ทับหลัง




ปราสาทหินพิมาย ... ไปบ่อยโดยเฉพาะเวลาเพื่อนมาเที่ยวโคราช

พ.ศ. 2552 ไปเที่ยวเสียมราฐกันเองกับเพื่อน ติดหนังสืออ่านไปเที่ยวไป จนเบื่อปราสาทไปหลายปี

พ.ศ. 2555 ไปทำธุระกับเพื่อนที่เรียนไกด์ที่เมืองชล เพื่อนพาแวะปราสาทเขาน้อยสีชมพู และปราสาทสด๊กก๊อกธม
จึงได้รู้จักทับหลังยุคอาณาจักรกัมพูชาโบราณเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2560 วนเที่ยวอืสานตอนล่าง ได้เห็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี

ประกอบกับ

เพื่อนสมาชิก "คุณผู้ชายในสายลมหนาว" แนะนำให้รู้จักคลิบยูทูป วิชา ศิลปะและสถาปัตยกรรมเขมร  บรรยายโดยพิชญา สุ่มจินดา
จึงเป็นที่มาของเรื่อง ทับหลัง ในกระทู้นี้



* ทับหลัง *

มีที่มาจากในประเทศอินเดีย
เลียนแบบการประดับพวงมาลัยดอกไม้ที่ทางเข้าเทวาลัย หรือวิมานของเทพเจ้า เพื่อเป็นการสักการะ
พัฒนาเป็นการแกะสลักรูปพวงมาลัย ที่กรอบบนประตูทางเข้าเทวาลัย เพื่อเป็นเครื่องสักการะที่ถาวร




* องค์ประกอบหลักของทับหลัง *

ภาพแกะสลักบนทับหลัง เรียกว่าแถบภาพ
อาจมีแถบเดียวหรือสองแถบ โดยมีเส้นแบ่ง

แถบภาพตอนบน เป็นภาพสัตว์ เทพเจ้าในเรือนแก้ว ฤาษีในเรือนแก้ว อุบะ บัวฟันยักษ์

แถบภาพตอนล่าง จะประกอบไปด้วย
เทพประธาน อยู่กลางภาพ ประทับเหนือสัตว์ที่มีแต่ใบหน้า
ที่คล้ายสิงห์ คือเกียรติมุข หรือ สิงหมุข คือหน้าที่มีเกียรติ กัดกินสิ่งชั่วร้ายที่เข้ามาในศาสนสถาน
สิงห์ เป็นสัญญลักษณ์ของแสงสว่าง ที่จะทำลายความมืดและ อวิชชา
ท่อนมาลัย อยู่สองข้างของภาพประธาน วกไปมา แล้วม้วนขึ้นหรือลงที่ปลายมาลัยด้านนอกของแถบภาพ
เหนือท่อนมาลัย มีกนกใบไม้ ที่พัฒนาเป็นใบระกา
ใต้ท่อนมาลัย มีเฟื้องสลับอุบะ หรือลายก้านขดสลับอุบะ

ทับหลังศิลปะเกาะแกร์ จากปราสาทเมืองแขก




คนเขมรเรียกตนเองว่าเขมร คนไทยเรียกเขมรว่าขอม
ทับหลังเป็นศิลปะเขมร
ประเทศไทย ... ศิลปะเขมรในประเทศไทย
ศิลปะเขมรแบ่งออกเป็นสองยุคคือ

1 สมัยก่อนเมืองพระนคร
เป็นอาณากัพูชาโบราณ
ฝรั่งเศสได้แบ่งรูปแบบของศิลปะตามชื่อสถานที่ตั้งปราสาทที่พบคิอ
• ศิลปะพนมดา ( พ.ศ.1100-1150 อาณาจักรฟูนัน )
• ศิลปะสมโบร์ไพรกุก (พ.ศ.1150-1200)
• ศิลปะไพรกเมง (พ.ศ. 1180-1250)
• ศิลปะกําพงพระ (พ.ศ. 1250-1350)
• ศิลปะกุเลน (พ.ศ.1370-1420)

2 สมัยเมืองพระนคร
เป็นอาณาจักรกัมพูชาที่มาสร้างราชธานีที่บริเวณเมืองยโศธรปุระ
ปัจจุบันคือบริเวณเมืองเสียมราฐ
ฝรั่งเศสได้แบ่งรูปแบบของศิลปะตามชื่อสถานที่ตั้งปราสาทที่พบคิอ
• ศิลปะพระโค (พ.ศ. 1420-1440)
• ศิลปะบาแค็ง (พ.ศ. 1440-1470)
• ศิลปะเกาะแกร์ (พ.ศ. 1465-1490)
• ศิลปะแปรรูป (พ.ศ.1490-1510)
• ศิลปะบันทายสรี (พ.ศ.1510-1550)
• ศิลปะคลัง (พ.ศ. 1510-1560)
• ศิลปะบาปวน (พ.ศ. 1560-1630)
• ศิลปะนครวัด ( พ.ศ. 1650-1720)
• ศิลปะบายน (พ.ศ. 1720-1780)

