การปลงอสุภะ เริ่มจากที่ตื้นๆ ไปหาอยาก
ให้พิจารณาภาพสิ่งที่เห็นนี้เป็นคน เป็นคนที่ถูกทำร้าย เป็นคนมีสภาพที่เป็นอยู่อย่างนี้ ซึ่งมีความเป็นไป
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า เป็นวิบากแห่งกรรมของเขา ซึ่งทำให้เป็นไปเช่นนี้
หลายคนเข้าใจผิด ต้องไปพิจารณาสิ่งที่มันเน่า ขึ้นหนอนอะไรต่างๆ
การปลงอสุภะแบบวิปัสสนาก็คือ ภาพที่ปรากฏนี้ สิ่งที่เป็นอยู่นี้ เนื่องมาจากเหตุอะไร? ให้พิจารณาไปเรื่อยๆ จะเข้าไปสู่ความสูงไปเรื่อยๆ
เราก็จะร้องโอ๋!! ว่า ที่เราเรียกร้องว่าสวย ก็สวยเหมือนกันนะ แต่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวิบากแห่งกรรม
เราก็ต้องพิจารณาตั้งแต่ต้น คือ สวย แล้วก็พิจารณาว่าถูกทำร้าย แล้วก็เป็นข้อๆ ไป จนถึงข้อที่ ๑๒ แล้วเราก็จะร้องโอ๋!! คำเดียว คือ
สวยหน๋อ!!! แต่ไม่หลงใหล ชื่นชมได้แต่ไม่หลงใหล
สวยหน๋อ!!! แต่ยึดมั่นถือมั่นว่าสวยตลอดกาลไม่ได้
นี่แหละ จะเป็นอย่างนี้
บางคนเจอภาพอสุภะปั้บ!! แล้วก็บอกว่าไม่สวยหนอ!!! อย่างนี้ผิด มันแย้งกัน แย้งสิ่งที่ความเป็นจริง ฉะนั้น ต้องรับความเป็นจริง ให้เห็นความเป็นไป นี่เป็นหลักการง่ายๆ คือ เราต้องรับความเป็นจริงก่อน
แต่ที่ผ่านมาสอนว่าไม่ให้เรารับความเป็นจริงอยู่เรื่อย ในเมื่อเรารับความเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น ข้างนอกจริงแค่ไหน จริงกี่เปอร์เซ็นต์ จริงอะไร
แล้วตรงนี้จริงแค่ไหน พอถึงขั้นที่ ๑๒ ก็คือ เราไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นปัจจุบันจะสวยอย่างนั้นตลอดกาลไม่ได้ เพราะเรารู้ว่าสวยเป็นขั้นตอน เสื่อมเป็นขั้นตอน
นี่แหละ เป็นการรู้ที่เป็นมา เป็นอยู่ และที่จะเป็นไป ถึงจะรู้ครบ นี่แหละ วิสุทธิมรรค เป็นทางที่บริสุทธิ์จริงๆ
แต่ที่ทั่วไปมัวแต่ไปพิจารณาอสุภะอยู่ตรงกลาง หัวก็ไม่รู้ กลางก็ไม่รู้ หางก็ไม่รู้ ตีกันเลย ขัดแย้งกันเลย (ทู่ซี้จะมุดรูเข้าไปให้ได้ มันเข้าไปไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำให้ตัวเล็กก่อน ปมยังไม่ทันแก้เลย จะร้อยเชือกเข้าไปให้ได้ จะผ่านรูเข็มไปได้ยังไง)
ถ้ารูปภาพเป็นเช่นนี้ เข้าสู่ขั้นที่ ๖ เป็นการแปรเปลี่ยนธาตุ เปลี่ยนขันธ์แล้ว
ทีแรกเป็นขันธ์สาวสวย แล้วกลายมาเป็นขันธ์เป็นศพ แล้วมาเป็นขันธ์แยกธาตุ จริงแค่ไหน แล้วจนถึงขั้นที่ ๑๒ เป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างจะยึดมั่นถือมั่นให้เป็นเช่นนี้ตลอดกาลไม่ได้ เพราะเหตุเปลี่ยนแล้ว ผลก็เปลี่ยนไปตาม
