พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร เรื่อง พัทรยุทธ ฟักผล ภาพ
พูดชื่อ "ชาร์ล ไฮแอม" คนไทยส่วนใหญ่อาจส่ายหน้าบอกว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงบ้านเชียง แหล่งอารยธรรมที่ถูกบรรจุไว้ในตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย รวมถึงโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลายแห่ง ล้วนมีชายคนนี้อยู่เบื้องหลัง
ชาร์ล ไฮแอม เป็นชาวอังกฤษ จบปริญญาเอกที่ ม.เคมบริดจ์ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านโบราณคดี ของ ม.โอตาโก นิวซีแลนด์ เชี่ยวชาญโบราณคดีอุษาคเนย์ โดยเฉพาะกัมพูชา
ชื่อของเขาปรากฏบนปกหนังสือที่นักศึกษาโบราณคดี "ต้องอ่าน" อย่าง "สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย" ตีพิมพ์ผลงานมาแล้วนับไม่ถ้วน อาทิ The Civilization of Angkor ซึ่งแปลออกเป็นหลายภาษา
เดินทางมาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2512 เพื่อร่วมโครงการขุดค้นทางภาคอีสาน ก่อนจะทำงานในแหล่งโบราณคดีไทยมาเป็นเวลาถึง 45 ปี วันนี้เขายังคงเดินหน้าโครงการ The Origin of Angkor ที่ใช้ชื่อภาษาไทยว่า "โครงการโบราณคดีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของนครวัด" อันดำเนินงานต่อเนื่องมานับสิบปี
และล่าสุด สั่นสะเทือนวงการด้วยการนำเสนออายุสมัยของบ้านเชียงอีกครั้ง ว่าไม่ได้เก่าอย่างที่เข้าใจกันมาตลอด!
นอกจากเป็นนักโบราณคดี ยังเป็นคุณพ่อของลูก 4 คน หนึ่งในนั้นคือ ศ.โทมัส ไฮแอม แห่ง ม.ออกซฟอร์ด ที่เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อด้วยการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดอายุด้วยเรดิโอคาร์บอน
ปัจจุบัน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่คัมพานีเบย์ ทางใต้ของนิวซีแลนด์
วันนี้ ศ.ชาร์ลให้เกียรติ "มติชน" ไต่บันไดลงหลุมที่แหล่งโบราณคดีโนนบ้านจาก อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เพื่อพูดคุยหลากประเด็น ในวงการประวัติศาสตร์โบราณคดี
ในวัย 76 เขายังกระฉับกระเฉงและมีอารมณ์ขัน พาเดินชมทั่วหลุมขุดค้น แล้วนั่งพูดคุยอย่างไม่ถือตัว
และทั้งหมดนี้คือปากคำของนักโบราณคดีระดับโลก
- เริ่มสนใจโบราณคดีตั้งแต่เมื่อไหร่
ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนครับ ตอนนั้นพี่ชายผมอยากให้หากิจกรรมอะไรทำในช่วงหน้าร้อน เขาก็แนะนำให้ไปเป็นอาสาสมัครที่แหล่งโบราณคดียุคสัมฤทธิ์ ใกล้ๆ กับสโตนเฮนจ์ เลยได้ขุดค้นเป็นครั้งแรกในชีวิตตั้งแต่อายุ 15 ปี มันสนุกมากเลย และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นในความสนใจด้านโบราณคดีของผม
- ตอนที่คิดจะศึกษาต่ออย่างจริงจัง ครอบครัวสนับสนุนไหม
พ่อผมมาบอกเองเลยว่า ผมควรสมัครเรียนที่ ม.เคมบริดจ์ กับ ม.ออกซฟอร์ด ผมอยากเรียนโบราณคดี ซึ่งมีแต่เคมบริดจ์เท่านั้นที่เปิดสอน ก็เลยสมัครเรียนโบราณคดีที่เคมบริดจ์ แล้วสมัครเรียนประวัติศาสตร์ที่ออกซฟอร์ด ปรากฏว่าเคมบริดจ์รับ เลยเริ่มต้นเรียนที่นั่นเมื่อ พ.ศ.2502
- ทำไมสนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่ทำวิจัยด้านโบราณคดียุคสัมฤทธิ์และเหล็กในยุโรปก่อนจะมาเมืองไทย
ผมโชคดีมาก คือต้องเท้าความก่อนว่า ใน พ.ศ.2509 ผมจบปริญญาเอกที่เคมบริดจ์แล้วได้งานสอนที่ ม.โอตาโก นิวซีแลนด์ ผมกับภรรยาและลูกชายซึ่งอายุแค่ 10 เดือน เลยย้ายไปที่อยู่นั่น แต่ตัวเองไม่ค่อยสนใจโบราณคดีนิวซีแลนด์สักเท่าไหร่ เพราะช่วงเวลามันสั้นมาก แค่ 600 ปีเอง แล้วพอดีว่า ศ.เชสเตอร์ กอร์แมน จาก ม.ฮาวาย ไปได้ยินว่าผมเชี่ยวชาญด้านกระดูกสัตว์ เขาก็มาบอกว่า ไอมีกระดูกสัตว์จากถ้ำผี ที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ช่วยศึกษาให้หน่อยได้ไหม? ผมตอบว่า ได้สิ!
