คลัง-แบงก์เตรียมหน้าตัก 8 หมื่นล้าน แก้หนี้ครัวเรือน 1.31 ล้านล้านบาท ช่วยลูกหนี้ 2.3 ล้านบัญชี ลดภาระผ่อน-แขวนดอกเบี้ย 3 ปี “เผ่าภูมิ” ชี้ผู้เข้าร่วมโครงการต้องลงทะเบียน แย้มยังมีแฮร์คัตลูกหนี้วงเงินไม่สูงอีก 1 ล้านบัญชี “ซีอีโอทีทีบี” ระบุเปิดให้ “รวมหนี้” ได้ภายใต้วงเงินกำหนด พยุงลูกหนี้เดินต่อได้ไม่ถูกยึด “บ้าน-รถ” เครดิตบูโรเปิดตัวเลขหนี้เสียยังเป็นขาขึ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ขณะนี้ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่รอให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคาะ โดยล่าสุดมีการขยับเพดานวงเงินหนี้ที่เป็นการกำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมโครงการ
โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ ที่ก่อนหน้านี้ ระบุว่าจะช่วยกลุ่มหนี้ไม่เกิน 700,000 บาท ก็มีการขยับเป็นไม่เกิน 800,000 บาทต่อราย
“ยังมีต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าในช่วงที่อยู่ในโครงการ ลูกหนี้จะขอสินเชื่อใหม่ได้หรือไม่ หรือได้เมื่อไหร่ เช่น ปีแรกคงไม่ให้ขอสินเชื่อใหม่ได้เลย แล้วปีต่อ ๆ ค่อยผ่อนคลาย ถ้าสามารถผ่อนชำระได้ตามที่ทำสัญญา หรือห้ามตลอด 3 ปี ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องตกลงกัน”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ลูกหนี้ที่เป็นหนี้บ้าน หรือหนี้รถ และมีหนี้เกี่ยวกับการบริโภคด้วย สามารถนำหนี้ที่เกี่ยวกับการบริโภคมารวมกับหนี้บ้าน หรือหนี้รถได้ด้วย
ภายใต้วงเงินที่กำหนด เช่น มีหนี้บ้านอยู่ 2.5 ล้านบาท และมีหนี้เพื่อบริโภคอีก 5 แสนบาท ก็นำมารวมกันเป็นหนี้บ้านก้อนเดียว ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อนำวงเงินมาทำข้อตกลงปรับโครงสร้างการผ่อนชำระ
ยันมีเงินหน้าตัก 8 หมื่นล้าน
ขณะที่นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่า มาตรการแก้หนี้ครัวเรือน เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย เพื่อช่วยลูกหนี้กลุ่มที่ล้มแล้ว แต่สามารถที่จะลุกขึ้นมาได้ โดยหลังจากคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นชอบหลักการเรื่องนี้แล้ว ล่าสุด คณะกรรมการกำกับนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ของ ธปท. ก็เห็นชอบแนวทางแล้วเช่นกัน รอทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
โดยเงินที่จะใช้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้จะมาจาก กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ประมาณ 3.9 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการให้แบงก์พาณิชย์ลดเงินนำส่งเข้า FIDF เพื่อมาใส่ในกองทุนช่วยลูกหนี้ ขณะที่แบงก์จะสมทบเข้ามาอีกครึ่งในสัดส่วนเท่ากัน ดังนั้นจะมีเงินที่จะกองรวมกันไว้ราวเกือบ ๆ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะช่วยจ่ายดอกเบี้ยของลูกหนี้ หรือแขวนไว้ในช่วง 3 ปี แบงก์ไหนช่วยลูกหนี้เท่าไหร่ ก็ค่อยมาเบิกไป
“นอกจากนี้ในช่วงที่ลูกหนี้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย 3 ปี ปีแรกเรายังให้จ่ายเงินต้นแค่ 50% ของค่างวดเดิม ปีที่สอง จ่าย 70% และปีที่สาม จ่าย 90% เราจะช่วยให้คนที่เคยผ่อนไม่ไหว มาเริ่มจากผ่อนน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และทั้งหมดไปตัดเงินต้น 100% เพราะดอกเบี้ยไม่มีใน 3 ปีแรก ซึ่งหากทำได้ตามเงื่อนไข 3 ปี ดอกเบี้ยที่แขวนไว้จะยกให้เลย แต่ถ้าทำไม่ได้ ต้องออกจากโครงการ”
