อัตตามีอยู่ ถ้าไม่มี สักกายฑิฏฐิสังโยชน์มาจากไหน
แล้วพระพุทธเจ้าสอนให้ละอัตตาทำไม
เพราะตนเห็นผิดเกิดอัตตา
ถ้าเห็นถูกก็เกิดอนัตตา
เมื่อเห็นผิดหรือเห็นถูกแล้ว
ไปยึดมั่นถือมั่นในความเห็นนั้นก็เกิดฑิฏฐิ
เกิดมานะว่าความเห็นของฉันถูก ดีกว่า
เรื่องอัตตา อนัตตานี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลาย
ควรที่จะทำความเข้าใจให้รู้
ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า
สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา มิใช่อัตตา
เมื่อเรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายมิใช่ตัวตนแล้ว
ก็พยายามลดละมานะความถือตัวถือตน
ไม่ทะนงตนว่าสำคัญกว่าคนอื่น สูงกว่าคนอื่น
อันจะเป็นเหตุปัจจัยนำตัวเรา
ให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน
ที่หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้เลย
จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับความจริงในโลกนี้อย่างรู้เท่าทัน
ไม่หลงยึดติดในสิ่งสมมติ
อันจะเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานในที่สุดได้
ดังพระพุทธพจน์ว่า
“ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบันทีเดียวฯ”
อัสมิมานะ
ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่เรา
เป็นความมีมานะ ว่าเรามีอยู่ ถือตัวว่ามีเรา ในขณะนั้น
ส่วนสักกายทิฏฐิ สก ( ของตน ) + กาย ( ที่ประชุม ) + ทิฏฺฐิ ( ความเห็น ) คือ
ความเห็นว่าเป็นกายของตน,
ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน หมายถึง
ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ของเรา
หรือเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงตามสภาพธรรม
เช่น ยึดถือ ขณะที่ว่า เห็น เป็นเราที่เห็น เป็นเราที่ได้ยิน เป็นต้น
ซึ่ง อสมิมานะและสักกายทิฏฐิ
ต่างกันตรงที่เป็นเราด้วยความเห็นผิดและเป็นเราด้วยมานะ
อัตตามีอยู่
แล้วพระพุทธเจ้าสอนให้ละอัตตาทำไม
เพราะตนเห็นผิดเกิดอัตตา
ถ้าเห็นถูกก็เกิดอนัตตา
เมื่อเห็นผิดหรือเห็นถูกแล้ว
ไปยึดมั่นถือมั่นในความเห็นนั้นก็เกิดฑิฏฐิ
เกิดมานะว่าความเห็นของฉันถูก ดีกว่า
เรื่องอัตตา อนัตตานี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลาย
ควรที่จะทำความเข้าใจให้รู้
ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า
สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา มิใช่อัตตา
เมื่อเรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายมิใช่ตัวตนแล้ว
ก็พยายามลดละมานะความถือตัวถือตน
ไม่ทะนงตนว่าสำคัญกว่าคนอื่น สูงกว่าคนอื่น
อันจะเป็นเหตุปัจจัยนำตัวเรา
ให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน
ที่หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้เลย
จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับความจริงในโลกนี้อย่างรู้เท่าทัน
ไม่หลงยึดติดในสิ่งสมมติ
อันจะเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานในที่สุดได้
ดังพระพุทธพจน์ว่า
“ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบันทีเดียวฯ”
อัสมิมานะ
ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่เรา
เป็นความมีมานะ ว่าเรามีอยู่ ถือตัวว่ามีเรา ในขณะนั้น
ส่วนสักกายทิฏฐิ สก ( ของตน ) + กาย ( ที่ประชุม ) + ทิฏฺฐิ ( ความเห็น ) คือ
ความเห็นว่าเป็นกายของตน,
ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน หมายถึง
ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ของเรา
หรือเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงตามสภาพธรรม
เช่น ยึดถือ ขณะที่ว่า เห็น เป็นเราที่เห็น เป็นเราที่ได้ยิน เป็นต้น
ซึ่ง อสมิมานะและสักกายทิฏฐิ
ต่างกันตรงที่เป็นเราด้วยความเห็นผิดและเป็นเราด้วยมานะ