กสิกรไทย คงจีดีพีปี’67ที่ 2.6% จับตาน้ำท่วม ผลกระทบเฉพาะหน้า ศก.หลักชะลอตัว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4802756
กสิกรไทย คงจีดีพีปี’67ที่ 2.6% จับตาน้ำท่วม ผลกระทบเฉพาะหน้า ศก.หลักชะลอตัว
เมื่อวันที่ 20 กันยายน นาย
บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า เฟดลดดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมที่ผ่านมา มากกว่าที่คาดไว้ และได้ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยอีก 2% ภายในปี 2569 เป็นการเริ่มต้นของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง ส่วนทางเศรษฐกิจจีน มีโอกาสขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ 5% ในปี 2567 จากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่สิ้นสุด และรัฐบาลจีนยังไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอย่างชัดเจน รวมถึงยังเผชิญการกีดกันทางการค้าจีนจากทางตะวันตก สำหรับยุโรป เศรษฐกิจเยอรมนียังส่งสัญญาณความเปราะบาง รวมถึงผลกระทบจากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังสร้างความไม่แน่นอนให้กับภาคธุรกิจในยุโรปเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีประเด็นที่ต้องจับตาคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพราะจะส่งผลต่อนโยบายการค้าการลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นางสาว
ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ขยายความในประเด็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกว่า ได้สร้างความไม่แน่นอนให้เศรษฐกิจไทย ซึ่งมองว่าเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง โอกาสในฐานะที่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลาง ในขณะที่ความเสี่ยงเกิดจากผลกระทบที่เกิดจากมาตรการกีดกันการค้าโลก และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเกิด Trade War 2.0 ที่สหรัฐอเมริกาอาจมีการกำหนดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 60% และการนำเข้าจากที่อื่นๆ เป็น 10-20% น่าจะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอีกระลอก โดยเฉพาะสินค้าจีนที่ยังไม่โดนเก็บภาษีจาก Trade War 1.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้แรงงานสูง (Labor-Intensive) และไทยอาจได้ผลบวก
ไม่มาก
นางสาว
เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ประเด็น ภูมิรัฐศาสตร์โลกจะเพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมไทยในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย อาจเสี่ยงเผชิญการผลิตที่ล้นเกิน เพราะยากจะหวังพึ่งการส่งออกและตลาดในประเทศคงไม่โตได้มากเท่าที่คาด
นางสาว
ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เพิ่มเติมว่า ในระหว่างที่ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกยังยืดเยื้อ รวมถึงปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในโลกที่ยังคงอยู่ ควบคู่กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกในขาลง คาดว่าจะส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe-Haven Assets) อย่างทองคำ ยังได้รับแรงหนุน ซึ่งที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรตระหนักว่า ความผันผวนของสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะหลังจากช่วงโควิด ดังนั้น จึงยังต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุน และกระจายความเสี่ยงให้ดีด้วย
สำหรับทิศทางเศรษฐกิจในระยะที่เหลือของปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2567 ที่ 2.6% จากแรงหนุนการฟื้นตัวส่งออก ท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2567 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าช่วงครึ่งปีแรก จากปัจจัยฐานของการส่งออกและการลงทุน และการท่องเที่ยวช่วงฤดูกาล (High Season) รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วม แนวโน้มเศรษฐกิจหลักของโลกที่ชะลอตัว รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลงยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
