ตัวละครที่เชื่อในการสมคบคิดอย่างเจ้าหน้าที่ FBI ที่ชื่อ Fox Mulder ใน The X Files หรือศาสตราจารย์ Robert Langdon ใน The Da Vinci Code นั้น พวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่ยอมรับในเรื่องของความบังเอิญหรือความน่าจะเป็น แม้ว่าเหตุการณ์ต่างๆส่วนใหญ่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญตามความคิดหรือตามที่ได้คาดเอาไว้ โดยนักวิจัยก็ได้อธิบายถึงอคติของความบังเอิญที่อาจอธิบายได้ถึงข้อมูลเกี่ยวกับหลักการสมคบคิดในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ก็มีงานวิจัยใหม่ที่มาจากมหาวิทยาลัย Fribourg กับ Paris-Saint-Denis ที่ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกได้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการคิดของนักทฤษฎีสมคบคิดกับการรับรู้ เป้าหมายหรือความตั้งใจ
“พวกเราไม่อาจยืนยันได้ถึงข้อสมมุติฐานที่ว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่ยอมรับความบังเอิญหรือรับรู้ข้อมูลเพียงแค่ด้านเดียวที่นำไปสู่ความเชื่อมโยงกับหลักทฤษฎีสมคบคิด” กล่าวโดย Sebastian Dieguez “แม้ว่าข้อมูลด้านลบจะไม่ได้เป็นที่ได้ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ พวกเราก็คิดว่า ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมีคุณค่าต่อการวิเคราะห์ เนื่องจากพวกเขาจะต้องนำเรื่องนี้มาถกเถียงกันอย่างเป็นวงกว้างและเป็นบ่อให้เกิดแนวคิดที่นำไปสู่การสร้างความคิดของนักทฤษฎีสมคบคิด โดยเป็นระบบการคิดที่ไม่ได้ซับซ้อนและสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย พวกเราจึงต้องระมัดระวังในการอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดที่ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อกันให้มาก”
ในการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อของนักทฤษฎีสมคบคิดกับการรับรู้ความบังเอิญนั้น นักวิจัยได้ทำการออกแบบการทดลอง 3 ครั้งโดยทำการสอบถามผู้เข้าร่วมให้ทำการมองดูที่แถว X กับ O 12 แถวพร้อมกับคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ออกมา
การทดลองครั้งแรกนั้น นักศึกษาที่เข้าร่วม 107 คนก็ได้บอกว่า บางแถวก็แสดงให้เห็นการโยนเหรียญหัวก้อยและด้วยเหตุนี้มันก็เป็นเรื่องบังเอิญที่พวกเขาบอกว่า แถวอื่นๆผลลัพธ์ที่ออกมามันไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ อย่างเช่นเป็นรูปแบบการคำนวณทางคอมพิวเตอร์หรือเป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่า ทีมไหนชนะหรือแพ้ โดยผู้เข้าร่วมก็ได้ทำการดูอีก 40 แถว โดยแต่ละแถวนั้นมันก็ชี้ให้เห็นถึงความบังเอิญเพียงแค่ 1 ส่วน 6 เท่านั้น
งานวิจัยต่อมาก็เป็น “การตีความ” ในส่วนที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน ผู้เข้าร่วมก็ได้ประเมินความเชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดกับทฤษฎีสมคบคิดที่พวกเขาเชื่อ (เช่นมนุษย์เหยียบดวงจันทร์) และการรับรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดในแต่ละช่วงเวลา
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ชี้ว่า ผู้เข้าร่วมมีการตอบสนองต่อทฤษฎีสมคบคิดไปในทิศทางเดียวกัน พูดง่ายๆก็คือผู้เข้าร่วมที่มีความเชื่อในเรื่องทฤษฎีสมคบคิดอยู่แล้วนั้น ก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดในเรื่องอื่นๆด้วย
แต่นักวิจัยก็ไม่ได้ค้นพบหลักฐานอื่นๆที่ชี้ว่า ผู้คนที่มีแนวโน้มเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมีแนวโน้มที่จะคิดหรือมองไปในทิศทางเดียวกัน
