การทดลองชี้ วิทยาศาสตร์ กระตุ้นสำนึกคุณธรรม
หลายคนอาจคิดว่า วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่สื่อถึง อารมณ์เย็นชา ไร้หัวจิตหัวใจ วัตถุนิยม เทคโนโลยีทำร้ายธรรมชาติ เพิกเฉยต่อศีลธรรม
แต่ผู้ที่รักวิทยาศาสตร์ พวกเขาเชื่อว่าวิทยาศาสตร์อุดมไปด้วยเหตุผลตรรกะและความยุติธรรมต่อหลักฐาน
ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นรากฐานของอุดมคติร่วมของคุณธรรมในกมลสันดานของมนุษย์
ทีมวิจัยของ University of California ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองต่อวิทยาศาสตร์กับระดับศีลธรรมของมนุษย์ ด้วยการทดลอง 4 ชุด
- การทดลองที่ 1 กลุ่มตัวอย่างจะได้อ่านเรื่องผู้ชายข่มขืนผู้หญิง จากนั้นก็ให้กลุ่มตัวอย่างประเมินว่าผู้ชายคนนั้นเลวมากน้อยเพียงใด
ผลปรากฏออกมาว่าความศรัทธาต่อวิทยาศาสตร์สัมพันธ์กับสำนึกคุณธรรมในเชิงบวก กลุ่มตัวอย่างที่ได้คะแนนศรัทธาในวิทยาศาสตร์สูง มีแนวโน้มให้คะแนนความเลวผู้ชายที่ข่มขืนผู้หญิงสูงตามไปด้วย
- การทดลองที่ 2, 3, 4 นั้นมีขั้นตอนแรก เหมือนกันหมด คือ เริ่มจากการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาที่เรียกว่า priming (จับกลุ่มตัวอย่างมานั่งเรียงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ก่อนเริ่มการทดลอง เพื่อให้ถูกเหนี่ยวนำให้คิดถึงวิทยาศาสตร์แวบเข้ามาในห้วงความคิดอย่างไม่รู้ตัว)
--- การทดลองที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจะได้อ่านเรื่องผู้ชายข่มขืนผู้หญิงเหมือนในการทดลองที่ 1 (แต่ใช้คนละกลุ่มตัวอย่าง)
--- การทดลองที่ 3 กลุ่มตัวอย่างต้องตอบแบบสอบถามว่าจะมีแนวโน้มในการทำความดีมากน้อยแค่ไหนภายในเวลา 1 เดือนข้างหน้า
--- การทดลองที่ 4 กลุ่มตัวอย่างต้องเล่นเกม "Dictator Game"
http://en.wikipedia.org/wiki/Dictator_game (แต่ละคนจะได้รับเงิน 5 เหรียญ ผู้เล่นต้องตัดสินใจว่าจะแบ่งเงินให้กับคู่เล่นอีกฝ่ายเท่าไร)
ผลการทดลองที่ 2, 3, 4 ให้ผลออกมาสอดคล้องกันอย่างชัดเจนว่าการคิดถึงวิทยาศาสตร์กระตุ้นสำนึกคุณธรรมในจิดใจคนได้จริงๆ
มากกว่ากลุ่มควบคุมที่โดน priming ด้วยคำเรื่อยเปื่อยที่ไม่เกี่ยวอะไรกับวิทยาศาสตร์
โดยแนวโน้มของระดับการกระตุ้นคุณธรรมโดยวิทยาศาสตร์ไม่ได้แปรผันไปตามปัจจัยของเพศ, เชื้อชาติ, หรือศาสนาด้วย
ยกเว้นในการทดลองที่ 4 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีแนวโน้มกั๊กเงินไว้กับตัวเองมากกว่าผู้ชาย (ซึ่งก็ปกติอยู่แล้ว)
เดบิต
http://jusci.net/node/3081
http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=just-thinking-about-science-triggers-moral-behavior
http://www.plosone.org/article/info%3Adoi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0057989