ด้านอุตสาหกรรมไทย มองว่าจะยังอยู่ท่ามกลางปัญหา จาก 4 เรื่องหลักในช่วงที่เหลือของปี ได้แก่ 1.น้ำท่วม โดยผลกระทบจะมากขึ้นอีกถ้าสถานการณ์เกิดรุนแรงในภาคกลางและภาคใต้ 2.บาทผันผวนสูง 3.การแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศ 4.ต้นทุนเพิ่มโดยเฉพาะจากค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งทั้ง 4 เรื่อง กระทบเกษตร การผลิต และบริการ หลักๆ คือ SMEs สำหรับภาพทั้งปี 2567 ประเมินว่า รถยนต์ ที่อยู่อาศัย และก่อสร้าง เป็นกลุ่มธุรกิจที่ลำบากจากเครื่องชี้ด้านรายได้ที่หดตัว
ส่วนภาคการเงินนั้น โจทย์หลักยังคงเป็นเรื่องหนี้สินภาคครัวเรือน ที่จะยังเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ใกล้ระดับ 90% ในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ทำให้โอกาสการเติบโตสินเชื่อใหม่อยู่ในกรอบที่จำกัดกว่าเดิมมาก โดยสินเชื่อของระบบแบงก์ไทยปีนี้คงโตไม่เกิน 1.5% ท่ามกลางความสามารถในการกู้ยืมของลูกหนี้ที่ลดลง โดยผลสำรวจหนี้สินครัวเรือนประจำไตรมาส 3/2567 พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถเคยประสบปัญหาการชำระหนี้ ทำให้ต้องเข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน ซึ่งปัญหาจะเชื่อมโยงกับการมีรายได้ในระดับไม่สูง มีเงินออมน้อย จึงทำให้อ่อนไหวมากกว่าลูกหนี้กลุ่มอื่นๆ
ขณะที่ ผลสำรวจครั้งนี้ พบผู้ที่พึ่งพาหนี้นอกระบบ 8.2% ซึ่งต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ วางแผนทางการเงิน และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อใหม่ในระบบ นอกเหนือจากการแก้ที่ยั่งยืน
ด้วยการเพิ่มเสถียรภาพด้านรายได้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย.
ผู้ว่าแบงก์ชาติ ห่วงหนี้พุ่ง-ครัวเรือนเปราะบาง ย้ำ กนง.ไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามเฟด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4802345
เศรษฐพุฒิ ห่วงหนี้พุ่ง-ครัวเรือนเปราะบาง แต่หั่นดอกเบี้ยไม่เท่ากับลดภาระปชช.
นาย
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 หัวข้อ “
หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow” ว่า หนี้ครัวเรือนช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเพิ่มจาก 50% เป็น 90% ต่อจีดีพี ทำให้ภาวะการเงินของครัวเรือนไทยที่เปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปัจจุบัน 38% ของคนไทยมีหนี้ในระบบ มีปริมาณหนี้เฉลี่ยคนละ 540,000 บาท และส่วนใหญ่มีหนี้ที่อาจไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้เสีย) ครัวเรือนบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย ที่ต้องก่อหนี้ในช่วงที่ขาดรายได้จากวิกฤตโควิด กำลังเริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้เนื่องจากรายได้อาจยังไม่ฟื้นตัวดี มีเพียง 22% ของคนไทยที่มีเงินออมในระดับที่เพียงพอ และเพียง 16% ที่มีการออมเพื่อการเกษียณอายุ
นาย
เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ต้นต่อของปัญหาที่เกิดจากการตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเป็นหลัก และไม่ได้ให้ความสำคัญกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในอนาคตมากเท่าที่ควร ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากตัวบุคคลเอง และสภาพแวดล้อมด้วย โดยมาจากสถาบัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ไม่เอื้อให้ปัจเจกคำนึงถึงผลประโยชน์ในอนาคตอย่างเพียงพอ ยกตัวอย่างจากปัญหาหนี้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.ปัญหาหนี้ครัวเรือน เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว และเกิดจากการที่ประชาชนขาดรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ขาดระบบโครงข่ายรองรับทางสังคม (social safety net) ที่ดีพอ สถาบันการเงินไม่มีข้อมูลที่รอบด้านในการประเมินความเสี่ยงของผู้กู้อย่างเหมาะสม และ 3.ปัญหาการลงทุนต่ำของภาคธุรกิจ ทำให้ทั้งธุรกิจใหญ่ที่ไม่ต้องแข่งก็ชนะ และธุรกิจเล็กที่ไม่สามารถแข่งขันได้ขาดแรงจูงใจที่จะลงทุน รวมถึงนโยบายของรัฐที่เน้นการช่วยเหลือระยะสั้น แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน
นาย
เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ตัวอย่างของนโยบายในอดีตที่ให้น้ำหนักกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากเกินไป ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่านโยบายเหล่านั้นอาจส่งผลต่อประเทศในระยะยาว อาทิ งานวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ แสดงให้เห็นว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกรในอดีตที่ทำในวงกว้าง ทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีเงื่อนไขการรักษาวินัยทางการเงินที่ดี ส่งผลให้ลูกหนี้กว่า 60% มีโอกาสเป็นหนี้เรื้อรัง และกว่า 45% มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทางกลับกัน นโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว ที่อาจต้องแลกมาด้วยต้นทุนในวันนี้ ก็เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ กำลังทำให้ประเทศเสียโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างเสถียรภาพในระยะยาว ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ที่แม้ไม่ใช่เรา แต่คนที่อยู่ในประเทศของเราต้องแบกรับในอนาคต
นาย
เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ธนาคารกลางทั่วโลก มีพันธกิจที่คล้ายคลึงกันคือ ไม่เพียงต้องการเห็นเศรษฐกิจขยายตัว แต่ต้องเสริมสร้างให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย ซึ่งต้องอาศัยเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินเป็นพื้นฐานสำคัญ ธนาคารกลางจึงถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการดำเนินนโยบายการเงินที่ต้องให้น้ำหนักกับเสถียรภาพในระยะยาว แม้การกระตุ้นเศรษฐกิจจะสามารถทำได้ผ่านการกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้รวดเร็วในระยะสั้น แต่มักต้องแลกมาด้วยภาวะเงินเฟ้อ และอาจเป็นการสะสมความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจจากการก่อหนี้เกินตัวหรือพฤติกรรมเก็งกำไรของนักลงทุน ซึ่งจะฉุดรั้งการเติบโตในระยะยาวหรือนำไปสู่วิกฤตร้ายแรงได้
นาย
เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า หน้าที่ในการมองยาวของธนาคารกลาง จึงต้องมาพร้อมกับอิสระในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าว หลายๆ ครั้งในการทำหน้าที่ของธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายในลักษณะที่สวนทางกับวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบต่อทุกภาคส่วนเป็นวงกว้าง ย่อมมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ หากธนาคารกลางไม่อิสระเพียงพอก็อาจทำให้เสียหลักการของการมองยาวได้
“ทุกขณะที่เราปล่อยผ่านปัญหาหนี้เหล่านี้ก็จะสะสม ฝังรากลึกขึ้น ทำให้ต้นทุนในการแก้ไขปัญหาสูงขึ้น การเริ่มตั้งแต่การตระหนักรู้ถึงปัญหา เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไข ซึ่งไม่มีใครหรือหน่วยงานใดสามารถแก้ปัญหาหนี้ได้เพียงลำพัง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาสังคม โดยอาจเริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ คือการสำรวจและพยายามปรับพฤติกรรมที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของตัวเอง ศึกษานโยบายต่างๆ และเรียกร้องผ่านกลไกประชาธิปไตยให้ผู้กำหนดนโยบายออกนโยบายที่คิดถึงผลระยะยาวต่อประเทศ” นาย
เศรษฐพุฒิ กล่าว
นาย
เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ต้องดูในภาพรวมเพราะว่ามีผลข้างเคียงอย่างไร ยกตัวอย่างหนี้ครัวเรือนก็มีหลากหลายกลุ่ม ยาที่จะใช้จึงต้องถูกจุด นำยาครอบจักรวาลอย่างเดียวมาใช้ไม่ได้ โดยการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับลดลง 0.50% ถือว่าเป็นระดับที่ไม่น้อย แต่เบื้องต้นตลาดตอบรับไปแล้วในช่วงคาดการณ์ก่อนหน้านี้ แต่ผลต่อประเทศไทยคือ การลดดอกเบี้ยทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงพอสมควร เงินในภูมิภาครวมถึงค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ช่องทางที่มีผลต่อไทยจึงเป็นเรื่องของตลาดเงินและฝั่งค่าเงิน ผลกระทบในแง่พันธบัตรรัฐบาลก็มีบ้าง แต่ผลกระทบในแง่เศรษฐกิจอาจไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้น อีกเรื่องที่ซ้ำเติมผลกระทบค่าเงินบาทแข็งคือ ราคาทองคำที่ดันตัวขึ้น ทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง (ออลไทม์ไฮ) โดยค่าเงินบาทถือเป็นสกุลเงินที่มีการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อราคาทองคำ อ้างอิงไปด้วยกัน เมื่อทองขึ้น ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นซ้ำเติมด้วย
