งานวิจัยเผย “คนดี” มีแนวโน้มจะเป็น “คนโกง”
Sat, 2014-11-29 01:30
นักวิจัยพบว่าการคิดว่าตัวเองเป็นคนดีมีศีลธรรมนำไปสู่พฤติกรรมสุดโต่ง และ “คนดีมีศีลธรรม” มองการโกงว่าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยให้ความชอบธรรมว่ามันคือหนทางไปสู่ปลายทางแห่งศีลธรรม
ความเชื่อว่า คนที่มีศีลธรรมสูงกว่าคือคนดีของสังคม ถูกท้าทายด้วยงานวิจัยล่าสุดที่พบว่า สำนึกสูงกว่าทางศีลธรรมนั้นกลับชักนำไปสู่การละเมิดจรรยาบรรณ เช่น การโกง เป็นต้น และกลายเป็นว่า “คนดี” มีแนวโน้มที่จะเป็น “คนโกง
เมื่อถูกขอให้อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง ผู้คนจำนวนมากก็มักจะบอกเกี่ยวกับกิจกรรมที่ตัวเองทำ เช่น ชอบโยคะ แต่ก็มีบางกลุ่มที่อธิบายตัวเองด้วยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “อัตลักษณ์ทางศีลธรรม” ซึ่งคำตอบที่จะได้จากคนกลุ่มนี้ก็ได้แก่ “ฉันเป็นคนซื่อสัตย์” หรือ “ฉันมีความห่วงใยผู้อื่น”
งานวิจัยในอดีต ชี้ว่าคนที่อธิบายเกี่ยวกับตัวเองว่าเป็นคนซื่อสัตย์มีเมตตามักจะมีแนวโน้มว่าจะเข้าร่วมในกิจกรรมอาสาสมัคร และกิจกรรมต่างๆ ที่รับผิดชอบต่อสังคม
แต่หลายครั้งในชีวิตจริงที่ ความหมายของคำว่า ถูกและผิดนั้นมีลักษณะเบลอๆ ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวกับการสอบหรือในบริบทของการทำงาน เช่น บางคนจะอธิบายการโกงข้อสอบว่าเป็นวิถีทางที่จะพาไปสู่ความฝันว่าจะเป็นหมอเพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้คน
เรย์โนลด์และ ทารา เซเรนิค จากมหาวิทยาลัย University of Washington Business School in Seattle ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาและผู้จัดการบริษัท รายละเอียดของงานวิจัยใหม่ชิ้นตีพิมพ์ในนิตยสาร Journal of Applied Psychology ในเดือนนี้ (พฤศจิกายน) นักวิจัยพบว่า เมื่อกลุ่มคนที่เชื่อว่าตัวเองมีศีลธรรมสูงเผชิญกับความกำกวมของเส้นแบ่งระหว่างถูกและผิด “คนดี” เหล่านี้จะสามารถกลายเป็นคนโกงอย่างที่สุด
“ทฤษฎีที่เราค้นพบก็คือว่าเมื่อเผชิญหน้ากับการตัดสินใจด้านศีลธรรมแล้ว กลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์แข็งแกร่งด้านศีลธรรมจะเลือกกำหนดชะตากรรม (เพื่อสิ่งที่ดี หรือเพื่อสิ่งที่เลว) และอัตลักษณ์ทางศีลธรรมนั้นเองที่ผลักดันพวกเขาไปสู่ความสุดโต่ง และนี่ช่วยอธิบายว่าอะไรเป็นเหตุเกิดนักบุญผู้ยิ่งใหญ่กับคนมือถือสากปากถือศีล” สก็อต เรย์โนลด์ นักวิจัย กล่าว
เมื่อถามว่าทำไมคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนซื่อสัตย์ถึงโกง นักวิจัยพบว่า “คนดีมีศีลธรรม” มองการโกงว่าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยให้ความชอบธรรมว่ามันคือหนทางไปสู่ปลายทางแห่งศีลธรรม
หนึ่งในกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยยกมาไว้ในงานวิจัยอธิบายว่า “ถ้าผมโกง ผมก็จะสามารถเข้ามหาวิทยาลัย และเมื่อผมเข้ามหาวิทยาลัยได้ก็จะเป็นหมอได้ และคิดถึงคนที่จะเข้ามาขอให้ผมช่วยเหลือเมื่อผมเป็นหมอ”
ในสนามการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในมหาวิทยาลัยหรือในธุรกิจ ล้วนสร้างแรงจูงใจในการโกง “การโกงคือหนทางที่ทำให้เหนือกว่าในการแข่งขัน และรางวัลที่ได้ก็คือสู่ชัยชนะเหนือคู่แข่งคนอื่น” ดร. แดเนียล ครูเกอร์ นักจิตวิทยาพัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนอธิบาย โดยกล่าวด้วยว่า ดูเหมือนว่าความต้องการและความคาดหวังว่าจะ “เป็นที่หนึ่ง” ในสังคมนั้นเพิ่มมากขึ้น และเขาไม่แปลกใจเลยที่การสำรวจพบกว่า ในกลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยกฎหมายมีการฉีกตำราบางหน้าออกจากหนังสือในห้องสมุดเพื่อไม่ให้นักเรียนคนอื่นๆ ได้อ่าน
เรย์โนลด์และ เซเรนิค ได้ทำการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 230 ซึ่งเป็นศึกษา มีอายุเฉลี่ย 21 ปี ที่เรียนในหลักสูตรธุรกิจขั้นสูง การสำรวจได้ทำการชี้วัดอัตลักษณ์ทางศีลธรรม จากคำถาม 12 ข้อเกี่ยวบุคลิกภาพด้านศีลธรรมที่สำคัญๆ เช่น ความมีเอื้อเฟื้อ เจตจำนงในการทำงานหนัก ความซื่อสัตย์และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และก็สิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพด้านศีลธรรม เช่นหนังสือ กิจกรรม และเพื่อน
และนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างถูกสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมคดโกง 13 ข้อ เช่น แอบพกโพยข้อสอบ การลอกนักเรียนคนอื่นเป็นต้น
ผลสำรวจพบว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีพฤติกรรมโกงอย่างน้อย 1 อย่างใน 13 อย่างที่ถูกสอบถาม และกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างบอกว่าพวกเขาไม่พูดอะไรเมื่อได้ประโยชน์จากการที่อาจารย์ให้คะแนนผิด เกือบร้อยละ 50 ยอมรับว่าเคยทำบางอย่างที่ไม่ถูกต้องนักไม่ว่าจะในงานกลุ่มหรือในงานที่ต้องทำคนเดียว เกือบร้อยละ 42 เคยลอกข้อสอบเพื่อน
ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนอัตลักษณ์ด้านศีลธรรมสูงและคิดว่าการโกงนั้นเป็นความบกพร่องทางศีลธรรม เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าโกงน้อยที่สุด ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่โกงที่สุดก็คือกลุ่มที่ให้ความชอบธรรมกับการโกงตามแต่สถานการณ์นั้นๆ
“ถ้าพวกเขาคิดว่ามันผิด เขาก็จะไม่ทำ แต่ถ้าเขาคิดว่าไม่เป็นไร เขาก็จะทำได้เต็มที่” เรย์โนลด์อธิบาย
การวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 290 คนที่มีตำแหน่งผู้จัดการ ก็ได้ผลอย่างเดียวกัน การสำรวจนั้นสอบถามถึงพฤติกรรมต้องห้ามสำหรับที่ทำงาน 17 ข้อ เช่น พวกเขาเคยใช้บริการที่เป็นของบริษัทไปในทางส่วนตัวหรือไม่ ก็พบว่าผู้จัดการที่มีศีลธรรมสูงก็มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะทำพฤติกรรมเหล่านี้
“เมื่อมีอัตลักษณ์ด้านศีลธรรมแข็งแกร่ง ก็มักจะมองตัวเองว่าเป็นคนที่มีศีลธรรมดีเลิศ พฤติกรรมของพวกเขาก็มักจะสุดโต่ง” เรย์โนลด์กล่าว และบอกว่า แนวทางที่จะโน้มน้าวให้กลุ่มคนเหล่านี้ละพฤติกรรมการโกง เขาคิดว่าควรต้องศึกษาด้านศีลธรรม การเรียนในห้อง หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ต้องช่วยสื่อสารว่าอะไรคือพฤติกรรมที่ยอมรับได้ในทางศีลธรรม และอะไรที่ไม่ใช่
เรย์โนลด์ชี้ว่าระบบการเรียนแบบเก่าที่เน้นการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีส่วนช่วยมาก เพราะคนเราเรียนรู้จากการได้รางวัลและการถูกลงโทษ และสำหรับการคัดเลือกคนเข้าทำงาน การที่ผู้สมัครงานพูดว่าตัวเองเป็นคนซื่อสัตย์นั้นไม่ใช่การยืนยันว่าเขาจะไม่โกง หากแต่ต้องมีการฝึกอบรมการทำงานที่ดีด้วย