คนเอาแต่ท่องวิสุทธิมรรค แต่ไม่รู้วิสุทธิมรรค คืออะไร ดำเนินการยังไงไม่รู้ เขาเรียกว่า "บ่อเต๋า" (无道) รู้แต่ชื่อแต่ไม่มีเส้นทาง ยกตัวอย่างคนนี้ศึกษาเต๋า แต่บ่อเต๋า คนนี้จบแล้ว คนศึกษาเต๋าได้แต่รู้แต่ไปไม่ได้
นี่แหละ เป็นการพิจารณาอสุภะที่ถูกต้องตามธรรม
ถ้าพิจารณาโครงกระดูกก็เหมือนกัน พิจารณาจากขั้นที่ ๑ ไปถึงขั้นที่ ๑๒
คือพิจารณาจากสภาพที่สวย คือพิจารณาก่อนการเป็นศพ คือ เมื่อก่อนนั้นเนื้อหนังมังสาสวย ดีหมด
๑. เกิดขึ้น ๒. ตั้งอยู่ ชรา ๓. ดับไป
๔ ๕ ๖ เริ่มตาย
๗ ๘ ๙ เริ่มปลงศพแล้ว ศพกลายเป็นธาตุ
๑๐ ๑๑ ๑๒ เป็นขั้นอภิธรรมแล้ว ให้เห็นความเป็นอนิจจัง เห็นว่าสวยแต่ก็คงทนไม่ได้ เหตุเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นศพ เปลี่ยนเป็นธาตุ เขาเรียกว่าเป็นการปลงอนิจจัง
พอถึงข้อที่ ๑๑ โอ้!! ทุกอย่างเป็นอนัตตา เราควบคุมไม่ได้
ข้อที่ ๑๒ ตถตา เป็นเช่นนี้เอง เป็นไปตามธรรมชาติ
เป็นการปลงแบบ ๓ ต่อ ๓ ไปเรื่อยๆ ๓ x ๔ ก็จะเป็น ๑๒ ขั้น
ถ้าปลงอย่างนี้ก็จะชัดเจน
จากสิ่งที่เราเคยยึดมั่นถือมั่นว่าสวยที่สุด
ทำไมล่ะ ก็อีก ๓ ข้อหลังมันไม่ใช่แล้ว ก็จะกลายเป็นลดความยึดมั่นถือมั่นของเราลงแล้ว
พอถึงขั้นปลงที่เป็นธาตุ หรือเป็นศพแล้ว เราก็จะเห็นได้ชัดเจนเลย
เราต้องแก้ไขแล้ว แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ ก็เพราะว่ามีข้อที่ ๑๑-๑๒ เป็นระดับขั้นอภิธรรมแล้ว ว่ามันเป็นเช่นนี้โดยปรมัตถ์ โดยธรรม ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีใครจะควบคุมได้ ที่จะให้ยั่งยืนไปตลอดกาลได้ เป็นอุทธาหรณ์ต่างๆ ได้บอกเรา ยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จะต้องรับความเป็นจริงแท้แล้ว
ทีแรกข้อที่ ๑ ถึง ๙ นี้เป็นความจริง
ปลงข้อที่ ๑๑ ถึง ๑๒ เป็นความจริงแท้แล้ว แท้โดยธรรมชาติ โดยธรรม
นี่แหละ เป็นการปลงอสุภะให้ถูกต้อง ปลงอย่างเข้าใจ ถ้าไม่เช่นนั้นก็เป็นการปลงแบบอุปโลกน์ ปลงตรงกลาง เล่นประเภทยัดให้เข้าอยู่เรื่อย รูคนละรูก็ยัดให้เข้าอยู่นั่นแหละ ก็จะเดือดร้อน ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้อานิสงส์เท่าที่ควร
ถ้าทำได้อย่างนี้ เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์เลย ขึ้นอยู่กับว่าเราทำแต่ละขั้นไปฝึกฝนปฏิบัติมาได้ขนาดไหน
รูปแบบการปลงอสุภะนี้ เป็นการปลงแบบปัญญา เป็นวิปัสสนากรรมฐาน จึงจะเกิดอานิสงส์จริงๆ ไม่ใช่เกิดอย่างอานิสงส์แบบอุปโลกน์
บางคนก็ปลงอสุภะมาอยู่หลายวัน หลายเดือน หลายปี แต่ก็เสร็จอสุภะ เพราะว่าบางคนก็ปลงอสุภะแต่ก็มีอารมณ์ไปมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ขัดแย้งกันมาก