JJNY : 5in1 จับตาน้ำท่วม│พริษฐ์จี้รบ.│ปิ๊งไอเดีย คฝ.ล้างบ้าน│ผู้ว่าแบงก์ชาติห่วงหนี้พุ่ง│ทหารรัสเซียเสียชีวิตเกิน 70,000
https://www.matichon.co.th/economy/news_4802756
กสิกรไทย คงจีดีพีปี’67ที่ 2.6% จับตาน้ำท่วม ผลกระทบเฉพาะหน้า ศก.หลักชะลอตัว
เมื่อวันที่ 20 กันยายน นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า เฟดลดดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมที่ผ่านมา มากกว่าที่คาดไว้ และได้ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยอีก 2% ภายในปี 2569 เป็นการเริ่มต้นของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง ส่วนทางเศรษฐกิจจีน มีโอกาสขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ 5% ในปี 2567 จากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่สิ้นสุด และรัฐบาลจีนยังไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอย่างชัดเจน รวมถึงยังเผชิญการกีดกันทางการค้าจีนจากทางตะวันตก สำหรับยุโรป เศรษฐกิจเยอรมนียังส่งสัญญาณความเปราะบาง รวมถึงผลกระทบจากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังสร้างความไม่แน่นอนให้กับภาคธุรกิจในยุโรปเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีประเด็นที่ต้องจับตาคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพราะจะส่งผลต่อนโยบายการค้าการลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ขยายความในประเด็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกว่า ได้สร้างความไม่แน่นอนให้เศรษฐกิจไทย ซึ่งมองว่าเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง โอกาสในฐานะที่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลาง ในขณะที่ความเสี่ยงเกิดจากผลกระทบที่เกิดจากมาตรการกีดกันการค้าโลก และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเกิด Trade War 2.0 ที่สหรัฐอเมริกาอาจมีการกำหนดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 60% และการนำเข้าจากที่อื่นๆ เป็น 10-20% น่าจะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอีกระลอก โดยเฉพาะสินค้าจีนที่ยังไม่โดนเก็บภาษีจาก Trade War 1.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้แรงงานสูง (Labor-Intensive) และไทยอาจได้ผลบวก
ไม่มาก
นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ประเด็น ภูมิรัฐศาสตร์โลกจะเพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมไทยในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย อาจเสี่ยงเผชิญการผลิตที่ล้นเกิน เพราะยากจะหวังพึ่งการส่งออกและตลาดในประเทศคงไม่โตได้มากเท่าที่คาด
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เพิ่มเติมว่า ในระหว่างที่ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกยังยืดเยื้อ รวมถึงปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในโลกที่ยังคงอยู่ ควบคู่กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกในขาลง คาดว่าจะส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe-Haven Assets) อย่างทองคำ ยังได้รับแรงหนุน ซึ่งที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรตระหนักว่า ความผันผวนของสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะหลังจากช่วงโควิด ดังนั้น จึงยังต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุน และกระจายความเสี่ยงให้ดีด้วย
สำหรับทิศทางเศรษฐกิจในระยะที่เหลือของปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2567 ที่ 2.6% จากแรงหนุนการฟื้นตัวส่งออก ท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2567 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าช่วงครึ่งปีแรก จากปัจจัยฐานของการส่งออกและการลงทุน และการท่องเที่ยวช่วงฤดูกาล (High Season) รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วม แนวโน้มเศรษฐกิจหลักของโลกที่ชะลอตัว รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลงยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