จากนั้นก็แนะนำให้ผมรู้จัก ดร.โซเฮล์ม ซึ่งชวนผมมาร่วมโครงการขุดค้นบริเวณที่จะสร้างเขื่อนแห่งหนึ่งในอีสาน ผมเลยมาเมืองไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ.2512 แต่กรมศิลปากรบอกว่า ยูไปที่นั่นไม่ได้หรอก อันตราย ผมเลยไปขุดที่ร้อยเอ็ดกับขอนแก่นแทน
- แล้วไปขุดที่บ้านเชียงได้อย่างไร?
ก็เป็น ศ.กอร์แมน อีกนั่นแหละครับ วันหนึ่งเขามาบอกกับผมว่าจะไปขุดที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี ช่วยมาจอยกันได้ไหม? ผมเลยมาร่วมโครงการระหว่าง พ.ศ.2517-2518 ซึ่งทำให้ได้พบกับ ดร.รัชนี ทศรัตน์ ที่ตอนนั้นยังเรียนอยู่ที่คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร และได้ทำงานร่วมกันตลอดมา รวมถึงโครงการ The origin of Angkor ด้วย
-ช่วยเล่าถึงโครงการนี้หน่อย
โครงการนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณในลุ่มน้ำมูลทางภาคอีสานของไทยกับทางภาคเหนือของกัมพูชาเพื่อทำความเข้าใจยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ดังกล่าวในไทยเราได้ขุดแหล่งโบราณคดียุคสัมฤทธิ์อย่างบ้านหลุมเข้าและแหล่งโบราณคดียุคเหล็ก เช่น โนนอุโลก ส่วนในกัมพูชาก็ขุดที่ปักษีจำกรงและอื่นๆ ซึ่งที่ทำอยู่ตอนนี้เป็นระยะที่ 4 ของโครงการแล้ว โดย 3 ระยะแรก ดำเนินการด้วยเงินทุนจากออสเตรเลีย ส่วนระยะที่ 4 นี้ได้เงินจากนิวซีแลนด์ โครงการนี้มี ดร.รัชนี ทศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการร่วมด้วย ตอนนี้เรากำลังมองหาทุนเพื่อทำต่อ หาได้เมื่อไหร่ก็กลับมาใหม่ แต่ถ้ายังไม่ได้ ก็หยุดไว้ก่อน
- มีอุปสรรคในการทำงานไหม
ไม่มีครับ เราได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐให้ขุดค้นที่นี่ แถมคนงานไทยก็เยี่ยมมาก ทำงานหนัก ทักษะสูง จะหาดีกว่านี้ในโลกไม่มีอีกแล้ว (ยิ้ม)
- ที่โนนบ้านจาก ซึ่งขุดล่าสุดพบหลักฐานสำคัญอะไรบ้าง
นี่เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมาก เราพบว่ามีการฝังศพในบ้าน เจอทั้งโครงกระดูกผู้ใหญ่และเด็ก พบโบราณวัตถุที่น่าสนใจอย่างเครื่องมือเหล็ก มีด ใบหอก รวมถึงเครื่องประดับ ข้าว เตาเผาหม้อยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเจอตั้ง 4 เตา และหลักฐานอื่นๆ ที่ทำให้เราสร้างภาพชีวิตในหมู่บ้านยุคเหล็กซึ่งเป็นช่วงต้นของการเพาะปลูกขึ้นมาได้ ที่สำคัญคือนี่เป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่พบหมู่บ้านซึ่งประกอบด้วยกำแพงและถนน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นรัฐในยุคเริ่มแรก อย่างทวารวดี และเมืองพระนคร เราเลยพยายามค้นหาว่าผู้คนเหล่านั้นมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญเช่นนั้น
- ขอย้อนไปที่ชื่อโครงการ The origin of Angkor คุณเชื่อว่าอารยธรรมดังกล่าวเกิดที่นี่?