เปิดเกณฑ์แก้หนี้ 2.3 ล้านบัญชี
นายเผ่าภูมิกล่าวว่า สำหรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกหนี้ 3 กลุ่มที่สามารถเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ ต้องเป็นกลุ่มมีปัญหาค้างชำระ 30 วัน หรือเป็นหนี้เสียไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Moral Hazard ตั้งใจเบี้ยวหนี้ขีดเส้นข้อมูลลูกหนี้ถึงวันที่ 31 ต.ค. 2567 เท่านั้น
ประกอบด้วย
1.หนี้กู้บ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท
2.กู้ซื้อรถยนต์ไม่เกิน 800,000 บาทต่อคัน รวมถึงหนี้กู้ซื้อรถมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 50,000 บาท และ
3.กลุ่ม SMEs ที่กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย
โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้มีมูลหนี้รวม 1.31 ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวนลูกหนี้ที่เข้าข่าย 2.3 ล้านบัญชี แยกเป็นหนี้บ้าน 4.6 แสนบัญชี วงเงิน 4.83 แสนล้านบาท หนี้รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ 1.4 ล้านบัญชี วงเงินรวม 3.75 แสนล้านบาท หนี้เอสเอ็มอี 4.3 แสนบัญชี วงเงินรวม 4.54 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดีผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการต้องมีการลงทะเบียน ไม่ใช่เป็นการได้สิทธิอัตโนมัติ
นายเผ่าภูมิกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะมีการแฮร์คัตหนี้ให้ลูกหนี้ที่เป็นหนี้วงเงินไม่มากด้วย แต่เรื่องนี้ต้องรอการแถลงอย่างเป็นทางการอีกที
“หลังจากเคลียร์หนี้ให้ประชาชนแล้ว เราก็จะเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการด้านการลงทุนต่อไป” รมช.คลัง กล่าว
ช่วยคนไม่ให้ถูกยึดบ้าน-รถ
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า เรื่องแก้หนี้รอบนี้ ถ้ารัฐบาลไม่ช่วยขับเคลื่อนก็จะไปได้ลำบาก ก็ต้องให้เครดิตรัฐบาลที่ทำเรื่องนี้ ซึ่งหลักการ ก็คือ ต้องการช่วยเหลือลูกหนี้ที่อาการหนัก เพราะหากเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ โดยเฉพาะบ้าน หากถูกยึดก็เสียที่อยู่อาศัย ส่วนหนี้รถ โดยเฉพาะถ้าเป็นรถที่ใช้ทำมาหากิน โดนยึด ก็เสียเครื่องมือทำมาหากิน ขณะที่หากเป็นสถานประกอบการ ถ้าโดนยึด ธุรกิจก็จะไปต่อไม่ได้
“ความสำคัญลำดับแรกเลยคือ อย่าให้เขาโดนยึดบ้าน ยึดรถ หรือสถานประกอบการ แต่ถามว่าหนี้ครัวเรือนจะลงมากมายไหม ก็คงไม่ เพราะหนี้ครัวเรือนโตมาตลอด 10 ปี อยู่ ๆ คงจะเสกให้หายวับไปเลยคงเป็นไม่ได้ ซึ่งปัญหาหลัก มาจากเรื่องรายได้ คนไทยรายได้โตช้า แต่ค่าใช้จ่ายโตเร็ว”
บันทึก “เครดิตบูโร” รหัสใหม่
นายปิติกล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการป้องกันเรื่องการจงใจเบี้ยวหนี้ ก็ต้องบอกว่า มาตรการนี้เปรียบเหมือนรัฐบาล จะแจกคีโมฟรีให้คนที่เป็นมะเร็ง ดังนั้นคนที่เป็นหวัด หรือป่วยเล็กน้อย ก็ไม่ต้องเข้ามา เพราะกรณีนี้จะถูกล็อกไว้ในเครดิตบูโร เพียงแต่ไม่ได้บันทึกว่าเป็นหนี้เสีย แต่จะมีรหัสใหม่ขึ้นมาบันทึกว่าเป็นลูกหนี้ที่ค่อนข้างหนัก ที่เข้ารับความช่วยเหลือจากมาตรการ ซึ่งในช่วงพักดอกเบี้ย 3 ปี จะกู้ใหม่ไม่ได้
ทั้งนี้ การชำระของลูกหนี้ หากเข้าร่วมโครงการ คือ ปีแรก จะจ่ายแค่ 50% ของเงินงวด แล้วเงินที่จ่ายคืนหนี้จะไปตัดเงินต้นทั้งหมด ส่วนปีที่สอง จ่าย 70% ของเงินงวด และปีที่สาม จ่าย 90% ของเงินงวด ส่วนดอกเบี้ยไม่ต้องจ่าย แต่รัฐบาลและแบงก์จะจ่ายแทนให้ ฝ่ายละครึ่ง โดยส่วนของรัฐบาลจะนำมาจากเงินนำส่ง FIDF มา 0.23% มาใส่ในกองทุนเพื่อใช้จ่ายดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ที่ร่วมโครงการในช่วง 3 ปี
