี้เสียรถคันแรกในอัตราที่สูง แต่ภาพจะเห็นชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย ที่เข้าร่วมโครงการรถคันแรก ผ่านโปรโมชั่น ดาวน์น้อย ผ่อนนาน ซึ่งตามหลักการปล่อยกู้รถยนต์แล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงมากในการเป็นเอ็นพีแอล เพราะคนที่มีรายได้สูงกว่า 1.5 หมื่นบาท มีโอกาสเป็นเอ็นพีแอแอลต่ำกว่า”
จากข้อมูลโครงการรถคันแรกมีคนเข้าร่วมโครงการประมาณ 1.2 ล้านคัน แบ่งเป็นรถกระบะ รถเก๋ง ประมาณ 70% ที่เหลือเป็นอีโคคาร์ประมาณ 30% ซึ่งในส่วนของอีโคคาร์ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท และใช้โปรโมชั่นดาวน์น้อย ผ่อนนาน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง และมีโอกาสเป็นเอ็นพีแอลสูง
คนให้สิทธิเพื่อนซื้อเริ่มกังวล
นายสุรพล กล่าวเสริมว่า เท่าที่มีการโทรศัพท์ติดต่อเข้ามาที่เครดิตบูโร ขณะนี้เริ่มพบว่า มีคนที่ถูกเพื่อนเอาชื่อไปยื่นขอกู้ซื้อรถยนต์คันแรก เริ่มกังวลว่า ถ้าเพื่อนมีปัญหาในการชำระหนี้ เขาจะเป็นอย่างไร
“เรื่องนี้ น่าเป็นห่วงมาก เพราะคนที่มีรถอยู่แล้ว ใช้ชื่อคนอื่นกู้ซื้อรถโครงการรถคันแรก ถ้ามีปัญหา อนาคตคนที่ให้เพื่อนยืมชื่อไปใช้จะกลายเป็นแบล็คลิสต์ โอกาสในการขอสินเชื่อก็ยากขึ้น”
นายอิสระ กล่าวว่า สมาคมเช่าซื้อไทยมีความกังวลว่า กลุ่มลูกหนี้ที่มีรถอยู่แล้ว แต่ไปใช้ชื่อเพื่อนเพื่อขอร่วมโครงการรถคันแรกอีก กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นเอ็นพีแอลในอนาคต เพราะความสามารถชำระหนี้จะลดลง หากรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า
“ลูกหนี้โครงการรถคันแรก อีโคคาร์ เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นแน่ จากเดิมที่เอ็นพีแอลของธุรกิจลิสซิ่งทั้งระบบที่ปล่อยกู้ทั้งรถเก่าและรถใหม่ มีประมาณ 1% อาจเพิ่มเป็น 2-3% หรือเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว เราก็ได้แต่หวังว่า หลังจากที่เขาได้รับเงินคืนภาษีจากโครงการรถคันแรก เขาจะนำเงินมาคืนเรา”
นายอิสระกล่าวว่าสัญญาณหนี้ภาคครัวเรือนจะถึงขั้นอันตรายหรือไม่ เราคงต้องมาดูที่วินัยทางการเงินของผู้กู้ แต่สิ่งที่กังวลคือ คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท แล้วต้องมีหนี้ผ่อนรถยนต์ ผ่อนมอเตอร์ไซค์เพิ่ม จะมีปัญหาหรือไม่ และถ้าหากผู้ปล่อยกู้ไม่พิจารณาความเสี่ยงให้ดี สินเชื่อที่ปล่อยไปจะมีปัญหาในอนาคต
เคทีซีเกาะติดทุกสัปดาห์ยังไม่พบปัญหา
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (เคทีซี) กล่าวว่า เคทีซีมีลูกค้า 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นบัตรเครดิต ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป ตามกฎของธปท. และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเคทีซีจับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล และปัจจุบันปรับตัวลดลงด้วยซ้ำไป
“เราประชุมทุกสัปดาห์ และมีการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจตลอด ถ้าถามว่าห่วงไหม จากตัวเลขของเรายังไม่พบสัญญาณที่มีปัญหา แต่เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ”
นายระเฑียร แนะนำว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลสูงมาก ควรใช้ในระยะสั้นและใช้ในคราวจำเป็นเท่านั้น แต่ถ้ากู้สั้นแล้วไปใช้ในระยะยาว ถือเป็นการบริหารการเงินที่ไม่เหมาะสม
นักวิชาการห่วงฉุดเศรษฐกิจระยะยาว
ด้านนายสมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สินเชื่อครัวเรือนต่อจีดีพีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาระบุว่า สิ้นไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 73% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2552 ที่อยู่ระดับ 58% ของจีดีพีนั้น ถือเป็นระดับการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพียงแต่ในภาพรวมอาจยังไม่น่าห่วงนัก เพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางที่ดี ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ระดับต่ำ