พื้นที่แถบนี้ให้ข้อมูลว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งมันเกิดขึ้นในกัมพูชาด้วยโดยในระหว่างพ.ศ.800และ 1100 เกิดความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ คือ มีการเกิดรัฐที่มีกษัตริย์ปกครอง ดูจากหลักฐานแล้วจะพบว่าชุมชนโบราณที่นี่มีพัฒนาการทางการเกษตร มีการจัดการน้ำ นอกจากนี้ ยังพบเครื่องมือเหล็กขนาดใหญ่ที่ใช้ในการไถนา ซึ่งทำให้สร้างผลผลิตได้มากขึ้น ล่าสุดที่โนนบ้านจาก ก็เจอข้าวเยอะมาก แม้แต่ที่โครงกระดูก จะสังเกตเห็นเม็ดสีขาวๆ นั่นก็ข้าว คนที่นี่เอาข้าวฝังลงไปกับศพด้วย
ทีนี้คนที่เป็นเจ้าของนา ก็จะร่ำรวยขึ้นมา กลายเป็นคนสำคัญ ประมาณว่าเป็นกษัตริย์ยุคแรกๆ นั่นแหละ
อีกอย่างหนึ่งคือ แถวนี้มีชั้นเกลือเยอะมาก และใครก็ตามที่สามารถควบคุมเกลือได้ ก็จะกลายเป็นคนรวย เพราะเกลือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็น ไหนจะใช้หมักปลาเพื่อถนอมอาหาร และเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนด้วย
- แถวนี้เป็นเส้นทางการค้าในอดีต?
โนนบ้านจากและแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในลุ่มน้ำมูล เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญมากๆ โดยมีความสัมพันธ์กับที่ราบสูงโคราช กับภาคกลางของไทย ซึ่งมีแหล่งทองแดง และเชื่อมโยงตลอดถึงชายฝั่งทะเล นครราชสีมากลายเป็นเมืองใหญ่เพราะการค้ามาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ นาข้าว เกลือ และการค้า คือสิ่งที่ก่อให้เกิดอารยธรรมยุคเริ่มต้นของที่นี่
- ลุ่มน้ำมูล มีความสำคัญต่อการก่อเกิดเมืองพระนครในกัมพูชา?
ใช่ครับ พิมายเป็นศูนย์กลางใหญ่ของเมืองพระนคร มีผู้นำระดับสูงของรัฐ หนึ่งในนั้นคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระองค์เคยประทับอยู่ที่นี่ ซึ่งตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ส่วนพนมรุ้งกับพนมวันก็เป็นหัวเมืองชั้นรอง ราชวงศ์ของพระองค์เป็นที่รู้จักในนาม ราชวงศ์มหิธรปุระ ที่กลายเป็นราชวงศ์ใหญ่ของเมืองพระนคร
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เป็นเครือญาติกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ปราสาทนครวัดที่พระองค์โปรดให้สร้าง ก็มีรูปแบบเหมือนปราสาทหินพิมาย ส่วนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครองบายน ก็อยู่ในราชวงศ์เดียวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6
- คุณพูดถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มคนเยอะมาก อยากทราบว่าคนในที่ราบสูงอย่างลุ่มน้ำมูล, ที่ราบลุ่มอย่างโตนเลสาปในกัมพูชา และลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือเปล่า
ผมคิดว่าในยุคเหล็ก คนในลุ่มน้ำมูลและคนที่อยู่ในลพบุรีรวมถึงคนที่อยู่ในเสียมราฐ กัมพูชา เป็นเครือญาติกัน พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรเหมือนกัน จากนั้นมีกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทเคลื่อนย้ายเข้ามา แล้วผสมผสานทางชาติพันธุ์ เราศึกษาดีเอ็นเอคนลุ่มน้ำมูล พบว่าเหมือนกับคนในเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร
- คนไทยถกเถียงกันตลอดว่าเรามาจากไหน?
ประวัติศาสตร์ของคุณบอกว่า คนไทยมาจากจีนตอนใต้ มาค้าขายและมีอำนาจ ก่อเกิดรัฐสุโขทัย อยุธยา ฯลฯ แต่ความจริง มีประชากรกลุ่มใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มาก่อนแล้ว อย่างเช่นคนในหลุมขุดค้นนี้ ที่น่าเชื่อว่าพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร สรุปสั้นๆ ว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยจากตอนใต้ของจีนเดินทางมาที่นี่ แต่ไม่ได้ฆ่าคนกลุ่มคนที่พูดภาษามอญ-เขมร พวกเขาแต่งงานกันครับ!!!
จากนั้นภาษาไทยกลายเป็นภาษาหลัก ประชากรไทยสมัยใหม่ ก็ยังคงมียีนมอญอยู่ในตัว เหมือนกับคนอังกฤษ ซึ่งพวกนอร์มันทางฝรั่งเศส เข้ามาแต่งงานกับพวกแองโกล แซกซัน ซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ไม่ต่างจากกรณีไทยและมอญ-เขมรที่ผสมกันแล้วสร้างอารยธรรมขึ้นมา
- คุณเคยขุดค้นที่โคกพนมดี จ.ชลบุรี จนพบหลักฐานที่โด่งดังมาก อย่างนางพญาโคกพนมดี ทำไมถึงหยุดไปเฉยๆ แล้วเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับอีสานแทน?