“การชำระในช่วง 3 ปี จะได้ไปตัดเงินต้นก่อน ซึ่งในการจ่ายดอกเบี้ย แบงก์จะร่วมจ่ายครึ่งหนึ่งกับรัฐที่ใช้เงินจาก FIDF อีกครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการช่วยเหลือดอกเบี้ยแบบให้เปล่า ช่วง 3 ปีนี้ หากลูกหนี้จ่ายแค่เงินต้นอย่างเดียว ไม่ต้องมีภาระดอกเบี้ย เชื่อว่าจะช่วยให้ภาระหนี้เบาลงไปได้มากเลยทีเดียว และจะทำให้ลูกหนี้มีกำลังใจที่จะชำระต่อไป”
หนี้เสียยังขาขึ้น-SMEs หนักสุด
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงิน 157 แห่ง ที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ครอบคลุม
หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3 ล้านล้านบาท)
โดยพบว่าระดับของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไตรมาส 3/67 อยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านล้านบาท พุ่งขึ้นมาชัดเจนนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2566
“เอ็นพีแอลประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 14.1% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว (YOY) และโต 3.4% จากไตรมาสก่อนหน้า (QOQ) อย่างไรก็ดีใจชื้นตรงที่เอ็นพีแอล สินเชื่อบ้าน รถยนต์ เครดิตคาร์ด รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลนิ่ง ๆ หรือโตไม่มากจากไตรมาสก่อน แต่ที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็ก หรือ SMEs เติบโต 20% จากช่วงปีที่แล้ว และโต 5.2% จากไตรมาสก่อนหน้า อันนี้คือประเด็นสำคัญมาก ๆ ขณะที่ยอดหนี้ค้างชำระ 30-90 วัน (SM) คงค้าง Q3/67 มาหยุดที่ 4.8 แสนล้านบาท ลดลงมาทั้ง YOY และ QOQ ทำให้เบาใจขึ้นได้บ้าง”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1701052
ใกล้คลอด รัฐบาล-ธนาคารช่วยคนละครึ่ง หน้าตัก 8 หมื่นล้านแก้หนี้บ้าน-รถ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ขณะนี้ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่รอให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคาะ โดยล่าสุดมีการขยับเพดานวงเงินหนี้ที่เป็นการกำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ ที่ก่อนหน้านี้ ระบุว่าจะช่วยกลุ่มหนี้ไม่เกิน 700,000 บาท ก็มีการขยับเป็นไม่เกิน 800,000 บาทต่อราย
“ยังมีต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าในช่วงที่อยู่ในโครงการ ลูกหนี้จะขอสินเชื่อใหม่ได้หรือไม่ หรือได้เมื่อไหร่ เช่น ปีแรกคงไม่ให้ขอสินเชื่อใหม่ได้เลย แล้วปีต่อ ๆ ค่อยผ่อนคลาย ถ้าสามารถผ่อนชำระได้ตามที่ทำสัญญา หรือห้ามตลอด 3 ปี ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องตกลงกัน”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ลูกหนี้ที่เป็นหนี้บ้าน หรือหนี้รถ และมีหนี้เกี่ยวกับการบริโภคด้วย สามารถนำหนี้ที่เกี่ยวกับการบริโภคมารวมกับหนี้บ้าน หรือหนี้รถได้ด้วย ภายใต้วงเงินที่กำหนด เช่น มีหนี้บ้านอยู่ 2.5 ล้านบาท และมีหนี้เพื่อบริโภคอีก 5 แสนบาท ก็นำมารวมกันเป็นหนี้บ้านก้อนเดียว ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อนำวงเงินมาทำข้อตกลงปรับโครงสร้างการผ่อนชำระ
ยันมีเงินหน้าตัก 8 หมื่นล้าน