ด้านอุตสาหกรรมไทย มองว่าจะยังอยู่ท่ามกลางปัญหา จาก 4 เรื่องหลักในช่วงที่เหลือของปี ได้แก่ 1.น้ำท่วม โดยผลกระทบจะมากขึ้นอีกถ้าสถานการณ์เกิดรุนแรงในภาคกลางและภาคใต้ 2.บาทผันผวนสูง 3.การแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศ 4.ต้นทุนเพิ่มโดยเฉพาะจากค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งทั้ง 4 เรื่อง กระทบเกษตร การผลิต และบริการ หลักๆ คือ SMEs สำหรับภาพทั้งปี 2567 ประเมินว่า รถยนต์ ที่อยู่อาศัย และก่อสร้าง เป็นกลุ่มธุรกิจที่ลำบากจากเครื่องชี้ด้านรายได้ที่หดตัว
ส่วนภาคการเงินนั้น โจทย์หลักยังคงเป็นเรื่องหนี้สินภาคครัวเรือน ที่จะยังเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ใกล้ระดับ 90% ในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ทำให้โอกาสการเติบโตสินเชื่อใหม่อยู่ในกรอบที่จำกัดกว่าเดิมมาก โดยสินเชื่อของระบบแบงก์ไทยปีนี้คงโตไม่เกิน 1.5% ท่ามกลางความสามารถในการกู้ยืมของลูกหนี้ที่ลดลง โดยผลสำรวจหนี้สินครัวเรือนประจำไตรมาส 3/2567 พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถเคยประสบปัญหาการชำระหนี้ ทำให้ต้องเข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน ซึ่งปัญหาจะเชื่อมโยงกับการมีรายได้ในระดับไม่สูง มีเงินออมน้อย จึงทำให้อ่อนไหวมากกว่าลูกหนี้กลุ่มอื่นๆ
ขณะที่ ผลสำรวจครั้งนี้ พบผู้ที่พึ่งพาหนี้นอกระบบ 8.2% ซึ่งต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ วางแผนทางการเงิน และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อใหม่ในระบบ นอกเหนือจากการแก้ที่ยั่งยืน
ด้วยการเพิ่มเสถียรภาพด้านรายได้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย.
ผู้ว่าแบงก์ชาติ ห่วงหนี้พุ่ง-ครัวเรือนเปราะบาง ย้ำ กนง.ไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามเฟด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4802345
เศรษฐพุฒิ ห่วงหนี้พุ่ง-ครัวเรือนเปราะบาง แต่หั่นดอกเบี้ยไม่เท่ากับลดภาระปชช.
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 หัวข้อ “หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow” ว่า หนี้ครัวเรือนช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเพิ่มจาก 50% เป็น 90% ต่อจีดีพี ทำให้ภาวะการเงินของครัวเรือนไทยที่เปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปัจจุบัน 38% ของคนไทยมีหนี้ในระบบ มีปริมาณหนี้เฉลี่ยคนละ 540,000 บาท และส่วนใหญ่มีหนี้ที่อาจไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้เสีย) ครัวเรือนบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย ที่ต้องก่อหนี้ในช่วงที่ขาดรายได้จากวิกฤตโควิด กำลังเริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้เนื่องจากรายได้อาจยังไม่ฟื้นตัวดี มีเพียง 22% ของคนไทยที่มีเงินออมในระดับที่เพียงพอ และเพียง 16% ที่มีการออมเพื่อการเกษียณอายุ
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ต้นต่อของปัญหาที่เกิดจากการตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเป็นหลัก และไม่ได้ให้ความสำคัญกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในอนาคตมากเท่าที่ควร ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากตัวบุคคลเอง และสภาพแวดล้อมด้วย โดยมาจากสถาบัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ไม่เอื้อให้ปัจเจกคำนึงถึงผลประโยชน์ในอนาคตอย่างเพียงพอ ยกตัวอย่างจากปัญหาหนี้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.ปัญหาหนี้ครัวเรือน เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว และเกิดจากการที่ประชาชนขาดรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ขาดระบบโครงข่ายรองรับทางสังคม (social safety net) ที่ดีพอ สถาบันการเงินไม่มีข้อมูลที่รอบด้านในการประเมินความเสี่ยงของผู้กู้อย่างเหมาะสม และ 3.