โคกพนมดี เป็นการขุดค้นครั้งใหญ่มาก ชั้นดินลึกตั้ง 7 เมตร และหลังจากโคกพนมดี ดร.รัชนีกับผมก็ไปขุดที่หนองโน ซึ่งเป็นแหล่งที่น่าสนใจมากเช่นกัน แต่แล้วกรมศิลปากรก็ย้าย ดร.รัชนี ซึ่งทำงานร่วมกับผมอยู่ ไปประจำที่พิมาย ผมเลยบอกเธอว่า ถ้าอย่างนั้นทำไมเราไม่พัฒนาโครงการแถบพิมายล่ะ? เพราะผมไม่สามารถทำงานในไทยได้โดยไม่มี ดร.รัชนี นั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
- ไม่ใช่เหตุผลด้านวิชาการ แต่เหตุผลหลักคือผู้ร่วมงาน?
จริงๆ แล้วผมก็สนใจในลุ่มน้ำมูลอยู่ด้วยแหละ เพราะตอนที่มาเมืองไทยครั้งแรกก็ขุดที่อีสาน พอ ดร.รัชนีย้ายไปพิมาย ก็เลยถือเป็นความคิดที่ดีที่จะมุ่งไปให้ความสำคัญกับอีสานอีก นอกจากนี้ ตอนขุดที่โคกพนมดี ก็เพื่อจะพยายามหาจุดเริ่มต้นของการปลูกข้าว ซึ่งแม้จะเป็นแหล่งที่น่าสนใจมากๆๆๆ แต่เป็นสังคมหาของป่าล่าสัตว์ ยังไม่ได้เพาะปลูก จึงไม่ได้ตอบคำถามของผมในตอนนั้น
- โอเพ่นมิวเซียม ที่บ้านธารปราสาท จ.นครราชสีมา สำเร็จหรือล้มเหลว?
ก็ใช้ได้อยู่นะ แต่ตอนเริ่มต้นนี่แย่มาก เพราะทิ้งโครงกระดูกไว้ในหลุม จนถูกทำลายจากสภาพแวดล้อม แต่ตอนหลังเปลี่ยนเอากระดูกพลาสติกมาแทนแล้ว พิพิธภัณฑ์ก็มีคนมาดูเรื่อยๆ เพราะติดถนนสายหลัก ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ คนมาซื้อน้ำอัดลมกิน ผมยังพานักศึกษาไปดูเลย แต่สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ จะหารายงานการขุดค้นได้ที่ไหน ถ้าขุดแล้วไม่เผยแพร่ มันคือการปล้นครับ ไม่ต่างจากลักลอบขุดเลย
- การไม่ตีพิมพ์รายงานคือปัญหาใหญ่ของกรมศิลป์?
ไม่ใช่เฉพาะคนไทยหรอก "ฝรั่ง" ตั้งเท่าไหร่เข้ามาทำงานด้านโบราณคดีที่เมืองไทยแล้วจากไป โดยไม่มีรายงาน อย่างโนนนกทา จ.ขอนแก่น ซึ่งสำคัญมากๆ ไหนจะบ้านเชียงอีก นั่นก็ไม่มีรายงานเผยแพร่ออกมา โอเคว่ามีเล่มหนึ่งเกี่ยวกับโครงกระดูกมนุษย์ แต่ก็มีอยู่แค่นั้น
- 45 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของวงการโบราณคดีไทยเป็นอย่างไร?
ดีขึ้นมากเลย กรมศิลปากรพยายามปกป้องแหล่งจากการลักลอบขุด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ในขณะที่กัมพูชา แหล่งอาจจะถูกทำลายในไม่กี่สัปดาห์จากการลักลอบขุด แต่ผมอยากเห็นกรมศิลป์ทำโครงการขุดค้นใหญ่ๆ อย่างในจีนบ้าง
- จุดอ่อนจุดแข็งนักโบราณคดีไทย
นักโบราณคดีไทยขุดค้นด้วยความระมัดระวังมาก ใส่ใจ และทำงานดี แต่มีน้อยเกินไป ประเทศไทยต้องการนักโบราณคดีมากกว่านี้เพื่อทำวิจัย
- แล้วการตีความหลักฐานล่ะ?
ผมว่าดีขึ้นนะ นักโบราณคดีไทยไปร่วมประชุมระดับนานาชาติมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้เกิดความคิดดีๆ ปัญหาพื้นฐานของวงการโบราณคดีไทยคือ งบประมาณการขุดค้น รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องใช้เงินเยอะ
ศ.ดร.ชาร์ล ไฮแอม บ้านเชียงเป็นชุมชนยุคสัมฤทธิ์แรกเริ่มของโลกนั้น..คือเรื่องเหลวไหล!
