ขอขึ้นปกด้วยเทวรูปฟ้อนรำ (ส่วนยอดของเสายอดธง) ศิลปะลพบุรี หรือ ศิลปะเขมรในไทย พุทธศตวรรษที่ 17 ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี ตั้งอยู่ในวัดโบสถ์ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เพิ่งไปชมเมืองอู่ทอง เมืองในวัฒนธรรมทวารวดีที่พิพิธภัณฑ์อู่ทองมา
ในกรอบสีแดงคือที่เคยไปมาแล้ว
จึงอยากมาที่อินทร์บุรีซึ่งมีเมืองในวัฒนธรมมทวารวดีชื่อบ้านคูเมือง
ส่วนที่จัดแสดงย้อนไปถึงสิ่งของที่พบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือยุคที่ยังไม่มีการจดบันทึกเรื่องราว
มาถึงบ้านคูเมือง เป็นเมืองทวารวดีคือมีคูน้ำคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมเกือบกลม
อยู่ในตำแหน่งที่ลุ่มจึงพูนดินขึ้นในเมืองโดยสูงกว่ารอบ ๆ ราว 1 เมตร
มีคลองผ่านหลายสาย พบว่ามีการขุดลอกคลอง จัดการเส้นทางของน้ำ ไม่ให้น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก
มีเส้นทางเชื่อมถึงแม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา แสดงถึงมีการคมนาคมสะดวก
ได้พบข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ
หินบดยาและเครื่องเทศ
เมื่อก่อนเห็นแค่คำบรรยายว่าหินบดยา ทำให้สงสัยว่าทำไมพบเยอะจัง เพราะเขาใช้บดเครื่องเทศด้วยนี่เอง
ครกตำน้ำพริกมาได้เมื่อไหร่เนาะ
ชิ้นส่วน สถาปัตยกรรมในศาสนาพุทธ ยอดเจดีย์ หรือสถูป เป็นดินเผา
ชิ้นส่วนปฏิมากรรม
ปูนบั้น เศียรพระพุทธรูป
ปูนบั้น เศียรพระพุทธรูป บุคคลหรือเทวดา
ปูนปั้น สิงห์แบก คนแคระ ป้องกันสิ่งชั่วร้าย
อิฐ
หินและสำริด
ธรรมจักร แกะสลักไม่เสร็จ
คิดได้สองแง่ ว่าทำไม่เสร็จ หรืออัน ดี ๆ อันตรธานไปแล้ว
พระพุทธรูป แกะสลักไม่เสร็จ มองต่ำแสดงถึงความเมตตา จีวรห่มคลุม มาจากอินเดียเหนือ
พระพิมพ์ดินเผ่า
โครงกระดูกวัว 1400-1000 ปีมาแล้ว ทีหม้อเครื่องประดับฝังอยู่ด้วย
ศิลปะอู่ทอง - สุโขทัย
องค์ที่พระพักตร์ชดช้อยจะงามแบบสุโขทัย
ท่อน้ำปละปฏิมากรรมตัวมกร จาก เตาเผาแม่น้ำน้อย ... สมัยอยุธยา
ท่อน้ำในวังพระนารายณ์ ลพบุรี ก็ทำจากที่นี่
ศิลปะสมัยอยุธยา
พระพุทธรูปสำริด และ เครื่องดินเผาทางขวาล่างน่าจะเป็นครกดิน
รัตนโกสินทร์
จีวรลายดอกนิยมตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ลงมา
พระเมตไตรทรงถือตาลปัตรแว่นแก้วทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในพระหัตถ์ซ้าย
พระมาลัยถือตาลปัตรปิดหน้า เพราะท่านมักไปเทศน์โปรดสัตว์นรก
ปิดท้ายด้วยศาลาการเปรียญวัดโบสถ์
สารบัญร่องรอยอารยธรรม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี สิงห์บุรี