พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้แสดงลักษณะของอนัตตา คือ ลักษณะที่ให้เห็นว่ามิใช่ตัวมิใช่ตน โดยสรุปแล้ว มีอยู่ ๕ ลักษณะด้วยกัน คือ
๑)เป็นของสูญ (สุญฺญโต) คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อย ๆ ทั้งหลาย ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่าง ๆ ไม่มีตัวผู้สิงสู่อยู่ครอง ไม่มีตัวผู้สร้างสรรค์บันดาล ไม่มีตัวผู้เสวย นอกเหนือจากกระบวนธรรมแห่งองค์ประกอบทั้งหลายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยและอยู่นอกเหนือจากการสมมติ พูดง่าย ๆ ว่า ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา จากความเป็นนั่น เป็นนี่ ที่กำหนดหมายกันขึ้นนั่นเอง
๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ (อสฺสามิกโต) ไม่เป็นของใครจริง คือไม่เป็นตัวตนของใคร และไม่เป็นของของตัวตนใด ๆ ไม่มีตัวตนอยู่ต่างหากที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสังขารธรรมทั้งหลาย มันเป็นเพียงกระบวนการของธรรมเองล้วน ๆ ซึ่งเป็นไปโดยลำพังตามเหตุปัจจัย
๓) ไม่อยู่ในอำนาจ (อวสวตฺตนโต) ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใคร ๆ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่ขึ้นต่อผู้ใด ไม่มีใครมีอำนาจบังคับมัน จะเรียกร้องหรือปรารถนาให้มันเป็นอย่างใด ๆ ไม่ได้ นอกจากทำการตามเหตุปัจจัย เช่น มันเกิดขึ้นแล้วจะสั่งว่าอย่าตั้งอยู่ มันตั้งอยู่แล้วจะสั่งว่าอย่าโทรม มันโทรมไปแล้วจะสั่งว่าอย่าเสื่อมสลายไม่ได้
๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย (ยถาปจฺจยปวตฺติโต) คือ เป็นสิ่งที่ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัวเอง แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่น ๆ ต่างเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เรียกรวม ๆ ว่า กระบวนธรรมนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร และไม่อาจมีตัวตน ไม่ว่าจะเป็นตัวแกนภายในหรือตัวการภายนอก ที่จะขวางขืนหรือบงการบังคับมันได้
๕) โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา (อตฺตปฏิกฺเขปโต) มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา หมายความว่า ความเป็นกระบวนธรรม คือ การที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กันดำเนินไปโดยความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง เป็นการปฏิเสธอยู่ในตัวว่า ไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่ที่จะมาแทรกบงการ หรือแม้แต่ขวางขืนความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตัวตนต่างหากเช่นนั้นมีไม่ได้ เพราะถ้ามี ก็ไม่อาจเป็นไปตามความบังคับบงการของตัวตนนั้น หรือกระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นมีความสำเร็จสมบูรณ์พร้อมในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นและไม่อาจจะมีตัวการอย่างอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงสั่งการอีกได้
สรุปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเองตามธรรมดา เหตุปัจจัยมี มันก็เกิดขึ้น เหตุปัจจัยหมด มันก็ดับ ทรงตัวอยู่ไม่ได้ เรื่องอัตตา อนัตตานี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายควรที่จะทำความเข้าใจให้รู้ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา มิใช่อัตตา เมื่อเรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายมิใช่ตัวตนแล้ว ก็พยายามลดละมานะความถือตัวถือตน ไม่ทะนงตนว่าสำคัญกว่าคนอื่น สูงกว่าคนอื่น อันจะเป็นเหตุปัจจัยนำตัวเราให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้เลย จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับความจริงในโลกนี้อย่างรู้เท่าทัน ไม่หลงยึดติดในสิ่งสมมติ อันจะเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานในที่สุดได้ ดังพระพุทธพจน์ว่า
“ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบันทีเดียวฯ”
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) , พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๑ ) , หน้า ๓๖๖.
“อนัตตา” ทำความเข้าใจ คำว่า อนัตตาคืออะไร
๓) ไม่อยู่ในอำนาจ (อวสวตฺตนโต) ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใคร ๆ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่ขึ้นต่อผู้ใด ไม่มีใครมีอำนาจบังคับมัน จะเรียกร้องหรือปรารถนาให้มันเป็นอย่างใด ๆ ไม่ได้ นอกจากทำการตามเหตุปัจจัย เช่น มันเกิดขึ้นแล้วจะสั่งว่าอย่าตั้งอยู่ มันตั้งอยู่แล้วจะสั่งว่าอย่าโทรม มันโทรมไปแล้วจะสั่งว่าอย่าเสื่อมสลายไม่ได้
๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย (ยถาปจฺจยปวตฺติโต) คือ เป็นสิ่งที่ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัวเอง แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่น ๆ ต่างเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เรียกรวม ๆ ว่า กระบวนธรรมนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร และไม่อาจมีตัวตน ไม่ว่าจะเป็นตัวแกนภายในหรือตัวการภายนอก ที่จะขวางขืนหรือบงการบังคับมันได้
๕) โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา (อตฺตปฏิกฺเขปโต) มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา หมายความว่า ความเป็นกระบวนธรรม คือ การที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กันดำเนินไปโดยความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง เป็นการปฏิเสธอยู่ในตัวว่า ไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่ที่จะมาแทรกบงการ หรือแม้แต่ขวางขืนความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตัวตนต่างหากเช่นนั้นมีไม่ได้ เพราะถ้ามี ก็ไม่อาจเป็นไปตามความบังคับบงการของตัวตนนั้น หรือกระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นมีความสำเร็จสมบูรณ์พร้อมในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นและไม่อาจจะมีตัวการอย่างอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงสั่งการอีกได้
สรุปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเองตามธรรมดา เหตุปัจจัยมี มันก็เกิดขึ้น เหตุปัจจัยหมด มันก็ดับ ทรงตัวอยู่ไม่ได้ เรื่องอัตตา อนัตตานี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายควรที่จะทำความเข้าใจให้รู้ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา มิใช่อัตตา เมื่อเรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายมิใช่ตัวตนแล้ว ก็พยายามลดละมานะความถือตัวถือตน ไม่ทะนงตนว่าสำคัญกว่าคนอื่น สูงกว่าคนอื่น อันจะเป็นเหตุปัจจัยนำตัวเราให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้เลย จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับความจริงในโลกนี้อย่างรู้เท่าทัน ไม่หลงยึดติดในสิ่งสมมติ อันจะเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานในที่สุดได้ ดังพระพุทธพจน์ว่า
“ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบันทีเดียวฯ”
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) , พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๑ ) , หน้า ๓๖๖.