พูดชื่อ "ชาร์ล ไฮแอม" คนไทยส่วนใหญ่อาจส่ายหน้าบอกว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงบ้านเชียง แหล่งอารยธรรมที่ถูกบรรจุไว้ในตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย รวมถึงโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลายแห่ง ล้วนมีชายคนนี้อยู่เบื้องหลัง
ชาร์ล ไฮแอม เป็นชาวอังกฤษ จบปริญญาเอกที่ ม.เคมบริดจ์ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านโบราณคดี ของ ม.โอตาโก นิวซีแลนด์ เชี่ยวชาญโบราณคดีอุษาคเนย์ โดยเฉพาะกัมพูชา
ชื่อของเขาปรากฏบนปกหนังสือที่นักศึกษาโบราณคดี "ต้องอ่าน" อย่าง "สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย" ตีพิมพ์ผลงานมาแล้วนับไม่ถ้วน อาทิ The Civilization of Angkor ซึ่งแปลออกเป็นหลายภาษา
เดินทางมาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2512 เพื่อร่วมโครงการขุดค้นทางภาคอีสาน ก่อนจะทำงานในแหล่งโบราณคดีไทยมาเป็นเวลาถึง 45 ปี วันนี้เขายังคงเดินหน้าโครงการ The Origin of Angkor ที่ใช้ชื่อภาษาไทยว่า "โครงการโบราณคดีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของนครวัด" อันดำเนินงานต่อเนื่องมานับสิบปี
และล่าสุด สั่นสะเทือนวงการด้วยการนำเสนออายุสมัยของบ้านเชียงอีกครั้ง ว่าไม่ได้เก่าอย่างที่เข้าใจกันมาตลอด!
นอกจากเป็นนักโบราณคดี ยังเป็นคุณพ่อของลูก 4 คน หนึ่งในนั้นคือ ศ.โทมัส ไฮแอม แห่ง ม.ออกซฟอร์ด ที่เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อด้วยการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดอายุด้วยเรดิโอคาร์บอน
ปัจจุบัน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่คัมพานีเบย์ ทางใต้ของนิวซีแลนด์
วันนี้ ศ.ชาร์ลให้เกียรติ "มติชน" ไต่บันไดลงหลุมที่แหล่งโบราณคดีโนนบ้านจาก อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เพื่อพูดคุยหลากประเด็น ในวงการประวัติศาสตร์โบราณคดี
ในวัย 76 เขายังกระฉับกระเฉงและมีอารมณ์ขัน พาเดินชมทั่วหลุมขุดค้น แล้วนั่งพูดคุยอย่างไม่ถือตัว
และทั้งหมดนี้คือปากคำของนักโบราณคดีระดับโลก
- เริ่มสนใจโบราณคดีตั้งแต่เมื่อไหร่
ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนครับ ตอนนั้นพี่ชายผมอยากให้หากิจกรรมอะไรทำในช่วงหน้าร้อน เขาก็แนะนำให้ไปเป็นอาสาสมัครที่แหล่งโบราณคดียุคสัมฤทธิ์ ใกล้ๆ กับสโตนเฮนจ์ เลยได้ขุดค้นเป็นครั้งแรกในชีวิตตั้งแต่อายุ 15 ปี มันสนุกมากเลย และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นในความสนใจด้านโบราณคดีของผม
- ตอนที่คิดจะศึกษาต่ออย่างจริงจัง ครอบครัวสนับสนุนไหม
พ่อผมมาบอกเองเลยว่า ผมควรสมัครเรียนที่ ม.เคมบริดจ์ กับ ม.ออกซฟอร์ด ผมอยากเรียนโบราณคดี ซึ่งมีแต่เคมบริดจ์เท่านั้นที่เปิดสอน ก็เลยสมัครเรียนโบราณคดีที่เคมบริดจ์ แล้วสมัครเรียนประวัติศาสตร์ที่ออกซฟอร์ด ปรากฏว่าเคมบริดจ์รับ เลยเริ่มต้นเรียนที่นั่นเมื่อ พ.ศ.2502
- ทำไมสนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่ทำวิจัยด้านโบราณคดียุคสัมฤทธิ์และเหล็กในยุโรปก่อนจะมาเมืองไทย
ผมโชคดีมาก คือต้องเท้าความก่อนว่า ใน พ.ศ.2509 ผมจบปริญญาเอกที่เคมบริดจ์แล้วได้งานสอนที่ ม.โอตาโก นิวซีแลนด์ ผมกับภรรยาและลูกชายซึ่งอายุแค่ 10 เดือน เลยย้ายไปที่อยู่นั่น แต่ตัวเองไม่ค่อยสนใจโบราณคดีนิวซีแลนด์สักเท่าไหร่ เพราะช่วงเวลามันสั้นมาก แค่ 600 ปีเอง แล้วพอดีว่า ศ.เชสเตอร์ กอร์แมน จาก ม.ฮาวาย ไปได้ยินว่าผมเชี่ยวชาญด้านกระดูกสัตว์ เขาก็มาบอกว่า ไอมีกระดูกสัตว์จากถ้ำผี ที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ช่วยศึกษาให้หน่อยได้ไหม? ผมตอบว่า ได้สิ!
