Thinkstock
ในยุคที่ผู้คนต่างเคร่งเครียดและซึมเศร้ากันมากขึ้น สาขาวิชา "วิทยาศาสตร์แห่งความสุข" (Science of Happiness) เป็นหนึ่งในหลักสูตรออนไลน์ที่น่าสนใจ ซึ่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ของสหรัฐฯ เปิดให้คนทั่วไปลงทะเบียนเข้าศึกษาจากที่บ้านได้ โดยใช้เวลาเรียนราว 10 สัปดาห์
แบรด แรสส์เลอร์ นักเขียนของนิตยสาร Outside Magazine ได้ทดลองลงเรียนวิชานี้ และเลือกหยิบยกเอาความรู้ที่ได้มาแบ่งปันเล่าสู่กันฟัง 13 เรื่อง ซึ่งเนื้อหาบางส่วนในบทความของเขามีดังต่อไปนี้
◾ผลวิจัยชี้การผัดวันประกันพรุ่งเป็นเรื่องการจัดการ "อารมณ์" ไม่ใช่ "เวลา"
◾ฟิน(แลนด์)ที่สุดในโลก?
◾ประมูล "ทฤษฎีแห่งความสุข" ของไอน์สไตน์ได้ 1.5 ล้านดอลลาร์
ความสุขเป็นเรื่องอัตวิสัย
หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นภววิสัยไม่สามารถจะนำมาชี้วัดเรื่องความสุขได้ การที่จะตัดสินว่าใครมีความสุขหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการนิยามความหมายของคนผู้นั้นว่าความสุขของเขาคืออะไร สำหรับบางคนความสุขคือภาวะที่ไร้ความกังวล มีความรู้สึกรื่นเริงเบิกบาน บางคนมองว่าคือการมีสุขภาพดีและไร้ปัญหาใด ๆ ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง บางคนเห็นว่าความสุขคือการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและได้เป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น
หากคนผู้นั้นได้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งความสุขตามแบบในนิยามของตนแล้ว ก็จะรู้ได้ทันทีว่าตนเองมีความสุข โดยไม่ต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญ ทำการทดลอง หรือทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อวัดว่ามีความสุขหรือไม่อีกให้เสียเวลา
เงินซื้อความสุขไม่ได้
เคยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งที่ชี้ว่า คนร่ำรวยไม่ได้มีความสุขเหนือไปกว่าคนที่ขัดสน เพราะคนเรามีกระบวนการทางจิตวิทยาที่ปรับตัวให้เคยชินกับความสุขสบายที่ได้รับ (Hedonic adaptation) ซึ่งทำให้คนรวยไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไรกับความมั่งคั่งของตนเองมากนัก
เหรียญเงิน
ถ้ามีเงินทองสะสมมากในระดับหนึ่ง ความร่ำรวยจะไม่สามารถให้ความสุขได้อีกต่อไป
หากคุณกำลังลำบากเงินจำนวนหนึ่งอาจช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ลงได้ แต่ถ้าสะสมเงินรายได้มากขึ้นถึงระดับหนึ่ง ซึ่งตามที่งานวิจัยดังกล่าวระบุคือ 75,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี (ราว 2.45 ล้านบาท) ทรัพย์สินที่มีอยู่จะไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดความสุขได้อีกต่อไป
ความสุขไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติตน
แม้ทฤษฎีความสุขของ ศ. ซอนย่า ลูโบมีร์สกี แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตริเวอร์ไซด์จะบอกว่า ระดับความสุขในชีวิตของคนเราถูกกำหนดมาล่วงหน้าแล้วด้วยพันธุกรรมถึง 50% และถูกกำหนดด้วยเหตุการณ์แวดล้อม 10% แต่เรื่องนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับความพยายามริเริ่มส่วนบุคคลด้วยอีกถึง 40% เช่นกัน
นักจิตวิทยาอีกหลายคนก็แนะนำว่า การสร้างความสุขนั้นเป็นเหมือนกับการบริหารจัดการชีวิตที่คนเราต้องทำอยู่ตลอดเวลา แต่ให้มองว่าเป็นเหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเข้าครัวทำอาหาร โดยมีการลองผิดลองถูกและปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนพบวิถีทางแห่งความสุขในแบบที่เหมาะสมกับตนเอง
พอใจและขอบคุณต่อสิ่งที่เรามี คือแอปพลิเคชันสร้างความสุขชั้นเยี่ยม
การสร้างนิสัยให้รู้สึกขอบคุณต่อทุกสิ่งที่เราได้รับในทุกวัน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยสร้างความสุขอย่างได้ผล โดยมีงานวิจัยที่ยืนยันว่า การเขียนบันทึกประจำวันเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกในทางบวกได้เป็นอย่างดี แต่นักวิจัยแนะนำว่าไม่ควรพยายามบีบคั้นตนเองเพื่อสร้างความรู้สึกดังกล่าวขึ้นบ่อยครั้งเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการฝืนและชาชินได้ แต่ควรจะทำเป็นประจำเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็พอ
GETTY CREATIVE STOCK
หากต้องการมีความสุข มนุษย์ไม่ควรแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว
อย่าแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว
แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์ที่ไร้เหตุผลและชอบสร้างปัญหา แต่วิวัฒนาการทำให้คนเราต้องการกันและกันเสมอ การรวมกลุ่มของเผ่าพันธุ์เดียวกันทำให้เราอยู่รอด ทั้งยังตอบสนองต่อธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกที่ชอบการประนีประนอมกันอีกด้วย การเข้ากลุ่มและสร้างความปรองดองร่วมมือร่วมใจกัน กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งสร้างความรู้สึกผูกพันและอบอุ่นให้เกิดขึ้น
เมื่อตอนเด็กแม่ไม่อุ้มจะเกิดอะไรขึ้น ?
ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment theory) ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1969 ระบุว่าคุณภาพของการใส่ใจดูแลจากผู้เลี้ยงดูในวัยเด็ก ส่งผลต่อทารกในเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคมเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ได้ โดยเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลย จะมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนรอบข้างรวมถึงคนรักและมิตรสหาย โดยมักจะขาดความไว้วางใจ ทำตัวแปลกแยกห่างเหิน จนเกิดเป็นวงจรรัก ๆ เลิก ๆ หรือความสัมพันธ์ไม่ยั่งยืนต้องแตกหักกับคนรอบข้างเสมอ แต่พฤติกรรมนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการบำบัดทางจิตวิทยา
ที่มาของความสุขไม่จำเป็นจะต้องมีความหมายหรือคุณค่า
ในขณะที่งานวิจัยส่วนใหญ่ยกย่องการใช้ชีวิตอย่างมีค่าต่อผู้อื่น ผลการศึกษาหนึ่งที่เผยแพร่ในปี 2012 กลับชี้ว่า ความสุขนั้นมาจากการเป็นผู้รับมากกว่าการเป็นผู้ให้ ซึ่งนับว่าสวนทางกับความเข้าใจเชิงศีลธรรมที่มีมาก่อนอย่างสิ้นเชิง
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความสุขหลายคนไม่เห็นด้วยกับผลการวิจัยนี้ ซึ่งแยกเรื่องคุณค่าหรือความหมายของการกระทำออกจากความสุขที่ได้รับ "การใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและคุณค่า เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ นำมาซึ่งความวิตกกังวลและความเครียดในระดับที่สูงกว่ามาก ทำให้ความสุขที่ควรจะได้ลดลง"
BBC/NEWS/ไทย
“วิทยาศาสตร์แห่งความสุข” หลักสูตรออนไลน์ของม.ดังสอนอะไรบ้าง ?
Thinkstock
ในยุคที่ผู้คนต่างเคร่งเครียดและซึมเศร้ากันมากขึ้น สาขาวิชา "วิทยาศาสตร์แห่งความสุข" (Science of Happiness) เป็นหนึ่งในหลักสูตรออนไลน์ที่น่าสนใจ ซึ่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ของสหรัฐฯ เปิดให้คนทั่วไปลงทะเบียนเข้าศึกษาจากที่บ้านได้ โดยใช้เวลาเรียนราว 10 สัปดาห์
แบรด แรสส์เลอร์ นักเขียนของนิตยสาร Outside Magazine ได้ทดลองลงเรียนวิชานี้ และเลือกหยิบยกเอาความรู้ที่ได้มาแบ่งปันเล่าสู่กันฟัง 13 เรื่อง ซึ่งเนื้อหาบางส่วนในบทความของเขามีดังต่อไปนี้
◾ผลวิจัยชี้การผัดวันประกันพรุ่งเป็นเรื่องการจัดการ "อารมณ์" ไม่ใช่ "เวลา"
◾ฟิน(แลนด์)ที่สุดในโลก?