เพิ่งจะจำได้เมื่อเขียนเรื่องนี้ โดยไล่เรียงจากเหตการณ์ที่เกิด  ขึ้นประกอบแผนที่นี้




ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ย้อนแม่น้ำไปยังทะเลสาบเขมร
พบพบโบราณวัตถุที่เมืองอังกอร์บอเรล หรือเมืองออกแก้ว ชื่อศิลปะพนมดา ไม่มีสถาปัตยกรรมหลงเหลืออยู่ จึงไม่มีทับหลัง
เป็นเมืองท่าของอาณาจักรฟูนัน การค้าขายโดยใช้เส้นทางเลียบทะเล มีเส้นทางน้ำออกทะเลในอ่าวไทยได้ในฤดูน้ำหลาก
โบราณวัตถุที่พบอยู่ระหว่างสองอารยธรรม คือ อินเดียและจีน  มีชุมชนตั้งอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ และใกล้แนวภูเขาที่มีศาสนสถานตั้งอยู่

จากบันทึกจดหมายเหตุจีน
เรียกว่าพวกบูชาเขาศักดิ์สิทธิ์หรือพนม ว่าฟูนัน ... อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรกัมพูชาแรกเริ่ม

ต่อมาการค้าขายทางเรือเปลี่ยนเส้นทางเป็นอ้อมแหลมมลายู การค้าของฟูนันจึงซบเซาลง
ประกอบกับการค้าขายทางบกของอาณาจักรเจนละ ที่เป็นอาณาจักรคู่ขนานกับฟูนัน .. เจริญก้าวหน้าขึ้น

พระเจ้าภัทรวรมันที่ 1 และ พระเจ้ามเหนทรวรมัน (พระเจ้าจิตรเสน) แห่งเจนละ จึงมีความเจริญเหนืออาณาจักรฟูนัน
ได้แผ่ขยายอาณาเขตสู่ดินแดนอาณาจักรฟูนัน ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และยังครอบคลุม ลุ่มแม่น้ำ ชี มูล
ดังที่ปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถาน, รูปเคารพ และจารึกจิตรเสนในอิสาน

ต่อมา

พระเจ้าอิศานวรมันพระโอรสพระเจ้าจิตรเสน ขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1153- 1198)
ได้สถาปนานครหลวงชื่อ อิศานปุระขึ้น ทางตะวันออกของโตนเลสาป คือบริเวณเมืองสมโบร์ไพรกุกปัจจุบัน

พบสถาปัตยกรรมที่ยังเหลืออยู่รุ่นแรกของเขมร ในดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง , ที่ราบสูงอีสาน
จนถึงบ้านเมืองของชาวจามที่ริมชายฝั่งทะเลเวียดนามตอนกลาง  เรียกว่าศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก



@ ทับหลังสัมโบไพรกุก @

ในการสร้างปราสาทเขมรจะเริ่มต้นจากการตั้งเสากรอบประตูแล้วก่อผนังขึ้นไป
ดังนั้นประตูปราสาทจึงจึงมีช่องเพียงด้านเดียว ที่เหลือเป็นประตูหลอกเพื่อเป็นผนังรับน้ำหนักหลังคา

ที่บริเวณสตึงแตรง มีปราสาทหลายแห่ง ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำเซกองมาบรรจบกับแม่น้ำโขง  
เดิมอยู่ในดินแดนของจำปาศักดฺ์ จึงมีความสัมพันธ์ไปถึงอุบลราชธานี ปราสาทวัดภูที่จำปาสัก และสุรินทร์ ปัจจุบันอยู่ในกัมพูชา
พบทับหลัง "ถาลาปริวัติ" ที่บ้านธาราบริวัติ




ทับหลังแบบถาลาปริวัติ
มีรูปสลักมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ใกล้เคียงกับศิลปะสมัยราชวงค์จาลุกยะ
ที่น่าจะพัฒนาเป็นศิลปะสัมโบไพรกุก คือ

1. ปลายทั้งสองข้างของภาพ เป็นรูปมกร หลังมกรมีคนขี่
มกร คือ ช้าง มีหางเป็นปลา ว่ายน้ำได้ กินกล้วยเป็นอาหาร มีงวง มีงาซึ่งงาจะพัฒนาไปเป็นเขี้ยว
เป็นสัญญลักษณ์ของ น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ กำเนิดของจักรวาล และการให้

ภาพประธานในทับหลังถาลาบริวัติ พบ 4 รูปคือ
สิงห์ ... ดังในภาพนี้   
ครุฑ บุคคลคนตัวเล็ก มีปีก มือจับงูหรือนาคไว้ทั้งสองข้าง ... พบที่เมืองเพนียด จันทบุรี
สุริยะเทพ บุคคลใส่กิริฏมงกุฏ หรือมงกุฏทรงกระบอก มือไคว้ถือดอกบัว
เกียรติมุข
ทั้งหมดเป็นสัญญลักษณ์ของแสงสว่าง ในเวลาเที่ยงวัน สามารถทำลายอวิชาที่ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด

2. มกรคายสายรุ้งออกมาเป็นวงโค้ง 2 สาย
สายรุ้ง คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์และสวรรค์ คือลำตัวของนาคทอดจากสวรรค์มายังโลกมนุษย์

3. สายรุ้งมาบรรจบกันตรงกลาง ที่ภาพประธานในรูปไข่
ใต้ภาพประธานมีอุบะห้อยลง

4. เหนือสายรุ้งมีกนกใบไม้วงโด้ง ... กนกผักกูด

5. ใต้สายรุ้งมีเฟื่องโค้ง ๆ และอุบะ

6. ใต้ภาพมกรมีแท่นหัวเสาหลอก เพื่อรับเสา

ทับหลังถาลาบริวัตินี้พบที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี
เก็บรักษาไว้ที่ วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง อุบลราชธานี




พัฒนาเป็นแบบ สมโบร์ไพรกุก
คือ
ความสูงของทับหลังลดลง ทำให้ใบไม้เหนือวงโด้งลดลง
1. ปลายทั้งสองข้างของภาพ เป็นรูปมกรที่มีขนาดเล็กลง หลังมกรมีคนขี่
2. มกรคายสายรุ้งออกมาเป็นวงโค้งเพิ่มเป็น 4 สาย*
3. สายรุ้งมาบรรจบกับภาพประธานในรูปไข่เพิ่มเป็น 3 ภาพ* ใต้ภาพประธานมีอุบะ
4. เหนือสายรุ้งลดลงหรือไม่มีกนกใบไม้เพราะความสูงลดลง
5. ใต้สายรุ้งมีเฟื่องโค้ง ๆ และอุบะ
6. ใต้ภาพมกรมีแท่นหัวเสาหลอก เพื่อรับเสา


ในประเทศไทยพบที่ปราสาทเขาน้อยสีชมพู ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว







ทับหลังศิลปะสมโบว์ไพรกุก










@ ศิลปะไพรเกมง @

ตั้งชื่อตามปราสาทไพรเกมง อยู่ใกล้สัมโบร์ไพรกุก

1. ปลายทั้งสองข้างของภาพ ไม่มีมกร *
2. สายรุ้งออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว แบ่งออกเป็น 4 ท่อน ม้วนปลายสองข้างเข้าด้านใน เหมือนช่องหน้าต่าง เรียกว่า กุฑุ *
3. สายรุ้งมีรูปในวงรีมีเปลวเพลิงล้อมรอบ 3 ภาพขึ้นไปใต้ภาพประธานมีอุบะ
4. เหนือสายรุ้งมีกนกใบไม้
5. ใต้สายรุ้งมีเฟื่อง และอุบะ มีความสูงมากขึ้น
6. มีแท่นหัวเสาหลอกเพื่อรับเสา


เป็นทับหลังที่พบที่ ปราสาทเขาน้อยสีชมพูด้วย







quiz 1

พบที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี




ดินแดนที่อยู่ตอนเหนือของทะเลสาปเขมรเป็นเทือกเขา ... เจนละบก
ดินแดนทางตอนใต้ของทะเลสาปเขมรจรดทะเล มีทะเลสาปหลายแห่งลงไปจนถึงปากแม่น้ำ ... เจนละน้ำ
แต่
นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า
การที่เอกสารจีนบอกว่าเจนละมีสองเมืองคือเจนละบกและเจนละน้ำสองเมืองนั้น
เพราะมีกษัตริย์ปกครองสองพระองค์  
เนื่องจากมีเมืองหนึ่งชื่อ ศัมภูปุระ แปลว่าเมืองของพระศิวะ
มีกษัตริย์เป็นผู้หญิงปกครองถึง 3 ชั่วคน
เป็นที่ตั้งของปราสาทกำพงพระ

@ ศิลปะทับหลังกำพงพระ @

1. ปลายสายรุ้งสองข้างของภาพม้วนขึ้น
2. สายรุ้งเส้นตรงเป็นท่อนมาลัย
3. ภาพประธานตรงกลางท่อนมาลัยเป็นลายดอกไม้ อุบะใต้ท่อนมาลัยกลายเป็นดอกไม้
4. เหนือท่อนมาลัยเป็นกนกใบไม้ ... ต้นกำเนิดของใบระกา
5. ใต้ท่อนมาลัยเป็นกนกผักกาด ไม่มีเฟื่องอุบะ
6. มีหัวเสา
ทุกอย่างเป็นธรรมชาติหมดไม่ต้องร้อยอุบะหรือมาลัย*


ทับหลังกำพงพระเราไม่มีภาพ


สรุปภาพทับหลังก่อนอาณาจักรกัมพูชา ได้ว่า

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่