เราปลงอสุภะได้ ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่มีเพศสัมพันธ์แล้วเราไม่ติดในเพศสัมพันธ์ ก็คือชื่นชมแต่ไม่หลงใหล
แต่เวลานี้มีเพศสัมพันธ์แล้วมีความสุข แต่พอไม่มีความสุขนิดหน่อยก็โวยวายมากเลย
"ไม่ได้!! ฉันเบื่อแล้ว ฉันต้องเปลี่ยนคู่นอนแล้ว"
ยกตัวอย่าง เรามีเมียคนๆ นี้ แต่เราต้องมีเพศสัมพันธ์กับเขา ไม่นอกใจ กินน้ำพริกถ้วยเก่า เราจะกินน้ำพริกอย่างไรให้มีความสุข ทั้งๆ ก็ถ้วยเก่านี่แหละ เปรียบเสมือนกับเรากินอาหารปลานิล
เรามีปลานิล เรานำปลานิลมาเป็นอาหาร เรากินปลานิลทุกวันเราก็เบื่อได้ แต่เราจะทำยังไงกินปลานิลนี้ไม่เบื่อ ก็คือนำปลานิลมาทำอาหารหลายอย่าง เช่น
ปลานิลนึ่งมะนาว ปลานิลทอดน้ำปลา ปลานิลผัดพริกแกง ปลานิล ๓ รส ต้มยำปลานิล (น้ำใส) ปลานิลทอดสมุนไพร ปลานิลย่างน้ำปลา ยำมะม่วงปลานิลทอดกรอบ ฉู่ฉี่ปลานิล หมกปลานิล ปลานิลผัดเจี๋ยน (ผัดขิง) ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการปรุง ไม่ใช่ไปเที่ยวหาปลาอยู่นั่นแหละ หาปลากี่ตัวก็คือปลานิลอยู่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะปรุงแต่งยังไง เพราะว่าเรายังอยู่ภาวะเช่นนี้
แล้วทำไมเราต้องอยู่ในภาวะเช่นนี้ เพราะว่าเรายังอยู่ในภาวะที่ต้องมีการปรุงแต่ง แล้วเราอยู่ในภาวะที่จะต้องปรุงแต่ง แล้วเราเถียงกับความจริงข้อนี้ว่า ไม่เอา เราไม่อยู่ในภาวะที่จะต้องปรุงแต่ง มันได้ที่ไหน อย่างเช่น ยังไม่ทันแต่งก็ล่อตีไข่แดงไปก่อนแล้ว ไม่บาปหรอกแต่ต้องรับผิดชอบต่อ ถ้าไม่รับผิดชอบก็จะต้องบาป ใจเราก็ไม่สบาย เราทำแล้วเราต้องดูแล
ญาณที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณที่สามารถกำหนดจำแนกแยกแยะออกทั้งนามและรูป หมายถึง รูปและนามเป็นเช่นใด สิ่งไหนเป็นรูป สิ่งไหนเป็นนาม (knowledge of the delimitation of mentality-materiality)
ญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี เป็นต้น — knowledge of discerning the conditions of mentality-materiality)
รูปมาจากอะไร มาจากขันธ์ทั้ง ๕ รวมกัน เป็นต้น
นาม ก็คือ สิ่งที่อยู่ในรูป มีความรู้สึกในรูป
ญาณที่ ๓ สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน — knowledge of comprehending mentality-materiality as impermanent, unsatisfactory and not-self)