งานวิจัยต่อมาก็ได้ทำการสำรวจนักศึกษา 123 คนและทางออนไลน์ที่เป็นวัยผู้ใหญ่ 217 คนโดยใช้รูปแบบการทดสอบเดียวกัน โดยผู้เข้าร่วมที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อทฤษฎีสมคบคิดอื่นๆด้วย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่า คนที่เชื่อจะมีอคติในการรับรู้สิ่งที่นักวิจัยนำมาทดสอบ
งานวิจัยทั้ง 3 ก็ชี้ว่า ผู้เข้าร่วมมีความอ่อนไหวต่อแบบทดสอบที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่นพวกเขามีแนวโน้มที่คิดว่า แถว XXXXXXXXXOOX มีความบังเอิญน้อยกว่าแถว XOOXOXOOOOXX ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็มีความเป็นไปได้ว่า ความไม่แน่นอนในค่าอัลกอริทึมเป็นตัวออกแบบแถวพวกนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมเองก็ปรับความคิดให้สอดคล้องกัน ในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า
“ทฤษฎีสมคบคิดในเวลานี้ก็เป็นที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างและพวกเขาสามารถรับรู้ความเชื่อได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งก็สามารถสร้างทฤษฎีได้ไม่กี่นาทีหลังจากที่รับรู้เหตุการณ์นั้นแล้ว” กล่าวโดย Dieguez “งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจของพวกเขาก็มาจากผลกระทบทางด้านสุขภาพ การเมืองและพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง ความเชื่อในวิทยาศาสตร์และความคิดสุดโต่งกับการใช้ความรุนแรง งานวิจัยของพวกเราก็ช่วยให้ทำความเข้าใจกลไกจิตวิทยาและความคิดสังคมได้ หรือในกรณีตัวอย่างนี้ก็ไม่ได้สนับสนุนหลักความเชื่อใดความเชื่อหนึ่ง”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
เป็นเรื่องบังเอิญหรือเป็นการสมคบคิด? งานวิจัยได้ทำการวิเคราะห์การคิดของนักทฤษฎีสมคบคิด
ตัวละครที่เชื่อในการสมคบคิดอย่างเจ้าหน้าที่ FBI ที่ชื่อ Fox Mulder ใน The X Files หรือศาสตราจารย์ Robert Langdon ใน The Da Vinci Code นั้น พวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่ยอมรับในเรื่องของความบังเอิญหรือความน่าจะเป็น แม้ว่าเหตุการณ์ต่างๆส่วนใหญ่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญตามความคิดหรือตามที่ได้คาดเอาไว้ โดยนักวิจัยก็ได้อธิบายถึงอคติของความบังเอิญที่อาจอธิบายได้ถึงข้อมูลเกี่ยวกับหลักการสมคบคิดในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ก็มีงานวิจัยใหม่ที่มาจากมหาวิทยาลัย Fribourg กับ Paris-Saint-Denis ที่ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกได้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการคิดของนักทฤษฎีสมคบคิดกับการรับรู้ เป้าหมายหรือความตั้งใจ
“พวกเราไม่อาจยืนยันได้ถึงข้อสมมุติฐานที่ว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่ยอมรับความบังเอิญหรือรับรู้ข้อมูลเพียงแค่ด้านเดียวที่นำไปสู่ความเชื่อมโยงกับหลักทฤษฎีสมคบคิด” กล่าวโดย Sebastian Dieguez “แม้ว่าข้อมูลด้านลบจะไม่ได้เป็นที่ได้ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ พวกเราก็คิดว่า ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมีคุณค่าต่อการวิเคราะห์ เนื่องจากพวกเขาจะต้องนำเรื่องนี้มาถกเถียงกันอย่างเป็นวงกว้างและเป็นบ่อให้เกิดแนวคิดที่นำไปสู่การสร้างความคิดของนักทฤษฎีสมคบคิด โดยเป็นระบบการคิดที่ไม่ได้ซับซ้อนและสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย พวกเราจึงต้องระมัดระวังในการอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดที่ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อกันให้มาก”
ในการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อของนักทฤษฎีสมคบคิดกับการรับรู้ความบังเอิญนั้น นักวิจัยได้ทำการออกแบบการทดลอง 3 ครั้งโดยทำการสอบถามผู้เข้าร่วมให้ทำการมองดูที่แถว X กับ O 12 แถวพร้อมกับคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ออกมา
การทดลองครั้งแรกนั้น นักศึกษาที่เข้าร่วม 107 คนก็ได้บอกว่า บางแถวก็แสดงให้เห็นการโยนเหรียญหัวก้อยและด้วยเหตุนี้มันก็เป็นเรื่องบังเอิญที่พวกเขาบอกว่า แถวอื่นๆผลลัพธ์ที่ออกมามันไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ อย่างเช่นเป็นรูปแบบการคำนวณทางคอมพิวเตอร์หรือเป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่า ทีมไหนชนะหรือแพ้ โดยผู้เข้าร่วมก็ได้ทำการดูอีก 40 แถว โดยแต่ละแถวนั้นมันก็ชี้ให้เห็นถึงความบังเอิญเพียงแค่ 1 ส่วน 6 เท่านั้น
งานวิจัยต่อมาก็เป็น “การตีความ” ในส่วนที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน ผู้เข้าร่วมก็ได้ประเมินความเชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดกับทฤษฎีสมคบคิดที่พวกเขาเชื่อ (เช่นมนุษย์เหยียบดวงจันทร์) และการรับรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดในแต่ละช่วงเวลา
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ชี้ว่า ผู้เข้าร่วมมีการตอบสนองต่อทฤษฎีสมคบคิดไปในทิศทางเดียวกัน พูดง่ายๆก็คือผู้เข้าร่วมที่มีความเชื่อในเรื่องทฤษฎีสมคบคิดอยู่แล้วนั้น ก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดในเรื่องอื่นๆด้วย
แต่นักวิจัยก็ไม่ได้ค้นพบหลักฐานอื่นๆที่ชี้ว่า ผู้คนที่มีแนวโน้มเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมีแนวโน้มที่จะคิดหรือมองไปในทิศทางเดียวกัน
งานวิจัยต่อมาก็ได้ทำการสำรวจนักศึกษา 123 คนและทางออนไลน์ที่เป็นวัยผู้ใหญ่ 217 คนโดยใช้รูปแบบการทดสอบเดียวกัน โดยผู้เข้าร่วมที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อทฤษฎีสมคบคิดอื่นๆด้วย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่า คนที่เชื่อจะมีอคติในการรับรู้สิ่งที่นักวิจัยนำมาทดสอบ
งานวิจัยทั้ง 3 ก็ชี้ว่า ผู้เข้าร่วมมีความอ่อนไหวต่อแบบทดสอบที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่นพวกเขามีแนวโน้มที่คิดว่า แถว XXXXXXXXXOOX มีความบังเอิญน้อยกว่าแถว XOOXOXOOOOXX ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็มีความเป็นไปได้ว่า ความไม่แน่นอนในค่าอัลกอริทึมเป็นตัวออกแบบแถวพวกนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมเองก็ปรับความคิดให้สอดคล้องกัน ในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า
“ทฤษฎีสมคบคิดในเวลานี้ก็เป็นที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างและพวกเขาสามารถรับรู้ความเชื่อได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งก็สามารถสร้างทฤษฎีได้ไม่กี่นาทีหลังจากที่รับรู้เหตุการณ์นั้นแล้ว” กล่าวโดย Dieguez “งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจของพวกเขาก็มาจากผลกระทบทางด้านสุขภาพ การเมืองและพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง ความเชื่อในวิทยาศาสตร์และความคิดสุดโต่งกับการใช้ความรุนแรง งานวิจัยของพวกเราก็ช่วยให้ทำความเข้าใจกลไกจิตวิทยาและความคิดสังคมได้ หรือในกรณีตัวอย่างนี้ก็ไม่ได้สนับสนุนหลักความเชื่อใดความเชื่อหนึ่ง”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com