จากนั้นก็แนะนำให้ผมรู้จัก ดร.โซเฮล์ม ซึ่งชวนผมมาร่วมโครงการขุดค้นบริเวณที่จะสร้างเขื่อนแห่งหนึ่งในอีสาน ผมเลยมาเมืองไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ.2512 แต่กรมศิลปากรบอกว่า ยูไปที่นั่นไม่ได้หรอก อันตราย ผมเลยไปขุดที่ร้อยเอ็ดกับขอนแก่นแทน
- แล้วไปขุดที่บ้านเชียงได้อย่างไร?
ก็เป็น ศ.กอร์แมน อีกนั่นแหละครับ วันหนึ่งเขามาบอกกับผมว่าจะไปขุดที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี ช่วยมาจอยกันได้ไหม? ผมเลยมาร่วมโครงการระหว่าง พ.ศ.2517-2518 ซึ่งทำให้ได้พบกับ ดร.รัชนี ทศรัตน์ ที่ตอนนั้นยังเรียนอยู่ที่คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร และได้ทำงานร่วมกันตลอดมา รวมถึงโครงการ The origin of Angkor ด้วย
-ช่วยเล่าถึงโครงการนี้หน่อย
โครงการนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณในลุ่มน้ำมูลทางภาคอีสานของไทยกับทางภาคเหนือของกัมพูชาเพื่อทำความเข้าใจยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ดังกล่าวในไทยเราได้ขุดแหล่งโบราณคดียุคสัมฤทธิ์อย่างบ้านหลุมเข้าและแหล่งโบราณคดียุคเหล็ก เช่น โนนอุโลก ส่วนในกัมพูชาก็ขุดที่ปักษีจำกรงและอื่นๆ ซึ่งที่ทำอยู่ตอนนี้เป็นระยะที่ 4 ของโครงการแล้ว โดย 3 ระยะแรก ดำเนินการด้วยเงินทุนจากออสเตรเลีย ส่วนระยะที่ 4 นี้ได้เงินจากนิวซีแลนด์ โครงการนี้มี ดร.รัชนี ทศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการร่วมด้วย ตอนนี้เรากำลังมองหาทุนเพื่อทำต่อ หาได้เมื่อไหร่ก็กลับมาใหม่ แต่ถ้ายังไม่ได้ ก็หยุดไว้ก่อน
- มีอุปสรรคในการทำงานไหม
ไม่มีครับ เราได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐให้ขุดค้นที่นี่ แถมคนงานไทยก็เยี่ยมมาก ทำงานหนัก ทักษะสูง จะหาดีกว่านี้ในโลกไม่มีอีกแล้ว (ยิ้ม)
- ที่โนนบ้านจาก ซึ่งขุดล่าสุดพบหลักฐานสำคัญอะไรบ้าง
นี่เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมาก เราพบว่ามีการฝังศพในบ้าน เจอทั้งโครงกระดูกผู้ใหญ่และเด็ก พบโบราณวัตถุที่น่าสนใจอย่างเครื่องมือเหล็ก มีด ใบหอก รวมถึงเครื่องประดับ ข้าว เตาเผาหม้อยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเจอตั้ง 4 เตา และหลักฐานอื่นๆ ที่ทำให้เราสร้างภาพชีวิตในหมู่บ้านยุคเหล็กซึ่งเป็นช่วงต้นของการเพาะปลูกขึ้นมาได้ ที่สำคัญคือนี่เป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่พบหมู่บ้านซึ่งประกอบด้วยกำแพงและถนน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นรัฐในยุคเริ่มแรก อย่างทวารวดี และเมืองพระนคร เราเลยพยายามค้นหาว่าผู้คนเหล่านั้นมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญเช่นนั้น
- ขอย้อนไปที่ชื่อโครงการ The origin of Angkor คุณเชื่อว่าอารยธรรมดังกล่าวเกิดที่นี่?
