แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด - เนินอุโลก นครราชสีมา

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา ที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
มีภาพสัญญลักษณ์ เป็นลวดลายเครื่องปั้นดินเผา เขียนด้วยสีแดง ... ดูเหมือนรูปหน้าคน ที่พบที่ เนินอุโลก หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด





ตั้งอยู่บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง นครราชสีมา





ทางเข้าบ้านโนนวัด เขตตำบลพลสงคราม
โพน แปลว่า กองดินที่สูงขึ้นคล้ายกับเนินแต่ต่ำกว่า
ในสมัยหนึ่ง ?? เคยที่ตั้งมั่นเตรียมกำลังพลและวางแผนการสู้รบ ... โพนสงคราม
เพี้ยนเป็น พลสงคราม








ตั้งใจมาเพราะ
อยากเห็นหลุมขุดค้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
เมื่อมาถึงจีงได้ทราบว่าเนื่องจากมีขนาดใหญ่มาก และน้ำในบริเวณนี้เป็นน้ำเค็มยากต่อการดูแลรักษา
หลังจากได้นำวัตถุโบราณออกไปเก็บรักษาไว้ทีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย
และบางส่วนจัดแสดงที่นี่
จึงได้กลบคืน และสร้างอาคารจัดแสดงไว้บนพื้นที่ที่ขุด
ถึงศูนย์การเรียนรู้ ขอบคุณ คุณเอนกผู้ที่เคยร่วมขุดค้นในครั้งนั้น ที่พาชมพาเล่าค่ะ





ภาพถ่ายทางอากาศบ้านโนนวัดมีรูปเป็นวงกลม มีคันดินคูน้ำล้อมรอบ





เมื่อฝนตกชะหน้าดินไป ได้ปรากฏลูกปัดสี โผล่ขึ้นมาจากดิน
ทั้งยังพบโบราณวัตถุอื่น จึงได้เริ่มการการขุดค้น
จนพบแหล่งอารยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 200 ชั่วอายุคน ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย





แผนผังยุคต่าง ๆ ในพื้นที่ขุดค้น





ตั้งแต่ยุคหินใหม่ (4500-3500 ปีมาแล้ว)
มีตั้งหลักแหล่งเป็นหมู่บ้านถาวร
สร้างเครื่องมือจากหิน ... ขวานหินขัด หินลับ
ทำภาชนะดินเผา (ใช้ใส่ศพบุคคลที่พิเศษกว่าคนอื่น) ทอผ้า มีการเลี้ยงสัตว์





ภาพบนศพถูกบรรจุอยู่ในโลงที่ขุดจากต้นไม้
ด้านล่างอยู่ในภาชนะดินเผา





ในยุคเดียวกัน เครื่องประดับและสิ่งที่จัดไว้ให้กับผู้ตายต่างกัน
แสดงถึงชนชั้น หรือความยากดีมีจนที่มีมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่ยาวนาน





พบเมล็ดข้าวในยุคหินใหม่





ในพิพิธภัณฑสถานพิมาย





สำริด (3500-2500 ปีมาแล้ว)
รู้จักการใช้โลหะผสม จากทองแดง+ดีบุกหรือตะกั่ว ได้ สำริด
รู้จักการใชไฟหลอมโลหะ มีการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผามีเอกลักษณ์เฉพาะ

จนถึงยุคเหล็ก (2500-1500 ปีมาแล้ว)
รู้จักการถลุงเหล็ก ที่ยากกว่าสำริด





แม่พิมพ์ดินเผา ยุคสำริด
แวดินเผา ใช้สำหรับ ปั่นด้าย
หลังป้ายแวดินเผา ใช้สำหรับขึ้นรูปหม้อดิน โดยใช้ไม้ตีดินให้โค้งตามรูป





ภาชนะดินเผายุคสำริด
มีลักษณะเป็นหม้อปากแตร มีลายขีด ๆ เราเข้าใจเองว่าเกิดจากการใช้เชือกทาบ
เขียนสีแดง





ชิ้นนี้ใช้มือชุบสีทาบลงไปบนภาชนะ







แม่พิมพ์ดินเผาในยุคเหล็ก รูปห่วงกลม
ที่คล้ายกรวยเป็นทางให้โหละหลอมเข้าไปในแบบ





เรื่องประดับศรีษะ





กำไลที่ยังอยู่ในแขน














คุณเอนกเล่าว่าตอนเด็ก ๆ เวลาฝนตกจะชะหน้าด้นออกไปทำให้เห็นลูกปัดนี้โผล่ขึ้นมา
เป็นลูกปัดที่ไม่ได้มีในท้องถิ่น บอกถึงการติดต่อค้าขายกับคนต่างถิ่น











ถึงแม้จะผิดคาดจากภาพที่วาดไว้





แต่ไม่ผิดหวังที่ได้มา








สารบัญ ร่องรอยอารยธรรม
เชียงใหม่ เวียงเจ็ดริน https://ppantip.com/topic/37815475
นครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด - เนินอุโลก นครราชสีมา https://ppantip.com/topic/38453384
เพชรบูรณ์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ https://ppantip.com/topic/37232402/comment3
ลำปาง  เมืองเก่าลำปาง https://ppantip.com/topic/36982098
ทับหลัง https://ppantip.com/topic/37634755
ทับหลัง ตอน 2 ศิลปะนครวัด https://ppantip.com/topic/37645134
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่