ทำไมไปปฏิบัติธรรม ก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม ภาวนา แล้วทำไมถึงไม่ได้ญาณ ก็เพราะว่าเราไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติเป็นเบื้องต้นไป อยู่ดีๆ ก็โดนไปเอาญาณ ก็เลยไม่ได้ญาณ
ยกสิ่งที่เป็นรูปและนามมาพิจารณาว่า เป็นสิ่งที่จะต้องแปรเปลี่ยน ไม่คงทน ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
ญาณที่ ๔ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)
เป็น ๓ วิถี คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นเรื่องปกติในธรรม เป็นตถตา จะต่อเนื่องจากข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นกระบวนการว่า
๑) เกิดขึ้นยังไง
๒) ตั้งอยู่ยังไง
๓) ดับยังไง
ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องไปตามเส้นทางอย่างนี้
ข้อที่ ๔ ก็คือสรุปมายอมรับว่าทั้ง ๓ ข้อเป็นเช่นนี้
ญาณที่ ๕ ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)
ดูความเปลี่ยนไป เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าใช้คำว่า "ดับ" จะมีปัญหาอยู่เรื่อยว่า หายไปแล้ว ที่จริงไม่หายแต่แปรสภาพ เช่น มีคนเป็นศพ เราบอกว่าคนตาย เขาตายที่ไหน เพียงแต่แปรเปลี่ยนสภาพเป็นศพ พอเป็นศพแล้วก็แปรสภาพเป็นธาตุ นี่แหละ "แปรสภาพ" ไม่ใช่ "ดับ"
คนแปลความหมายของพ่อศิวะมหาเทพผิดกัน คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง แปรสภาพ ไม่ใช่พลังแห่งการทำลาย หรือดับ แต่เป็นไปโดยขบวนการ
การพิจารณาอสุภะ ก็เป็นญาณเช่นเดียวกัน
๔ ขั้นตอนแรกว่าด้วยรูปและนาม
พอมาขั้นที่ ๒ มาดูขั้นแห่งการเปลี่ยนแปลงของศพ ว่าเป็นอย่างไรถึงกลายเป็นศพ แล้วก็กลายเป็นสูญคือแยกธาตุ กลับเข้าสู่ธรรมชาติ ไม่มีตัวตนแล้ว อัตตาถูกแยก คือ รูปตัวตนถูกแยกแล้ว
ขั้นที่ ๔ ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าสู่สุญญตา
แต่ถ้ามีการพิจารณาอสุภะ มีรูปให้นำ คิดพิจารณาได้ง่าย
ถ้าใช้การพิจารณาแบบญาณ ๑๖ จะไม่มีรูปนำ อธิบายเป็นหลักวิชาการ คนไม่เห็นภาพ
สมมติว่าเราไม่เคยเรียนมาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี เรานึกภาพไม่ออก
ถ้าไม่มีรูปก็จะคิดตามไม่ทัน เพราะว่าไม่มีภาพประกอบ ว่ารูปเป็นยังไง
ถ้าเรามีเมีย การเจริญวิปัสสนาตรงนี้จะอ่อนลง จะถูกแยก เช่น เรามี ๑๐ ส่วน เราจะถูกแยกให้ ๕ ส่วน ถ้าเราไม่มีเมียจะต่อจิ๊กซอว์ได้ดี
สมมติว่าเรากำลังคิดพิจารณาอสุภะตรงนี้อยู่ แต่ก็จะมีความคิดอีกอย่างหนึ่งว่าเข้ามาในสมองเราว่า พรุ่งนี้เราจะเอาเงินที่ไหนมาให้เมียไปซื้อกับข้าว จะต้องมาแบ่งแยกความคิด
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