"ถ้าเศรษฐกิจโต รายได้คนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ความสามารถในการชำระหนี้ก็ยังคงมีอยู่ ประกอบกับดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ดังนั้นภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจึงไม่มาก เป็นปัจจัยที่ช่วยประคับประคอง" นายสมประวิณกล่าว
การเติบโตของสินเชื่อภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี เพราะทำให้ความเปราะบางทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น เนื่องจากในอนาคตหากเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว หรือมีปัจจัยเร่งที่ทำให้ดอกเบี้ยต้องปรับขึ้น อาจทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนลดลงได้เช่นกัน ถึงตอนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคสถาบันการเงินด้วย ซึ่งจะทำให้ปัญหาลุกลามออกไปรวดเร็วยิ่งขึ้นได้
ทหารไทยรับสินเชื่อครัวเรือนโตเร็ว
ด้านนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า สินเชื่อภาคครัวเรือนในรอบปีที่ผ่านมา ถือว่ามีระดับการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เติบโตระดับ 30% เศษ และสินเชื่อบัตรเครดิตที่โต 25% ซึ่งเท่าที่ติดตามดูไม่คิดว่าระดับรายได้ของคนจะเติบโตได้เร็วเท่ากับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ควรต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้น สัดส่วนไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานของสินเชื่อเติบโตเร็วด้วย แต่ถ้าระหว่างนี้มีปัญหาเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ขึ้น ตัวหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้คงแสดงให้เห็นอย่างน้อยเร็วสุดก็เป็นช่วงไตรมาส 2 หรือครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นไป
"ตอนนี้ตัวเอ็นพีแอลอาจจะดูยากหน่อย เพราะยอดสินเชื่อมันโตเร็ว คงต้องรอให้ตัวเลขเริ่มนิ่งก่อน และกว่ามันจะมีปัญหาก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ดังนั้นถ้ามันเริ่มมีปัญหาขึ้นตั้งแต่ตอนนี้ ตัวเลขที่จะโชว์ให้เห็นคงเป็นครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป จึงยังบอกไม่ได้ว่าสินเชื่อที่โตจะมีปัญหาหรือไม่ เพียงแต่ก็เป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะสินเชื่อมันโตเร็วมาก และเชื่อว่าระดับรายได้คงจะเติบโตไม่ทันกับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น" นายเบญจรงค์กล่าว
กรุงเทพธุรกิจ
หนี้ครัวเรือนหนี้เสีย1.6ล้านบัญชี
ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนเป็นปัจจัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)วิตกกังวลมากขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีสัญญาณค้างชำระเกิน 1 เดือนเพิ่มขึ้น อีกทั้งสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวต่อเนื่อง โดยสิ้นเดือนพ.ย. 2555 ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 15.7%
จากข้อมูลของธปท.ระบุว่าหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2552 สินเชื่อที่อยู่ในภาคครัวเรือนมีสัดส่วน 58% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) แต่ในไตรมาส 3 ของปี 2555 ปรับเพิ่มมาเกินกว่า 75% ต่อจีดีพี ซึ่งธปท.วิตกว่าอาจกระทบความสามารถในการชำระหนี้ และส่งผลต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ธปท.ไม่ได้ระบุรายละเอียดฐานะของลูกหนี้ แม้จะแสดงความเป็นห่วงหลายครั้งเมื่อพูดถึงปัจจัยเสี่ยงในปีนี้