พื้นที่แถบนี้ให้ข้อมูลว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งมันเกิดขึ้นในกัมพูชาด้วยโดยในระหว่างพ.ศ.800และ 1100 เกิดความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ คือ มีการเกิดรัฐที่มีกษัตริย์ปกครอง ดูจากหลักฐานแล้วจะพบว่าชุมชนโบราณที่นี่มีพัฒนาการทางการเกษตร มีการจัดการน้ำ นอกจากนี้ ยังพบเครื่องมือเหล็กขนาดใหญ่ที่ใช้ในการไถนา ซึ่งทำให้สร้างผลผลิตได้มากขึ้น ล่าสุดที่โนนบ้านจาก ก็เจอข้าวเยอะมาก แม้แต่ที่โครงกระดูก จะสังเกตเห็นเม็ดสีขาวๆ นั่นก็ข้าว คนที่นี่เอาข้าวฝังลงไปกับศพด้วย
ทีนี้คนที่เป็นเจ้าของนา ก็จะร่ำรวยขึ้นมา กลายเป็นคนสำคัญ ประมาณว่าเป็นกษัตริย์ยุคแรกๆ นั่นแหละ
อีกอย่างหนึ่งคือ แถวนี้มีชั้นเกลือเยอะมาก และใครก็ตามที่สามารถควบคุมเกลือได้ ก็จะกลายเป็นคนรวย เพราะเกลือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็น ไหนจะใช้หมักปลาเพื่อถนอมอาหาร และเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนด้วย
- แถวนี้เป็นเส้นทางการค้าในอดีต?
โนนบ้านจากและแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในลุ่มน้ำมูล เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญมากๆ โดยมีความสัมพันธ์กับที่ราบสูงโคราช กับภาคกลางของไทย ซึ่งมีแหล่งทองแดง และเชื่อมโยงตลอดถึงชายฝั่งทะเล นครราชสีมากลายเป็นเมืองใหญ่เพราะการค้ามาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ นาข้าว เกลือ และการค้า คือสิ่งที่ก่อให้เกิดอารยธรรมยุคเริ่มต้นของที่นี่
- ลุ่มน้ำมูล มีความสำคัญต่อการก่อเกิดเมืองพระนครในกัมพูชา?
ใช่ครับ พิมายเป็นศูนย์กลางใหญ่ของเมืองพระนคร มีผู้นำระดับสูงของรัฐ หนึ่งในนั้นคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระองค์เคยประทับอยู่ที่นี่ ซึ่งตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ส่วนพนมรุ้งกับพนมวันก็เป็นหัวเมืองชั้นรอง ราชวงศ์ของพระองค์เป็นที่รู้จักในนาม ราชวงศ์มหิธรปุระ ที่กลายเป็นราชวงศ์ใหญ่ของเมืองพระนคร
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เป็นเครือญาติกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ปราสาทนครวัดที่พระองค์โปรดให้สร้าง ก็มีรูปแบบเหมือนปราสาทหินพิมาย ส่วนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครองบายน ก็อยู่ในราชวงศ์เดียวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6
- คุณพูดถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มคนเยอะมาก อยากทราบว่าคนในที่ราบสูงอย่างลุ่มน้ำมูล, ที่ราบลุ่มอย่างโตนเลสาปในกัมพูชา และลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือเปล่า
ผมคิดว่าในยุคเหล็ก คนในลุ่มน้ำมูลและคนที่อยู่ในลพบุรีรวมถึงคนที่อยู่ในเสียมราฐ กัมพูชา เป็นเครือญาติกัน พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรเหมือนกัน จากนั้นมีกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทเคลื่อนย้ายเข้ามา แล้วผสมผสานทางชาติพันธุ์ เราศึกษาดีเอ็นเอคนลุ่มน้ำมูล พบว่าเหมือนกับคนในเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร
- คนไทยถกเถียงกันตลอดว่าเรามาจากไหน?
ประวัติศาสตร์ของคุณบอกว่า คนไทยมาจากจีนตอนใต้ มาค้าขายและมีอำนาจ ก่อเกิดรัฐสุโขทัย อยุธยา ฯลฯ แต่ความจริง มีประชากรกลุ่มใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มาก่อนแล้ว อย่างเช่นคนในหลุมขุดค้นนี้ ที่น่าเชื่อว่าพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร สรุปสั้นๆ ว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยจากตอนใต้ของจีนเดินทางมาที่นี่ แต่ไม่ได้ฆ่าคนกลุ่มคนที่พูดภาษามอญ-เขมร พวกเขาแต่งงานกันครับ!!!
จากนั้นภาษาไทยกลายเป็นภาษาหลัก ประชากรไทยสมัยใหม่ ก็ยังคงมียีนมอญอยู่ในตัว เหมือนกับคนอังกฤษ ซึ่งพวกนอร์มันทางฝรั่งเศส เข้ามาแต่งงานกับพวกแองโกล แซกซัน ซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ไม่ต่างจากกรณีไทยและมอญ-เขมรที่ผสมกันแล้วสร้างอารยธรรมขึ้นมา
- คุณเคยขุดค้นที่โคกพนมดี จ.ชลบุรี จนพบหลักฐานที่โด่งดังมาก อย่างนางพญาโคกพนมดี ทำไมถึงหยุดไปเฉยๆ แล้วเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับอีสานแทน?