การปลงอสุภะแบบวิปัสสนา
ให้พิจารณาภาพสิ่งที่เห็นนี้เป็นคน เป็นคนที่ถูกทำร้าย เป็นคนมีสภาพที่เป็นอยู่อย่างนี้ ซึ่งมีความเป็นไป
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า เป็นวิบากแห่งกรรมของเขา ซึ่งทำให้เป็นไปเช่นนี้
หลายคนเข้าใจผิด ต้องไปพิจารณาสิ่งที่มันเน่า ขึ้นหนอนอะไรต่างๆ
การปลงอสุภะแบบวิปัสสนาก็คือ ภาพที่ปรากฏนี้ สิ่งที่เป็นอยู่นี้ เนื่องมาจากเหตุอะไร? ให้พิจารณาไปเรื่อยๆ จะเข้าไปสู่ความสูงไปเรื่อยๆ
เราก็จะร้องโอ๋!! ว่า ที่เราเรียกร้องว่าสวย ก็สวยเหมือนกันนะ แต่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวิบากแห่งกรรม
เราก็ต้องพิจารณาตั้งแต่ต้น คือ สวย แล้วก็พิจารณาว่าถูกทำร้าย แล้วก็เป็นข้อๆ ไป จนถึงข้อที่ ๑๒ แล้วเราก็จะร้องโอ๋!! คำเดียว คือ
สวยหน๋อ!!! แต่ไม่หลงใหล ชื่นชมได้แต่ไม่หลงใหล
สวยหน๋อ!!! แต่ยึดมั่นถือมั่นว่าสวยตลอดกาลไม่ได้
นี่แหละ จะเป็นอย่างนี้
บางคนเจอภาพอสุภะปั้บ!! แล้วก็บอกว่าไม่สวยหนอ!!! อย่างนี้ผิด มันแย้งกัน แย้งสิ่งที่ความเป็นจริง ฉะนั้น ต้องรับความเป็นจริง ให้เห็นความเป็นไป นี่เป็นหลักการง่ายๆ คือ เราต้องรับความเป็นจริงก่อน
แต่ที่ผ่านมาสอนว่าไม่ให้เรารับความเป็นจริงอยู่เรื่อย ในเมื่อเรารับความเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น ข้างนอกจริงแค่ไหน จริงกี่เปอร์เซ็นต์ จริงอะไร
แล้วตรงนี้จริงแค่ไหน พอถึงขั้นที่ ๑๒ ก็คือ เราไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นปัจจุบันจะสวยอย่างนั้นตลอดกาลไม่ได้ เพราะเรารู้ว่าสวยเป็นขั้นตอน เสื่อมเป็นขั้นตอน
นี่แหละ เป็นการรู้ที่เป็นมา เป็นอยู่ และที่จะเป็นไป ถึงจะรู้ครบ นี่แหละ วิสุทธิมรรค เป็นทางที่บริสุทธิ์จริงๆ
แต่ที่ทั่วไปมัวแต่ไปพิจารณาอสุภะอยู่ตรงกลาง หัวก็ไม่รู้ กลางก็ไม่รู้ หางก็ไม่รู้ ตีกันเลย ขัดแย้งกันเลย (ทู่ซี้จะมุดรูเข้าไปให้ได้ มันเข้าไปไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำให้ตัวเล็กก่อน ปมยังไม่ทันแก้เลย จะร้อยเชือกเข้าไปให้ได้ จะผ่านรูเข็มไปได้ยังไง)
ถ้ารูปภาพเป็นเช่นนี้ เข้าสู่ขั้นที่ ๖ เป็นการแปรเปลี่ยนธาตุ เปลี่ยนขันธ์แล้ว
ทีแรกเป็นขันธ์สาวสวย แล้วกลายมาเป็นขันธ์เป็นศพ แล้วมาเป็นขันธ์แยกธาตุ จริงแค่ไหน แล้วจนถึงขั้นที่ ๑๒ เป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างจะยึดมั่นถือมั่นให้เป็นเช่นนี้ตลอดกาลไม่ได้ เพราะเหตุเปลี่ยนแล้ว ผลก็เปลี่ยนไปตาม