แต่จากข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร) ชี้ให้เห็นว่าปัญหาค้างชำระหนี้เริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเห็นสัญญาณที่มีปัญหากับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) กล่าวว่าจากข้อมูล ณ สิ้นปี 2555 ลูกหนี้สินเชื่อในระบบของเครดิตบูโรมีทั้งสิ้น 23 ล้านราย 44 ล้านบัญชีสินเชื่อ คิดเป็นลูกหนี้ประมาณ 17-18 ล้านครัวเรือน มีลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ค้างชำระหนี้เกิน 1 ปี ประมาณ 16 ล้านบัญชี และ 1.1 ล้านบัญชี อยู่ระหว่างการดำเนินการในชั้นศาล
“เท่าที่เรามีข้อมูลจะพบว่าคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน อยู่บ้านเช่า กินข้าวถุง เริ่มเห็นสัญญาณมีปัญหา”นายสุรพลกล่าวใน "Business Talk" ทาง "กรุงเทพธุรกิจทีวี"
นายสุรพล กล่าวว่า ปัญหาหนี้เสียในกลุ่มคนที่รายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะเห็นชัดเจนในปีนี้ เนื่องจากในช่วงปลายปี 2554 หลังจากไทยเจอมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ มีการผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ย หรือยืดการชำระหนี้ ซึ่งมาตรการให้ความช่วยเหลือจะเริ่มสิ้นสุดลงในปีนื้ และเจ้าหนี้รายใหญ่ของลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ซึ่งปล่อยกู้คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท/เดือน ซึ่งมีประมาณ 2.7 ล้านบัญชี
ขณะเดียวกัน เครดิตบูโร ยังมีความกังวลลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพราะจากข้อมูล ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2555 แม้จะยังไม่มีโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล แต่พบว่ามีลูกหนี้ที่ขอกู้ซื้อรถยนต์ เริ่มมีการค้างชำระเกิน 3 งวดเพิ่มมากขึ้น โดยมีลูกหนี้ค้างชำระกว่า 3.8 แสนคน จากจำนวนผู้ขอกู้ 5 ล้านคัน หรือคิดเป็นประมาณ 6%
“ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สะสมในช่วงก่อนหน้า ก่อนที่จะมีโครงการรถคันแรก ซึ่งก็คงต้องดูต่อไปว่า หลังจากที่มีโครงการรถยนต์คันแรกแล้ว จะมีปัญหาเพิ่มขึ้นหรือไม่”นายสุรพล กล่าว
หลังจากที่รัฐบาลมีโครงการรถคันแรกในปีที่ผ่านมา จำนวนบัญชีใหม่ที่เปิดบัญชีสินเชื่อรถยนต์สูงขึ้นมาก ซึ่งหมายความว่า หนี้ครัวเรือนเริ่มปรับตัวสูง และเริ่มเห็นการขยับตัวของบรรดาลิสซิ่งในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจจักรยานยนต์ ขอเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรมากขึ้น
สำหรับยอดผู้ขอเข้าใช้สิทธิโครงการรถคันแรกประมาณ 1.2 ล้านคัน โดยใช้สิทธิในปี 2555 ประมาณ 5 แสนคัน และอีก 7 แสนคันจะใช้สิทธิในปีนี้
สถาบันการเงินต่างชาติเช็คข้อมูลถี่
นายสุรพลกล่าวว่าขณะนี้ยังสัญญาณที่น่ากังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้รายย่อย ขณะนี้เริ่มเห็นบริษัทที่ปล่อยกู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นต่างชาติ เข้ามาขอข้อมูลการชำระหนี้ของลูกหนี้รายย่อยถี่ขึ้น จากเดิมที่ขอเป็นรายไตรมาส แต่ตอนนี้เริ่มขอข้อมูล 2 เดือน หรือถี่ขึ้นจากเดิมปีละ 4 ครั้งเป็น 6 ครั้ง เนื่องจากกังวลว่าอาจเป็นเอ็นพีแอล
“ที่ผมห่วงคือ คนที่เป็นหนี้แล้ว เริ่มแบกภาระไม่ไหว ขอกู้ใหม่ มาโปะหนี้ใหม่ แล้วเขาจะผ่อนไหวหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่น่ากังวลสำหรับหนี้ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท”
ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร ยังแนะนำด้วยว่า ก่อนการตัดสินใจกู้หนี้ เราควรคิดอย่างรอบคอบ และประเมินสถานะของตัวเองว่าสามารถผ่อนชำระคืนได้หรือไม่ เพราะจริงๆแล้วถ้าเรามีหนี้ที่เป็นสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และบัตรเครดิต ควรไม่เกิน 40% ของรายได้ ส่วนอีก 30% ควรเก็บไว้สำหรับจ่ายรายเดือน และอีก 30% เก็บไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด
ลิสซิ่งชี้แนวโน้มเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น
นายอิสระ วงศ์รุ่ง ประธานกรรมการบริหาร ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด ในฐานะประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย จากตัวเลขที่เครดิตบูโรเปิดเผยว่า ณ สิ้นปีที่ผ่านมาลูกหนี้ลิสซิ่งเริ่มเป็นเอ็นพีแอลประมาณ 3.8 แสนคัน ถือว่าน่าตกใจมาก เพราะจากข้อมูลของสมาคมเช่าซื้อไทย ณ สิ้นปี 2554 มีหนี้เอ็นพีแอลประมาณ 1.15% สิ้นปี 2555 เพิ่มเป็น 1.3% ถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มเอ็นพีแอลสินเชื่อรถยนต์ อาจเพิ่มมากขึ้น เพราะยังไม่นับรวมกับโครงการรถยนต์คันแรกที่มีขึ้นในปลายปีที่ผ่านมา และเริ่มมีการส่งมอบครบในปีนี้
“ที่ผ่านมาเรายังไม่เห็นสัญญาณหนี้เสียรถคันแรกในอัตราที่สูง แต่ภาพจะเห็นชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย ที่เข้าร่วมโครงการรถคันแรก ผ่านโปรโมชั่น ดาวน์น้อย ผ่อนนาน ซึ่งตามหลักการปล่อยกู้รถยนต์แล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงมากในการเป็นเอ็นพีแอล เพราะคนที่มีรายได้สูงกว่า 1.5 หมื่นบาท มีโอกาสเป็นเอ็นพีแอแอลต่ำกว่า”
จากข้อมูลโครงการรถคันแรกมีคนเข้าร่วมโครงการประมาณ 1.2 ล้านคัน แบ่งเป็นรถกระบะ รถเก๋ง ประมาณ 70% ที่เหลือเป็นอีโคคาร์ประมาณ 30% ซึ่งในส่วนของอีโคคาร์ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท และใช้โปรโมชั่นดาวน์น้อย ผ่อนนาน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง และมีโอกาสเป็นเอ็นพีแอลสูง
คนให้สิทธิเพื่อนซื้อเริ่มกังวล
นายสุรพล กล่าวเสริมว่า เท่าที่มีการโทรศัพท์ติดต่อเข้ามาที่เครดิตบูโร ขณะนี้เริ่มพบว่า มีคนที่ถูกเพื่อนเอาชื่อไปยื่นขอกู้ซื้อรถยนต์คันแรก เริ่มกังวลว่า ถ้าเพื่อนมีปัญหาในการชำระหนี้ เขาจะเป็นอย่างไร
“เรื่องนี้ น่าเป็นห่วงมาก เพราะคนที่มีรถอยู่แล้ว ใช้ชื่อคนอื่นกู้ซื้อรถโครงการรถคันแรก ถ้ามีปัญหา อนาคตคนที่ให้เพื่อนยืมชื่อไปใช้จะกลายเป็นแบล็คลิสต์ โอกาสในการขอสินเชื่อก็ยากขึ้น”
นายอิสระ กล่าวว่า สมาคมเช่าซื้อไทยมีความกังวลว่า กลุ่มลูกหนี้ที่มีรถอยู่แล้ว แต่ไปใช้ชื่อเพื่อนเพื่อขอร่วมโครงการรถคันแรกอีก กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นเอ็นพีแอลในอนาคต เพราะความสามารถชำระหนี้จะลดลง หากรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า
“ลูกหนี้โครงการรถคันแรก อีโคคาร์ เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นแน่ จากเดิมที่เอ็นพีแอลของธุรกิจลิสซิ่งทั้งระบบที่ปล่อยกู้ทั้งรถเก่าและรถใหม่ มีประมาณ 1% อาจเพิ่มเป็น 2-3% หรือเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว เราก็ได้แต่หวังว่า หลังจากที่เขาได้รับเงินคืนภาษีจากโครงการรถคันแรก เขาจะนำเงินมาคืนเรา”
นายอิสระกล่าวว่าสัญญาณหนี้ภาคครัวเรือนจะถึงขั้นอันตรายหรือไม่ เราคงต้องมาดูที่วินัยทางการเงินของผู้กู้ แต่สิ่งที่กังวลคือ คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท แล้วต้องมีหนี้ผ่อนรถยนต์ ผ่อนมอเตอร์ไซค์เพิ่ม จะมีปัญหาหรือไม่ และถ้าหากผู้ปล่อยกู้ไม่พิจารณาความเสี่ยงให้ดี สินเชื่อที่ปล่อยไปจะมีปัญหาในอนาคต
เคทีซีเกาะติดทุกสัปดาห์ยังไม่พบปัญหา
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (เคทีซี) กล่าวว่า เคทีซีมีลูกค้า 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นบัตรเครดิต ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป ตามกฎของธปท. และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเคทีซีจับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล และปัจจุบันปรับตัวลดลงด้วยซ้ำไป