ปัญหาการลงทุนต่ำของภาคธุรกิจ ทำให้ทั้งธุรกิจใหญ่ที่ไม่ต้องแข่งก็ชนะ และธุรกิจเล็กที่ไม่สามารถแข่งขันได้ขาดแรงจูงใจที่จะลงทุน รวมถึงนโยบายของรัฐที่เน้นการช่วยเหลือระยะสั้น แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ตัวอย่างของนโยบายในอดีตที่ให้น้ำหนักกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากเกินไป ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่านโยบายเหล่านั้นอาจส่งผลต่อประเทศในระยะยาว อาทิ งานวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ แสดงให้เห็นว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกรในอดีตที่ทำในวงกว้าง ทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีเงื่อนไขการรักษาวินัยทางการเงินที่ดี ส่งผลให้ลูกหนี้กว่า 60% มีโอกาสเป็นหนี้เรื้อรัง และกว่า 45% มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทางกลับกัน นโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว ที่อาจต้องแลกมาด้วยต้นทุนในวันนี้ ก็เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ กำลังทำให้ประเทศเสียโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างเสถียรภาพในระยะยาว ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ที่แม้ไม่ใช่เรา แต่คนที่อยู่ในประเทศของเราต้องแบกรับในอนาคต
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ธนาคารกลางทั่วโลก มีพันธกิจที่คล้ายคลึงกันคือ ไม่เพียงต้องการเห็นเศรษฐกิจขยายตัว แต่ต้องเสริมสร้างให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย ซึ่งต้องอาศัยเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินเป็นพื้นฐานสำคัญ ธนาคารกลางจึงถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการดำเนินนโยบายการเงินที่ต้องให้น้ำหนักกับเสถียรภาพในระยะยาว แม้การกระตุ้นเศรษฐกิจจะสามารถทำได้ผ่านการกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้รวดเร็วในระยะสั้น แต่มักต้องแลกมาด้วยภาวะเงินเฟ้อ และอาจเป็นการสะสมความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจจากการก่อหนี้เกินตัวหรือพฤติกรรมเก็งกำไรของนักลงทุน ซึ่งจะฉุดรั้งการเติบโตในระยะยาวหรือนำไปสู่วิกฤตร้ายแรงได้
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า หน้าที่ในการมองยาวของธนาคารกลาง จึงต้องมาพร้อมกับอิสระในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าว หลายๆ ครั้งในการทำหน้าที่ของธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายในลักษณะที่สวนทางกับวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบต่อทุกภาคส่วนเป็นวงกว้าง ย่อมมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ หากธนาคารกลางไม่อิสระเพียงพอก็อาจทำให้เสียหลักการของการมองยาวได้
“ทุกขณะที่เราปล่อยผ่านปัญหาหนี้เหล่านี้ก็จะสะสม ฝังรากลึกขึ้น ทำให้ต้นทุนในการแก้ไขปัญหาสูงขึ้น การเริ่มตั้งแต่การตระหนักรู้ถึงปัญหา เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไข ซึ่งไม่มีใครหรือหน่วยงานใดสามารถแก้ปัญหาหนี้ได้เพียงลำพัง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาสังคม โดยอาจเริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ คือการสำรวจและพยายามปรับพฤติกรรมที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของตัวเอง ศึกษานโยบายต่างๆ และเรียกร้องผ่านกลไกประชาธิปไตยให้ผู้กำหนดนโยบายออกนโยบายที่คิดถึงผลระยะยาวต่อประเทศ” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ต้องดูในภาพรวมเพราะว่ามีผลข้างเคียงอย่างไร ยกตัวอย่างหนี้ครัวเรือนก็มีหลากหลายกลุ่ม ยาที่จะใช้จึงต้องถูกจุด นำยาครอบจักรวาลอย่างเดียวมาใช้ไม่ได้ โดยการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับลดลง 0.50% ถือว่าเป็นระดับที่ไม่น้อย แต่เบื้องต้นตลาดตอบรับไปแล้วในช่วงคาดการณ์ก่อนหน้านี้ แต่ผลต่อประเทศไทยคือ การลดดอกเบี้ยทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงพอสมควร เงินในภูมิภาครวมถึงค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ช่องทางที่มีผลต่อไทยจึงเป็นเรื่องของตลาดเงินและฝั่งค่าเงิน ผลกระทบในแง่พันธบัตรรัฐบาลก็มีบ้าง แต่ผลกระทบในแง่เศรษฐกิจอาจไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้น อีกเรื่องที่ซ้ำเติมผลกระทบค่าเงินบาทแข็งคือ ราคาทองคำที่ดันตัวขึ้น ทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง (ออลไทม์ไฮ) โดยค่าเงินบาทถือเป็นสกุลเงินที่มีการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อราคาทองคำ อ้างอิงไปด้วยกัน เมื่อทองขึ้น ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นซ้ำเติมด้วย