คนเอาแต่ท่องวิสุทธิมรรค แต่ไม่รู้วิสุทธิมรรค คืออะไร ดำเนินการยังไงไม่รู้ เขาเรียกว่า "บ่อเต๋า" (无道) รู้แต่ชื่อแต่ไม่มีเส้นทาง ยกตัวอย่างคนนี้ศึกษาเต๋า แต่บ่อเต๋า คนนี้จบแล้ว คนศึกษาเต๋าได้แต่รู้แต่ไปไม่ได้
นี่แหละ เป็นการพิจารณาอสุภะที่ถูกต้องตามธรรม
ถ้าพิจารณาโครงกระดูกก็เหมือนกัน พิจารณาจากขั้นที่ ๑ ไปถึงขั้นที่ ๑๒
คือพิจารณาจากสภาพที่สวย คือพิจารณาก่อนการเป็นศพ คือ เมื่อก่อนนั้นเนื้อหนังมังสาสวย ดีหมด
๑. เกิดขึ้น ๒. ตั้งอยู่ ชรา ๓. ดับไป
๔ ๕ ๖ เริ่มตาย
๗ ๘ ๙ เริ่มปลงศพแล้ว ศพกลายเป็นธาตุ
๑๐ ๑๑ ๑๒ เป็นขั้นอภิธรรมแล้ว ให้เห็นความเป็นอนิจจัง เห็นว่าสวยแต่ก็คงทนไม่ได้ เหตุเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นศพ เปลี่ยนเป็นธาตุ เขาเรียกว่าเป็นการปลงอนิจจัง
พอถึงข้อที่ ๑๑ โอ้!! ทุกอย่างเป็นอนัตตา เราควบคุมไม่ได้
ข้อที่ ๑๒ ตถตา เป็นเช่นนี้เอง เป็นไปตามธรรมชาติ
เป็นการปลงแบบ ๓ ต่อ ๓ ไปเรื่อยๆ ๓ x ๔ ก็จะเป็น ๑๒ ขั้น
ถ้าปลงอย่างนี้ก็จะชัดเจน
จากสิ่งที่เราเคยยึดมั่นถือมั่นว่าสวยที่สุด
ทำไมล่ะ ก็อีก ๓ ข้อหลังมันไม่ใช่แล้ว ก็จะกลายเป็นลดความยึดมั่นถือมั่นของเราลงแล้ว
พอถึงขั้นปลงที่เป็นธาตุ หรือเป็นศพแล้ว เราก็จะเห็นได้ชัดเจนเลย
เราต้องแก้ไขแล้ว แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ ก็เพราะว่ามีข้อที่ ๑๑-๑๒ เป็นระดับขั้นอภิธรรมแล้ว ว่ามันเป็นเช่นนี้โดยปรมัตถ์ โดยธรรม ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีใครจะควบคุมได้ ที่จะให้ยั่งยืนไปตลอดกาลได้ เป็นอุทธาหรณ์ต่างๆ ได้บอกเรา ยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จะต้องรับความเป็นจริงแท้แล้ว
ทีแรกข้อที่ ๑ ถึง ๙ นี้เป็นความจริง
ปลงข้อที่ ๑๑ ถึง ๑๒ เป็นความจริงแท้แล้ว แท้โดยธรรมชาติ โดยธรรม
นี่แหละ เป็นการปลงอสุภะให้ถูกต้อง ปลงอย่างเข้าใจ ถ้าไม่เช่นนั้นก็เป็นการปลงแบบอุปโลกน์ ปลงตรงกลาง เล่นประเภทยัดให้เข้าอยู่เรื่อย รูคนละรูก็ยัดให้เข้าอยู่นั่นแหละ ก็จะเดือดร้อน ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้อานิสงส์เท่าที่ควร
ถ้าทำได้อย่างนี้ เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์เลย ขึ้นอยู่กับว่าเราทำแต่ละขั้นไปฝึกฝนปฏิบัติมาได้ขนาดไหน
รูปแบบการปลงอสุภะนี้ เป็นการปลงแบบปัญญา เป็นวิปัสสนากรรมฐาน จึงจะเกิดอานิสงส์จริงๆ ไม่ใช่เกิดอย่างอานิสงส์แบบอุปโลกน์
บางคนก็ปลงอสุภะมาอยู่หลายวัน หลายเดือน หลายปี แต่ก็เสร็จอสุภะ เพราะว่าบางคนก็ปลงอสุภะแต่ก็มีอารมณ์ไปมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ขัดแย้งกันมาก