ขณะที่นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่า มาตรการแก้หนี้ครัวเรือน เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย เพื่อช่วยลูกหนี้กลุ่มที่ล้มแล้ว แต่สามารถที่จะลุกขึ้นมาได้ โดยหลังจากคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นชอบหลักการเรื่องนี้แล้ว ล่าสุด คณะกรรมการกำกับนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ของ ธปท. ก็เห็นชอบแนวทางแล้วเช่นกัน รอทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
โดยเงินที่จะใช้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้จะมาจาก กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ประมาณ 3.9 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการให้แบงก์พาณิชย์ลดเงินนำส่งเข้า FIDF เพื่อมาใส่ในกองทุนช่วยลูกหนี้ ขณะที่แบงก์จะสมทบเข้ามาอีกครึ่งในสัดส่วนเท่ากัน ดังนั้นจะมีเงินที่จะกองรวมกันไว้ราวเกือบ ๆ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะช่วยจ่ายดอกเบี้ยของลูกหนี้ หรือแขวนไว้ในช่วง 3 ปี แบงก์ไหนช่วยลูกหนี้เท่าไหร่ ก็ค่อยมาเบิกไป
“นอกจากนี้ในช่วงที่ลูกหนี้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย 3 ปี ปีแรกเรายังให้จ่ายเงินต้นแค่ 50% ของค่างวดเดิม ปีที่สอง จ่าย 70% และปีที่สาม จ่าย 90% เราจะช่วยให้คนที่เคยผ่อนไม่ไหว มาเริ่มจากผ่อนน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และทั้งหมดไปตัดเงินต้น 100% เพราะดอกเบี้ยไม่มีใน 3 ปีแรก ซึ่งหากทำได้ตามเงื่อนไข 3 ปี ดอกเบี้ยที่แขวนไว้จะยกให้เลย แต่ถ้าทำไม่ได้ ต้องออกจากโครงการ”
เปิดเกณฑ์แก้หนี้ 2.3 ล้านบัญชี
นายเผ่าภูมิกล่าวว่า สำหรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกหนี้ 3 กลุ่มที่สามารถเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ ต้องเป็นกลุ่มมีปัญหาค้างชำระ 30 วัน หรือเป็นหนี้เสียไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Moral Hazard ตั้งใจเบี้ยวหนี้ขีดเส้นข้อมูลลูกหนี้ถึงวันที่ 31 ต.ค. 2567 เท่านั้น
ประกอบด้วย
1.หนี้กู้บ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท
2.กู้ซื้อรถยนต์ไม่เกิน 800,000 บาทต่อคัน รวมถึงหนี้กู้ซื้อรถมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 50,000 บาท และ
3.กลุ่ม SMEs ที่กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย
โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้มีมูลหนี้รวม 1.31 ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวนลูกหนี้ที่เข้าข่าย 2.3 ล้านบัญชี แยกเป็นหนี้บ้าน 4.6 แสนบัญชี วงเงิน 4.83 แสนล้านบาท หนี้รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ 1.4 ล้านบัญชี วงเงินรวม 3.75 แสนล้านบาท หนี้เอสเอ็มอี 4.3 แสนบัญชี วงเงินรวม 4.54 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดีผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการต้องมีการลงทะเบียน ไม่ใช่เป็นการได้สิทธิอัตโนมัติ
นายเผ่าภูมิกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะมีการแฮร์คัตหนี้ให้ลูกหนี้ที่เป็นหนี้วงเงินไม่มากด้วย แต่เรื่องนี้ต้องรอการแถลงอย่างเป็นทางการอีกที
“หลังจากเคลียร์หนี้ให้ประชาชนแล้ว เราก็จะเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการด้านการลงทุนต่อไป” รมช.คลัง กล่าว
ช่วยคนไม่ให้ถูกยึดบ้าน-รถ