โคกพนมดี เป็นการขุดค้นครั้งใหญ่มาก ชั้นดินลึกตั้ง 7 เมตร และหลังจากโคกพนมดี ดร.รัชนีกับผมก็ไปขุดที่หนองโน ซึ่งเป็นแหล่งที่น่าสนใจมากเช่นกัน แต่แล้วกรมศิลปากรก็ย้าย ดร.รัชนี ซึ่งทำงานร่วมกับผมอยู่ ไปประจำที่พิมาย ผมเลยบอกเธอว่า ถ้าอย่างนั้นทำไมเราไม่พัฒนาโครงการแถบพิมายล่ะ? เพราะผมไม่สามารถทำงานในไทยได้โดยไม่มี ดร.รัชนี นั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
- ไม่ใช่เหตุผลด้านวิชาการ แต่เหตุผลหลักคือผู้ร่วมงาน?
จริงๆ แล้วผมก็สนใจในลุ่มน้ำมูลอยู่ด้วยแหละ เพราะตอนที่มาเมืองไทยครั้งแรกก็ขุดที่อีสาน พอ ดร.รัชนีย้ายไปพิมาย ก็เลยถือเป็นความคิดที่ดีที่จะมุ่งไปให้ความสำคัญกับอีสานอีก นอกจากนี้ ตอนขุดที่โคกพนมดี ก็เพื่อจะพยายามหาจุดเริ่มต้นของการปลูกข้าว ซึ่งแม้จะเป็นแหล่งที่น่าสนใจมากๆๆๆ แต่เป็นสังคมหาของป่าล่าสัตว์ ยังไม่ได้เพาะปลูก จึงไม่ได้ตอบคำถามของผมในตอนนั้น
- โอเพ่นมิวเซียม ที่บ้านธารปราสาท จ.นครราชสีมา สำเร็จหรือล้มเหลว?
ก็ใช้ได้อยู่นะ แต่ตอนเริ่มต้นนี่แย่มาก เพราะทิ้งโครงกระดูกไว้ในหลุม จนถูกทำลายจากสภาพแวดล้อม แต่ตอนหลังเปลี่ยนเอากระดูกพลาสติกมาแทนแล้ว พิพิธภัณฑ์ก็มีคนมาดูเรื่อยๆ เพราะติดถนนสายหลัก ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ คนมาซื้อน้ำอัดลมกิน ผมยังพานักศึกษาไปดูเลย แต่สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ จะหารายงานการขุดค้นได้ที่ไหน ถ้าขุดแล้วไม่เผยแพร่ มันคือการปล้นครับ ไม่ต่างจากลักลอบขุดเลย
- การไม่ตีพิมพ์รายงานคือปัญหาใหญ่ของกรมศิลป์?
ไม่ใช่เฉพาะคนไทยหรอก "ฝรั่ง" ตั้งเท่าไหร่เข้ามาทำงานด้านโบราณคดีที่เมืองไทยแล้วจากไป โดยไม่มีรายงาน อย่างโนนนกทา จ.ขอนแก่น ซึ่งสำคัญมากๆ ไหนจะบ้านเชียงอีก นั่นก็ไม่มีรายงานเผยแพร่ออกมา โอเคว่ามีเล่มหนึ่งเกี่ยวกับโครงกระดูกมนุษย์ แต่ก็มีอยู่แค่นั้น
- 45 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของวงการโบราณคดีไทยเป็นอย่างไร?
ดีขึ้นมากเลย กรมศิลปากรพยายามปกป้องแหล่งจากการลักลอบขุด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ในขณะที่กัมพูชา แหล่งอาจจะถูกทำลายในไม่กี่สัปดาห์จากการลักลอบขุด แต่ผมอยากเห็นกรมศิลป์ทำโครงการขุดค้นใหญ่ๆ อย่างในจีนบ้าง
- จุดอ่อนจุดแข็งนักโบราณคดีไทย
นักโบราณคดีไทยขุดค้นด้วยความระมัดระวังมาก ใส่ใจ และทำงานดี แต่มีน้อยเกินไป ประเทศไทยต้องการนักโบราณคดีมากกว่านี้เพื่อทำวิจัย
- แล้วการตีความหลักฐานล่ะ?
ผมว่าดีขึ้นนะ นักโบราณคดีไทยไปร่วมประชุมระดับนานาชาติมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้เกิดความคิดดีๆ ปัญหาพื้นฐานของวงการโบราณคดีไทยคือ งบประมาณการขุดค้น รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องใช้เงินเยอะ