เราปลงอสุภะได้ ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่มีเพศสัมพันธ์แล้วเราไม่ติดในเพศสัมพันธ์ ก็คือชื่นชมแต่ไม่หลงใหล
แต่เวลานี้มีเพศสัมพันธ์แล้วมีความสุข แต่พอไม่มีความสุขนิดหน่อยก็โวยวายมากเลย
"ไม่ได้!! ฉันเบื่อแล้ว ฉันต้องเปลี่ยนคู่นอนแล้ว"
ยกตัวอย่าง เรามีเมียคนๆ นี้ แต่เราต้องมีเพศสัมพันธ์กับเขา ไม่นอกใจ กินน้ำพริกถ้วยเก่า เราจะกินน้ำพริกอย่างไรให้มีความสุข ทั้งๆ ก็ถ้วยเก่านี่แหละ เปรียบเสมือนกับเรากินอาหารปลานิล
เรามีปลานิล เรานำปลานิลมาเป็นอาหาร เรากินปลานิลทุกวันเราก็เบื่อได้ แต่เราจะทำยังไงกินปลานิลนี้ไม่เบื่อ ก็คือนำปลานิลมาทำอาหารหลายอย่าง เช่น
ปลานิลนึ่งมะนาว ปลานิลทอดน้ำปลา ปลานิลผัดพริกแกง ปลานิล ๓ รส ต้มยำปลานิล (น้ำใส) ปลานิลทอดสมุนไพร ปลานิลย่างน้ำปลา ยำมะม่วงปลานิลทอดกรอบ ฉู่ฉี่ปลานิล หมกปลานิล ปลานิลผัดเจี๋ยน (ผัดขิง) ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการปรุง ไม่ใช่ไปเที่ยวหาปลาอยู่นั่นแหละ หาปลากี่ตัวก็คือปลานิลอยู่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะปรุงแต่งยังไง เพราะว่าเรายังอยู่ภาวะเช่นนี้
แล้วทำไมเราต้องอยู่ในภาวะเช่นนี้ เพราะว่าเรายังอยู่ในภาวะที่ต้องมีการปรุงแต่ง แล้วเราอยู่ในภาวะที่จะต้องปรุงแต่ง แล้วเราเถียงกับความจริงข้อนี้ว่า ไม่เอา เราไม่อยู่ในภาวะที่จะต้องปรุงแต่ง มันได้ที่ไหน อย่างเช่น ยังไม่ทันแต่งก็ล่อตีไข่แดงไปก่อนแล้ว ไม่บาปหรอกแต่ต้องรับผิดชอบต่อ ถ้าไม่รับผิดชอบก็จะต้องบาป ใจเราก็ไม่สบาย เราทำแล้วเราต้องดูแล
ญาณที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณที่สามารถกำหนดจำแนกแยกแยะออกทั้งนามและรูป หมายถึง รูปและนามเป็นเช่นใด สิ่งไหนเป็นรูป สิ่งไหนเป็นนาม (knowledge of the delimitation of mentality-materiality)
ญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี เป็นต้น — knowledge of discerning the conditions of mentality-materiality)
รูปมาจากอะไร มาจากขันธ์ทั้ง ๕ รวมกัน เป็นต้น
นาม ก็คือ สิ่งที่อยู่ในรูป มีความรู้สึกในรูป
ญาณที่ ๓ สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน — knowledge of comprehending mentality-materiality as impermanent, unsatisfactory and not-self)
ทำไมไปปฏิบัติธรรม ก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม ภาวนา แล้วทำไมถึงไม่ได้ญาณ ก็เพราะว่าเราไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติเป็นเบื้องต้นไป อยู่ดีๆ ก็โดนไปเอาญาณ ก็เลยไม่ได้ญาณ