<<< ไม่ได้มีแต่ศาสนา ที่สอนให้คนเป็นคนดี วิทยาศาสตร์ ก็เป็นเหมือนกัน >>>
หลายคนอาจคิดว่า วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่สื่อถึง อารมณ์เย็นชา ไร้หัวจิตหัวใจ วัตถุนิยม เทคโนโลยีทำร้ายธรรมชาติ เพิกเฉยต่อศีลธรรม
แต่ผู้ที่รักวิทยาศาสตร์ พวกเขาเชื่อว่าวิทยาศาสตร์อุดมไปด้วยเหตุผลตรรกะและความยุติธรรมต่อหลักฐาน
ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นรากฐานของอุดมคติร่วมของคุณธรรมในกมลสันดานของมนุษย์
ทีมวิจัยของ University of California ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองต่อวิทยาศาสตร์กับระดับศีลธรรมของมนุษย์ ด้วยการทดลอง 4 ชุด
- การทดลองที่ 1 กลุ่มตัวอย่างจะได้อ่านเรื่องผู้ชายข่มขืนผู้หญิง จากนั้นก็ให้กลุ่มตัวอย่างประเมินว่าผู้ชายคนนั้นเลวมากน้อยเพียงใด
ผลปรากฏออกมาว่าความศรัทธาต่อวิทยาศาสตร์สัมพันธ์กับสำนึกคุณธรรมในเชิงบวก กลุ่มตัวอย่างที่ได้คะแนนศรัทธาในวิทยาศาสตร์สูง มีแนวโน้มให้คะแนนความเลวผู้ชายที่ข่มขืนผู้หญิงสูงตามไปด้วย
- การทดลองที่ 2, 3, 4 นั้นมีขั้นตอนแรก เหมือนกันหมด คือ เริ่มจากการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาที่เรียกว่า priming (จับกลุ่มตัวอย่างมานั่งเรียงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ก่อนเริ่มการทดลอง เพื่อให้ถูกเหนี่ยวนำให้คิดถึงวิทยาศาสตร์แวบเข้ามาในห้วงความคิดอย่างไม่รู้ตัว)
--- การทดลองที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจะได้อ่านเรื่องผู้ชายข่มขืนผู้หญิงเหมือนในการทดลองที่ 1 (แต่ใช้คนละกลุ่มตัวอย่าง)
--- การทดลองที่ 3 กลุ่มตัวอย่างต้องตอบแบบสอบถามว่าจะมีแนวโน้มในการทำความดีมากน้อยแค่ไหนภายในเวลา 1 เดือนข้างหน้า
--- การทดลองที่ 4 กลุ่มตัวอย่างต้องเล่นเกม "Dictator Game" http://en.wikipedia.org/wiki/Dictator_game (แต่ละคนจะได้รับเงิน 5 เหรียญ ผู้เล่นต้องตัดสินใจว่าจะแบ่งเงินให้กับคู่เล่นอีกฝ่ายเท่าไร)
ผลการทดลองที่ 2, 3, 4 ให้ผลออกมาสอดคล้องกันอย่างชัดเจนว่าการคิดถึงวิทยาศาสตร์กระตุ้นสำนึกคุณธรรมในจิดใจคนได้จริงๆ
มากกว่ากลุ่มควบคุมที่โดน priming ด้วยคำเรื่อยเปื่อยที่ไม่เกี่ยวอะไรกับวิทยาศาสตร์
โดยแนวโน้มของระดับการกระตุ้นคุณธรรมโดยวิทยาศาสตร์ไม่ได้แปรผันไปตามปัจจัยของเพศ, เชื้อชาติ, หรือศาสนาด้วย
ยกเว้นในการทดลองที่ 4 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีแนวโน้มกั๊กเงินไว้กับตัวเองมากกว่าผู้ชาย (ซึ่งก็ปกติอยู่แล้ว)
เดบิต http://jusci.net/node/3081
http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=just-thinking-about-science-triggers-moral-behavior
http://www.plosone.org/article/info%3Adoi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0057989