“เราประชุมทุกสัปดาห์ และมีการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจตลอด ถ้าถามว่าห่วงไหม จากตัวเลขของเรายังไม่พบสัญญาณที่มีปัญหา แต่เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ”
นายระเฑียร แนะนำว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลสูงมาก ควรใช้ในระยะสั้นและใช้ในคราวจำเป็นเท่านั้น แต่ถ้ากู้สั้นแล้วไปใช้ในระยะยาว ถือเป็นการบริหารการเงินที่ไม่เหมาะสม
นักวิชาการห่วงฉุดเศรษฐกิจระยะยาว
ด้านนายสมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สินเชื่อครัวเรือนต่อจีดีพีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาระบุว่า สิ้นไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 73% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2552 ที่อยู่ระดับ 58% ของจีดีพีนั้น ถือเป็นระดับการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพียงแต่ในภาพรวมอาจยังไม่น่าห่วงนัก เพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางที่ดี ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ระดับต่ำ
"ถ้าเศรษฐกิจโต รายได้คนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ความสามารถในการชำระหนี้ก็ยังคงมีอยู่ ประกอบกับดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ดังนั้นภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจึงไม่มาก เป็นปัจจัยที่ช่วยประคับประคอง" นายสมประวิณกล่าว
การเติบโตของสินเชื่อภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี เพราะทำให้ความเปราะบางทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น เนื่องจากในอนาคตหากเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว หรือมีปัจจัยเร่งที่ทำให้ดอกเบี้ยต้องปรับขึ้น อาจทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนลดลงได้เช่นกัน ถึงตอนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคสถาบันการเงินด้วย ซึ่งจะทำให้ปัญหาลุกลามออกไปรวดเร็วยิ่งขึ้นได้
ทหารไทยรับสินเชื่อครัวเรือนโตเร็ว
ด้านนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า สินเชื่อภาคครัวเรือนในรอบปีที่ผ่านมา ถือว่ามีระดับการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เติบโตระดับ 30% เศษ และสินเชื่อบัตรเครดิตที่โต 25% ซึ่งเท่าที่ติดตามดูไม่คิดว่าระดับรายได้ของคนจะเติบโตได้เร็วเท่ากับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ควรต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้น สัดส่วนไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานของสินเชื่อเติบโตเร็วด้วย แต่ถ้าระหว่างนี้มีปัญหาเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ขึ้น ตัวหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้คงแสดงให้เห็นอย่างน้อยเร็วสุดก็เป็นช่วงไตรมาส 2 หรือครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นไป
"ตอนนี้ตัวเอ็นพีแอลอาจจะดูยากหน่อย เพราะยอดสินเชื่อมันโตเร็ว คงต้องรอให้ตัวเลขเริ่มนิ่งก่อน และกว่ามันจะมีปัญหาก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ดังนั้นถ้ามันเริ่มมีปัญหาขึ้นตั้งแต่ตอนนี้ ตัวเลขที่จะโชว์ให้เห็นคงเป็นครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป จึงยังบอกไม่ได้ว่าสินเชื่อที่โตจะมีปัญหาหรือไม่ เพียงแต่ก็เป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะสินเชื่อมันโตเร็วมาก และเชื่อว่าระดับรายได้คงจะเติบโตไม่ทันกับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น" นายเบญจรงค์กล่าว
กรุงเทพธุรกิจ