งานวิจัยเผย “คนที่ทึกทักว่าตัวเองดี” มีแนวโน้มจะเป็น “คนโกง”
Sat, 2014-11-29 01:30
นักวิจัยพบว่าการคิดว่าตัวเองเป็นคนดีมีศีลธรรมนำไปสู่พฤติกรรมสุดโต่ง และ “คนดีมีศีลธรรม” มองการโกงว่าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยให้ความชอบธรรมว่ามันคือหนทางไปสู่ปลายทางแห่งศีลธรรม
ความเชื่อว่า คนที่มีศีลธรรมสูงกว่าคือคนดีของสังคม ถูกท้าทายด้วยงานวิจัยล่าสุดที่พบว่า สำนึกสูงกว่าทางศีลธรรมนั้นกลับชักนำไปสู่การละเมิดจรรยาบรรณ เช่น การโกง เป็นต้น และกลายเป็นว่า “คนดี” มีแนวโน้มที่จะเป็น “คนโกง
เมื่อถูกขอให้อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง ผู้คนจำนวนมากก็มักจะบอกเกี่ยวกับกิจกรรมที่ตัวเองทำ เช่น ชอบโยคะ แต่ก็มีบางกลุ่มที่อธิบายตัวเองด้วยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “อัตลักษณ์ทางศีลธรรม” ซึ่งคำตอบที่จะได้จากคนกลุ่มนี้ก็ได้แก่ “ฉันเป็นคนซื่อสัตย์” หรือ “ฉันมีความห่วงใยผู้อื่น”
งานวิจัยในอดีต ชี้ว่าคนที่อธิบายเกี่ยวกับตัวเองว่าเป็นคนซื่อสัตย์มีเมตตามักจะมีแนวโน้มว่าจะเข้าร่วมในกิจกรรมอาสาสมัคร และกิจกรรมต่างๆ ที่รับผิดชอบต่อสังคม
แต่หลายครั้งในชีวิตจริงที่ ความหมายของคำว่า ถูกและผิดนั้นมีลักษณะเบลอๆ ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวกับการสอบหรือในบริบทของการทำงาน เช่น บางคนจะอธิบายการโกงข้อสอบว่าเป็นวิถีทางที่จะพาไปสู่ความฝันว่าจะเป็นหมอเพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้คน
เรย์โนลด์และ ทารา เซเรนิค จากมหาวิทยาลัย University of Washington Business School in Seattle ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาและผู้จัดการบริษัท รายละเอียดของงานวิจัยใหม่ชิ้นตีพิมพ์ในนิตยสาร Journal of Applied Psychology ในเดือนนี้ (พฤศจิกายน) นักวิจัยพบว่า เมื่อกลุ่มคนที่เชื่อว่าตัวเองมีศีลธรรมสูงเผชิญกับความกำกวมของเส้นแบ่งระหว่างถูกและผิด “คนดี” เหล่านี้จะสามารถกลายเป็นคนโกงอย่างที่สุด
“ทฤษฎีที่เราค้นพบก็คือว่าเมื่อเผชิญหน้ากับการตัดสินใจด้านศีลธรรมแล้ว กลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์แข็งแกร่งด้านศีลธรรมจะเลือกกำหนดชะตากรรม (เพื่อสิ่งที่ดี หรือเพื่อสิ่งที่เลว) และอัตลักษณ์ทางศีลธรรมนั้นเองที่ผลักดันพวกเขาไปสู่ความสุดโต่ง และนี่ช่วยอธิบายว่าอะไรเป็นเหตุเกิดนักบุญผู้ยิ่งใหญ่กับคนมือถือสากปากถือศีล” สก็อต เรย์โนลด์ นักวิจัย กล่าว
เมื่อถามว่าทำไมคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนซื่อสัตย์ถึงโกง นักวิจัยพบว่า “คนดีมีศีลธรรม” มองการโกงว่าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยให้ความชอบธรรมว่ามันคือหนทางไปสู่ปลายทางแห่งศีลธรรม
หนึ่งในกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยยกมาไว้ในงานวิจัยอธิบายว่า “ถ้าผมโกง ผมก็จะสามารถเข้ามหาวิทยาลัย และเมื่อผมเข้ามหาวิทยาลัยได้ก็จะเป็นหมอได้ และคิดถึงคนที่จะเข้ามาขอให้ผมช่วยเหลือเมื่อผมเป็นหมอ”
ในสนามการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในมหาวิทยาลัยหรือในธุรกิจ ล้วนสร้างแรงจูงใจในการโกง “การโกงคือหนทางที่ทำให้เหนือกว่าในการแข่งขัน และรางวัลที่ได้ก็คือสู่ชัยชนะเหนือคู่แข่งคนอื่น” ดร. แดเนียล ครูเกอร์ นักจิตวิทยาพัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนอธิบาย โดยกล่าวด้วยว่า ดูเหมือนว่าความต้องการและความคาดหวังว่าจะ “เป็นที่หนึ่ง” ในสังคมนั้นเพิ่มมากขึ้น และเขาไม่แปลกใจเลยที่การสำรวจพบกว่า ในกลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยกฎหมายมีการฉีกตำราบางหน้าออกจากหนังสือในห้องสมุดเพื่อไม่ให้นักเรียนคนอื่นๆ ได้อ่าน
เรย์โนลด์และ เซเรนิค ได้ทำการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 230 ซึ่งเป็นศึกษา มีอายุเฉลี่ย 21 ปี ที่เรียนในหลักสูตรธุรกิจขั้นสูง การสำรวจได้ทำการชี้วัดอัตลักษณ์ทางศีลธรรม จากคำถาม 12 ข้อเกี่ยวบุคลิกภาพด้านศีลธรรมที่สำคัญๆ เช่น ความมีเอื้อเฟื้อ เจตจำนงในการทำงานหนัก ความซื่อสัตย์และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และก็สิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพด้านศีลธรรม เช่นหนังสือ กิจกรรม และเพื่อน
และนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างถูกสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมคดโกง 13 ข้อ เช่น แอบพกโพยข้อสอบ การลอกนักเรียนคนอื่นเป็นต้น
ผลสำรวจพบว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีพฤติกรรมโกงอย่างน้อย 1 อย่างใน 13 อย่างที่ถูกสอบถาม และกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างบอกว่าพวกเขาไม่พูดอะไรเมื่อได้ประโยชน์จากการที่อาจารย์ให้คะแนนผิด เกือบร้อยละ 50 ยอมรับว่าเคยทำบางอย่างที่ไม่ถูกต้องนักไม่ว่าจะในงานกลุ่มหรือในงานที่ต้องทำคนเดียว เกือบร้อยละ 42 เคยลอกข้อสอบเพื่อน
ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนอัตลักษณ์ด้านศีลธรรมสูงและคิดว่าการโกงนั้นเป็นความบกพร่องทางศีลธรรม เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าโกงน้อยที่สุด ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่โกงที่สุดก็คือกลุ่มที่ให้ความชอบธรรมกับการโกงตามแต่สถานการณ์นั้นๆ
“ถ้าพวกเขาคิดว่ามันผิด เขาก็จะไม่ทำ แต่ถ้าเขาคิดว่าไม่เป็นไร เขาก็จะทำได้เต็มที่” เรย์โนลด์อธิบาย
การวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 290 คนที่มีตำแหน่งผู้จัดการ ก็ได้ผลอย่างเดียวกัน การสำรวจนั้นสอบถามถึงพฤติกรรมต้องห้ามสำหรับที่ทำงาน 17 ข้อ เช่น พวกเขาเคยใช้บริการที่เป็นของบริษัทไปในทางส่วนตัวหรือไม่ ก็พบว่าผู้จัดการที่มีศีลธรรมสูงก็มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะทำพฤติกรรมเหล่านี้
“เมื่อมีอัตลักษณ์ด้านศีลธรรมแข็งแกร่ง ก็มักจะมองตัวเองว่าเป็นคนที่มีศีลธรรมดีเลิศ พฤติกรรมของพวกเขาก็มักจะสุดโต่ง” เรย์โนลด์กล่าว และบอกว่า แนวทางที่จะโน้มน้าวให้กลุ่มคนเหล่านี้ละพฤติกรรมการโกง เขาคิดว่าควรต้องศึกษาด้านศีลธรรม การเรียนในห้อง หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ต้องช่วยสื่อสารว่าอะไรคือพฤติกรรมที่ยอมรับได้ในทางศีลธรรม และอะไรที่ไม่ใช่
เรย์โนลด์ชี้ว่าระบบการเรียนแบบเก่าที่เน้นการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีส่วนช่วยมาก เพราะคนเราเรียนรู้จากการได้รางวัลและการถูกลงโทษ และสำหรับการคัดเลือกคนเข้าทำงาน การที่ผู้สมัครงานพูดว่าตัวเองเป็นคนซื่อสัตย์นั้นไม่ใช่การยืนยันว่าเขาจะไม่โกง หากแต่ต้องมีการฝึกอบรมการทำงานที่ดีด้วย