◾ประมูล "ทฤษฎีแห่งความสุข" ของไอน์สไตน์ได้ 1.5 ล้านดอลลาร์
ความสุขเป็นเรื่องอัตวิสัย
หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นภววิสัยไม่สามารถจะนำมาชี้วัดเรื่องความสุขได้ การที่จะตัดสินว่าใครมีความสุขหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการนิยามความหมายของคนผู้นั้นว่าความสุขของเขาคืออะไร สำหรับบางคนความสุขคือภาวะที่ไร้ความกังวล มีความรู้สึกรื่นเริงเบิกบาน บางคนมองว่าคือการมีสุขภาพดีและไร้ปัญหาใด ๆ ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง บางคนเห็นว่าความสุขคือการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและได้เป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น
หากคนผู้นั้นได้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งความสุขตามแบบในนิยามของตนแล้ว ก็จะรู้ได้ทันทีว่าตนเองมีความสุข โดยไม่ต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญ ทำการทดลอง หรือทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อวัดว่ามีความสุขหรือไม่อีกให้เสียเวลา
เงินซื้อความสุขไม่ได้
เคยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งที่ชี้ว่า คนร่ำรวยไม่ได้มีความสุขเหนือไปกว่าคนที่ขัดสน เพราะคนเรามีกระบวนการทางจิตวิทยาที่ปรับตัวให้เคยชินกับความสุขสบายที่ได้รับ (Hedonic adaptation) ซึ่งทำให้คนรวยไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไรกับความมั่งคั่งของตนเองมากนัก
เหรียญเงิน
ถ้ามีเงินทองสะสมมากในระดับหนึ่ง ความร่ำรวยจะไม่สามารถให้ความสุขได้อีกต่อไป
หากคุณกำลังลำบากเงินจำนวนหนึ่งอาจช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ลงได้ แต่ถ้าสะสมเงินรายได้มากขึ้นถึงระดับหนึ่ง ซึ่งตามที่งานวิจัยดังกล่าวระบุคือ 75,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี (ราว 2.45 ล้านบาท) ทรัพย์สินที่มีอยู่จะไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดความสุขได้อีกต่อไป
ความสุขไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติตน
แม้ทฤษฎีความสุขของ ศ. ซอนย่า ลูโบมีร์สกี แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตริเวอร์ไซด์จะบอกว่า ระดับความสุขในชีวิตของคนเราถูกกำหนดมาล่วงหน้าแล้วด้วยพันธุกรรมถึง 50% และถูกกำหนดด้วยเหตุการณ์แวดล้อม 10% แต่เรื่องนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับความพยายามริเริ่มส่วนบุคคลด้วยอีกถึง 40% เช่นกัน
นักจิตวิทยาอีกหลายคนก็แนะนำว่า การสร้างความสุขนั้นเป็นเหมือนกับการบริหารจัดการชีวิตที่คนเราต้องทำอยู่ตลอดเวลา แต่ให้มองว่าเป็นเหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเข้าครัวทำอาหาร โดยมีการลองผิดลองถูกและปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนพบวิถีทางแห่งความสุขในแบบที่เหมาะสมกับตนเอง
พอใจและขอบคุณต่อสิ่งที่เรามี คือแอปพลิเคชันสร้างความสุขชั้นเยี่ยม
การสร้างนิสัยให้รู้สึกขอบคุณต่อทุกสิ่งที่เราได้รับในทุกวัน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยสร้างความสุขอย่างได้ผล โดยมีงานวิจัยที่ยืนยันว่า การเขียนบันทึกประจำวันเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกในทางบวกได้เป็นอย่างดี แต่นักวิจัยแนะนำว่าไม่ควรพยายามบีบคั้นตนเองเพื่อสร้างความรู้สึกดังกล่าวขึ้นบ่อยครั้งเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการฝืนและชาชินได้ แต่ควรจะทำเป็นประจำเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็พอ
GETTY CREATIVE STOCK
หากต้องการมีความสุข มนุษย์ไม่ควรแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว
อย่าแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว
แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์ที่ไร้เหตุผลและชอบสร้างปัญหา แต่วิวัฒนาการทำให้คนเราต้องการกันและกันเสมอ การรวมกลุ่มของเผ่าพันธุ์เดียวกันทำให้เราอยู่รอด ทั้งยังตอบสนองต่อธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกที่ชอบการประนีประนอมกันอีกด้วย การเข้ากลุ่มและสร้างความปรองดองร่วมมือร่วมใจกัน กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งสร้างความรู้สึกผูกพันและอบอุ่นให้เกิดขึ้น
เมื่อตอนเด็กแม่ไม่อุ้มจะเกิดอะไรขึ้น ?
ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment theory) ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1969 ระบุว่าคุณภาพของการใส่ใจดูแลจากผู้เลี้ยงดูในวัยเด็ก ส่งผลต่อทารกในเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคมเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ได้ โดยเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลย จะมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนรอบข้างรวมถึงคนรักและมิตรสหาย โดยมักจะขาดความไว้วางใจ ทำตัวแปลกแยกห่างเหิน จนเกิดเป็นวงจรรัก ๆ เลิก ๆ หรือความสัมพันธ์ไม่ยั่งยืนต้องแตกหักกับคนรอบข้างเสมอ แต่พฤติกรรมนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการบำบัดทางจิตวิทยา
ที่มาของความสุขไม่จำเป็นจะต้องมีความหมายหรือคุณค่า
ในขณะที่งานวิจัยส่วนใหญ่ยกย่องการใช้ชีวิตอย่างมีค่าต่อผู้อื่น ผลการศึกษาหนึ่งที่เผยแพร่ในปี 2012 กลับชี้ว่า ความสุขนั้นมาจากการเป็นผู้รับมากกว่าการเป็นผู้ให้ ซึ่งนับว่าสวนทางกับความเข้าใจเชิงศีลธรรมที่มีมาก่อนอย่างสิ้นเชิง
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความสุขหลายคนไม่เห็นด้วยกับผลการวิจัยนี้ ซึ่งแยกเรื่องคุณค่าหรือความหมายของการกระทำออกจากความสุขที่ได้รับ "การใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและคุณค่า เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ นำมาซึ่งความวิตกกังวลและความเครียดในระดับที่สูงกว่ามาก ทำให้ความสุขที่ควรจะได้ลดลง"
BBC/NEWS/ไทย