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า เรื่องแก้หนี้รอบนี้ ถ้ารัฐบาลไม่ช่วยขับเคลื่อนก็จะไปได้ลำบาก ก็ต้องให้เครดิตรัฐบาลที่ทำเรื่องนี้ ซึ่งหลักการ ก็คือ ต้องการช่วยเหลือลูกหนี้ที่อาการหนัก เพราะหากเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ โดยเฉพาะบ้าน หากถูกยึดก็เสียที่อยู่อาศัย ส่วนหนี้รถ โดยเฉพาะถ้าเป็นรถที่ใช้ทำมาหากิน โดนยึด ก็เสียเครื่องมือทำมาหากิน ขณะที่หากเป็นสถานประกอบการ ถ้าโดนยึด ธุรกิจก็จะไปต่อไม่ได้
“ความสำคัญลำดับแรกเลยคือ อย่าให้เขาโดนยึดบ้าน ยึดรถ หรือสถานประกอบการ แต่ถามว่าหนี้ครัวเรือนจะลงมากมายไหม ก็คงไม่ เพราะหนี้ครัวเรือนโตมาตลอด 10 ปี อยู่ ๆ คงจะเสกให้หายวับไปเลยคงเป็นไม่ได้ ซึ่งปัญหาหลัก มาจากเรื่องรายได้ คนไทยรายได้โตช้า แต่ค่าใช้จ่ายโตเร็ว”
บันทึก “เครดิตบูโร” รหัสใหม่
นายปิติกล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการป้องกันเรื่องการจงใจเบี้ยวหนี้ ก็ต้องบอกว่า มาตรการนี้เปรียบเหมือนรัฐบาล จะแจกคีโมฟรีให้คนที่เป็นมะเร็ง ดังนั้นคนที่เป็นหวัด หรือป่วยเล็กน้อย ก็ไม่ต้องเข้ามา เพราะกรณีนี้จะถูกล็อกไว้ในเครดิตบูโร เพียงแต่ไม่ได้บันทึกว่าเป็นหนี้เสีย แต่จะมีรหัสใหม่ขึ้นมาบันทึกว่าเป็นลูกหนี้ที่ค่อนข้างหนัก ที่เข้ารับความช่วยเหลือจากมาตรการ ซึ่งในช่วงพักดอกเบี้ย 3 ปี จะกู้ใหม่ไม่ได้
ทั้งนี้ การชำระของลูกหนี้ หากเข้าร่วมโครงการ คือ ปีแรก จะจ่ายแค่ 50% ของเงินงวด แล้วเงินที่จ่ายคืนหนี้จะไปตัดเงินต้นทั้งหมด ส่วนปีที่สอง จ่าย 70% ของเงินงวด และปีที่สาม จ่าย 90% ของเงินงวด ส่วนดอกเบี้ยไม่ต้องจ่าย แต่รัฐบาลและแบงก์จะจ่ายแทนให้ ฝ่ายละครึ่ง โดยส่วนของรัฐบาลจะนำมาจากเงินนำส่ง FIDF มา 0.23% มาใส่ในกองทุนเพื่อใช้จ่ายดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ที่ร่วมโครงการในช่วง 3 ปี
“การชำระในช่วง 3 ปี จะได้ไปตัดเงินต้นก่อน ซึ่งในการจ่ายดอกเบี้ย แบงก์จะร่วมจ่ายครึ่งหนึ่งกับรัฐที่ใช้เงินจาก FIDF อีกครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการช่วยเหลือดอกเบี้ยแบบให้เปล่า ช่วง 3 ปีนี้ หากลูกหนี้จ่ายแค่เงินต้นอย่างเดียว ไม่ต้องมีภาระดอกเบี้ย เชื่อว่าจะช่วยให้ภาระหนี้เบาลงไปได้มากเลยทีเดียว และจะทำให้ลูกหนี้มีกำลังใจที่จะชำระต่อไป”
หนี้เสียยังขาขึ้น-SMEs หนักสุด
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงิน 157 แห่ง ที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ครอบคลุม
หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3 ล้านล้านบาท)
โดยพบว่าระดับของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไตรมาส 3/67 อยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านล้านบาท พุ่งขึ้นมาชัดเจนนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2566
“เอ็นพีแอลประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 14.1% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว (YOY) และโต 3.4% จากไตรมาสก่อนหน้า (QOQ) อย่างไรก็ดีใจชื้นตรงที่เอ็นพีแอล สินเชื่อบ้าน รถยนต์ เครดิตคาร์ด รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลนิ่ง ๆ หรือโตไม่มากจากไตรมาสก่อน แต่ที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็ก หรือ SMEs เติบโต 20% จากช่วงปีที่แล้ว และโต 5.2% จากไตรมาสก่อนหน้า อันนี้คือประเด็นสำคัญมาก ๆ ขณะที่ยอดหนี้ค้างชำระ 30-90 วัน (SM) คงค้าง Q3/67 มาหยุดที่ 4.8 แสนล้านบาท ลดลงมาทั้ง YOY และ QOQ ทำให้เบาใจขึ้นได้บ้าง”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1701052