ยกสิ่งที่เป็นรูปและนามมาพิจารณาว่า เป็นสิ่งที่จะต้องแปรเปลี่ยน ไม่คงทน ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
ญาณที่ ๔ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)
เป็น ๓ วิถี คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นเรื่องปกติในธรรม เป็นตถตา จะต่อเนื่องจากข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นกระบวนการว่า
๑) เกิดขึ้นยังไง
๒) ตั้งอยู่ยังไง
๓) ดับยังไง
ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องไปตามเส้นทางอย่างนี้
ข้อที่ ๔ ก็คือสรุปมายอมรับว่าทั้ง ๓ ข้อเป็นเช่นนี้
ญาณที่ ๕ ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)
ดูความเปลี่ยนไป เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าใช้คำว่า "ดับ" จะมีปัญหาอยู่เรื่อยว่า หายไปแล้ว ที่จริงไม่หายแต่แปรสภาพ เช่น มีคนเป็นศพ เราบอกว่าคนตาย เขาตายที่ไหน เพียงแต่แปรเปลี่ยนสภาพเป็นศพ พอเป็นศพแล้วก็แปรสภาพเป็นธาตุ นี่แหละ "แปรสภาพ" ไม่ใช่ "ดับ"
คนแปลความหมายของพ่อศิวะมหาเทพผิดกัน คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง แปรสภาพ ไม่ใช่พลังแห่งการทำลาย หรือดับ แต่เป็นไปโดยขบวนการ
การพิจารณาอสุภะ ก็เป็นญาณเช่นเดียวกัน
๔ ขั้นตอนแรกว่าด้วยรูปและนาม
พอมาขั้นที่ ๒ มาดูขั้นแห่งการเปลี่ยนแปลงของศพ ว่าเป็นอย่างไรถึงกลายเป็นศพ แล้วก็กลายเป็นสูญคือแยกธาตุ กลับเข้าสู่ธรรมชาติ ไม่มีตัวตนแล้ว อัตตาถูกแยก คือ รูปตัวตนถูกแยกแล้ว
ขั้นที่ ๔ ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าสู่สุญญตา
แต่ถ้ามีการพิจารณาอสุภะ มีรูปให้นำ คิดพิจารณาได้ง่าย
ถ้าใช้การพิจารณาแบบญาณ ๑๖ จะไม่มีรูปนำ อธิบายเป็นหลักวิชาการ คนไม่เห็นภาพ
สมมติว่าเราไม่เคยเรียนมาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี เรานึกภาพไม่ออก
ถ้าไม่มีรูปก็จะคิดตามไม่ทัน เพราะว่าไม่มีภาพประกอบ ว่ารูปเป็นยังไง
ถ้าเรามีเมีย การเจริญวิปัสสนาตรงนี้จะอ่อนลง จะถูกแยก เช่น เรามี ๑๐ ส่วน เราจะถูกแยกให้ ๕ ส่วน ถ้าเราไม่มีเมียจะต่อจิ๊กซอว์ได้ดี
สมมติว่าเรากำลังคิดพิจารณาอสุภะตรงนี้อยู่ แต่ก็จะมีความคิดอีกอย่างหนึ่งว่าเข้ามาในสมองเราว่า พรุ่งนี้เราจะเอาเงินที่ไหนมาให้เมียไปซื้อกับข้าว จะต้องมาแบ่งแยกความคิด
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต